แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การเลิกจ้างของ ซัมซุง (Samsung) ในครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อจำนวนพนักงานประมาณ 10% ของจำนวนพนักงานในประเทศเหล่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็มีอัตราการลดจำนวนพนักงานที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบัน พนักงานของซัมซุงมีจำนวนทั้งหมดกว่า 267,800 คน และประมาณ 147,000 คน อยู่นอกเกาหลีใต้ โดยมีการจ้างงานในฝ่ายการผลิตและพัฒนามากที่สุด ส่วนฝ่ายขายและการตลาดมีพนักงานราว 25,100 คน และพนักงานในภาคส่วนอื่น ๆ อีก 27,800 คน ดังนั้น การลดพนักงานในครั้งนี้จะอยู่ในหลักหลายพันคน
“บริษัทย่อยในต่างประเทศบางแห่งกําลังดําเนินการปรับกําลังคนเป็นประจําเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินงาน แต่บริษัทไม่ได้กําหนดจํานวนเป้าหมายสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง”
ในปีนี้ หุ้นของซัมซุงร่วงลงมากกว่า 20% เนื่องจากซัมซุงต้องเจอการแข่งขันที่รุนแรงจากธุรกิจชิป ไม่ว่าจะเป็นการตามหลังคู่แข่งอย่าง เอสเค ไฮนิกซ์ (SK Hynix) ในด้านชิปหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเอไอ (AI) และถือว่ายังตามหลัง TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co) ในการผลิตชิปตามแบบที่ลูกค้าสั่ง
ก่อนหน้านี้ ซัมซุงได้โละพนักงานใน อินเดีย และ ละตินอเมริกา ประมาณ 10% โดยมีการคาดว่าน่าจะถึงหลัก 1,000 คน
]]>ปัจจุบัน โนเกีย ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่บริษัทเผชิญกับอุปสรรคจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และจากการลดการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยไตรมาส 3 โนเกียรายงานรายได้สุทธิ ลดลง 20% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเหลือ 4.98 พันล้านยูโร กำไรลดลง 69% เหลือ 133 ล้านยูโร
ขณะที่รายได้หลักจาก ธุรกิจเครือข่ายมือถือ ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท ลดลง 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยกำไรจากการดำเนินงาน ลดลง 64% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากผู้ให้บริการในสหรัฐฯ และยุโรปลดการลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5G ลง
จากผลประกอบการที่ไม่ดี ส่งผลให้โนเกียต้อง ลดพนักงานมากถึง 14,000 ตำแหน่ง เพื่อจะ ลดต้นทุน โดยคาดว่าการลดพนักงานครั้งนี้อาจช่วยให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรได้ 10-15% ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนรวมระหว่างปี 2566-2569 ให้ได้ 800-1.2 พันล้านยูโร ปัจจุบัน โนเกียมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 86,000 คน
]]>ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา Softbank ได้ดำเนินการปลดพนักงานในกองทุน Vision Fund จำนวน 20% หรือประมาณ 150 คน และในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทได้รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2023) ว่าขาดทุนไปถึง 3.2 หมื่นล้านเยน จากรายได้รวม 1.695 ล้านล้านเยน หากนับเฉพาะส่วนการลงทุนในกองทุน Vision Fund ขาดทุนถึง 3.16 แสนล้านเยน
จากผลขาดทุนดังกล่าว ทาง Yoshimitsu Goto ซีเอฟโอ ของบริษัทก็ได้ออกมาระบุว่า SoftBank อยู่ในโหมดตั้งรับ เน้นต่อยอดการลงทุนปัจจุบัน และลดการลงทุนใหม่ โดยล่าสุด มีข่าวออกมาว่า กองทุน Vision Fund กำลังจะ ปลดคนระลอกใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
การปลดพนักงานในรอบนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพนักงานมากถึง 30% จากจำนวนพนักงานทั้งหมดของ Vision Fund ที่มีประมาณ 349 คน ตามการรายงานของบริษัท ณ สิ้นเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม SoftBank ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวดังกล่าวที่หลุดออกมา
สำหรับ SoftBank นั้นถือเป็นบริษัทนักลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีมากที่สุดของโลก แต่จากหลาย ๆ ปัจจัยในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย สงครามที่กำลังดำเนินอยู่ในยุโรป และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้กองทุน Vision Fund ขาดทุนอย่างหนัก โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ลดความเสียหายจากการขาดทุนจากการลงทุนที่ด้วยการ ลดการถือหุ้นอาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง
]]>Andy Jassy CEO Amazon ได้เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะเลิกจ้างพนักงานอีก 9,000 คน โดยเป็นการปรับลดเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้าที่มีการปรับลดคนสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 18,000 คน ในช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ (พฤศจิกายน-มกราคม 2023) โดยส่วนใหญ่เป็นแผนกค้าปลีก จัดซื้อ และทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก
สำหรับการปลดคนระลอกใหม่นี้จะกระทบที่ส่วนของ Amazon Cloud, ทรัพยากรบุคคล, การโฆษณา และธุรกิจสตรีมสดของ Twitch โดยก่อนหน้านี้ Dan Clancy CEO ของ Twitch ได้เคยออกมาเปิดเผยว่า บริษัทได้มีแผนจะลดพนักงานออกจำนวน 400 คน เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้และรายได้ของแพลตฟอร์มไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้
ทั้งนี้ Jassy ได้ระบุว่า สาเหตุที่เขาตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานเพิ่มก็เพื่อ ลดต้นทุน พร้อมกับคำนึงถึง ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ของเศรษฐกิจ
“หลักการที่สำคัญของการวางแผนประจำปีของเราในปีนี้คือ ต้องทำให้องค์กรลีนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เรายังคงสามารถลงทุนอย่างแข็งแกร่ง สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าในระยะยาว ซึ่งเราเชื่อว่าสามารถปรับปรุงชีวิตของลูกค้าและ Amazon โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ” Jassy กล่าว
ปัจจุบัน Amazon กำลังอยู่ระหว่างการเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท หลังจากที่ช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 บริษัทได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1.6 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 798,000 คนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562
โดย Jassy ยังพิจารณาภาพรวมกว้าง ๆ ของค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการเติบโตที่ชะลอตัวในธุรกิจค้าปลีกหลักของบริษัท ทำให้ Amazon ต้องหยุดจ้างพนักงานในองค์กร ตัดโครงการทดลองบางโครงการ และชะลอการขยายคลังสินค้า
]]>บริษัทฟาสต์แฟชั่นสัญชาติสวีเดน วางแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 1,500 ราย จากปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดราว 155,000 ราย เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อและต้นทุนที่สูงขึ้น โดยคาดว่าการลดจำนวนพนักงานในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้ปีละ 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,650 ล้านบาท
“เมื่อผู้บริโภคใช้จ่ายไปกับค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ และน้ำมัน พวกเขาก็จะใช้จ่ายน้อยลง ดังนั้นสิ่งที่ชัดเจนคือ เขาต้องความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเพิ่มขึ้น เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่และอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั้งหมดกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย” Nils Vinge หัวหน้าฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของ H&M กล่าว
ย้อนไปในช่วงเดือนกันยายน H&M มียอดขายรายไตรมาสที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก เนื่องจากผู้บริโภครัดเข็มขัดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ H&M ได้ประกาศว่ามีแผนจะ ขึ้นราคาสินค้า เพื่อชดเชยต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ H&M ต้องเจอกับการแข่งขันทั้งที่ใหญ่กว่าอย่าง Zara และจากผู้เล่นรายใหม่ที่ทำราคาได้ดีกว่า อย่าง Primark แบรนด์แฟชั่นของอังกฤษที่เพิ่งได้ประกาศแผนการเพิ่มงาน 1,800 ตำแหน่ง ในสเปนและอังกฤษเพื่อขยายกิจการ
สำหรับ H&M ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนในปี 2490 นอกจากร้านค้าปลีกเสื้อผ้าแล้ว กลุ่มนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ เช่น COS, Monki, Weekday, Cheap Monday, & Other Stories, H&M Home, ARKET และ Afound มีร้านค้าประมาณ 4,664 แห่งใน 77 ตลาดและมีตลาดออนไลน์ 57 แห่ง
]]>