ประกันโควิด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 27 Jan 2022 09:01:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของกลุ่ม TCC เจ้าสัวเจริญ แจ้งเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังจ่ายสินไหมโควิด 9,900 ล้าน https://positioningmag.com/1371746 Wed, 26 Jan 2022 06:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371746 ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของกลุ่ม TCC เจ้าสัวเจริญ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังจ่ายสินไหมทดแทนประกันภัยโควิดให้อาคเนย์ฯ -ไทยประกันภัยรวมกว่า 9,900 ล้าน 

วันนี้ (26 ม.ค.65) บริษัทเครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เรื่องการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยระบุว่า

จากปัญหาสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในภาพรวม ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเครือไทย โฮลดิ้งส์ ได้แก้ไขปัญหาด้วยการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจในช่วงปลายปี 2564 ดังนี้

🔴 ขายหุ้นบริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (กลุ่ม TCC)
🔴 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเครือไทย โฮลดิ้งส์ ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ ไทยประกันภัย นำไปจ่ายค่าสินไหม
ทดแทนการเคลมประกันโควิด ของลูกค้าที่ถือกรมธรรม์ของทั้งไทยประกันภัย และอาคเนย์ประกันภัย เป็นจำนวน 9,900 ล้านบาท

เงินสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญของบริษัท ได้นำมาชำระเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการเคลมประกันโควิด ในส่วนของอาคเนย์ประกันภัย (ผ่านการทำสัญญารับประกันภัยต่อที่เข้าทำไว้กับไทยประกันภัย) ประมาณ 8,060 ล้านบาท ซึ่งช่วยให้อาคเนย์ประกันภัยยังสามารถคงสถานะมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินและสามารถประกอบกิจการต่อเนื่องมาได้ในช่วงที่ผ่านมา

โดย ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 อาคเนย์ประกันภัยมีสินทรัพย์สุทธิคงเหลือกว่า 1,800 ล้านบาท และยังสามารถดำรงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 170

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการกลายพันธุ์และการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ที่ยังคงเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินและการดำรงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ของอาคเนย์ประกันภัยให้ลดต่ำลงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดในระยะเวลาอันใกล้นี้

อาคเนย์ประกันภัย จึงได้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้พิจารณามีมติ “เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย และโอนกิจการของอาคเนย์ประกันภัยให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาร่วมกับตัวแทนฝ่ายจัดการของอาคเนย์ประกันภัยอย่างรอบด้าน โดยมีความมุ่งหมายที่จะดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างดังเช่นกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยอื่นที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจะไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงผู้เอาประกันตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้เอากรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ

ประกอบกับหากในกรณีที่อาคเนย์ประกันภัย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะทำให้กองทุนประกันวินาศภัยมีภาระทางการเงิน อันเนื่องจากต้องเข้ามาช่วยเหลือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นภาระแก่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย

นอกจากนี้ สถานะทางการเงินของอาคเนย์ประกันภัยในขณะนี้ ซึ่งยังมีสินทรัพย์สุทธิกว่า 1,800 ล้านบาทและเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ประมาณร้อยละ 170 อาคเนย์ประกันภัยย่อมสามารถจ่ายเงินคืนผู้เอาประกันภัยได้ครบถ้วน ‘ทุกราย’ และยังมีเงินเหลือพอที่จะชำระหนี้ให้คู่ค้าทั้งหมดรวมถึงพนักงานลูกจ้างทุกคน ซึ่งความสามารถในการชำระหนี้ของอาคเนย์ประกันภัยจะลดลงหากการตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนี้ล่าช้าออกไป

ดังนั้น การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ‘โดยสมัครใจ’ ในขณะที่อาคเนย์ประกันภัยยังคงมีสถานะทางการเงินที่เพียงพอ และยังดำรงเงินกองทุนได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยขอให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกราย

ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย

โดยอาคเนย์ประกันภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ในการดำเนินการของกองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่จำเป็นและเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจะสามารถเยียวยาผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นธรรมสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงไม่ก่อภาระเพิ่มเติมแก่กองทุนประกันวินาศภัยแต่อย่างใด

ขณะที่การดำเนินการในทางเลือกอื่นๆ เช่น การเพิ่มทุนหรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในกิจการของอาคเนย์ประกันภัยอาจจะไม่สามารถทำได้ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ TGH เองก็ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยพยุงธุรกิจประกันวินาศภัยของกลุ่มบริษัท

ดังนั้นประชุมคณะกรรมการของ TGH เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 จึงได้มติเกี่ยวกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ดังนี้

🔴 เห็นชอบกับแผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียนตามมาตรา 57 และ 57/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535(รวมทั้งที่การแก้ไขเพิ่มเติม)

🔴 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ อาคเนย์ประกันภัย โอนกิจการของ อาคเนย์ประกันภัย ให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากมีความเห็นว่าเมื่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดำเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่แล้ว ก็ควรให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการในเรื่องการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ อาคเนย์ประกันภัย ยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)

รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัยด้วย โดยอาคเนย์ประกันภัย เป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านต่างๆ แก่กองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเพื่อเป็นการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ฝ่าย

ดังนั้น เครือไทย โฮลดิ้งส์ จะมอบหมายให้ผู้รับมอบฉันทะนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ อาคเนย์ประกันภัยเพื่อลงมติเห็นชอบให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดำเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่

การพิจารณาให้ อาคเนย์ประกันภัย ในฐานะบริษัทย่อยของ TGH เลิกประกอบกิจการเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการบริษัท ที่จะพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการไปได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

อย่างไรก็ตาม การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของ อาคเนย์ประกันภัย จะต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของอาคเนย์ประกันภัยซึ่งจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 26 มกราคม 2565 โดยหากมีความคืบหน้าเป็นประการใด บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

(อ่านรายละเอียดฉบับเต็มที่นี่ )

โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัทประกันฯ ในเครือไทย โฮลดิ้งส์ ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” อย่าง “บมจ.อาคเนย์ประกันภัย” และ “บมจ.ไทยประกันภัย” ได้ยื่นฟ้อง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ฐานออกคำสั่งทางปกครอง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัทในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่ง ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอศาลพิจารณาว่าจะประทับรับฟ้องหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท เนื่องจากออกคำสั่งนายทะเบียน ทำให้บริษัทขาดทุน เพราะยกเลิกกรมธรรม์โควิด -19 แบบ เจอ – จ่าย – จบ ไม่ได้

อ่านรายละเอียดข่าว : “บริษัทประกันฯ โควิด” วางมวย “คปภ.” ฟ้องศาลฯ ยุติ “เจอ- จ่าย-จบ

คปภ. ยังไม่อนุญาตให้อาคเนย์ประกันภัยเลิกกิจการ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา 

ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอเรียนชี้แจงว่า ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้กรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยใดประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ให้บริษัทต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จก่อนที่คณะกรรมการจะอนุญาตให้เลิกกิจการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

(1) วิธีจัดการหรือการโอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันอยู่

(2) วิธีการบอกกล่าวให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและผู้มีส่วนได้เสียทราบ และใช้สิทธิตามกฎหมาย

(3) การโอนหรือการขอรับเงินสำรองที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียน

(4) การจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการประกันวินาศภัยและการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท

(5) ระยะเวลาของการดำเนินการตาม (1) (2) (3) และ (4) ในกรณีที่คณะกรรมการอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และบริษัทประสงค์จะเลิกบริษัท การเลิกบริษัทให้มีผลนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและให้มีการชำระบัญชี

แม้บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ต่อคณะกรรมการ คปภ. ผ่านสำนักงาน คปภ. แล้ว แต่คณะกรรมการ คปภ. ยังไม่ได้อนุญาต ในการนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายก่อนเสนอต่อคณะกรรมการ คปภ. พิจารณาต่อไป

สำหรับกองทุนประกันวินาศภัยได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพเท่านั้น ตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดภารกิจของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมถึงกรณีบริษัทประกันภัยขอเลิกประกอบธุรกิจเอง

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก โดยยืนยันว่าตอนนี้ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังไม่สามารถปิดหรือหยุดประกอบกิจการได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการจากคณะกรรมการ คปภ.

โดยสำนักงาน คปภ. ได้ตั้งทีมงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สายกำกับธุรกิจและการลงทุน สายตรวจสอบ สายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย สายกฎหมายและคดี และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว เพื่อเป็นการพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย และผู้มีส่วนได้เสีย

ล่าสุดวันนี้ (27 ม.ค.) ‘อาคเนย์ประกันภัย’ ส่งหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินธุรกิจ และให้บริการ รวมถึงความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยตามปกติ

 

]]>
1371746
สปสช.ย้ำ นำเอกสารผลตรวจ RT-PCR ไปเคลม ‘ประกันโควิด’ ได้ทันที ไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์ https://positioningmag.com/1346310 Wed, 11 Aug 2021 09:48:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346310 นับตั้งแต่เริ่มมีการปลดล็อกให้ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก็ทำให้ปริมาณผู้ได้รับการตรวจหาเชื้อในไทย เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจากการตรวจในหน่วยบริการ การตรวจเชิงรุกโดยหน่วยงานต่างๆ

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเกี่ยวเนื่องในส่วนของผู้ที่ ‘ผลตรวจเป็นบวก’ และต้องการขอใบรับรองแพทย์ เพื่อนำไปเคลมสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกัน โดยในทางปฏิบัติทางบริษัทประกันแต่ละบริษัท ก็มีเงื่อนไขการเอาประกันต่างกันไป

วันนี้ (11 ส.ค.64) ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผยว่า ในส่วนของหน่วยบริการสาธารณสุข บางหน่วยก็ออกให้ บางหน่วยงานออกให้ทางออนไลน์ หรือบางหน่วยงานก็ไม่ได้ออกให้ โดยเฉพาะในส่วนของการตรวจคัดกรองเชิงรุก ที่มีบุคลากรจากหลายหน่วยงานมาให้บริการนอกที่ตั้ง

ทำให้มีประชาชนจำนวนมาก สอบถามไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอใบรับรองแพทย์ บางกรณีบริษัทประกันยังมีเงื่อนไขอีกว่า ต้องประทับตราของหน่วยงานนั้นๆ ทำให้ผู้ต้องการใบรับรองแพทย์ต้องเดินทางไปถึงที่ตั้งของหน่วยงานดังกล่าว

“กรณีในลักษณะนี้ สปสช. ขอแจ้งให้ทราบว่าประชาชนผู้ทำประกัน ไม่มีความจำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ แต่อย่างใด” 

เนื่องจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 45/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 เรื่องการใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา

โดยระบุว่า ให้บริษัทใช้เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 กรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือตรวจพบเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ (แบบเจอ-จ่าย-จบ) “อ้างอิงตามประกาศดังกล่าว ทำให้ใบรับรองแพทย์ไม่มีผลในการเอาประกันภัยอีกต่อไป”

นอกจากนี้ ขอชี้เเจงถึงประชาชนผู้รับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย ATK ให้ทราบว่า โดยหลักการแล้ว เมื่อผลตรวจ ATK พบว่าเป็นบวก ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถนำผลตรวจ RT-PCR ไปเคลมประกันได้โดยไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์อีก ส่วนผู้ที่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ตั้งแต่แรกก็ยิ่งไม่มีปัญหา สามารถนำไปเคลมประกันได้เลย

]]>
1346310
รวมมิตร 8 ประกันภัย คุ้มครองผลกระทบจากการ ‘แพ้วัคซีนโควิด-19’ https://positioningmag.com/1329128 Wed, 28 Apr 2021 11:20:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329128 วัคซีนโควิดเป็นความหวังของคนทั่วโลกที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง การกระจายวัคซีนที่รวดเร็ว จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระตุ้นความเชื่อมั่น เเละรักษาชีวิตของประชาชน

เเต่จากการที่วัคซีนโควิด มีการคิดค้นเเละทำวิจัยอย่างเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์คับขันเช่นนี้ อาจทำให้มีผลข้างเคียงต่างๆ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งอาการเเพ้วัคซีนนั้นส่งผลต่อสุขภาพ เเละหากเเพ้รุนเเรงเเละไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น รัฐจึงควรจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนที่ออกมาฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ในเร็ววัน

ท่ามกลางความกังวลนี้ บรรดาบริษัทประกันทั้งหลาย จึงเริ่มเสนอผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการแพ้วัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ รวมไปถึงประกันโควิด-19 ที่ครอบคลุมอาการแพ้วัคซีน ออกมาจับตลาดผู้บริโภคในทันที วันนี้ Positioning รวมรวบข้อมูลเปรียบเทียบเบี้ยประกันเเละความคุ้มครองต่างๆ ‘เบื้องต้น’ ดังนี้

ทั้งนี้ ก่อนจะเลือกซื้อประกันใดๆ ศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ ความคุ้มครองเเละ ‘เงื่อนไข’ ของแต่ละบริษัทให้รอบคอบเเละครบถ้วน ตรวจสอบอีกครั้งกับทางบริษัทประกันโดยตรงหรือโบรกเกอร์ที่ให้บริการ

ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ 

เป็นประกันที่ออกมาเพื่อเจอกรณี ‘เเพ้วัคซีน’ มีผลข้างเคียงขึ้นมาหลังฉีด มักจะมาในรูปเเบบการชดเชยด้วยเงินค่าปลอบขวัญ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ให้เงินชดเชยกรณีเกิดอาการโคม่าและเสียชีวิต ตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนด

1.กรุงเทพประกันภัย

นำเสนอประกันที่คุ้มครองการแพ้วัคซีนโควิด-19 ที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล รับเงินปลอบขวัญเมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พร้อมรองรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

โดยมี 3 เเผนให้เลือก เบี้ยประกันต่อปี เริ่มต้นที่ 99 บาท 489 บาท และ 859 บาท ส่วนผู้ที่มีประกันโควิด-19 ของบริษัทอยู่แล้ว จะได้รับ ‘ราคาพิเศษ’ คือ เริ่มต้นที่ 79 บาท 389 บาท และ 679 บาท ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับความคุ้มครองและวงเงินที่จะได้รับ

เงื่อนไขการรับประกันภัย 

  • รับประกันภัยสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-100 ปี
  • รับประกันภัยบุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
  • รับประกันภัยทุกอาชีพ
  • ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้คนละ 1 ฉบับ
  • แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : bangkokinsurance
สอบถามเพิ่มเติม : ทีมพัฒนาลูกค้ารายย่อยกรุงเทพประกันภัย โทร 0-2285-8585

2. เทเวศประกันภัย ร่วมกับ SCB 

เป็นประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับวัคซีน มีทั้งสิ้น 4 แผนด้วยกัน เบี้ยประกัน เริ่มต้นที่ 88 – 1,340 บาท คุ้มครองสูงสุด 3 ล้านบาท สำหรับการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า มีค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยใน เงินชดเชยรายได้สูงสุดวันละ 2,000 บาท นำเสนอประกันเเละซื้อได้ผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : SCB 
สอบถามเพิ่มเติม : เทเวศประกันภัย โทร. 1291 จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00–18.00 น., เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 19.00 น. หรือ www.deves.co.th

3. Tip Insure 

เป็นประกันภัยวัคซีนโควิด-19 ในเครือทิพยประกันภัย สมัครได้ทั้งลูกค้าทิพยฯ ที่ต้องการซื้อเพิ่มหรือลูกค้าทั่วไป มีให้เลือก 2 แผน ราคาเบี้ยประกันต่อปี 70 บาท และ 120 บาท เน้นคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า อันเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง จากการฉีดวัคซีนโควิดสูงสุด 1 ล้านบาท เเละการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน สูงสุด 1 เเสนบาทต่อปี เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : Tip Insure
หรือโทร. 1736

4. สินมั่นคงประกันภัย

ประกันภัยการแพ้วัคซีนของสินมั่นคงประกันภัย สามารถซื้อได้แม้ไม่เคยมีประกันภัยการติดเชื้อโควิด ราคาเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 30-390 บาท มีให้เลือกทั้งสิ้น 6 เเผน ครอบคลุมทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน ค่าปลอบขวัญ หากต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 5 วัน หรือหากกรณีมีอาการรุนแรงถึงขั้นโคม่า รับเงินช่วยเหลือเพิ่ม รวมความคุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : SMK
หรือโทร. 1596

ประกันโควิด-19 ที่รวมการ ‘แพ้วัคซีน’ 

นอกจากประกันกรณีการเเพ้วัคซีนโควิด-19 ที่ลูกค้าต้องการซื้อเพิ่มโดยเฉพาะเเล้ว ยังมีการ ‘ขยายรูปแบบ’ เป็นประกันโรคโควิด-19 ที่ครอบคลุมการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนด้วย จะเน้นไปที่การชดเชยค่าชดเชยจากการติดโควิด-19 (เจอจ่ายจบ) เเละค่ารักษาพยาบาลเมื่อติดโรคเป็นหลัก โดยพ่วงค่าชดเชยการเเพ้วัคซีนเข้าไปเป็นตัวเสริม 

5. ไทยประกันภัย

เปิดตัวแผนประกัน ‘TIC Covid-19 Plus’ ที่ขยายความคุ้มครองครอบคลุมถึงกรณีแพ้วัคซีนโควิด มีให้เลือก 3 เเผน ราคาเบี้ยประกันต่อปี 359 บาท 579 บาท และ 689 บาท

กรณีมีอาการแทรกซ้อนจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (IPD) สูงสุด 20,000 บาท และความคุ้มครองจากการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า หรือการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย หรือโรคร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือมาจากการแพ้วัคซีนโควิด-19 สูงสุด 3 เเสนบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

รายละเอียดแผนประกันภัย TIC Covid-19 Plus ของ TIC ไทยประกันภัย แบ่งเป็น 3 แผนดังนี้

  • แผน 1 จ่ายเบี้ยประกันภัยคนละ 359 บาท/ปี กรณีตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 50,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 10,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 150,000 บาท
  • แผน 2 จ่ายเบี้ยประกันภัย คนละ 579 บาท/ปี กรณีตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 75,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 15,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 225,000 บาท
  • แผน 3 จ่ายเบี้ยประกันภัยรายละ 689 บาท/ปี กรณีที่ตรวจเจอเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นครั้งแรก รับทันที 100,000 บาท การรักษากรณีผู้ป่วยใน (IPD) เนื่องจากการแพ้วัคซีน 20,000 บาท* และกรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือระยะสุดท้ายจากโควิด-19 หรือจากการแพ้วัคซีน รับสูงสุด 300,000 บาท

คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่ : thaiins
หรือโทร. 02-613-0123

6. เมืองไทยประกันชีวิต

ประกันโควิด-19 ของเมืองไทยประกันชีวิต มี 2 รูปแบบที่ครอบคลุมอาการแพ้วัคซีน ราคาเบี้ยประกันที่ 900 บาทต่อปี และ 1,200 บาทต่อปี เสนอค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ เเละให้วงเงินค่ารักษากรณีแพ้วัคซีนที่ 50,000 บาทเท่ากัน หากมีภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จะมีความคุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

อ่านรายละเอียดได้ที่ : muangthaiinsurance 

นอกจากนี้ เมืองไทยประกันชีวิต ยังมี ‘ประกันเเพ้วัคซีน’ ที่สามารถซื้อเเยกได้โดยเฉพาะ ราคาเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 99-699 บาท ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีน เงินชดเชยรายวันจากการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือหากมีภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีนจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 1.5 ล้านบาท

อ่านรายละเอียดได้ที่ : muangthaiinsurance 
หรือโทร. 1484

7. ทิพยประกันภัย

ประกันภัยโควิด-19 แบบจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ ราคาเบี้ยประกัน ตั้งเเต่ 450- 1,250 บาท ครอบคลุมการรักษากรณีแพ้วัคซีนสูงสุด 1 ล้านบาท เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด

อ่านรายละเอียดได้ที่ : TQM
หรือโทร. 1737 กด 4

8. สินทรัพย์ประกันภัย 

มีประกันโควิด-19 ทั้งแบบเจอจ่ายจบเเละจ่ายค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันต่อปี 499-999 บาท ครอบคลุมกรณีแพ้วัคซีนทั้งหมด โดยหากมีภาวะโคม่าจากการป่วยโรคโควิดจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 2 ล้านบาท เเละหากมีภาวะโคม่าจากการฉีดวัคซีนจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 2 เเสนบาท

อ่านรายละเอียดได้ที่ : TQM
หรือโทร. 1729

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 64

*แผนประกันที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลารอคอย 14 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้เป็นครั้งแรก

*โปรดทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

 

]]>
1329128