BYD ค่ายรถอีวียักษ์ใหญ่ของจีน เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 7.77 แสนล้านหยวน หรือ 1.07 แสนล้านดอลลาร์ โดยยอดขายเพิ่มขึ้น +29% คิดเป็นยอดส่งมอบรถทั้งหมด 4.27 ล้านคัน ในขณะที่ Tesla คู่แข่งคนสำคัญทำรายได้ 9.77 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นยอดส่งมอบรถทั้งหมด 1.79 ล้านคัน ลดลง -1.1%
ในปีนี้ ยอดส่งออกของ BYD ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 BYD ส่งออกรถไปแล้ว 133,361 คัน เติบโต +124% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ด้านของ Tesla กำลังเจอปัญหาในหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น จีน ที่ยอดขายในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมากกว่า -50% อีกตลาดก็คือ ยุโรป ที่ส่วนแบ่งการตลาดของ Tesla ในช่วง 2 เดือนแรกลดลงเหลือ 7.7% จาก 18.4% ในปี 2024
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ยอดขายของ Tesla กำลังดิ่งลงเหวเป็นผลมาจาก พฤติกรรมของมัสก์ ที่กำลังส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ นับตั้งแต่ที่เขาขึ้นมาเป็น ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเป็นผู้ดูแลกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล นอกจากนี้ มัสก์มักจะแสดงความเห็นแทรกแซงเกี่ยวกับ การเมืองในต่างประเทศ
อีกประเด็นที่น่าจับตาคือ BYD อาจจะทิ้งห่าง Tesla ได้มากกว่านี้หรือไม่ ทั้งในแง่ยอดขายและเทคโนโลยี โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BYD ได้เปิดตัว ระบบชาร์จเร็วพิเศษ ที่ชาร์จเพียง 5 นาที วิ่งได้ 400 กิโลเมตร แซงหน้าเทคโนโลยีการชาร์จของ Tesla Superchargers ของ Tesla ใช้เวลา 15 นาทีในการชาร์จและให้ระยะ 320 กิโลเมตร
นอกจากนี้ BYD ได้เปิดตัวระบบ God’s Eye ช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงเมื่อเดือนที่แล้ว แถมยังให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งนักวิเคราะห์ มองว่า การอัปเกรดฟรีของระบบผู้ช่วยขับรถอัจฉริยะ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อ Tesla และผู้ผลิตรถอีวีสัญชาติจีนรายอื่น ๆ ในทางตรงกันข้าม บริการ Full Self-Driving (FSD) ของ Tesla ต้องจ่ายค่าสมัครสมาชิกรายเดือนที่ 99 ดอลลาร์ หรือการชําระเงินครั้งเดียว 8,000 ดอลลาร์ ทำให้ Tesla อาจต้องยอมลดราคา
]]>บีวายดี (BYD) เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แบรนด์มียอดขายทั่วโลก 322,846 คัน เพิ่มขึ้น +8.9% จากเดือนมกราคม โดยมียอด ส่งออก ที่ 67,025 คัน เติบโต +187.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมกับยอดเดือนมกราคม BYD ได้ส่งออกรถยนต์ไปแล้ว 133,361 คัน ในปี 2025 เติบโต +124% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
JPMorgan Chase มองว่า ที่แบรนด์ไม่แสดงสัญญาณว่าจะชะลอการขยายตัวภายในประเทศและระหว่างประเทศ แม้ว่ารถอีวีจากจีนจะถูกทั้งสหรัฐฯ, แคนาดา และยุโรป ขึ้นภาษี เป็นเพราะโรงงานประกอบรถยนต์ของ BYD ในบราซิล ฮังการี อินโดนีเซีย และไทยใกล้จะแล้วเสร็จ ทำให้ BYD เตรียมเพิ่มกำลังผลิต อีกทั้งการเปิดตัวระบบขับรถอัตโนมัติ คาดว่าในปีนี้ BYD จะสามารถส่งมอบรถอีวีได้ถึง 6.5 ล้านคัน ทั่วโลก
สำหรับภาพรวมตลาดอีวีทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคัน เติบโตขึ้น +50% โดยการเติบโตหลัก ๆ มาจากตลาด จีน ที่เติบโตถึง +76% ส่วนตลาด ยุโรป โตขึ้น +20% ในช่วง 2 เดือนแรก ในขณะที่การส่งมอบใน อเมริกาเหนือ อยู่เท่าเดิมที่ 300,000 คัน
ที่น่าสนใจคือ เทรนด์ของ BEV หรือ รถยนต์ไฟฟ้า 100% ในตลาดจีนกลับมาเติบโต หลังจากปีที่ผ่านมารถ ไฮบริด เติบโตอย่างมาก เนื่องจากบรรดาค่ายรถต่างก็เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด โดยยอดขาย BEV เพิ่มขึ้น +46% ส่วนยอดขายปลั๊กอินไฮบริดเพิ่มขึ้น +22%
“การเติบโตส่วนใหญ่ของรถอีวียังคงมาจากจีน แต่ที่น่าสนใจคือ การฟื้นฟูยอดขายของรถไฟฟ้า 100% ไฟในปีนี้ หลังจากที่ปี 2024 เป็นปีแห่งไฮบริด” ชาร์ลส์ เลสเตอร์ ผู้จัดการข้อมูลของ Rho Motion กล่าว
ที่น่าเป็นห่วงคือ เทสลา (Tesla) ที่ค่อย ๆ เสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดจีน โดยยอดขายในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมากกว่า -50% เหลือ 30,688 คัน ซึ่งลดลงมากกว่าเดือนมกราคม ที่ลดลง 49.2%
]]>บีวายดี (BYD) ได้เปิดเผยถึงกำไรสุทธิในปี 2023 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 3 หมื่นล้านหยวน หรือราว 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า +80% จากปี 2022 ที่มีกำไรสุทธิ 1.66 หมื่นล้านหยวน (8.5 หมื่นล้านบาท) แม้ว่าบริษัทจะเจอกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงทั่วโลก และการชะลอตัวของการเติบโตในประเทศเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่
ย้อนไปช่วงไตรมาส 4/2023 ยอดขายของ BYD ได้แซงหน้า เทสลา (Tesla) ขึ้นเป็นแบรนด์อันดับ 1 ที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลก ด้วยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) 525,409 คัน เทียบกับ Tesla ที่มียอดขาย 484,507 คัน หากรวมยอดขายทั้งปีอยู่ที่ 3.02 ล้านคันทั่วโลก เพิ่มขึ้น +62% จากปี 2022 โดยแบ่งเป็นยอดขาย BEV 1.8 ล้านคัน และรถปลั๊กอินไฮบริดที่ 1.44 ล้านคัน
หนึ่งในจุดที่ทำให้ BYD มียอดขายมากกว่า Tesla มาจาก ราคาที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกัน ซึ่งช่วยให้ดึงดูดผู้ซื้อได้กว้างขึ้น โดยรถรุ่นเริ่มต้นที่ขายในประเทศจีนมีราคาเพียง 10,000 ดอลลาร์ (3.6 แสนบาท) ส่วนรถ Tesla ที่ถูกที่สุดคือ Model 3 มีราคาเกือบ 39,000 ดอลลาร์ (1.4 ล้านบาท)
ทั้งนี้ จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นและสงครามราคาในปีที่แล้ว ได้ส่งผลกระทบต่ออัตรากําไรของผู้ผลิตรถยนต์จีนหลายราย โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนมี อัตรากําไรเฉลี่ย 5% ลดลงจากในปี 2022 ที่มีอัตรกำไรเฉลี่ย 5.7% และ 6.1% ในปี 2021 ตามตัวเลขล่าสุดจากสมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของจีน
แม้จะมีอัตรากําไรเพียงเล็กน้อย แต่สงครามราคาก็ดูเหมือนจะไม่ลดลง เพราะเมื่อต้นเดือนนี้ BYD ได้ลดราคาเริ่มต้นของรถอีวีรุ่นเริ่มต้นอย่าง Seagull hatchback ลง 5% เป็น 69,800 หยวน (9,670 ดอลลาร์) ผู้ผลิตรถยนต์จีนรายอื่นๆ ได้ประกาศลดราคาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง Geely, Chery และ XPeng Motors
]]>ในอดีตค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นอาจจะต้องแข่งกับค่ายรถจากฝั่งยุโรปและแข่งขันกันเอง แต่ตอนนี้ทุกค่ายคงตระหนักได้ว่า คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในตลาดก็คือ ค่ายรถอีวีจีน ทำให้ นิสสัน (Nissan) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด (Memorandum of Understanding – MoU) กับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถยนต์คู่แข่ง เพื่อร่วมมือกันในการผลิตส่วนประกอบสำคัญสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์
โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะทำให้มี Economy of scale ที่มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับค่ายรถอีวีจากจีน โดยเฉพาะ บีวายดี (BYD) จากจีนที่เพิ่งบุกตลาดประเทศญี่ปุ่น รวมถึง เทสลา (Tesla) ด้วย
“ผู้เล่นหน้าใหม่มีความก้าวร้าวมากและกำลังบุกเข้ามาด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง เราไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ ตราบใดที่เรายึดมั่นในแนวคิดและแนวทางแบบดั้งเดิม” มาโกโตะ อุชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว
อย่างไรก็ตาม นิสสันและฮอนด้า ยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน แต่ก็เปิดรับความเป็นไปได้ในอนาคต รวมถึงยัง เปิดกว้างในการร่วมมือกับพันธมิตร ที่มีอยู่หากมีโอกาสเกิดขึ้น
“เราถูกจำกัดด้วยเวลา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้เร็ว เพื่อที่ภายในปี 2030 เราจะอยู่ในตำแหน่งที่ดี เราจึงต้องตัดสินใจตั้งแต่ตอนนี้”
ทั้งนี้ ฮอนด้าตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงเป็น 100% ของยอดขายทั้งหมดภายในปี 2040 ส่วนนิสสันถือเป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยรุ่น Leaf
ที่ผ่านมา ทั้งฮอนด้าและนิสสัน ได้พิจารณาเตรียมลดกำลังการผลิตในประเทศจีน โดยสาเหตุสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยนิสสันเตรียมลดกำลังการผลิตในจีนสูงสุดถึง 30% เหลือ 1.6 ล้านคัน/ปี ส่วนฮอนด้านั้นจะลดกำลังการผลิตราว 20% เหลือ 1.2 ล้านคันต่อปี
]]>บีวายดี แบรนด์รถอีวีเบอร์ 1 ของจีนได้เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนเปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเวียดนาม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งออกชิ้นส่วนไปประกอบรถยนต์ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้เปิดเผยถึงมูลค่าการลงทุนดังกล่าว
ย้อนไปเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แบรนด์บีวายดี ได้เปิดตัวที่ไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการนำเข้าโดย บริษัท เรเว่ ออโตเมทีฟ จำกัด (RÊVER AUTOMOTIVE) บริษัทของ 2 พี่น้องตระกูล พรประภา เจ้าของกลุ่มสยามกลการ โดยในการเปิดตัวรถยนต์ บริษัท เรเว่ ได้เปิดเผยว่าในช่วง 2 ปีแรกบริษัทได้วางงบลงทุนไว้ 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะ ลงทุนสร้างโรงงานประกอบ ในอนาคต ขณะที่ทางแบรนด์ยืนยันว่ามีแผนจะเปิดโรงงานประกอบในไทยภายในปี 2024 คาดว่ามีกำลังผลิต 1.5 แสนคัน/ปี ดังนั้น การเปิดโรงงานในเวียดนามถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะได้เห็นโรงงานประกอบในไทย
ที่น่านสนใจคือ การปรากฏตัวของ BYD จะเป็นความท้าทายโดยตรงต่อบริษัท วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของเวียดนามที่เริ่มจำหน่ายรถยนต์ในปี 2018 และวางแผนที่จะขยายตลาดในตลาดสหรัฐอเมริกา
]]>