น้ำมันขึ้น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Oct 2023 07:20:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลพวง “สงครามอิสราเอล” ดันราคา “น้ำมัน” พุ่ง 4% https://positioningmag.com/1447262 Mon, 09 Oct 2023 06:45:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447262 สงครามระหว่าง อิสราเอล และ ฮามาส กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ได้ยืดเยื้อมาถึงวันที่ 3 แล้ว ซึ่งจากสงครามดังกล่าวได้ส่งผลต่อ ราคาน้ำมันและทองคำ 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาซื้อขายสูงขึ้น 4.53% ที่ 88.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันนี้ (9 ต.ค.2566) ขณะที่สหรัฐฯ ฟิวเจอร์ส West Texas Intermediate เพิ่มขึ้น 4.69% เป็น 88.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการตอบสนองของตลาดต่อภาวะสงคราม

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สงครามไม่ได้ทําให้แหล่งน้ํามันที่สําคัญใด ๆ ตกอยู่ในอันตรายโดยตรง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้ค้าน้ํามันรายใหญ่ โดย อิสราเอลมีโรงกลั่นน้ํามันสองแห่ง ที่มีกําลังการผลิตรวมกันเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ไม่ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งทั้งสองจะไม่ได้ส่งผลต่อโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสำคัญ ๆ โดยตรง แต่ก็เสมือนอยู่ หน้าประตูของภูมิภาคการผลิตและส่งออกน้ำมันที่สําคัญสําหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“ผลกระทบที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงจริง ๆ คือ การลดอุปทานหรือการขนส่งน้ำมัน” Vivek Dhar ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยการขุดและสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานของธนาคารเครือจักรภพ กล่าว

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ราคา ทองคำ ก็สูงขึ้น 0.99% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนหาสินทรัพย์หลบภัย ส่วนราคาทองในไทย สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 400 บาท โดยราคารับซื้อทองคำแท่งบาทละ 32,350 บาท ขายออก 32,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 31,760.20 บาท ขายออก 32,950 บาท

ทั้งนี้ จากการโจมตีของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าชาวอิสราเอลอย่างน้อย 700 คนถูกสังหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ได้บันทึกผู้เสียชีวิต 313 ราย จนถึงขณะนี้

Source

]]>
1447262
‘ราคาน้ำมัน’ ไต่ขึ้นสูงสุดอีกครั้ง หลัง ‘ลิเบีย’ เจอน้ำท่วมใหญ่ซึ่งกระทบการ ‘ส่งออกน้ำมัน’ ในกลุ่ม OPEC https://positioningmag.com/1444093 Wed, 13 Sep 2023 01:50:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444093 เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของ ลิเบีย เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่รัสเซียและซาอุดีอาระเบียประกาศขยายระยะเวลาที่จะจำกัดการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก เพราะลิเบียเป็นสมาชิก OPEC และเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 13 ของโลก

น้ํามันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของโลกพุ่งขึ้นเกือบ 2% เป็นระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 92.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ราคาน้ํามันสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 2.3% สูงถึง 89.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

สาเหตุที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นเพราะเหตุการณ์ อุทกภัยใหญ่ในลิเบีย หลังจากเจอฝนตกหนักในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทําให้ เขื่อนสองแห่งถล่ม จนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้อย่างน้อย 2,000 คน และมีผู้สูญหายกว่า 10,000 คน รวมถึงมีอาคารบ้านเรือนเสียหายนับไม่ถ้วน

ลิเบียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกโอเปก โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันมากที่สุดอันดับ 13 ของโลก ซึ่งอุทกภัยนี้จะขัดขวางการส่งออกน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกชั่วคราว ขณะที่ก่อนหน้านี้ ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมันเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

“ลิเบียมีท่าเรือหลายแห่งที่ไม่สามารถส่งออกได้ มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ํามันดิบพุ่งสูงขึ้น” แมตต์ สมิธ หัวหน้านักวิเคราะห์น้ํามันสําหรับอเมริกาที่ Kpler กล่าว

สำหรับเหตุการณ์อุทกภัยของลิเบียครั้งนี้ นับเป็น หายนะครั้งใหญ่ของประเทศ โดยลิเบียกําลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยโรงพยาบาลใน Derna ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปและห้องเก็บศพก็เต็มจนทำให้ร่างผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้นอกห้องเก็บศพบนทางเท้า

Source

]]>
1444093
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
จับตา “ราคาน้ำมัน” หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน https://positioningmag.com/1425996 Mon, 03 Apr 2023 06:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425996 หลังจาก OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ล่าสุด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 5.07% เป็น 83.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบ West Texas Intermediate ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5.17% เป็น 79.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิ้นสุดปี 2566 โดยซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การปรับลดกำลังการผลิตเป็น มาตรการป้องกันการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน หลังจากที่ รัสเซียจะลดการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566

ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดกำลังการผลิตลงตามลำดับ โดย ซาอุดีอาระเบียจะลด 500,000 บาร์เรลต่อวัน และ UAE จะลด 144,000 บาร์เรลต่อวัน รวมถึงการลดกำลังการผลิตอื่น ๆ จากคูเวต โอมาน อิรัก แอลจีเรีย และคาซัคสถาน

“แผนของ OPEC+ สำหรับการลดการผลิตเพิ่มเติมอาจผลักดันราคาน้ำมันให้แตะระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการเปิดประเทศของจีนและการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย ที่ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก” Tina Teng นักวิเคราะห์ของ CMC Markets กล่าว

มีการคาดการณ์ว่าอุปสงค์ของจีนกลับมาที่ 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากข้อมูลของ Wood Mackenzie จีนสามารถคิดเป็น 40% ของความต้องการที่ฟื้นตัวของโลกในปี 2566

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากผู้ค้ากลัวว่าการล้มของธนาคารอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มค้าน้ำมันและพันธมิตรกำลังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยในปี 2008 ที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงนั้นมีความผันผวนอย่างมาก

“พวกเขากำลังมองไปยังช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการหวนนึกถึงปี 2008 ที่ราคาน้ำมันพุ่งจาก 35 ดอลลาร์เป็น 140 ดอลลาร์” Bob McNally ประธาน Rapidan Energy Group กล่าว

Source

]]>
1425996
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ปรับตัวขึ้นอีก 3% หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่มีทีท่าจะดีขึ้น https://positioningmag.com/1378369 Mon, 21 Mar 2022 07:40:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378369 ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นหลังจากการเจรจาระหว่างรัสเซีย – ยูเครนดูเหมือนจะไม่มีสัญญาณของความคืบหน้า และตลาดยังคงกังวลต่ออุปทานที่ตึงตัว กระตุ้นให้สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เรียกร้องให้ลดการใช้น้ำมันลงในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคมนี้

ราคาน้ำมันมีความผันผวนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคมก่อนที่จะร่วงลงมากกว่า 20% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยแตะระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ และกระโดดขึ้นอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเพิ่มขึ้นมากกว่า +3% ในเช้าวันจันทร์ระหว่างการซื้อขายในเอเชีย เกณฑ์มาตรฐานสากลของน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ที่ 111.46 ดอลลาร์ และฟิวเจอร์สสหรัฐที่ 108.25 ดอลลาร์

Mizuho Bank กล่าวว่า 2 ปัจจัยที่ผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น คือ ความไม่แน่นอนของรัสเซีย – ยูเครน ที่แม้จะประชุมกันเป็นระยะเพื่อเจรจาสันติภาพ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าถึงข้อตกลงสำคัญ ๆ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลงซี ได้เรียกร้องให้มีการเจรจากับมอสโกอีกรอบ

อีกปัจจัยคือ ผลกระทบของ COVID-19 ในจีน ซึ่งอาจเลวร้ายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น อาจมีความหวังที่รัฐบาลจะออกมาผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้เริ่มงานใหม่และดำเนินการขนส่งสาธารณะได้ และอาจจะเพิ่มความต้องการการใช้น้ำมัน

ด้วยอุปทานที่ตึงตัวยังคงเป็นข้อน่ากังวลต่อตลาด ส่งผลให้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เรียกร้องให้มี มาตรการฉุกเฉินเพื่อลดการใช้น้ำมันในวันศุกร์ โดยมีแผนออกมา 10 ข้อ เพื่อลดความต้องการใช้น้ำมัน อาทิ การลดขีดจำกัดความเร็วสำหรับยานพาหนะ การทำงานจากที่บ้านสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ และการหลีกเลี่ยงการเดินทางทางอากาศเพื่อธุรกิจ โดย IEA คาดว่า แผนการดังกล่าวจะสามารถลดอุปสงค์น้ำมันได้ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวันภายใน 4 เดือน

ที่ผ่านมา สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของอุปทานอันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป อีกทั้งยังระบุด้วยว่าพวกเขาจะ เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซีย

ทั้งนี้ จากตัวเลขของ Goldman Sachs พบว่า ในปี 2021 รัสเซียจัดหา 11% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลกและ 17% ของปริมาณการใช้ก๊าซทั่วโลก และเฉพาะในยุโรป รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซมากถึง 40%

Source

]]>
1378369
‘ซาอุดีอาระเบีย’ ยัน! ไม่มีแผนผลิตน้ำมันเพิ่ม แม้เกิดความผันผวนของราคา https://positioningmag.com/1374464 Fri, 18 Feb 2022 02:57:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374464 ซาอุดีอาระเบีย ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน และจะไม่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับรัสเซียและผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ยังคงจำกัดระดับการผลิตน้ำมันไว้ ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ เกิดความกังวล เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น และความตึงเครียดกับรัสเซียในยูเครนยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้ตลาดเชื้อเพลิง

ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี Joe Biden ได้ส่ง Brett McGurk ผู้ประสานงานตะวันออกกลางของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ Amos Hochstein ผู้แทนด้านพลังงานของกระทรวงการต่างประเทศไปยังริยาดเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสงครามที่ดำเนินอยู่ในเยเมนและการจัดหาพลังงานทั่วโลก

โดยเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบียสองคนบอกกับ Associated Press ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียได้แจ้งให้องค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC+ ทราบถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรต่อแผนงานปัจจุบันของกลุ่มในการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างระมัดระวังทุกเดือน

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กษัตริย์ซัลมาน ได้ตรัสกับ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่า จะเน้นถึง “ความสำคัญของการรักษาข้อตกลง” ของ OPEC+ พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียมีความสามารถในการผลิตประมาณ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับการควบคุมของ OPEC+ ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ปัจจุบัน เกณฑ์มาตรฐานราคาน้ำมันดิบซื้อขายที่ประมาณ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี  โดยค่าเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินปกติหนึ่งแกลลอนในสหรัฐอเมริกามีราคาประมาณ 3.50 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% จากค่าเฉลี่ย 2.50 ดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด

ที่ผ่านมากลุ่ม OPEC+ ได้ปฏิเสธแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่ต้องการให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างเห็นได้ชัด โดยตัดสินใจที่จะเพิ่มความระมัดระวังในแต่ละเดือนแทน ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย เนื่องจากมอสโกต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรจากตะวันตกต่อยูเครน

เราได้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมัน และราคาน้ำมันที่สูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงนั้นเป็นวัฏจักรและส่งผลกระทบต่อกันและกัน ผู้ผลิตน้ำมันจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอุปทานเพียงพอกับความต้องการ เพื่อที่ราคาจะไม่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้าง ” Amos Hochstein กล่าว

Fatih Birol กรรมการบริหารของ IEA ก็ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิต OPEC+ “เพิ่มปริมาณให้กับตลาด” เพื่อลดความผันผวนของราคาที่สร้างภาระให้ครัวเรือน

Source

]]>
1374464
‘OPEC+’ ยังมีแนวโน้ม “ไม่เพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน” แม้ได้รับแรงกดดันจากนานาประเทศก็ตาม https://positioningmag.com/1360440 Thu, 04 Nov 2021 09:47:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360440 OPEC+ ยังคงตัดสินใจคงกำลังการผลิตเอาไว้ดังเดิม ทั้งที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแทบทุกวันราคาจนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงแม้จะมีแรงกดดันทางการทูตก็ตาม และนั่นอาจหมายถึงราคาพลังงานที่สูงอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้และอาจลากยาวถึงปี 2022

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน กล่าวโทษ OPEC+ ที่ไม่เต็มใจที่จะผลิตน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและอินเดียก็ได้เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ในการพยายามกดดันให้กลุ่มโอเปกเพิ่มขีดจำกัดการผลิตและช่วยลดราคาพลังงาน

“ความคิดที่ว่ารัสเซียและซาอุดีอาระเบียและผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ จะไม่สูบน้ำมันมากขึ้น เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง” ไบเดน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่การประชุม G-20 ที่กรุงโรม อิตาลี

ด้าน Edward Bell ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐศาสตร์การตลาดของ Emirates NBD ในดูไบ กล่าวว่า “สำหรับตอนนี้ เรายังคงคาดหวังว่าสมาชิก OPEC+ จะยังคงสนับสนุนให้ตลาดน้ำมันตึงตัว โดยใช้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงบัญชีทางการคลัง”

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน นโยบายของกลุ่ม OPEC+ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมคือจะคงการผลิตน้ำมันที่ 400,000 บาร์เรลต่อวันในแต่ละเดือน โดยประเทศคูเวต รวมถึงสมาชิกโอเปกอย่าง อิรัก ไนจีเรีย และแอลจีเรีย ได้ออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่า องค์กรควรยึดมั่นในแผนปัจจุบัน เนื่องจากตลาดน้ำมันมี ‘ความสมดุล’

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของผู้บริโภคไม่ได้รู้สึกว่ามัน สมดุลพราะราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับมากกว่า 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ในปีนี้ แม้ว่าราคาร่วงลงในวันก่อนการประชุม OPEC มาอยู่ที่ 81.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลก็ตาม

West Texas Intermediate เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ในปีนี้ และแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยล่าสุดแตะระดับ 85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แม้ว่าจะซื้อขายที่ 80.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินของอเมริกาก็อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีเช่นกัน

ด้าน เฮอร์มาน หวาง นักเขียนอาวุโสด้านน้ำมันของ S&P Platts มองว่า แม้จะมีแรงกดดันทั้งหมดจากสหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่นให้ปล่อยน้ำมันดิบเพิ่ม แต่ก็มีรัฐมนตรีหลายคนกล่าวถึงอัตรา COVID-19 และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงแนวทางการลดใช้พลังงาน

ดังนั้น ราคาที่พุ่งสูงขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราว แต่จนกว่าตลาดจะเย็นลง OPEC+ ก็จะเจอการร้องเรียนจากลูกค้ารายสำคัญอีกมาก เนื่องจากผู้นำเข้าน้ำมันผิดหวังที่ไม่สามารถบังคับโอเปกได้มากนัก นอกจากนี้ยังมองว่า การที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศในกลุ่มโอเปกสูบน้ำมันมากขึ้น ก็ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ตั้งใจจะเป็นผู้นำในนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

Source

]]>
1360440
‘โอเปก’ ยืนยันส่งน้ำมันดิบ 4 แสนบาร์เรล/วัน ส่งผลค่าน้ำมันแพงสุดในรอบ 7 ปี https://positioningmag.com/1355217 Wed, 06 Oct 2021 07:04:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355217 ช่วงนี้ราคาน้ำมันในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างน้ำมันไฮพรีเมียมดีเซล อยู่ที่ระดับ 35.06 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 95 อยู่ที่ 31.15 บาทต่อลิตร ซึ่งไม่ใช่แค่ไทย แต่ขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากจาก ‘โอเปก’ (OPEC) หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่ยืนยันว่าจะส่งออกน้ำมันดิบเพียง 400,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

ราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งขึ้นในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันยังคงใช้แนวทางค่อยเป็นค่อยไปในการฟื้นฟูผลผลิตในช่วงการระบาดใหญ่ โดยตกลงที่จะส่งออกเพียง 400,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ยาวถึงเดือนเมษายน 2565

จากแนวทางดังกล่าว ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น จากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากโควิด โดยเฉพาะจากการเดินทางต่าง ๆ ที่มีมากขึ้นเนื่องจากการผ่อนตลายมาตรการข้อจำกัดต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ น้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่องบิน ยิ่งไปกว่านั้น ราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงผิดปกติกำลังผลักดันให้ผู้ผลิตไฟฟ้าบางรายในเอเชียเปลี่ยนจากก๊าซธรรมชาติไปเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ซึ่งช่วยลดต้นทุนมากกว่า

ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วมากกว่า 50% ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก หนึ่งบาร์เรลแตะระดับ 78.93 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 โดยมีการปรับเพิ่มขึ้น 1.31 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.7%

เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว แสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อเขาได้พบกับเจ้าหน้าที่ในกลุ่มโอเปกคนสำคัญของซาอุดิอาระเบียในการเจรจาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างเงื่อนไขเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19

โดยเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวยังคงติดต่อกับสมาชิกโอเปกเกี่ยวกับราคาและกำลังมองหาเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเนื่องจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งสูงขึ้น พร้อมย้ำว่าจะใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่ต่อไป แม้ว่าสหรัฐฯ จะไม่ใช่สมาชิกของโอเปกก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถลดราคาน้ำมันสำหรับประชาชนชาวอเมริกันได้

โดยจากราคาน้ำมันดิบทำขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของต้นทุนน้ำมันเบนซินที่ปั๊มในราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังทรงตัวที่ประมาณ 3.20 ดอลลาร์ต่อแกลลอนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ตามรายงานของสหพันธ์สมาคมยานยนต์ AAA โดยเพิ่มสูงขึ้นค่าเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ที่ 97 เซ็นต์

ขณะที่ทางฝั่งรัฐบาลประเทศจากสหภาพยุโรปได้มีกำหนดประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการรับมือร่วมกันหรือไม่ โดย อันแดรย์ บาบิช นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก กล่าวว่า สถานการณ์เริ่มหนักหน่วง ราคาที่สูงนั้นเป็นปัญหาต่อศักยภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจยุโรป และยังส่งผลกระทบต่องบจับจ่ายของผู้บริโภค ด้วยราคาที่สูงขนาดนี้ สหภาพยุโรปอาจจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงด้วย

Source

]]>
1355217
เตรียมรับแรงกระแทก! ‘คลังน้ำมันซาอุฯ’ ถูกโจมตี ดันราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 13 เดือน https://positioningmag.com/1322316 Mon, 08 Mar 2021 06:24:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322316 ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนมีนาคมมา ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุมาจากประเทศผู้ส่งออกลดปริมาณการผลิตต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน และล่าสุด ประเทศซาอุดีอาระเบียที่เป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของโลกโดยมีศักยภาพในการผลิตรวมกว่า 2.6 แสนล้านบาร์เรล หรือกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณรวมของทั้งโลกได้ถูกโจมตีโรงงานผลิตน้ำมันด้วยขีปนาวุธเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา

ซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า หนึ่งในโรงงานผลิตน้ำมันที่ได้รับการปกป้องมากที่สุดในโลกถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธจากกลุ่มกบฏ ‘ฮูตี’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563

การโจมตีดังกล่าวถือเป็นการโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดต่อโรงงานน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย นับตั้งแต่โรงงานแปรรูปน้ำมันทั้ง 2 แห่งที่เคยโดนโจมตีเมื่อเดือนกันยายน 2019 ทำให้การผลิตลดลงเป็นเวลาหลายวัน และส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันหายไปถึง 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5% ของการผลิตน้ำมันทั้งโลก ซึ่งวิกฤตดังกล่าวส่งผลให้น้ำมันดิบเบรนท์ทะยานกว่า 19% แตะที่ 71.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าโมเมนตัมดังกล่าวจะทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นอย่างน้อยในระยะสั้น และเป็นเซนติเมนต์บวกต่อหุ้นพลังงาน เนื่องจากการโจมตีไม่ได้ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินขณะที่การผลิตน้ำมันยังไม่ได้รับผลกระทบ

เนื่องจาก ‘Ras Tanura’ คลังน้ำมันที่ถูกโจมตีเป็นคลังน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถส่งออกได้ประมาณ 6.5 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งเกือบ 7% ของความต้องการน้ำมัน และด้วยเหตุนี้จึงได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด โดยท่าเรือนี้มีฟาร์มถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ที่เก็บน้ำมันดิบไว้ก่อนที่จะถูกสูบไปยังเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่

ทั้งนี้ โดยราคาน้ำมันดิบโลกเริ่มพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันศุกร์ (5 มี.ค. 2564) ที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 3.9% มาที่ 69.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยหนุนมาจากเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐฯ และจีน อีกทั้ง OPEC+ มีมติยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนเมษายน โดยยังปรับคงการลดกำลังการผลิตที่ 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

Source

]]>
1322316