ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Jun 2022 11:29:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บุญรอดฯ ผนึกกำลังโออาร์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บุกธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม https://positioningmag.com/1388082 Wed, 08 Jun 2022 06:30:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388082 บุญรอดเทรดดิ้งฯ ร่วมทุน บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด โดย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จัดตั้งบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม โดยได้นำประสบการณ์และความเข้าใจในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายครบวงจร มาพัฒนาต่อยอดโดยผนึกความเชี่ยวชาญ OR ในธุรกิจค้าปลีกเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ ‘คาเฟ่ อเมซอน’ ร่วมปั้นรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทุกที่ทุกเวลา รับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

นายภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทบุญรอดฯ ดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า 89 ปี เรามีความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายครอบคลุม ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ น้ำดื่ม โซดา น้ำแร่ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัทฯ สามารถครองใจกลุ่มเป้าหมายและก้าวเป็นผู้นำในตลาดอย่างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ในกลุ่มเครื่องดื่มเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทฯได้ร่วมลงนามในสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้น 100% ซึ่งมีความแข็งแกร่งในการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ส่วนบุญรอดฯ มีความชำนาญในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มครบวงจร , ทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แข็งแกร่ง รวมทั้งมีศักยภาพการกระจายสินค้าครอบคลุมทุกช่องทาง

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า การเพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่มของ OR ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของ OR ตามพันธกิจในการสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ (All Lifestyle) สำหรับการร่วมมือกับบุญรอดฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จะช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งช่องทางการจำหน่าย ให้ตอบโจทย์ความต้องการเครื่องดื่มของผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมยิ่งขึ้น

ดังนั้น การตั้งบริษัทร่วมทุน จึงเป็นการนำความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 ฝ่าย มาต่อยอดเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการเดินหน้าพัฒนาโครงการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม(Ready To Drink : RTD)  เพื่อตอบสนองทุกความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

]]>
1388082
OR เข้าเทรด ‘วันแรก’ ราคาเปิดตลาด 26.50 บาทต่อหุ้น เหนือจอง 47.22% ปิดตลาดพุ่ง 29.25 บาท https://positioningmag.com/1318980 Thu, 11 Feb 2021 03:34:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318980 วันนี้ (11 ก.พ.2564) บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรกเเรก พบว่า ราคาเปิดตลาดที่ 26.50 บาทต่อหุ้น สูงกว่าราคาจอง 8.50 บาท หรือเพิ่มขึ้น 47.22% และมีราคาปิดตลาดที่ 29.25 บาท สูงกว่าราคาจอง 11.25 บาท หรือเพิ่มขึ้น 62.50% สวนทางหุ้นไทยวันนี้ ปิดตลาดบ่ายร่วง 8.59 จุด

โดยราคาสูงสุดของวันที่อยู่ที่ 29.50 บาท ราคาต่ำสุด 22.10 บาท ราคาเฉลี่ย 26.04 บาท ปริมาณซื้อขาย 1,818,768,462 หุ้น มีมูลค่าซื้อขาย 47,360,571.72 บาท ผลักดันให้ OR มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ 339,592.50 ล้านบาท ติดอันดับ 11 บริษัทมูลค่าสูงสุดในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วน บล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

OR ประกอบธุรกิจน้ำมัน กลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) รวมถึงกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีปั๊มน้ำมันเเบรนด์ดังอย่าง PTT Station เเละร้านกาแฟ Café Amazon , Texas Chicken เเละอีกมากมาย

OR ขายหุ้น IPO ให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก จำนวน 2,610 ล้านหุ้น รวมกรีนชูอีก 390 ล้านหุ้น เป็น 3,000 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 18 บาท โดยจัดสรรให้รายย่อย 1,036.94 ล้านหุ้น นักลงทุนสถาบันที่จองซื้อในประเทศไทย 1,213.05 ล้านหุ้น นักลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศอีก 450 ล้านหุ้น และผู้ถือหุ้นเดิม ปตท. อีก 300 ล้านหุ้น

ด้านแผนการดำเนินงานของ OR บริษัทตั้งงบลงทุน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ไว้ที่ 74,600 ล้านบาท เพื่อขยายการลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก แบ่งเป็นลงทุนในธุรกิจน้ำมัน 34.6% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ (Non-Oil) 28.6% ธุรกิจต่างประเทศ 21.8% และธุรกิจอื่นๆ รวมถึงจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอีก 15% เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในธุรกิจใหม่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้

 

]]>
1318980
อ่าน 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1315923 Fri, 22 Jan 2021 12:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315923 ข่าวใหญ่ในวงการหุ้นไทยที่ได้รับความสนใจ คึกคักมาตั้งเเต่ต้นปี 2021 หลังบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ (โออาร์) เตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในช่วงราคา 16-18 บาทต่อหุ้น

โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’

ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ไม่มีพอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ OR

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตทมาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ

มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%

  • แบรนด์ร้านกาแฟ Café Amazon ที่มีจำนวน 3,168 ร้านในประเทศไทย และ 272 ร้านในต่างประเทศ
  • ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 56 แห่งในประเทศไทย และ 4 แห่งในต่างประเทศ
  • ร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven ในสถานีบริการ และแบรนด์ Jiffy จำนวนรวมกัน 1,960 ร้านในประเทศไทย และ 86 ร้านในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์กัมพูชา และเมียนมา ฯลฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
Photo : Shutterstock

รายได้และกำไรของ OR

ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท

ปี 2563 (..-..) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท

หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%

ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%

กางเเผนลงทุน 5 ปี 

หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรีโรงงานผงผสมเครื่องดื่มศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย

ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท

ptt station ปั๊มปตท.

ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน

ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่

รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี

ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์กัมพูชาสปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก 

ร้านกาเเฟ Café Amazon ในลาว

แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon

สำหรับเเผนการลงทุนใน จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ

ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)

จัดงบลงทุน รับเทรนด์ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง น้อยมากจดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่

โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส’  Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน

คุยต่อสัญญา เซเว่นอีเลฟเว่น’ 

ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี 

ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย 

จองซื้อหุ้น PTTOR ต้องทำอย่างไร?

OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35% 

  • จำนวน 1,860 ล้านหุ้น เสนอขายผู้ลงทุนที่จองซื้อในประเทศ (รวมรายย่อย 595.7 ล้านหุ้น )
  • จำนวน 450 ล้านหุ้น เสนอผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ
  • จำนวน 300 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชน เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตทเท่านั้น

วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น

โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 .. 2564 เวลา 9.00 เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้

ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 .. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 .. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)

จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น

โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 .. 2564 ถึง วันที่ 2 .. 2564 (เวลา 12.00 .) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง

กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้ 

  1. ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
  2. แบบสอบถามเพื่อหาข้อบ่งชี้การเป็นบุคคลสหรัฐฯ (กรณีฝากหุ้นในบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สมาชิกเลขที่ 600)
  3. แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) (กรณีไม่เคยทำมาก่อน)
  4. บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  5. สมุดบัญชีเงินฝากหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคารใช้เพื่อรับคืนเงินค่าจองซื้อ
  6. ควรทราบเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเลขที่สมาชิกของโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ 

กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 ของวันที่ 24 .. 2564 ถึง 12.00 . (เที่ยงวันของวันที่ 2 .. 2564)

  • กสิกรไทย ผ่านเว็บไซต์ K-My Invest และจ่ายผ่านแอปฯ KPLUS
  • กรุงเทพ ผ่านเว็บไซต์ และแอปฯ Bualuang Mobile Banking
  • กรุงไทย ผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดใช้ KTB Netbank และแอปฯ KrungThai Next

ไม่มี พอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทยจำกัดหรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600

อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน

จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า

ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลตอบแทนอะไรบ้าง

  • ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกิจการตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ได้รับเงินปันผล โดย OR มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
  • ได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา หากสามารถขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาซื้อ เเต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาจองซื้อหรือไม่

ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 27 บาท ก่อนมีแรงขายทำกำไรออกมาอยู่ที่ต่ำสุดราว 23 บาท

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วนบล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1315923
เนื้อหอม! OR แท็กทีมกลุ่มเซ็นทรัลขยาย “คาเฟ่ อเมซอน” บุกเวียดนาม https://positioningmag.com/1257740 Thu, 19 Dec 2019 09:36:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257740 ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR แท็กทีม CRG ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ให้สิทธิสัญญามาสเตอร์แฟรนไชส์ขยาย “คาเฟ่ อเมซอน” ในประเทศเวียดนาม

เวียดนามศักยภาพสูง

เวียดนามยังคงเป็นตลาดเนื้อหอมที่หลายแบรนด์ให้ความสำคัญในการลงทุน ล่าสุด “คาเฟ่ อเมซอน” ขอสยายปีกไปลงทุน ด้วยการผนึกกำลังของ OR และ CRG

ด้วยภาพรวมตลาดกาแฟของเวียดนามปี 2562 มีมูลค่าตลาดสูงถึง 6,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยถึง 8.2% ต่อปี ซึ่งอัตราการบริโภคกาแฟของคนเวียดนามเมื่อเทียบกับการบริโภคกาแฟของคนไทยที่สูงกว่าถึง 5 เท่า

โดยพฤติกรรมการดื่มกาแฟของชาวเวียดนาม ที่นิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้วในหลายโอกาสของวัน และด้วยไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงาน-วัยรุ่น ที่ชอบใช้เวลาอยู่ในร้านกาแฟ รวมทั้งชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ บวกกับความเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ในช่วงปี 2561 – 2562 มีร้านกาแฟเปิดเพิ่มขึ้นในเวียดนามมากถึง 30%

คาเฟ่ อเมซอน แห่งแรกที่บิ๊กซีในเวียดนาม

ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR จึงเห็นโอกาสการเติบโตและการลงทุนขยายตลาดในเวียดนามได้อีกมาก จึงผนึกกำลังกับ CRG หรือ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัลที่มีการทำธุรกิจในเวียดนาม โดยการร่วมมือกันครึ่งนี้เป็นการใช้โลคอล เน็ตเวิร์ก และโนว์ฮาวในการบริหารงานของ เซ็นทรัล รีเทล ในประเทศเวียดนาม 

ซึ่งจะเปิดให้บริการ คาเฟ่ อเมซอน สาขาแรกที่ศูนย์การค้าบิ๊กซี / โก! (Big C / GO!) ที่บริหารงานโดย เซ็นทรัล รีเทล เวียดนาม ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2563 และมีแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง 

วิศาล ชวลิตานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดต่างประเทศ โออาร์ เปิดเผยว่า

ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจต่างประเทศของ โออาร์ เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เปิดกว้างทางการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มการเติบโตของการผลิต การบริโภค และการขยายธุรกิจร้านกาแฟสูง โออาร์ จึงได้ร่วมมือกับบริษัท ซีอาร์จี จัดตั้งบริษัทร่วมทุนในประเทศเวียดนาม โดย โออาร์ ซึ่งมีความรู้ความชำนาญในธุรกิจกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน จะรับผิดชอบการบริหารธุรกิจ การขยายสาขา การพัฒนาเมนูเครื่องดื่ม ตลอดจนการจัดหาวัตถุดิบหลักให้กับบริษัทร่วมทุน ซึ่ง โออาร์ จะให้สิทธิสัญญามาสเตอร์แฟรนไชส์แก่บริษัทร่วมทุน เพื่อขยายสาขาร้าน คาเฟ่ อเมซอน เอง และให้สิทธิการขยายสาขากับนักลงทุนท้องถิ่นในประเทศเวียดนามด้วย 

ทั้งนี้ ร้าน คาเฟ่ อเมซอน ในประเทศเวียดนาม จะใช้แนวคิดเรสฟูล โอเอซิส ฟอว์ ซิตี้ ไลฟ์สไตล์ (Restful Oasis for City Lifestyle) หรือ โอเอซิสใจกลางเมือง ที่มีบรรยากาศความสงบร่มรื่นของธรรมชาติ โดยมีพื้นที่สีเขียว 

นอกจากนี้ คาเฟ่ อเมซอน จะปรับเปลี่ยนเมนูเครื่องดื่มบางรายการให้สอดคล้องกับความชื่นชอบของผู้บริโภคชาวเวียดนาม

ปัจจุบันโออาร์มีร้าน คาเฟ่ อเมซอน ใน 10 ประเทศทั่วโลกรวมกว่า 3,000 สาขา โดยมีสาขาในประเทศไทย รวมกว่า 2,800 สาขา และในประเทศ ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เมียนมา สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น และโอมาน รวมกว่า 200 สาขา

]]>
1257740