ผูกขาดตลาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Jan 2022 09:10:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่อง 107 ดีลซื้อกิจการของ ‘3 บิ๊กเทคคอมปานี’ ตลอดปี 2021 ที่เย้ยกฎหมายการ ‘ผูกขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1371296 Mon, 24 Jan 2022 08:05:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371296 หากไม่ใช่ดีลใหญ่จริง ๆ หลายคนคงจะไม่รู้ว่า 3 บิ๊กเทคคอมปานีระดับโลกอย่าง Amazon, Microsoft และ Alphabet ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทในปี 2021 รวมกันถึง 107 ดีลเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ สหรัฐฯ เองก็กำลังพยายามควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการ ‘ผูกขาดตลาด’

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Dealogic พบว่าในปี 2021 Alphabet บริษัทแม่ของ Google ได้เข้าซื้อกิจการไป 22 ดีล รวมมูลค่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Microsoft ปิดไป 56 ดีล รวมมูลค่า 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Amazon ปิดที่ 29 ดีล รวมมูลค่า 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวนับเฉพาะมูลค่าของ ข้อตกลงที่เปิดเผยต่อสาธารณะเท่านั้น

จากปริมาณดีลการเข้าซื้อกิจการของทั้ง 3 บริษัทถือว่ามี จำนวนมากที่สุดในรอบ 10 ปี ในขณะที่ปี 2022 นี้ก็เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวใหญ่จาก Microsoft ที่เตรียมซื้อ Activision Blizzard บริษัทผู้ผลิตวิดีโอเกมชื่อดังอย่าง Call of Duty, World of Warcraft และ Candy Crush ในมูลค่า 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากจำนวนดีลดังกล่าวกำลังแสดงให้เห็นว่า เหล่าบริษัทใหญ่ไม่ได้เกรงกลัวการปราบปรามการผูกขาดที่จะเกิดขึ้น หรือก็คือพวกเขาไม่เชื่อว่าหน่วยงานกำกับดูแลจะสามารถดำเนินคดีในศาลหรือปิดกั้นการเข้าซื้อกิจการได้

อย่างไรก็ตาม Lina Khan ประธานคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ (Federal Trade Commission : FTC) ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 ได้กล่าวว่า “หน่วยงานของเธอต้องการบังคับใช้นโยบายต่อต้านการผูกขาดอย่างจริงจัง” โดยที่ผ่านมาเธอได้ยื่นคำร้องแก้ไขต่อ Facebook แล้ว โดยอ้างว่าการเข้าซื้อกิจการ Instagram และ WhatsApp มีส่วนทำให้สถานะปัจจุบันของบริษัทนั้นผูกขาดเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media)

จนถึงตอนนี้ FTC ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Khan นั้นใช้กลยุทธ์ในการยับยั้งการเข้าซื้อกิจการของบริษัท โดยหนึ่งในการดำเนินการดังกล่าวคือ FTC จะดำเนินการตรวจสอบข้อตกลงของดีลต่อไป แม้ว่าจะเลยระยะเวลาตามกฎหมายก็ตาม โดย FTC จะส่งจดหมายเตือนว่า ธุรกิจสามารถควบรวมกิจการได้โดยยอมรับความเสี่ยง เพราะ FTC อาจยื่นฟ้องในภายหลังเพื่อให้เลิกทำธุรกรรมได้

Lina Khan ประธานคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ ภาพจาก Reuters

อย่างไรก็ตาม องค์กรดังกล่าวกำลังเจอกับความท้าทายด้านเวลาเพื่อให้ทันกับการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสิ่งที่ยังมองไม่เห็นคือ หน่วยงานเต็มใจที่จะทำการต่อต้านการผูกขาดได้แค่ไหน เพราะด้วยงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน

“การต่อสู้กับ Big Tech ต้องใช้ความกล้าหาญ เพราะบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่มีทรัพยากรมหาศาล และพวกเขาไม่อายที่จะปรับใช้ทรัพยากรเหล่านั้น เรากำลังแสดงบริษัทเหล่านี้ว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ถอยเพียงเพราะแค่บริษัทเหล่านี้พยายามข่มขู่เรา” Lina Khan กล่าว

ที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่มักจ่ายเงินให้ทนายความหลายสิบคน ทั้งภายในและนอกที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับโอกาสในการอนุมัติข้อตกลงเข้าซื้อกิจการไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Amazon, Meta (Facebook), Alphabet และ Apple ซึ่งบริษัททั้งหมดมีมูลค่ารวมเกือบ 9.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การออกมาปราบปรามการผูกขาดจากบริษัทใหญ่มาจากนโยบายของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน โดยที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการผูกขาดที่เขาเลือกได้มีการฟ้องร้องการเข้าซื้อกิจการของ Simon & Schuster สำนักพิมพ์คู่แข่งของ Penguin Random House ในเดือนพฤศจิกายน และ FTC ก็ได้ฟ้องการเข้าซื้อกิจการ Arm ผู้ให้บริการออกแบบชิปในสหราชอาณาจักรมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ของ Nvidia ในเดือนธันวาคม

Source

]]>
1371296
‘อิตาลี’ สั่งปรับ ‘Amazon’ กว่า 1.28 พันล้านเหรียญฯ ฐานผูกขาดบริการขนส่ง https://positioningmag.com/1366638 Mon, 13 Dec 2021 15:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366638 กลุ่มเฝ้าระวังต่อต้านการผูกขาดของมิลาน ประเทศอิตาลี ได้สั่งปรับ ‘อเมซอน’ (Amazon) เป็นเงิน 1.13 พันล้านยูโร (1.28 พันล้านดอลลาร์) เนื่องจากละเมิดการผูกขาดตลาด ซึ่งถือเป็นบทลงโทษที่ใหญ่ที่สุดของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในยุโรป

ตามแถลงการณ์ของ กลุ่มเฝ้าระวังต่อต้านการผูกขาดของประเทศอิตาลี ระบุว่า อเมซอน ได้ใช้ประโยชน์จากสถานะความเป็น ‘เจ้าตลาด’ ในการสนับสนุนการนำบริการโลจิสติกส์ของตนเอง หรือ Fulfillment by Amazon (FBA) ให้กับร้านค้าผู้ขายบนเว็บไซต์ Amazon.it ใช้

โดยองค์กรระบุว่า อเมซอนจะปิดกั้นสิทธิพิเศษต่าง ๆ กับผู้ขายที่ไม่ได้ใช้งานบริการ FBA โดยจะปิดกั้นการของเห็นของลูกค้า Prime label หรือสมาชิก Amazon Prime ที่มีกว่า 7 ล้านราย ซึ่งร้านที่ใช้ อเมซอนจะช่วยเพิ่มการมองเห็นซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย

“ที่ผู้ขายเลือก FBA ก็เพราะมันมีประสิทธิภาพ สะดวก และแข่งขันได้ในแง่ของราคา”

อย่างไรก็ตาม อเมซอน “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” กับการตัดสินใจของผู้กำกับดูแลของอิตาลี และจะอุทธรณ์ โดยระบุว่า FBA เป็นแค่บริการทางเลือก และผู้ขายบุคคลที่ส่วนใหญ่ในอเมซอนไม่ได้ใช้บริการดังกล่าว และ “การปรับนั้นไม่ยุติธรรมและไม่สมส่วน”

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป กล่าวว่า ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานด้านการแข่งขันของอิตาลีในคดีนี้ภายในกรอบการทำงานของเครือข่ายการแข่งขันของยุโรป เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับการสอบสวนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของอเมซอนอีก 2 คดี

โดยคดีแรกเกิดในเดือนกรกฎาคม 2019 ที่มีการประเมินว่าการใช้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของอเมซอนจากผู้ค้าปลีกที่ขายในตลาดของตนนั้นละเมิดกฎการแข่งขันของสหภาพยุโรปหรือไม่ คดีที่ 2 เกิดช่วงปลายปี 2020 ที่เน้นไปในส่วนการปฏิบัติต่อผู้ขายในตลาดที่ใช้บริการโลจิสติกส์และการจัดส่งของอเมซอน

Source

]]>
1366638
โดนอ่วม! ฝรั่งเศสปรับกูเกิล 4.8 พันล้านบาท ข้อหาใช้อำนาจในทางผิดเพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง https://positioningmag.com/1335957 Tue, 08 Jun 2021 10:13:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335957 หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดฝรั่งเศส (Autorité de la concurrence) ตรวจพบว่า ‘กูเกิล’ (Google) เข้าถึงข้อมูลการขอแสดงโฆษณาของผู้ซื้อโฆษณารายอื่น ๆ ที่ซื้อโฆษณาผ่านบริการของกูเกิลได้ ทำให้กูเกิลได้เปรียบจนแพลตฟอร์มอื่นแข่งขันไม่ได้ ขณะเดียวกันก็กระทบต่อเว็บและสื่อต่าง ๆ ที่อาศัยรายได้จากโฆษณา จึงได้สั่งปรับเป็นเงิน 220 ล้านยูโร และทำให้กูเกิลต้องปรับนโยบายใหม่

กูเกิลถูกสั่งปรับเป็นเงิน 220 ล้านยูโร (8.4 พันล้านบาท) โดยหน่วยงานหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดฝรั่งเศส ในโทษฐานใช้อำนาจในทางที่ผิดในตลาดโฆษณาออนไลน์ โดยผูกขาดตลาดจากการใช้ข้อมูลทำให้ได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมในธุรกิจเพื่อสร้างความเสียหายให้กับแพลตฟอร์มและผู้เผยแพร่คู่แข่ง

“Google ใช้โมเดลธุรกิจแบบบูรณาการในแนวตั้งในการโฆษณาแบบดิสเพลย์เพื่อให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น ๆ นี่เป็นการสอบสวนครั้งแรกในโลกที่ตรวจสอบพื้นที่โฆษณาแบบดิสเพลย์ที่กูเกิลเหนือกว่า และเป็นครั้งแรกที่กูเกิลตกลงทำข้อตกลงกับข้อผูกพัน กรณีนี้จะเป็นที่สนใจของหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ที่กำลังดูตลาดโฆษณาและเทคโนโลยีออนไลน์” Isabelle de Silva ประธานหน่วยงานกล่าว

กูเกิลนั้นมีธุรกิจโฆษณาสองฝั่ง คือฝั่งแสดงโฆษณาหรือ Google AdSense และการแสดงโฆษณาบนบริการต่าง ๆ ของกูเกิล ส่วนอีกฝั่งคือบริการ Google AdX สำหรับการซื้อพื้นที่โฆษณา ซึ่งทางการฝรั่งเศสระบุว่าบริการซื้อโฆษณา หรือ AdX ของกูเกิลเข้าถึงข้อมูลการขอแสดงโฆษณาของผู้ซื้อโฆษณารายอื่น ๆ ที่ซื้อโฆษณาผ่านบริการของกูเกิล ซึ่งนั่นทำให้กูเกิลได้เปรียบ

“การตัดสินใจที่คว่ำบาตร Google มีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการตัดสินใจครั้งแรกในโลกที่จะตรวจสอบกระบวนการอัลกอริธึมการประมูลที่ซับซ้อน ซึ่งจะคืนความเท่าเทียมให้กับผู้เล่นทุกคน และความสามารถของผู้จัดพิมพ์ในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่โฆษณาของพวกเขา”

นอกเหนือจากค่าปรับแล้ว กูเกิลยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงในการปรับปรุงการให้บริการโฆษณาออนไลน์ของกูเกิล ที่มีผลต่อแอปพลิเคชันผู้ให้บริการและแพลตฟอร์มพื้นที่ขาย โดยทางกูเกิลเองไม่ได้พยายามอุทธรณ์คำตัดสินของศาลแต่อย่างใด

ในบล็อกโพสต์ของกูเกิลระบุว่า บริษัทจะทำการเปลี่ยนแปลงใน Ad Manager ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้โดยผู้เผยแพร่โฆษณารายใหญ่ และปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินการกับการแลกเปลี่ยน AdX ซึ่งมีการประมูลพื้นที่โฆษณาออนไลน์ที่หน่วยงานกำกับดูแลของฝรั่งเศสกล่าวว่า Ad Manager ได้แชร์ข้อมูลการกำหนดราคากับคู่แข่งเพื่อให้ AdX ได้เปรียบเหนือแพลตฟอร์มการประมูลอื่น ๆ

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการร้องเรียนในปี 2019 จาก News Corp ผู้จัดพิมพ์ Times, Sun และ Wall Street Journal, หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Figaro และ Groupe Rossel แห่งเบลเยียม Le Figaro ถอนตัวจากคดีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และไม่ใช่แค่ในฝรั่งเศส แต่กูเกิลกำลังเผชิญกับคดีต่อต้านการผูกขาดหลายคดีในสหรัฐอเมริกา รวมถึงคดีที่รัฐบาลกลางที่กล่าวหาว่าบริษัทดำเนินการผูกขาดอย่างผิดกฎหมายในตลาดสำหรับการค้นหาออนไลน์และการโฆษณาบนการค้นหา

ที่ผ่านมา กูเกิลมีประวัติละเมิดกฎการโฆษณาของยุโรปในปี 2019 โดยบริษัทถูกปรับ 1.5 พันล้านยูโรจากสหภาพยุโรป ฐานปิดกั้นผู้โฆษณาบนการค้นหาออนไลน์ของคู่แข่ง ในปี 2018 หน่วยงานด้านการแข่งขันของสหภาพยุโรปได้ปรับบริษัทอีก 4.3 พันล้านยูโรสำหรับการใช้ระบบปฏิบัติการมือถือ Android เพื่อบล็อกคู่แข่ง และในปีที่แล้วก็โดนปรับ 2.4 พันล้านยูโร ฐานขัดขวางเว็บไซต์เปรียบเทียบการช้อปปิ้งของคู่แข่ง

CNN / theguardian

]]>
1335957
รัฐบาลจีนฟาด! สั่งปรับ ‘อาลีบาบา’ 8.6 หมื่นล้าน ข้อหาผูกขาดตลาด https://positioningmag.com/1327652 Sat, 10 Apr 2021 18:31:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327652 ในที่สุดหน่วยงานกำกับดูแลของจีนก็ฟาด ‘อาลีบาบา’ (Alibaba) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซจีนด้วยค่าปรับ 18,000 ล้านหยวน ในการสอบสวนต่อต้านการผูกขาด โดยระบุว่าเป็นการใช้อำนาจครอบงำตลาด

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคมปี 2020 ผู้คุมกฎการแข่งขันในตลาดธุรกิจจีนได้เปิดการไต่สวนเครือบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป ในข้อหา ‘ผูกขาดตลาด’ และในปลายเดือนธันวาคมคณะบริหารดูแลด้านการตลาดแห่งรัฐ (China’s State Administration for Market Regulation : SAMR) ได้ประกาศเปิดการสอบสวนพฤติกรรมผูกขาดตลาดของอาลีบาบาอย่างเป็นทางการ โดยจุดสนใจหลักของการสืบสวนคือ แนวทางปฏิบัติที่บังคับให้ผู้ขายเลือกหนึ่งในสองแพลตฟอร์มแทนที่จะทำงานกับทั้งสองแพลตฟอร์ม (ห้ามใช้งานของคู่แข่งนั่นเอง)

ล่าสุด SAMR ก็ได้สั่งปรับอาลีบาบาเป็นจำนวนเงิน 18,000 ล้านหยวน หรือราว 86,400 ล้านบาท ในข้อหาละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด และใช้อำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด โดยละเมิดธุรกิจของผู้ค้าบนแพลตฟอร์มและสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้บริโภค

รัฐบาลจีน ระบุว่า นโยบาย “เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง” และนโยบายอื่น ๆ ทำให้อาลีบาบาอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในตลาด ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และนอกเหนือจากค่าปรับแล้ว อาลีบาบาจะต้องยื่นรายงานการตรวจสอบตนเองและการปฏิบัติตามข้อกำหนดไปยัง SAMR เป็นเวลาสามปี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

ทั้งนี้ อาลีบาบาได้กล่าวในแถลงการณ์ว่ายอมรับการลงโทษและจะปฏิบัติตามการกำหนดของ SAMR โดยพร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่ทั้งการดำเนินการประเมินตนเอง และดำเนินการปรับปรุงระบบภายใน

“อาลีบาบาจะไม่ประสบความสำเร็จในการเติบโต หากปราศจากกฎระเบียบและบริการของรัฐบาลที่ดี และการกำกับดูแลที่สำคัญ ความอดทนและการสนับสนุนจากทุกเขตเลือกตั้งของเรามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของเรา” บริษัท กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวเลขการปรับจะดูมหาศาล แต่คิดเป็นประมาณ 4% ของรายได้ของอาลีบาบาในปี 2019 เท่านั้น

Source

]]>
1327652
แค่นี้จิ๊บ ๆ ‘อาลีบาบา’ และ ‘เทนเซ็นต์’ โดนปรับ ‘5 แสนหยวน’ ข้อหา ‘ผูกขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1311237 Sat, 19 Dec 2020 06:34:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311237 หน่วยงานกำกับและดูแลการค้าในประเทศจีน ได้มีการสอบสวนและสั่งปรับ ‘อาลีบาบา (Alibaba)’ และ ‘เทนเซ็นต์  (Tencent)’ หลังจากทั้งคู่ได้ทำการละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทไม่ได้ทำการประกาศที่เหมาะสมต่อหน่วยงาน เกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการในอดีต

โดยทั้งอาลีบาบาและเทนเซ็นต์ได้ถูกปรับบริษัทละ 500,000 หยวน (ราว 2.3 ล้านบาท) โดย State Administration for Market Regulation (SAMR) หน่วยงานกำกับและดูแลการค้าในประเทศจีน โดยเทนเซ็นต์นั้นได้ใช้บริษัทย่อย China Literature ทำการเข้าซื้อกิจการสื่อและสิ่งบันเทิง New Classics Media โดยไม่ได้การอนุมัติจากทางการ ส่วนอาลีบาบาถูกปรับเนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน Intime Retail บริษัทเครือห้างสรรพสินค้า โดยไม่ได้แจ้งให้ทางการทราบ

แม้ว่าค่าปรับจะน้อย แต่การเคลื่อนไหวของ SAMR ถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่รัฐบาลปักกิ่งกำลังมีท่าทีที่เข้มงวดในการลงโทษและควบคุมบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งหลายแห่งเติบโตขึ้นอย่างไร้ภาระผูกพันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในจีนไปแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อเดือนที่ผ่านมา SAMR ได้เผยแพร่ร่างกฎที่ต้องการหยุดการผูกขาดโดยแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต โดยถือเป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ครอบคลุมมากที่สุดในจีนเพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และหลังจากที่ทั้ง 2 บริษัทถูกปรับ ราคาหุ้นที่จดทะเบียนในฮ่องกงของเทนเซ็นต์และอาลีบาบาลดลงประมาณ 2.9%

Source

]]>
1311237