บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Aug 2020 09:31:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปตท. เปิดงบ Q2/63 มีกำไรสุทธิ 12,053 ล้านบาท ลดลง 53.5% https://positioningmag.com/1292005 Tue, 11 Aug 2020 06:21:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292005 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. นำส่งงบการเงินเฉพาะบริษัท และงบการเงินรวมสำหรับงวด 3 เดือน และงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.แล้ว โดยผลการดำเนินงานตามงบการเงินรวม เป็นดังนี้

ในไตรมาส 2 ปี 2563 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย จำนวน 341,325 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิของ ปตท.และบริษัทย่อยมีจำนวน 12,053 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2563 เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562

เมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2562 ปตท.และบริษทัย่อยมีรายได้ลดลงจำนวน 228,997 ล้านบาท หรือ 40.2% จากทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งจากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง EBITDA ลดลง 19,596 ล้านบาท หรือ 26.6% สาเหตุหลักจากธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่มีผลการดำเนินงานลดลงตามราคาขาย และปริมาณการขายที่ปรับตัวลดลง แม้ในไตรมาสนี้จะมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นของโครงการมาเลเซีย และกลุ่มพาร์เท็กซ์ (Partex) ซึ่งรับรู้ผลการดำเนินงานจากการเข้าซื้อธุรกิจตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562 และไตรมาส 4 ปี 2562 ตามลำดับ

รวมถึงกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่มีผลการดำเนินงานลดลงโดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายที่ลดลงตามราคาอ้างอิงในตลาดโลกที่ลดลง และปริมาณขายที่ลดลงตามการปิดซ่อมบำรุง และการปรับลดกำลังการผลิตดังกล่าวข้างต้น และธุรกิจค้นหา และจัดจำหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากปริมาณขายโดยหลักจากกลุ่มลูกค้าโรงไฟฟ้าลดลง และราคาขายอ้างอิงราคาน้ำมันเตาลดลง และกลุ่มธุรกิจน้ำมันมีผลการดำเนินงานลดลงจากปริมาณขายที่ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบจาก COVID-19

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกจิการค้าระหว่างประเทศมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นโดยหลักจากการรักษาความสามารถในการสร้างผลกำไร และเพิ่มโอกาสทางการค้าข้ามทวีปและข้ามภูมิภาคในภาวะตลาดเอื้ออำนวย (Arbitrage Opportunity) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงทุกด้านอย่างรัดกุม และกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมี EBITDA ที่ดีขึ้นจากกำไรสต๊อกน้ามันใน 2Q2563 ตามราคาน้ำามันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แม้ว่า Market GRM ปรับลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกับน้ามันดิบส่วนใหญ่ที่ลดลง อีกทั้งส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเช่นกัน

ปตท.และบริษัทย่อยใน 2Q2563 มีกำไรสุทธิลดลงจำนวน 13,885 ล้านบาท หรือ 53.5% ตาม EBITDA ที่ลดลงและมีขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในไตรมาสนี้ แม้ว่ามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้สกุลต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นตามค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และค่าใช้จ่ายภาษีเงินไดที่ลดลง โดยหลักจากภาษีเงินได้ของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมตามที่กล่าวข้างตน

ผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2563 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562

ในช่วงคึ่รงแรกของปี 2563 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 จำนวน 296,304 ล้านบาท หรือ 26.4% จากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ ตามราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง ยกเว้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี และวิศวกรรมมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเข้าซื้อ บมจ. โกลว์พลังงาน (GLOW) ของ GPSC ในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2562 ใน 1H2563 ปตท.และบริษัทย่อยมี EBITDA ลดลง 67,734ล้านบาท หรือ 43.9% จาก 1H2562

สำหรับกลุ่มธุรกิจน้ำมันมีผลการดำเนินงานลดลงเช่นกัน สาเหตุหลักจากขาดทุนสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของกลุ่มเทคโนโลยี และวิศวกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC ในช่วงปลาย 1Q2562 อีกทั้งกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นโดยหลักจากการรักษาความสามารถในการสร้างผลกำไร และเพิ่มโอกาสทางการค้าข้ามทวีป และข้ามภูมิภาคในภาวะตลาดเอื้ออำนวย (Arbitrage Opportunity) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงทุกด้านอย่างรัดกุม

ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิใน 1H2563 จำนวน 10,499 ล้านบาท ลดลง 44,751 ล้านบาท หรือ 81% จากใน 1H2562 ตาม EBITDA ที่ลดลงรวมถึงค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม และของธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรมที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้นรวมถึงใน 1H2563 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากลดลงเงินกู้สกุลต่างประเทศตามค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และมีการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แม้ว่าจะมีกำไรจากตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้นและค่าใชจ่ายภาษีเงินไดที่ลดลงตามผลการดำเนินงานที่ลดลงเป็นหลัก

Source

]]>
1292005
รู้จัก “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” ลูกหม้อปตท. 30 ปี นั่ง CEO คนใหม่เป็นคนที่ 10 https://positioningmag.com/1257934 Sat, 21 Dec 2019 15:27:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257934 บอร์ด ปตท.มีมติเอกฉันท์อนุมัติแต่งตั้ง “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” แหวกคู่แข่ง 6 คน นั่งซีอีโอ ปตท.คนใหม่ ชี้มีจุดเด่นประสานกับทุกฝ่ายได้ดี

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนใหม่ ถือเป็นซีอีโอ ปตท.คนที่ 10 ตามที่คณะกรรมการสรรหาซีอีโอเสนอมา แทนนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ที่จะหมดวาระเกษียณอายุครบ 60 ปี ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2562

“มติกรรมการสรรหาซีอีโอและคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เป็นซีอีโอ ปตท.คนใหม่ โดยยอมรับว่าผู้สมัครทั้ง 6 คนมีความรู้ ความสามารถใกล้เคียงกัน แต่นายอรรถพล มีจุดเด่นที่ดีสามารถประสานงานกับบุคคลภายนอกได้เป็นอย่างดี”

โดยอรรถพลถือเป็นลูกหม้อที่งานใน ปตท.มานาน 30 ปี โดยในปี 2552 ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคมเป็นเวลา2 ปีกว่า ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ ในปี 2554-56 และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก ปตท. ในปี 2556-57 และย้ายไปนั่งตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืนและวิศวกรรมโครงการ ปตท.เมื่อปี 2557-58 ก่อนจะกลับมาดูแลธุรกิจน้ำมันอีกครั้งในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. เมื่อปี 2558-60

ในเดือนต.ค.ปี 2560 รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย และรักษาการแทนรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย อีกหน้าที่หนึ่ง และปี 2561-ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. กำกับดูแลในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจปิโตรเคมี และการกลั่น ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและการค้าปลีก รวมทั้งถึงบริษัทย่อยในเครือ ปตท.ทั้ง บมจ.ไออาร์พีซี บมจ.ไทยออยล์ บมจ.พีทีที โกลบอลเคมิคอล และ บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก

อรรถพล เกิดวันที่ 19 ก.ค. 2508 ปัจจุบันอายุ 54 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนศึกษาต่อปริญญาโท พัฒนาการเศรษฐกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งอบรมในหลักสูตรต่างๆ เช่น Director Certification Program (DCP 173/2013) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD), หลักสูตร TLCA Executive Development Program (EDP) รุ่นที่ 1 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย, Diploma of Petroleum Management, College of Petroleum Studies, Oxford, England (ได้รับทุนการศึกษาจาก British Council) และหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 14 สถาบันพระปกเกล้า ,หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 20 สถาบันวิทยาการตลาดทุน ,NIDA-Wharton Executive Leadership Program 2009, The Wharton School of the University of Pennsylvania, USA ,PTT Executive Leadership, General Electric, GE, New York, USA

อรรถพลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทำให้ธุรกิจน้ำมัน ปตท.เติบโตก้าวหน้าแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย รวมทั้งส่งเสริมให้สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคมชุมชน โดยเป็นศูนย์กลางชุมชน หรือ Living Community มีการนำสินค้าเกษตรกรรมเข้ามาจำหน่าย และสานต่อนโยบายการแยกธุรกิจน้ำมันออกมาจากปตท.มาเป็น บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ เพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

Source

]]>
1257934