บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Apr 2024 03:16:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ยกระดับการตลาดให้ล้ำไปกับ Generative AI https://positioningmag.com/1469949 Thu, 11 Apr 2024 10:00:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469949

บทความโดยณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (BUZZEBEES)

การเป็นนักการตลาดที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ต้องการแค่ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความเชี่ยวชาญด้วย ซึ่งอาจเป็นงานที่ท้าทาย แต่ไม่ต้องกังวล เพราะพิ้งค์มีเทคโนโลยีล้ำสมัยมาช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น

สมมติว่าเราเป็นนักการตลาดของบริษัทที่มีคู่แข่งคือ NVIDIA เราสามารถใช้เครื่องมือ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น งบกำไรขาดทุน โดยเริ่มจากการอัปโหลดไฟล์เอกสารเข้าสู่ระบบ แล้วให้ AI ทำการสรุปข้อมูล จัดแยกหมวดหมู่ และแปลงเป็นกราฟแสดงภาพรวม

ในที่นี้เราจะใช้ ChatGPT 4 ในการทดสอบ เพราะมันคิดเลขแม่นสุดตอนนี้ พิ้งค์ได้ทดลองหลายแบบตั้งแต่อัปโหลดไฟล์ Excel เข้าไปใน ChatGPT มันทำไม่ได้ จากนั้นก็ลองเปลี่ยนไฟล์นั้นเป็น .CSV Comma Limited ก็ยังให้ค่าเอ่อๆ ออกมา หลังสุดก็เลยก๊อบปี้ แล้วก็วางลงไปตรงๆ เลย ปรากฏว่ามันอ่านได้แฮะ และนี่คือข้อสรุปของมัน

ขั้นแรกก็บอกมันก่อนว่าให้เอาข้อมูลทั้งหมด สรุปลงเป็นตารางง่ายๆ ให้ดูหน่อย โดยใช้ Prompt “Act as FP&A expert, analyze enclosed Excel data and present financial key performance indicator for CEO in tabula format” ก็ออกมาได้เป็นข้อมูลแบบนี้

ลองตรวจสอบตัวเลขดูแล้วก็ปรากฏว่า ตัวเลขถูกต้องต่างกันนิดหน่อย ต่างกันส่วนจุดทศนิยม เชื่อถือได้เนื่องจากมาวิเคราะห์ภาพรวม ก็เลยถามมันต่อไปว่าให้สรุปตัวชี้วัดที่สำคัญจากมุมมองตลาด โดยใช้คำสั่ง Prompt “Generate key financial ratio from data in Thai” ChatGPT ก็สรุปมาให้ดังต่อไปนี้

ทีนี้ก็เลยส่งคำสั่งมันบอกว่าให้เอาตัวเลขจริงๆ จากงบการเงิน มาใส่เป็นอัตราส่วนเป็นตารางให้หน่อย โดยใช้ Prompt คือ “add actual number of NVIDIA in tabula format” นี่คือผลลัพธ์ที่ได้ คือ

ตรวจตัวเลขแล้ว ถูกต้อง สุดท้ายก่อนที่เราจะไปคุยกับเจ้านาย เราก็บอกให้ ChatGPT มันทำการวิเคราะห์ กำไรขาดทุน ของ NVIDIA เลย โดยใช้ Prompt “from NVIDIA financial data and ratio above, analyze data based on marketing perspective” ผลที่ได้เป็นดังนี้

ด้วยวิธีนี้ นักการตลาดจะสามารถเข้าใจสถานะทางการเงินและประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลในการวางกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยถ้าพิ้งค์นำมาใช้งาน ก็จะนำข้อมูลของบริษัทเราเองมาเปรียบเทียบ แล้ววิเคราะห์ออกมาดูว่า สมมติว่าถ้าเทียบกับคู่แข่งคือ NVIDIA แล้ว บริษัทเราจะมีฐานะทางการเงินโดยเปรียบเทียบกันจะเป็นอย่างไร โดยใช้ ChatGPT ช่วยแบบตัวอย่างข้างต้น

สรุปแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมการตลาดในปัจจุบัน คือการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยให้นักการตลาดมีเวลามากขึ้นในการวางแผนกลยุทธ์สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ไปลองเล่นกันดูนะคะ
]]>
1469949
คนสร้างแพลตฟอร์มที่ดี เขามีวิธีคิดกันแบบไหน? https://positioningmag.com/1419836 Sun, 19 Feb 2023 13:27:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419836

บทความโดยณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (Buzzebees)

Platform คืออะไร? และทำไมคนถึงอยากทำกัน ?
คำว่า “แพลตฟอร์ม (Platform)” จริง ๆ แล้วมันสามารถแปลความหมายได้หลายอย่าง แต่ในบทความนี้ขอคุยเฉพาะเจาะจงลงไปในความหมายของ “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform)” ซึ่งก็คือระบบงานด้านไอทีที่พัฒนาผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน LINE และอื่น ๆ ในรูปแบบที่สามารถทำให้เกิดกิจกรรมด้านดิจิทัลทั้งในโซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ หรือแชท โดยที่แพลตฟอร์มนี้จะถูกทำผ่านส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ถูกออกแบบและพัฒนาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น

แล้วทำไมคนถึงอยากทำแพลตฟอร์ม ?

ส่วนใหญ่คนทำแพลตฟอร์มด้วยเหตุผลสองหลักใหญ่ ๆ คือ 1. แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตัวเอง 2. อยากรวย อยากทำอะไรขึ้นมาแล้ว หาเงินได้กับสิ่งนั้นๆ ซึ่งแบบแรก เอาจริงๆ มักจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะการแก้ปัญหาจริงๆ จะช่วยให้เรามีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้าง Value ได้เป็นวงกว้างมากขึ้น

Photo : Shutterstock

Platformที่ดีเขาจะมีวิธีคิดกันแบบไหน?

แพลตฟอร์มที่ดีเค้ามีวิธีการคิดกันแบบไหน จริง ๆ แล้วมันก็ดูจะเป็นเรื่องพื้นฐานแต่คนจำนวนไม่น้อยกลับตั้งโจทย์ผิดจุด เช่น บางแพลตฟอร์มมักจะถูกคิดจากคนที่ทำแพลตฟอร์มเอง โดยวิศวกรผู้ออกแบบระบบว่าควรเป็นแบบนั้นแบบนี้ ถ้าเดาถูกก็ดีไป ส่วนใหญ่ก็เดาไม่ค่อยจะถูก เพราะ “ไม่ใช่ผู้ใช้งานจริง” แล้วเราควรมีวิธีคิดแบบไหนบ้าง ?

  1. การออกแบบแพลตฟอร์มที่ดีควรคิดจากด้านนอกสู่ด้านใน (Outside in) พูดง่าย ๆ คือถ้าเราต้องการแก้ปัญหาอะไรเราก็ต้องไปฟังปัญหานั้นจากผู้ใช้งานจริง ๆ ว่าปัญหามันอยู่ตรงที่ไหน แล้วสิ่งที่เราพยายามจะแก้นั้นมันสามารถช่วยแก้ปัญหาเค้าได้จริง ๆ หรือเปล่า
  2. เราต้องคิดให้ดีว่าปัญหาที่เราพยายามแก้ไขนั้นมันคุ้มค่าพอที่จะทำให้การเสียเวลา เสียทรัพยากรการลงทุนทำแพลตฟอร์มคุ้มค่าหรือไม่?

ทีนี้ถ้าเราได้ปัญหาที่คุ้มค่ากับการแก้แล้ว เราก็เริ่มเข้ามาสู่จุดที่เราจะต้องออกแบบแพลตฟอร์มให้มีการใช้งานที่แก้ปัญหานั้นได้จริง ๆ เริ่มจากต้องสังเกตหรือค้นพบปัญหาบางอย่าง แล้วจับจุดว่าใครน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายแล้วไปคุยกับกลุ่มเป้าหมายถึงปัญหา แล้วค่อยนำเสนอสิ่งที่เราพยายามออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

Photo : Shutterstock

ยกตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะมีแอปพลิเคชันที่ใช้เรียกรถสาธารณะ ในสมัยก่อนนั้นถ้าผู้ใช้งานจะเรียกรถสาธารณะก็ต้องไปยืนอยู่ริมถนน โทรเรียกก็รอนาน ไม่รู้ว่ารถสาธารณะนั้นอยู่ตรงจุดไหนแล้ว ซึ่งในสมัยก่อนก็ดูไม่น่าใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้งานก็ล้วนแต่ต้องการความสะดวกสบาย ถ้าเราทำได้คนจำนวนมหาศาลจะใช้ชีวิตง่ายขึ้น รวมถึงคนขับเองก็สามารถรับลูกค้าในบริเวณใกล้เคียงได้

  1. แบ่งความต้องการที่เป็น Functional Requirements และ Emotional Requirements

ยกตัวอย่างความต้องการด้าน Functional Requirements คือแก้ปัญหาได้ตรงไปตรงมา ในกรณีนี้ก็คือ ฟังก์ชันที่ตอบสนองความต้องการที่จะเรียกรถและกำหนดเวลาที่รถจะมารับได้ ราคาจะต้องแข่งขันกับราคาที่ใช้ในปัจจุบันได้ และเมื่อเรียกรถแล้วจะต้องมีรถมารับ เป็นต้น

ส่วนความต้องการด้าน Emotional Requirements คือฟังก์ชันที่สามารถสร้างความอุ่นใจในการใช้บริการรถนั้นอย่างรู้สึกปลอดภัย อยากรู้สึกว่าถ้าใช้บริการก็จะได้รับบริการที่ดี ดังนั้นเราก็จะต้องมีการออกแบบฟังก์ชันบางอย่าง เช่น Driver Rating หรือการให้คะแนนคนขับว่าคนขับคนนี้มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ, ความรู้สึกที่ต้องการได้รับบริการอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่เร็วก็สามารถยกเลิกได้ ก็จะมีการโชว์รูปรถบนแผนที่จริง เพื่อให้รู้ว่ารถนั้นไกลจากที่ที่เราอยู่, หรือการให้โปรโมชันต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่าต่อการใช้งาน

ซึ่งยังไม่ขอนับรวมถึง Non-functional Requirements อื่น ๆ ที่อยู่ในกระบวนการออกแบบแพลตฟอร์ม เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย การเก็บ Log ในกรณีระบบมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าการออกแบบแพลตฟอร์มที่ดีนั้นจะตั้งต้นมาจากผู้ใช้งานจริง ต้องไปถามกลุ่มเป้าหมายมาจริง ๆ ว่าเขามีปัญหาอะไรในการใช้งานในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังโฟกัส แล้วเราก็ค่อย ๆ เอามาออกแบบแล้วก็แก้ไปทีละข้อ

Photo : Shutterstock

ทีนี้พอออกแบบฟังก์ชันเสร็จมันก็ไม่จบง่าย ๆ มันต้องมีการออกแบบสิ่งที่เรียกว่า UX/UI (User Experience/User Interface) ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับการออกแบบด้านฟังก์ชันเลย เพราะว่าเรากำลังใช้งานอยู่กับมนุษย์ เพราะฉะนั้นความเข้าใจประสบการณ์ที่มันจะดีต่อมนุษย์จึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้แพลตฟอร์มเราประสบความสำเร็จ พูดง่าย ๆ ถ้ามนุษย์รู้สึกไม่อยากใช้งานแพลตฟอร์มเรา ไม่ว่าจะมีฟังก์ชันดีขนาดไหนสิ่งนี้ก็ไม่สำเร็จ และคนก็จะไม่กลับมาใช้แพลตฟอร์มนั้นซ้ำ ๆ ซึ่งคงไม่คุ้มกับการลงทุนไปแน่ ๆ

ส่วนถ้าจะให้พูดว่า UX/UI ต้องออกแบบยังไงให้ตรงใจคน ? อันนี้ต้องเล่าเรื่องกันยาวเลยอาจจะต้องมาเล่าใหม่ใน EP.5 นะคะ
]]>
1419836