น้ำมัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 May 2024 08:51:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดีมานด์ ‘น้ำมัน’ ทั่วโลกอาจลดลง ‘ครึ่งหนึ่ง’ ในปีนี้ เนื่องจากการเติบโตของ ‘รถอีวี’ ในจีน-สหรัฐฯ https://positioningmag.com/1472195 Mon, 06 May 2024 06:02:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472195 นับตั้งแต่ปี 2020 ที่ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกลดลง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ผู้คนไม่สามารถเดินทางได้ตามต้องการ แต่หลังจากนั้นความต้องการใช้งานน้ำมันก็เติบโตขึ้นมาโดยตลอด จนมาปี 2024 นี้ ที่แนวโน้มการเติบโตของความต้องการน้ำมันอาจลดลงถึงครึ่งหนึ่ง

Rystad Energy บริษัทวิจัยอิสระด้านพลังงาน ประเมินว่า การเติบโตของดีมานด์น้ำมันทั่วโลกอาจ ลดลงครึ่งหนึ่ง ในปีนี้ โดยความต้องการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเพียง 340,000 บาร์เรลต่อวัน (bpd) จากในปีที่ผ่านมามีการเติบโตที่ 700,000 บาร์เรลต่อวัน โดยรวมแล้วปีนี้ทั่วโลกจะมีการใช้น้ำมันที่ 26.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงมาจากผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่าง จีน และ สหรัฐอเมริกา โดยมีการประเมินถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในปีนี้ว่าจีนจะอยู่ที่ 45% ยุโรป 25% และมากกว่า 11% ในสหรัฐอเมริกา

สํานักงานพลังงานระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ครั้งหนึ่งจีนเคยเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการน้ำมันเบนซินของโลก แต่ปีที่ผ่านมา ตลาดรถอีวีเกือบ 60% มาจากประเทศจีน ทำให้ปีนี้ Sinopec หน่วยงานวิจัยของโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดของจีน คาดว่าความต้องการน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% หรือประมาณ 3 ล้านตัน รวมทั้งปีอยู่ที่ 182 ล้านตัน

“ความต้องการใช้น้ำมันของจีนจะเติบโตเพียง 10,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีนี้ เนื่องจากการเติบโตของรถอีวี” Sushant Gupta นักวิเคราะห์จาก Wood Mackenzie กล่าว

ด้านปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินของ สหรัฐฯ ในปี 2023 ลดลงเหลือประมาณ 8.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความต้องการในปี 2024 คาดว่าจะทรงตัว

อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการบริโภคน้ำมันเบนซินของ ยุโรป ปีนี้จะเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 2.3% เป็น 2.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่การบริโภคน้ำมันของ อินเดีย อาจจะแตะสถิติใหม่ที่ 908,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีถึงเดือนมีนาคม 2025 เพิ่มขึ้นประมาณ 5%

]]>
1472195
สมาชิก OPEC+ ประกาศขยายเวลา “ลดกำลังการผลิตน้ำมัน” หวังรักษาเสถียรภาพของราคา https://positioningmag.com/1464962 Mon, 04 Mar 2024 06:07:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464962 ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันทั่วโลกจะยังไม่ลดลงง่าย ๆ เพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัสเซียและสมาชิก OPEC+ อื่น ๆ ได้ประกาศขยายเวลาการลดการผลิตน้ำมันที่ประกาศครั้งแรกในปี 2023 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตน้ำมันในการเพิ่มราคาตามความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 กลุ่ม OPEC+ ได้มีมติในการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงไตรมาส 1/2024 ล่าสุด กลุ่ม OPEC+ ได้ประกาศขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตไปจนถึงไตรมาส 2/2024 เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า มีแนวโน้มที่จะปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้

โดย ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันชั้นนําจะยังคงลด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ รัสเซียและอิรัก จะลดการผลิตลงเหลือ 471,000 และ 220,000 บาร์เรลตามลําดับ ปรับลดลงจาก 500,000 และ 223,000 บาร์เรล ส่วนประเทศอื่น ๆ ยังคงเดิม อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 163,000; คูเวต 135,000; คาซัคสถาน 82,000; แอลจีเรีย 51,000 และโอมาน 42,000 บาร์เรลต่อวัน

“หลังจากสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 การปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมเหล่านี้จะค่อย ๆ กลับมา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วย” อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย กล่าว

การขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น โดยราคา West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐทะลุ 80 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในทะเลเหนือแตะระดับสูงสุดของเดือนที่ 83.55 ดอลลาร์

ทั้งนี้ การรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022 ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 140 ดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้รายได้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และนับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2022 พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ของ 22 ประเทศ ได้ดำเนินการลดกำลังการผลิตไปแล้วมากกว่า 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd)

ที่ผ่านมา ชาติตะวันตกพยายามคว่ำบาตรน้ำมันของรัศเซีย ส่งผลให้รัสเซียต้องหันไปส่งออกน้ำมันไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น จีนและอินเดียแทน

Source

]]>
1464962
ประเมินราคา ‘น้ำมัน’ อาจทะยานสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หากสงครามอิสราเอล-ฮามาสทวีความรุนแรง https://positioningmag.com/1450115 Tue, 31 Oct 2023 07:58:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450115 ดูเหมือนว่าหากสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ยังยืดเยื้อจะไม่ใช่แค่ส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ทั่วโลกก็ได้ผลกระทบไปด้วย ที่เห็นชัดก็คือ ราคาน้ำมัน โดยธนาคารโลกมองว่าอาจทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากสงครามยืดเยื้อ

ธนาคารโลก ออกมาเตือนว่า หากความขัดแย้งของสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายออกไปนอกพรมแดนของฉนวนกาซา จนเกิดการคว่ำบาตรน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึง 157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ ในเดือนกรกฎาคม 2008 ที่มีการซื้อขายสูงถึง 147.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามข้อมูลจาก LSEG

นอกจากนี้ เคยมีเหตุการณ์การคว่ำบาตรน้ำมันของอาหรับในปี 1973 ส่งผลให้อุปทานน้ำมันทั่วโลกจะลดลง 6-8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั่นจะผลักดันราคาให้สูงขึ้น 56-75% หรือราว 140-157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

“วิกฤตน้ำมันเมื่อ 50 ปีก่อนทําให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 4 เท่าหลังจากรัฐมนตรีพลังงานอาหรับสั่งห้ามส่งออกน้ำมัน   ของสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การสนับสนุนอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1973 ซึ่งเป็นที่รู้จักในอิสราเอลในชื่อสงครามยมคิปปูร์”

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการประเมินสถานการณ์แย่ที่สุด โดยธนาคารโลกได้ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 ระดับ โดย กรณีที่ดีที่สุด คือ ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น 3-13% มาอยู่ที่ระดับ 93-102 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลล์ หากอุปทานน้ำมันทั่วโลกลดลง 500,000 ถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการลดลงที่เทียบได้กับช่วงสงครามกลาง เมืองลิเบียในปี 2011

รองลงมาคือ อุปทานลดลงตลาด 3-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อาจจะดันให้ราคาน้ำมันให้สูงขึ้นระหว่าง 109-121 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเทียบเท่ากับระดับที่ไปถึงในช่วงสงครามอิรักในปี 2003

ถึงแม้ว่าทั้งอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์จะไม่ใช่ผู้เล่นน้ำมันรายใหญ่ แต่ความขัดแย้งก็อยู่ในภูมิภาคการผลิต    น้ำมันที่สําคัญ

“หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญกับภาวะช็อกด้านพลังงานเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ เพราะไม่ใช่แค่จากสงครามในยูเครนเท่านั้น แต่ยังมาจากตะวันออกกลางด้วย”

Source

]]>
1450115
ผลพวง “สงครามอิสราเอล” ดันราคา “น้ำมัน” พุ่ง 4% https://positioningmag.com/1447262 Mon, 09 Oct 2023 06:45:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447262 สงครามระหว่าง อิสราเอล และ ฮามาส กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ได้ยืดเยื้อมาถึงวันที่ 3 แล้ว ซึ่งจากสงครามดังกล่าวได้ส่งผลต่อ ราคาน้ำมันและทองคำ 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาซื้อขายสูงขึ้น 4.53% ที่ 88.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันนี้ (9 ต.ค.2566) ขณะที่สหรัฐฯ ฟิวเจอร์ส West Texas Intermediate เพิ่มขึ้น 4.69% เป็น 88.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการตอบสนองของตลาดต่อภาวะสงคราม

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สงครามไม่ได้ทําให้แหล่งน้ํามันที่สําคัญใด ๆ ตกอยู่ในอันตรายโดยตรง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้ค้าน้ํามันรายใหญ่ โดย อิสราเอลมีโรงกลั่นน้ํามันสองแห่ง ที่มีกําลังการผลิตรวมกันเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ไม่ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งทั้งสองจะไม่ได้ส่งผลต่อโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสำคัญ ๆ โดยตรง แต่ก็เสมือนอยู่ หน้าประตูของภูมิภาคการผลิตและส่งออกน้ำมันที่สําคัญสําหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“ผลกระทบที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงจริง ๆ คือ การลดอุปทานหรือการขนส่งน้ำมัน” Vivek Dhar ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยการขุดและสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานของธนาคารเครือจักรภพ กล่าว

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ราคา ทองคำ ก็สูงขึ้น 0.99% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนหาสินทรัพย์หลบภัย ส่วนราคาทองในไทย สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 400 บาท โดยราคารับซื้อทองคำแท่งบาทละ 32,350 บาท ขายออก 32,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 31,760.20 บาท ขายออก 32,950 บาท

ทั้งนี้ จากการโจมตีของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าชาวอิสราเอลอย่างน้อย 700 คนถูกสังหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ได้บันทึกผู้เสียชีวิต 313 ราย จนถึงขณะนี้

Source

]]>
1447262
‘ราคาน้ำมัน’ ไต่ขึ้นสูงสุดอีกครั้ง หลัง ‘ลิเบีย’ เจอน้ำท่วมใหญ่ซึ่งกระทบการ ‘ส่งออกน้ำมัน’ ในกลุ่ม OPEC https://positioningmag.com/1444093 Wed, 13 Sep 2023 01:50:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444093 เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของ ลิเบีย เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่รัสเซียและซาอุดีอาระเบียประกาศขยายระยะเวลาที่จะจำกัดการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก เพราะลิเบียเป็นสมาชิก OPEC และเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 13 ของโลก

น้ํามันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของโลกพุ่งขึ้นเกือบ 2% เป็นระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 92.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ราคาน้ํามันสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 2.3% สูงถึง 89.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

สาเหตุที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นเพราะเหตุการณ์ อุทกภัยใหญ่ในลิเบีย หลังจากเจอฝนตกหนักในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทําให้ เขื่อนสองแห่งถล่ม จนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้อย่างน้อย 2,000 คน และมีผู้สูญหายกว่า 10,000 คน รวมถึงมีอาคารบ้านเรือนเสียหายนับไม่ถ้วน

ลิเบียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกโอเปก โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันมากที่สุดอันดับ 13 ของโลก ซึ่งอุทกภัยนี้จะขัดขวางการส่งออกน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกชั่วคราว ขณะที่ก่อนหน้านี้ ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมันเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

“ลิเบียมีท่าเรือหลายแห่งที่ไม่สามารถส่งออกได้ มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ํามันดิบพุ่งสูงขึ้น” แมตต์ สมิธ หัวหน้านักวิเคราะห์น้ํามันสําหรับอเมริกาที่ Kpler กล่าว

สำหรับเหตุการณ์อุทกภัยของลิเบียครั้งนี้ นับเป็น หายนะครั้งใหญ่ของประเทศ โดยลิเบียกําลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยโรงพยาบาลใน Derna ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปและห้องเก็บศพก็เต็มจนทำให้ร่างผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้นอกห้องเก็บศพบนทางเท้า

Source

]]>
1444093
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
ซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรล ชี้ต้องการสร้างเสถียรภาพราคา https://positioningmag.com/1433085 Mon, 05 Jun 2023 09:53:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433085 ซาอุดีอาระเบียเตรียมที่จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 ล้านบาร์เรล หลังจากที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย และล่าสุดนั้นราคาน้ำมันกลับมาปรับเท่ากับช่วงก่อนความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลทำให้ประเทศส่งออกน้ำมันรายดังกล่าวต้องปรับกำลังการผลิตลง

ท่าทีของประเทศส่งออกน้ำมันอันดับ 1 ของโลกอย่างซาอุดีอาระเบียนั้นตามมาจากการประชุมของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่าง OPEC เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (4 มิถุนายน) ที่รวมถึงรัสเซียและประเทศส่งออกน้ำมันรายเล็กที่ตกลงจะลดการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพยายามพยุงราคาน้ำมันดิบขึ้นมา

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง OPEC+ ได้ประกาศปรับลดกำลังการไปผลิตแล้ว ก่อนที่จะมีการปรับกำลังการผลิตลงอีกครั้ง และส่งสัญญาณว่าทางกลุ่มจะปรับลดกำลังการผลิตลงต่อไป ถ้าหากราคาน้ำมันมีท่าทีลดลง

กระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียได้อธิบายว่าการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบโดยสมัครใจเพิ่มเติมของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายดังกล่าวนี้ถือเป็นความพยายามป้องกันกลุ่มประเทศ OPEC+ เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความสมดุลของตลาดน้ำมัน

ขณะที่ทางซาอุดีอาระเบียนั้นต้องการให้ราคาน้ำมันมากกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากเป็นจุดคุ้มทุนของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก นอกจากนี้ซาอุดีอาระเบียยังต้องการเม็ดเงินมหาศาลที่ได้จากการผลิตน้ำมันดิบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงหลังจากนี้ที่ต้องการลดการพึ่งพาจากการขายน้ำมัน

ไม่เพียงเท่านี้การส่งสัญญาณของซาอุดีอาระเบียยังตามมาหลังจากวี่แววความต้องการพลังงานทั่วโลกนั้นอาจลดลงจากความกังวลว่าเศรษฐกิจในยุโรป หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สภาวะถดถอย ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ ทำให้ซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณลดกำลังการผลิตเพื่อกระตุ้นราคาน้ำมันดิบ

ปัจจุบันกลุ่ม OPEC+ เป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของน้ำมันดิบของโลก และการตัดสินใจของทางกลุ่ม หรือแม้แต่ซาอุดีอาระเบียในแต่ละครั้งนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก

ที่มา – CNN, BBC

]]>
1433085
การส่งออกน้ำมัน ‘รัสเซีย’ พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี แต่รายได้หดตัว 43% https://positioningmag.com/1427417 Sun, 16 Apr 2023 05:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427417 แม้รัสเซียจะถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก หลังจากที่ก่อสงครามกับยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา แต่การส่งออกน้ำมันของรัสเซียกลับสูงสุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ตาม รายได้กลับไม่ได้โตตามยอดการส่งออก

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) หรือ IEA ได้เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมการส่งออกน้ำมันของรัสเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี แม้ว่าจะถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก โดยมียอดส่งออกจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 8.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020

โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นกลับสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 จาก 450,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากน้ำมันของรัสเซียยัง ลดลงถึง 43% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้รายได้จะดีดตัวขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์แตะ 12.7 พันล้านดอลลาร์ก็ตาม

IEA กล่าวว่า การส่งออกน้ำมันดิบของมอสโกเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอินเดีย และจีนเป็นปลายทางหลักสำหรับการขนส่งของรัสเซียในเอเชียในเดือนมีนาคม ขณะที่การจัดส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมเป็น 300,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ลดลงเกือบ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ครั้งเมื่อเทียบกับระดับก่อนสงคราม

ทั้งนี้ มาตรการการคว่ำบาตรน้ำมันของยุโรปมีเป้าหมายที่จะตัดรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานชั้นนำของโลกออกจากแหล่งรายได้หลักจากการทำสงคราม ส่งผลให้รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกโดยลดการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน และพันธมิตรในกลุ่มพันธมิตรน้ำมัน OPEC+ สร้างความตกใจให้กับตลาดด้วยการประกาศลดกำลังการผลิตของตนเองเมื่อต้นเดือนนี้

อย่างไรก็ตาม รัสเซียพลาดเป้าหมายในเดือนมีนาคม เนื่องจากการผลิตลดลง 290,000 บาร์เรลต่อวัน ตามรายงานของ IEA

Source

]]>
1427417
จับตา “ราคาน้ำมัน” หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน https://positioningmag.com/1425996 Mon, 03 Apr 2023 06:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425996 หลังจาก OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ล่าสุด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 5.07% เป็น 83.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบ West Texas Intermediate ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5.17% เป็น 79.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิ้นสุดปี 2566 โดยซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การปรับลดกำลังการผลิตเป็น มาตรการป้องกันการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน หลังจากที่ รัสเซียจะลดการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566

ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดกำลังการผลิตลงตามลำดับ โดย ซาอุดีอาระเบียจะลด 500,000 บาร์เรลต่อวัน และ UAE จะลด 144,000 บาร์เรลต่อวัน รวมถึงการลดกำลังการผลิตอื่น ๆ จากคูเวต โอมาน อิรัก แอลจีเรีย และคาซัคสถาน

“แผนของ OPEC+ สำหรับการลดการผลิตเพิ่มเติมอาจผลักดันราคาน้ำมันให้แตะระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการเปิดประเทศของจีนและการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย ที่ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก” Tina Teng นักวิเคราะห์ของ CMC Markets กล่าว

มีการคาดการณ์ว่าอุปสงค์ของจีนกลับมาที่ 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากข้อมูลของ Wood Mackenzie จีนสามารถคิดเป็น 40% ของความต้องการที่ฟื้นตัวของโลกในปี 2566

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากผู้ค้ากลัวว่าการล้มของธนาคารอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มค้าน้ำมันและพันธมิตรกำลังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยในปี 2008 ที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงนั้นมีความผันผวนอย่างมาก

“พวกเขากำลังมองไปยังช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการหวนนึกถึงปี 2008 ที่ราคาน้ำมันพุ่งจาก 35 ดอลลาร์เป็น 140 ดอลลาร์” Bob McNally ประธาน Rapidan Energy Group กล่าว

Source

]]>
1425996
สรุปทิศทาง “ปิโตรเคมี” หลังยุค COVID-19 ปรับตัวอย่างไรท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน https://positioningmag.com/1395014 Thu, 11 Aug 2022 04:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395014

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โลกเราได้เจอกับสถานการณ์อันเลวร้ายทั้งโรคระบาดไวรัส COVID-19 ยิ่งในปีนี้ได้เจอตัวแปรใหม่ๆ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจไปทั่วโลก ในวันนี้ขอพาไปทำความเข้าใจตลาด “ปิโตรเคมี” หนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสารตั้งต้นของหลายธุรกิจ

กลุ่มปตท. ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์  2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forumภายใต้หัวข้อ  “Moving forward in the Post-COVID era” ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีของกลุ่ม PRISM Petrochemical Market Outlook ของกลุ่ม ปตท. ปีนี้ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13และเป็นปีแรกที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมงานสัมมนาผ่านทาง FacebookLIVE ที่เพจ PRISM เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และการปรับตัวของธุรกิจปิโตรเคมีหลังสถานการณ์ COVID-19 โดยมุมมองจากนักวิเคราะห์ PRISM กลุ่ม ปตท. และ วิทยากรรับเชิญ

เนื้อหางานสัมมนา 2022 PTT Group The Petrochemical Outlook Forum มีหลากหลายหัวข้อ ประกอบไปด้วยภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทิศทางของปิโตรเคมีในอนาคต บรรจุภัณฑ์พลาสติกในยุค New Normal และการจัดการพลาสติกให้เหมาะสม


เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จับตาเงินเฟ้อ

มีการประเมินจากหลายสำนักว่าเศรษฐกิจโลกทั้งในปีนี้ และปีหน้ามีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง และนโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มเผชิญความเสี่ยงกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อยังสูง หรือ Stagflation มากขึ้น และในกรณีเลวร้ายนั้น เศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป ก็มีความเสี่ยงที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในช่วงปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567

พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai Global Markets ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อธิบายในหัวข้อนี้ว่า

“เศรษฐกิจตอนนี้ผันผวนเหมือนคลื่นในทะเลรุนแรง ผ่านไปครึ่งปีแนวโน้มตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างแรง เรื่องเงินเฟ้อคิดว่าจะอยู่ในระดับสูง จากการระบาดของไวรัสโอมิครอน แต่ผ่านไปสักพักหนึ่ง เจอภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อสูงไปอีกสักพัก”

หลายสำนักปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลก เมื่อต้นปียังไม่เกิดสงคราม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ 4% แต่เมื่อเกิดสงคราม หลายประเทศเจอผลกระทบทำให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกไม่ถึง 3% สหรัฐฯ อาจจะเติบโตไม่ถึง 2% ส่วนในประเทศจีนเจอการระบาดของ COVID-19 มีการล็อกดาวน์ ไม่อาจโตได้สูงตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้

เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบหนักจากภาวะสงคราม อาจจะโตได้ 3% ในปีนี้ แต่ยังมีความหวังที่จะเติบโตได้จากภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติพร้อมกลับมาไทยมากขึ้น อาจจะสูงถึง 6 ล้านคนในปีนี้ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ช่วยให้ค่าเงินบาทมาแข็งค่าช่วงปลายปี

ส่วนเงินเฟ้อในไทยสูงไม่แพ้สหรัฐฯและยุโรป แบงค์ชาติมองว่าจะลงได้ต้องรอผ่านไตรมาส 3 การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเป็นวงกว้าง


โลกปิโตรเคมีแห่งอนาคต

โลกปิโตรเคมีในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ระบบขนส่ง และห่วงโซ่อุปทานที่เปลี่ยนไป อันนำไปสู่การปรับตัวของโลกยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปรับตัวในทิศทางใหม่ พร้อมเปลี่ยนถ่ายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่กำลังมาถึงเร็วๆนี้

เดชาธร ฐิสิฐสกร Marketing Strategy and Data Science บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“สิ่งของต่างๆ รอบตัวล้วนมีพื้นฐานจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น เป็นตัวป้อนวัตถุดิบแก่การผลิตบรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโดนท้าทายจาก 2 ปัจจัยหลัก เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี แต่ในโลกวันนี้มีหลายปัจจัยมากขึ้น ในปี 2022 มีทั้งเรื่องโรคระบาด ราคาน้ำมัน อากาศที่เปลี่ยนไป การขนส่ง สงคราม ส่งผลกระทบต่อปิโตรเคมีโดยตรง ในส่วนของสงครามก็ส่งผลกระทบ การเกิดใหม่ของขั้วอำนาจฝั่งตะวันออก ตะวันตก ทำให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทางการทหาร การเกิดชนวนสงคราม ส่งผลกระทบต่อซัพพายเชน”

ปี 2021 ประเทศไทยมีการใช้พลาสติกจำนวน 4.968 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 746,431 ล้านบาท โดยที่ 4 อุตสาหกรรมหลักที่กินสัดส่วน 80% ของทั้งตลาด ได้แก่แพ็คเกจจิ้ง 41% เครื่องใช้ไฟฟ้า 16% ก่อสร้าง 15% และรถยนต์ 6%

ในช่วงหลังโรคระบาด COVID-19 โลกมีการเปลี่ยนแปลงมีการใช้ฟู้ดเดลิเวอรี่ การทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น การพัฒนา 5G หรือมิติสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปก็มีส่วน ปิโตรเคมีก็ต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เช่นกัน

สำหรับโลกใหม่ของปิโตรเคมี มีปัจจัยหลัก 2 ส่วน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม และธุรกิจใหม่ ในส่วนของสิ่งแวดล้อม การเติบโตของประชากรโลก ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด จึงเกิด Post Consumer Recycled (PCR) Resin มีการรีไซเคิลเม็ดพลาสติกใหม่ กลายเป็นเทรนด์ของโลกที่เริ่มมีการผลิตบรรจุภัณฑ์ครื่องสำอาง เริ่มเห็นโรดแมปในกลุ่มสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ประกาศใช้พลาสติกรีไซเคิลในอุตสาหกรรมต่างๆ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะมีการเติบโต 9%

ปัจจัยที่ 2 ธุรกิจใหม่ ที่จะสร้าง New S-Curve เป็นในเรื่องของเทคโนโลยี AI, IoT รวมไปถึงการมาของ EV ที่จะมาดิสรัปต์ธุรกิจเดิม ในไทยมีโรดแมปเข้าสู่ EV ชัดเจน 10 ปีข้างหน้า มีการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งสร้างจุดชาร์จไฟฟ้า ศูนย์พัฒนาแบตเตอรี่ และฮับการผลิตรถยนต์ กลไกของราคาแบตเตอรี่ถูกลงเรื่อยๆ

หรืออย่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ก็มีการใช้พลาสติกในการผลิต ทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการก็เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์มากขึ้น เข้าสู่ยุคที่มนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน

ใช้พลาสติกในยุค New Normal อย่างยั่งยืน

หลังเข้าสู่ยุค New Normal โลกกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอีกครั้ง ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต่างก็ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล, การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ถ้าผู้ใช้พลาสติกรู้จักวิธีจัดการให้เหมาะสม และยังสามารถมีส่วนร่วมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เพียงแค่รู้จัก Reuse นำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ, ช่วยกันแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำไป Recycle และ Upcycle ต่อไป

ธีรัช ศฤงคารินทร์ Marketing Analyst บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“หลังจากโลกเข้าสู่ยุค New Normal โลกให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม หลายคนตั้งคำถามถึงพลาสติกบนเส้นทางความยั่งยืน ว่าจะช่วยโลกได้อย่างไรได้บ้าง อุตสาหกรรมแพ็คเกจจิ้งใช้พลาสติกเยอะมาก ถ้าต้องการลดขยะต้องผลักดันให้มีการรีไซเคิลมากขึ้น เม็ดพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิล เรียกว่า PCR (Post Consumer Recycled material/Post Consumer Resin) สำหรับประเภทที่นิยมมารีไซเคิล ได้แก่ PET, PP และ HDPE ประโยชน์ของการรีไซเคิล คือ ลดขยะ ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยในปีที่ผ่านมามีความต้องการใช้พลาสติกรีไซเคิลมากกว่า 7 ล้านตัน และคาดว่าจะโตขึ้นไปเป็น 12 ล้านตัน ในปี 2026”

การใช้พลาสติกในไทย 40% เป็นรูปแบบ PE โดยที่ 41% นำไปใช้ทำแพ็คเกจจิ้ง 16% ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 15% วัสดุก่อสร้าง 6% อะไหล่รถยนต์ 6% เส้นใย 2% อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ 14% อื่นๆ

เมื่อมีความต้องการรีไซเคิลมากขึ้น ก็มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง จากเดิมใช้แก้ว เปลี่ยนเป็นพลาสติก ที่เราเห็นในปัจจุบันเป็น Multi-Layer Film คือฟิล์มหลายเลเยอร์มาประกบกัน แต่ทำให้มีการรีไซเคิลยาก เลยปรับปรุงการออกแบบเป็น Mono Material ใช้วัสดุชนิดเดียว เพื่อทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น ถุงขนมที่ผลิตด้วยพลาสติก 3 เลเยอร์ ถ้าเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาใช้วัสดุชนิดเดียวก็จะทำให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเริ่มมีผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีแบบนี้แล้วเช่น ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในอังกฤษ ใช้ขวดพลาสติก PET รีไซเคิล 100% ส่วนเนสท์เล่ผลิตซองบรรจุกาแฟที่รีไซเคิลได้

องค์กรให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน มีการตั้งเป้าหมายในเรื่องความยั่งยืน อย่างเช่น เป๊ปซี่โค ยุโรป ตั้งเป้าว่าในปี 2023 จะไม่ใช้พลาสติกจากฟอสซิลมาผลิตถุงขนมแล้ว ส่วน P&G ตั้งเป้าภายในปี 2030 จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ให้ได้ 50% เนสท์เล่ก็ตั้งเป้าที่จะลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ลงภายในปี 2025


พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องอยู่กันอย่างเป็นมิตร

นิรมล วุฒิพฤกษ์ Manager, Business Planning and Risk Management บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า

“พลาสติกมีประโยชน์มากมาย ช่วยชีวิตมนุษย์ได้ สามารถใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีอายุยืนนาน มีราคาเอื้อมถึง น้ำหนักเบา ลดการใช้น้ำมันในการขนส่งได้ ปัจจุบันเราเห็นพลาสติก PP อยู่รอบตัวมากมาย ตั้งแต่ของใช้ส่วนบุคคล ของใช้ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย กล่องอาหาร กล่องข้าว ฝาขวด เก้าอี้ พลาสติกจึงไม่ใช่ผู้ร้าย สามารถรีไซเคิลได้ ต้องรู้จักวิธีจัดการที่ถูกต้อง”

ปัจจุบันกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก มี 2 วิธี

  1. Mechanical Recycling บดอัด ล้างทำความสะอาด และทำเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่

2.Chemical Recycling นำพลาสติกมาผ่านกระบวนการทางเคมี มีราคาแพง แต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการใช้พลาสติกอย่างรู้คุณค่า

ผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้เราได้เห็นความต้องการใช้พลาสติกมากยิ่งขึ้น ชุด PPE ก็ทำมาจากพลาสติก PP ขวดน้ำเกลือ กล่องอาหาร หรืออุปกรณ์สำหรับทำงานที่บ้านก็เช่นกัน ดีมานด์ของพลาสติก PP หลัง COVID-19 ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป บรรจุภัณฑ์อาหารต้องการความสะอาด รีไซเคิลได้ ด้านสุขอนามัยก็มีความเปลี่ยนแปลง ยังต้องใช้หน้ากากอนามัย และชุด PPE รวมไปถึงสังคมสูงวัย ต้องมีสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ เช่น ผ้าอ้อม แผ่นรองซับ รวมถึง รถ EV ที่ต้องการน้ำหนักเบา พลาสติกหลายชนิดเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมถึงแบตเตอรี่ของรถ EV ก็ล้วนประกอบมาจากพลาสติกเช่นกัน


ต้องปรับตัวอย่างยั่งยืน

ปิดท้ายที่ สิรวิชญ์ สมรัตนกุล นักวิเคราะห์การพาณิชย์ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า

“แนวทางการปรับตัว และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพลาสติกหลังสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงนโยบาย และแผนงานด้านความยั่งยืนของทุกภาคส่วน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในอนาคตทั้งในระดับประเทศ ระดับหน่วยงาน องค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างโลกที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

จะเห็นได้ว่าปิโตรเคมีล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่หลายๆ สิ่งได้เกิดขึ้นจากปิโตรเคมีทั้งสิ้น ทิศทางต่อไปในอนาคตเราคงได้เห็นปิโตรเคมีแบบยั่งยืนมากขึ้น มีนวัตกรรมที่ทำให้เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

]]>
1395014