อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเกี่ยวเนื่องในส่วนของผู้ที่ ‘ผลตรวจเป็นบวก’ และต้องการขอใบรับรองแพทย์ เพื่อนำไปเคลมสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกัน โดยในทางปฏิบัติทางบริษัทประกันแต่ละบริษัท ก็มีเงื่อนไขการเอาประกันต่างกันไป
วันนี้ (11 ส.ค.64) ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผยว่า ในส่วนของหน่วยบริการสาธารณสุข บางหน่วยก็ออกให้ บางหน่วยงานออกให้ทางออนไลน์ หรือบางหน่วยงานก็ไม่ได้ออกให้ โดยเฉพาะในส่วนของการตรวจคัดกรองเชิงรุก ที่มีบุคลากรจากหลายหน่วยงานมาให้บริการนอกที่ตั้ง
ทำให้มีประชาชนจำนวนมาก สอบถามไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อขอใบรับรองแพทย์ บางกรณีบริษัทประกันยังมีเงื่อนไขอีกว่า ต้องประทับตราของหน่วยงานนั้นๆ ทำให้ผู้ต้องการใบรับรองแพทย์ต้องเดินทางไปถึงที่ตั้งของหน่วยงานดังกล่าว
“กรณีในลักษณะนี้ สปสช. ขอแจ้งให้ทราบว่าประชาชนผู้ทำประกัน ไม่มีความจำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ แต่อย่างใด”
เนื่องจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 45/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 เรื่องการใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา
โดยระบุว่า ให้บริษัทใช้เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 กรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือตรวจพบเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ (แบบเจอ-จ่าย-จบ) “อ้างอิงตามประกาศดังกล่าว ทำให้ใบรับรองแพทย์ไม่มีผลในการเอาประกันภัยอีกต่อไป”
นอกจากนี้ ขอชี้เเจงถึงประชาชนผู้รับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย ATK ให้ทราบว่า โดยหลักการแล้ว เมื่อผลตรวจ ATK พบว่าเป็นบวก ทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสามารถนำผลตรวจ RT-PCR ไปเคลมประกันได้โดยไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์อีก ส่วนผู้ที่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ตั้งแต่แรกก็ยิ่งไม่มีปัญหา สามารถนำไปเคลมประกันได้เลย
]]>วันที่ 5 ส.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (ฉบับที่ 2) ความว่า
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน รัฐได้กำหนดมาตรการในการป้องกันโรคโควิด-19 ตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคโควิด-19 จากสถานพยาบาลที่ภาครัฐกำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากบุคคลผู้รับการฉีดวัคซีนเกิดอาการแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 บุคคลดังกล่าวมจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จึงเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคโควิด-19
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และมาตรา 33/1 แห่งพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถานพยาบาล จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 2)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และบุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) โดยการฉีดวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) จากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับการฉีดวัคซีน เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน จากสถานพยาบาลตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สถานพยาบาล ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2559
]]>