ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนเรียกมันว่าเข้ามา Disrupt หลายๆ ธุรกิจเลยก็มี เนื่องจากดิจิทัลทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ถ้าธุรกิจไหนไม่ปรับตัว ก็ยากที่จะอยู่รอด
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หนีไม่พ้นค้าปลีก และธนาคาร ที่มีหน้าร้านสาขาในการให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งเครื่องในการเอาตัวเองเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ ส่วนธนาคารเองก็ต้องพัฒนาระบบดิจิทัล ซึ่งประเทศถือว่ามีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคตอบรับกับบริการดิจิทัลมากขึ้นด้วย
“ธนาคากรุงไทย” เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย ในปีนี้ได้ดำเนินการมาครบ 57 ปีแล้ว แต่เดิมกรุงไทยมีภาพลักษณ์เป็นธนาคารสำหรับข้าราชการ เพราะด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ผู้ใช้งานจึงค่อนข้างมีอายุหน่อย ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงไทยได้รีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” เป็นพรีเซ็นเตอร์แอปพลิเคชัน KRUNGTHAI NEXT เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันกรุงไทยเองก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักในการพัฒนาบริการดิจิทัลสู่มือผู้บริโภค เรียกว่ามีบริการแทบจะครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคนไทย มีการพัฒนาเองบ้าง และจับมือร่วมกับพาร์ตเนอร์บ้าง
ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เล่าว่า
“ธนาคารกรุงไทยมีจุดแข็งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เราเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และมิชชั่นสำคัญก็คือ อยากให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน โฟกัสที่ปัจจัย 4 ของมนุษย์ ลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงไทยจะเป็นผู้สูงวัย จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ แต่มีการเน้นเรื่องการศึกษามากขึ้น เพราะต้องการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น เรียกว่าต้องใช้โมเดลเรือบรรทุกเครื่องบิน กับสปีดโบ้ท เอามาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร”
จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการพัฒนาแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในช่วงแรกเป็นการใช้กับโครงการสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ต่อมาได้พัฒนาบริการต่างๆ ที่สามารถใช้งานผ่านแอปเป๋าตังได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพที่ใช้สิทธิบัตรทอง หรือรับถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดได้ รวมไปถึงการซื้อสลากดิจิทัล ที่คุมราคาได้ใน 80 บาท และบริการอื่นๆ อีกมากมาย
ปัจจุบันแอปพลิเคชันเป๋าตัง มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ 600 ล้านบาท ในอนาคตจะมีบริการที่ต่อยอดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมองไปถึง 5 อีโคซิสเท็มหลักของคนไทย ได้แก่ สุขภาพ, การศึกษา, รัฐ, เพย์เมนต์ และการเดินทาง
ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้กางแผนงาน 5 ปี ระหว่างปี 2566-2570 เพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด “มุ่งสร้างคุณค่า สู่ความยั่งยืน” เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม ทั่วถึง แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
1. ปลดล็อกศักยภาพในการสร้างมูลค่าจากการทำธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า (X2G2X) เร่งต่อยอดยุทธศาสตร์ X2G2X ให้เกิดการเชื่อมโยงในเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าต่างๆ ทั้ง B2B B2C G2B และ G2C และมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์คู่ค้าของลูกค้า ทั้งการเร่งสร้าง Economic Value จากแอปฯ เป๋าตัง และถุงเงิน เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SME ให้แข็งแกร่ง ต่อยอดความร่วมมือที่ได้ลงทุนไปแล้วทั้งระบบ Smart Transit ตั๋วร่วม Smart Hospital และ Digital Business Platform เป็นต้น
2. ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กรด้วยดิจิทัล และข้อมูล เร่งนำข้อมูล และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็น Process Digitalization โดยนำระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation และการใช้ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานภายในของธนาคารมากขึ้น ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ (Paperless) นำไปสู่โครงสร้างการประเมินอัตรากำลังที่เหมาะสมในการให้บริการผ่านสาขา ผสมผสานการให้บริการออนไลน์สู่ออฟไลน์ได้เต็มศักยภาพ โดยช่องทางสาขาจะถูกปรับเป็นการให้บริการทางธุรกิจ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่ EEC
3. เปิดตัวแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างการเติบโตในมิติใหม่ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทั้ง Virtual Banking ที่ธนาคารจะร่วมกับพันธมิตร เพื่อดำเนินการ และ Wealth-Tech เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบริการทางการเงินในทุกระดับชั้น ต่อยอดสร้างศักยภาพการออม เสริมสร้างความมั่งคั่งให้คนไทย
4. สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม เท่าเทียม และยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง ESG สนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างการกระจายรายได้ เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้า SME กับ Digital Economy และเร่งปรับตัวเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน
5. พัฒนา และเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานแห่งอนาคต เร่งสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความพร้อมของระบบรองรับ PDPA & Cyber Risk เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม บริหารจัดการ NPL และ NPA เพื่อแก้ปัญหาปรับเป็นสินทรัพย์ที่สร้างคุณค่าในเวลารวดเร็วขึ้น พร้อมบูรณาการบริษัทในเครือ สร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เต็มศักยภาพ บนความร่วมมือแบบ ONE Krungthai
6. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลักขององค์กรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และ Digitalization อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับโครงสร้างเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย มั่นคง ปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
7. ปฏิรูปวัฒนธรรม และปลูกฝังวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยความคล่องตัว ปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้เป็นไปในลักษณะ Agility มีความกระฉับกระเฉง โดยอาศัยหลักการแบบ Fail Fast Learn Fast ยกระดับพนักงานให้มีทักษะใหม่ๆ (Upskill/Reskill) สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในระดับประเทศและระดับโลกเข้ามาทำงานเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เป็นองค์กรแห่งการสร้างผู้นำในอนาคต
ทิศทางการดำเนินธุรกิจธนาคารกรุงไทยในระยะต่อไป อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ ที่เปิดกว้างใน 3 ด้านคือ
สำหรับแผนการบริหารสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาท นั้น ผยง กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าจะลด NPA ให้อยู่ในระดับ 20,000 ล้านบาท เท่ากับอุตสาหกรรมภายในระยะเวลา 5 ปี (66-70) โดยภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารจะสามารถสรุปพันธมิตรเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนบริหารสินทรัพย์ (JV AMC) ซึ่งจะช่วยให้สินทรัพย์รอการขาย และหนี้เสียลดลง ส่งผลให้การตั้งสำรองหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำได้
ผยง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าลงทุนด้านเทคโนโลยีประมาณ 12,000 ล้านบาท พร้อมรองรับสู่การเงินดิจิทัลทั้งปัจจุบัน และอนาคตในการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เนื่องจาก ADVANC มีความเชี่ยวชาญด้านโมบายเดต้า ทำให้ธนาคารไม่ต้องสำรองวงเงินไว้ลงทุนในเรื่องดังกล่าว
“วงเงินลงทุนจำนวน 12,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการลงทุนด้านเทคโนโลยี และการร่วมทุนจัดตั้งธนาคารไร้สาขา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาใช้เงินลงทุนดังกล่าวไปเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท จากวงเงินเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ 12,000 ล้านบาท”
ธนาคารเตรียมรุกตลาดสินเชื่อออนไลน์ (ดิจิทัลเลนดิ้ง) บนเป๋าตังค์ภายในปีนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มอาชีพอิสระและกลุ่มที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ช่วงเดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านกรุงไทยเน็กซ์ (NEXT) ได้สูงถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้มั่นใจภายในสิ้นปี 66 นี้ ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวถึง 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนเปิดสาขารูปแบบใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้ ที่ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลบนแท็บเล็ตทั้งหมด โดยพนักงานไม่จำเป็นต้องนั่งให้บริการเฉพาะที่หน้าเคาน์เตอร์เท่านั้น ยกเว้นแต่ธุรกรรมถอน-ฝากเงินสด ทำให้ลูกค้าได้รับบริการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นตั้งเป้าหมายเปิด 20 สาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ อาทิ ชลบุรี และเชียงใหม่ เป็นต้น
]]>การรับตำแหน่งในครั้งนี้ มีภารกิจที่ต้องเร่งผลักดัน คือ การร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาระบบธนาคารพาณิชย์ให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจและตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนไทยในทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ประธานสมาคมธนาคารไทยจะหารือกับผู้บริหารของธนาคารสมาชิกเพื่อร่วมกันกำหนดแผน ยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยในระยะถัดไป
ประวัติประธานสมาคมธนาคารไทย คนที่ 24
ผยง ศรีวณิช ปัจจุบันอายุ 52 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ที่ University of Arizona ,Tucson, Arizona สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ ที่ University of Pittsburgh, Pennsylvania สหรัฐอเมริกา
มีประสบการณ์ในด้านธุรกิจการเงินการธนาคารมากว่า 20 ปี เคยดำรงตำแหน่ง Managing Director, Head of Global Markets & Country Treasurer Citibank N.A.,Thailand ระหว่างปี 2551-2557 ทำงานกับธนาคารกรุงไทยในปี 2558 ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
]]>