พลพัฒน์ อัศวะประภา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Oct 2022 12:26:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Asava ลุยธุรกิจ “ยูนิฟอร์ม” พร้อมความฝันอยากเป็นแบบ MUJI มีจานชาม เฟอร์นิเจอร์ https://positioningmag.com/1404033 Tue, 11 Oct 2022 13:48:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404033
  • Asava ดันธุรกิจ ASAVA uniform หรือชุดยูนิฟอร์มองค์กรให้แกร่งขึ้น จากเทรนด์หลายองค์กรให้ความสำคัญกับชุดพนักงาน
  • ยูนิฟอร์มเปรียบเหมือนเครื่องมือการตลาดชั้นดี ถ้าพนักงานแฮปปี้ ก็เป็น Soft Power ให้บริษัทได้
  • ความฝันของหมู Asava อยากให้ Asava เป็นเหมือนแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA และ MUJI มีสินค้าครอบคลุมตั้งแต่จานชาม เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ต่างๆ เป็นแบรนด์ที่อิมแพคกับผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน
  • ตลาดลักชัวรีกระทบน้อย แต่ไม่ใช่ไม่โดน

    ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาทั้งหมด 2 ปี หลายธุรกิจได้รับผลกระแทบ ไม่เว้นแต่ธุรกิจแฟชั่น แต่ในกลุ่มลักชัวรีอาจจะกระทบน้อยหน่อย เพราะกลุ่มลูกค้าไม่ได้มีปัญหาเรื่องกำลังซื้อ แถมยังได้อานิสงส์จากการไม่ได้เดินทางไปใช้จ่ายต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้จ่ายเงินในประเทศมากขึ้นด้วยซ้ำ

    Positioning มีโอกาสพูดคุยกับ “พลพัฒน์ อัศวะประภา” หรือ aka หมู อาซาว่า ดีไซเนอร์ และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Asava แบรนด์ไทยแฟชั่นระดับลักชัวรี ในปีนี้แบรนด์อายุครบ 14 ปี ได้ยอมรับว่าช่วง COVID-19 ได้ช่วงที่หนักที่สุดที่เคยเจอ แต่ยังดีที่หันมาโฟกัสตลาดออนไลน์ และธุรกิจชุดยูนิฟอร์มมากขึ้น ยอดขายจึงไม่ลดลงมากเท่าไหร่

    “ในช่วง COVID-19 ยังมีความโชคดีหน่อยที่เริ่มทำออนไลน์มา 3-4 ปี ทำให้สะดุดนิดหน่อย แต่ยอดขายไม่ลดลงมาก ในปีแรกมีผลกระทบมาก เพราะคนไทยปรับตัวไม่ถูก แต่ในปีนี้คนเริ่มคุ้นชิน สุขภาพจิตดีขึ้น ยิ่งสินค้าแบรนด์ลักชัวรีได้เอฟเฟกต์ดี เพราะคนไม่เดินทาง ซื้อของในประเทศมากขึ้น”

    พลพัฒน์ได้ประเมินถึงตลาดแฟชั่นว่ามีแลนด์สเคปที่เปลี่ยนไปมานานแล้ว หลายแบรนด์เริ่มลงมาจับตลาดออนไลน์ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเริ่มซื้อของออนไลน์ในชิ้นใหญ่ขึ้น มูลค่าสูงขึ้น จากแต่ก่อนจะซื้อของมูลค่าไม่สูง เพราะกลัวโดนโกง ได้ของปลอม

    ปัจจุบัน Asava Group มีทั้งหมด 6 แบรนด์ ได้แก่ Asava, ASV, Asava White, ASAVA uniform, MOO และ Sava Dining สำหรับแบรนด์ Sava Dining เป็นธุรกิจร้านอาหาร ตอนนี้มี 3 สาขา เตรียมขยายเพิ่มเป็น 7 สาขา พลพัฒน์เล่าถึงที่มาในการเปิดร้านว่า “เกิดจากแรงยุ” ตอนนั้นได้คุยกับคุณแอ๊ว ศุภลักษณ์ อัมพุช ตอนเปิดเอ็มควอเทียร์ แล้วพี่แอ๊วบอกว่าคาแรกเตอร์เหมือนกับกับพี่ภาณุ (ผู้ก่อตั้ง Greyhound) ลองทำร้านอาหารดูสิ ก็เลยทำ

    ไม่คิดแบบยูนิฟอร์ม คิดแบบคอลเลกชัน

    นอกจากการบุกตลาดออนไลน์แล้ว Asava เองก็ต้องกระจายความเสี่ยงด้วยการหารายได้จากกลุ่มอื่นมากขึ้น ธุรกิจที่มาแรงที่สุดก็คือ “ยูนิฟอร์ม” หรือชุดพนักงาน เป็นการจับธุรกิจ B2B มากขึ้น

    ถ้าที่ผ่านมาหลายคนมองว่า Asava ได้อยู่เบื้องหลังชุดราตรีของเหล่าเซเลบริตี้มากมาย และเวทีนางงาม ตอนนี้พูดได้ว่า Asava ก็เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของชุดพนักงานของบริษัทต่างๆ ด้วย

    Asava ได้เริ่มธุรกิจยูนิฟอร์มตั้งแต่ปี 2553 ได้ตั้งยูนิต ASAVA uniform ขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ สำหรับการออกแบบชุดยูนิฟอร์มใหม่ลูกค้า แบรนด์แรกที่ได้ทำก็คือ “บางกอกแอร์เวย์ส” จากที่ไม่เคยทำชุดยูนิฟอร์มมาก่อน จนกลายเป็นแบรนด์สร้างชื่อให้ลูกค้าแบรนด์อื่นๆ ติดต่อให้ Asava ทำอย่างต่อเนื่อง

    พลพัฒน์เริ่มเล่าว่า “งานชิ้นแรกที่ได้ทำก็คือ บางกอกแอร์เวย์ส เพราะผู้บริหารเป็นลูกค้า Asava อยู่แล้ว เลยมาชวนทำ ตอนนั้นแบรนด์ไม่ได้เปลี่ยนยูนิฟอร์มมา 30 ปีแล้ว มีโจทย์ที่ว่าอยากให้โมเดิร์นขึ้น คำว่าบูทีคแอร์ไลน์เพิ่งมาพอดี เลยใช้สีฟ้าเทอร์ควอยซ์เข้ามา เปลี่ยนจากแอร์ที่คุ้นชินกับการใส่กระโปรง มาเป็น “กระเปง” (กระโปรง+กางเกง) เป็นการพลิกกระดานของวงการแอร์โฮสเตสเลย เพราะรูทบินของบางกอกแอร์เวย์ส่วนใหญ่เป็นเมืองท่องเที่ยว อย่างบาหลี สมุย เสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องทางการมาก สวยแต่ลำลองได้ คิดแค่ว่าเปลี่ยนทั้งทีต้องทำให้คนรู้สึกได้”

    จากผลงานแรกทำให้สำนักพิมพ์ Conde Nast Traveler เลือกเป็น 1 ใน 7 ชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีความสวยงาม และโดดเด่นที่สุด เคียงคู่กับผลงานจาก Yves Saint Laurent และ Chistain LaCroix ที่ดีไซน์ให้สายการบินระดับโลกอื่นๆ

    หลังจากนั้นก็เป็นการเปิดประตูให้ลูกค้าแบรนด์อื่นติดต่อให้ Asava ดีไซน์ยูนิฟอร์มมากขึ้น แรกเริ่มมีพนักงานแค่ไม่กี่คน จนต้องเปิดแผนกใหม่ ทั้งดีไซเนอร์, AE, Customer Service, Merchandiser พลพัฒน์บอกว่าต้องเริ่มต้นกระบวนการเองทั้งหมด ตั้งแต่คิด ให้คำปรึกษา มีแนวคิดที่ว่าเหมือนทำคอลเลกชันใหม่ให้ลูกค้า

    “วิธีการคิดยูนิฟอร์มของเราจะไม่มองว่าเป็นยูนิฟอร์ม แต่กระบวนการคิดเหมือนเป็นคอลเลกชันใหม่เลย การคิดก็ใส่หัวแฟชั่น ให้คำปรึกษา กลยุทธ์ เพื่อให้เข้ากับองค์กร ต่างจากการคิดทำยูนิฟอร์มของบริษัทอื่นๆ” 

    ยูนิฟอร์มดี เป็น Soft Power ให้องค์กร

    ชุดยูนิฟอร์มเป็นหน้าที่ของฝ่าย HR หรือการตลาดกันแน่ เป็นคำถามที่ชวนคิด…

    หลายองค์กรมองว่าการทำยูนิฟอร์มพนักงานเป็นภาระหน้าที่ของฝ่าย HR หรือบริหารบุคคล ในการดูแลพนักงานในบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เกือบ 100% ชุดยูนิฟอร์มก็จะออกมาในรูปแบบเสื้อโปโล หรือเสื้อเชิ้ตพร้อมปักโลโก้บริษัท ผ้าที่ใช้ก็อาจจะไม่ได้สวมใส่สบายมากนัก เพราะดูเรื่องราคาเป็นหลัก

    SO Sofitel Hua Hin x ASAVA

    แต่ในช่วงหลายปีมานี้หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการดีไซน์ยูนิฟอร์มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานสายบริการต่างๆ สายการบิน, ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ธนาคาร, โรงแรม หรือเป็นงานที่พนักงานต้องพบเจอกับลูกค้าเยอะ โจทย์อาจจะมีทั้งต้องการให้พนักงานใส่ทำงานแล้วดูกระฉับกระเฉง สบายตัว อีกส่วนก็เพื่อสร้างแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น

    “แต่ก่อนคนจะคิดว่าการทำยูนิฟอร์มต้องทำร่วมกับฝ่าย HR แต่จริงๆ แล้วชุดยูนิฟอร์มเนี่ย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำ PR อย่างหนึ่งเลย สามารถดูได้ว่าองค์กรคิดอย่างไร มีวิสัยทัศน์อย่างไร สิ่งที่อยากพูดนอกองค์กร หรืออยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ ต้องสื่อทั้งคนที่ไม่ใช่ลูกค้า และอยากให้เป็นลูกค้า รวมถึงพนักงาน บางคนมองแค่ว่ายูนิฟอร์มก็แค่ทำเสื้อให้พนักงานใส่สบายสุด แต่ถ้าใช้ยูนิฟอร์มทำหน้าที่มากกว่าใส่สบาย สามารถเป็นเครื่องมือการตลาดได้ มีผลต่อผู้บริโภค มันคือ Soft Power สำหรับองค์กร ยูนิฟอร์มจะมีอิทธิพลอย่างมาก ต้องเจอกับลูกค้าตลอด เป็นกระบอกเสียง สะกดจิตคนได้มากที่สุด แต่บางทีคนจะคิดไม่ถึง” 

    Bangkok Bank x ASAVA

    ในกระบวนการทำยูนิฟอร์มโปรเจกต์หนึ่ง พลพัฒน์บอกว่าต้องคุยกับกับทีมฝ่ายการตลาด ทีมสร้างแบรนด์ เพื่อให้รู้จุดประสงค์ที่แท้จริง รีเสิร์ชต้องแน่น บรีฟต้องแน่น ถ้ายูนิฟอร์มส่งไปฝ่ายบุคคลก็จะดูเรื่องงบประมาณ สุดท้ายก็เน้นที่เรื่องราคา และใส่สบาย

    ปัจจุบัน ASAVA uniform มีลูกค้าที่หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น บางกอกแอร์เวย์ส, แสนสิริ, เมืองไทยประกันชีวิต, โรงแรม So Sofitel Huahin, โรงแรมสินธร เคมปินสกี้, ดีแทค, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

    ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเก่าที่ให้ดีไซน์ใหม่อยู่เรื่อยๆ ถึงแม้จะมีลูกค้าติดต่อมาเรื่อยๆ แต่ก็ใช่ว่าจะรับทำได้หมด เพราะแต่ละแบรนด์จะมีสัญญาแตกต่างกันไป เช่น บางโรงแรมจะมีเซ็นสัญญา 1 ปีในการไม่ไปรับทำให้โรงแรมอื่นในจังหวัดเดียวกัน, สายการบินมีข้อสัญญาว่าห้ามทำให้สายการบินอื่น, โอเปอเรเตอร์ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร ส่วนธนาคารจะแล้วแต่แบรนด์ ส่วนใหญ่จะมีการคุยข้อตกลงกัน

    dtac x ASAVA

    “ตอนเริ่มทำยูนิฟอร์มใหม่ๆ มีคนถามว่าขาลงหรอ แบรนด์ไฮแฟชั่นไม่ค่อยชอบทำยูนิฟอร์มกัน แต่มองว่าเป็นช่วงขาขึ้นมากกว่า เป็นความฝันส่วนตัวเลย ว่าอยากให้แบรนด์มีอิทธิพล เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนไทย มีความสุขเห็นคนใส่เสื้อผ้าเรา ใส่ชุดแล้วแฮปปี้”

    ตอนนี้ยูนิตของยูนิฟอร์มมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมีสัดส่วนรายได้ 40% และกลุ่มของแฟชั่น 60%

    อยากให้ Asava เหมือน IKEA – MUJI

    “ไม่อยากมีแค่แฟชั่น อยากมี IMOO (อิหมู) เหมือน IKEA”

    นอกจากบทบาทใหญ่ของพลพัฒน์ที่หลายคนรู้จักจะเป็นดีไซเนอร์ นักธุรกิจ ตอนนี้ยังมีบทบาทอื่นๆ ที่ปรึกษา อาจารย์ นายกสมาคมดีไซเนอร์ เจ้าของร้านอาหาร

    ถ้าถามว่าความฝันของพลพัฒน์ที่มีต่อ Asava เป็นอย่างไร แน่นอนว่ามีความเล่นใหญ่ อยากให้แบรนด์มีอิทธิพลต่อชีวิตคน อยากเหมือน IKEA และ MUJI ที่มีสินค้าทุกอย่าง

    “เคยดู IKEA กับ MUJI มีวิธีคิดที่ใหญ่จริงๆ IKEA ปฏิวัติวงการเฟอร์นิเจอร์ ส่วน MUJI ในความมินิมัล เซ็นลงไปในเสื้อผ้า จานชามต่างๆ สำหรับนักออกแบบแล้วถ้าเอาแบรนด์ไปอยู่ในชีวิตคนได้มันจะยิ่งใหญ่มาก อยากขยายความฝันของเราให้มีอิทธิพลของคน ไม่ต้องรู้สึกว่าคนต้องซื้อเสื้อทุกวัน หรือมีของเยอะแยะ แต่มีของที่ตรงกับจิตวิญญาณตัวเอง ไม่สอนลูกค้าว่ามีของเยอะ ให้คนรู้จักตัวเอง เข้าใจอินเนอร์ตัวเอง”

    แถมยังพูดติดตลกว่า ต่อไปอาจจะเห็น Asava มีจานชามเป็นของตัวเองก็ได้ หรือไม่ก็มี IMOO (อิหมู) 
    ]]>
    1404033
    MOO x Nanyang Sneakers พลิกรองเท้านันยางในตำนาน สู่ไอเท็มสตรีท แฟชั่น https://positioningmag.com/1306653 Wed, 18 Nov 2020 08:15:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306653 MOO (หมู) อีกหนึ่งแบรนด์สำหรับเสื้อผ้าผู้ชาย และไลฟ์สไตล์ของดีไซเนอร์ หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา หรือหมู ASAVA จับมือกับ “นันยาง” แบรนด์รองเท้าในตำนานของไทย เปิดตัวรองเท้าผ้าใบ MOO x Nanyang Sneakers พลิกโฉมเป็นไอเท็มสตรีท

    ฉีกกรอบรองเท้านักเรียน

    ยังคงเป็นเทรนด์ของกลยุทธ์การตลาด สำหรับการจับมือกัน หรือโคแบรนด์ร่วมกันระหว่าง 2 แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือต่างอุตสาหกรรม เพื่อสร้างสีสันใหม่ๆ ที่สำคัญคือได้แลกเปลี่ยนฐานลูกค้าซึ่งกันและกันด้วย

    ล่าสุดแบรนด์ MOO เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ของดีไซเนอร์ หมู ASAVA จับกลุ่มเสื้อผ้าผู้ชาย ได้จับมือกับรองเท้า “นันยาง” เกิดเป็นโปรเจกต์ MOO x Nanyang Sneakers ความร่วมมือนี้ทำให้ได้เห็นการนำรองเท้านันยางมาปรับโฉม ปรับสีสันให้ดูทันสมัยมากขึ้น เป็นการแตกไลน์สินค้าไลฟ์สไตล์ นอกเหนือจากการเป็นรองเท้านักเรียน

    หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา กล่าวว่า

    “MOO เป็นแบรนด์เสื้อผ้าผู้ชาย และไลฟ์สไตล์ในสไตล์ Urban Casual ที่มีกลิ่นอายความเป็นวินเทจเข้าไว้ด้วยกัน การร่วมมือครั้งนี้เพื่อเติมเต็ม Brand Portfolio ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้น จึงร่วมมือกับนันยาง ดีไซน์รองเท้าผ้าใบให้ทันสมัย โดยวางกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นวัยรุ่น Gen Y ที่มีไลฟ์สไตล์ชื่นชอบความทันสมัย มีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความสนุกสนานในลักษณะของสตรีทแฟชั่น”

    MOO x Nanyang Sneakers

    รองเท้ารุ่นนี้ได้นำเอาสีที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ MOO อย่างน้ำเงิน ขาว และ Multicolor น้ำเงิน แดง ขาว มาพิมพ์ลงบนผืนผ้าใบของตัวรองเท้า ตกแต่งด้วยลวดลาย Stripe แต่ยังคงซิกเนเจอร์ของความเป็นรองเท้านันยางไว้ ด้วยพื้นยางพาราสีเขียว และโลโก้ด้านใน

    วางจำหน่ายทั้งหมด 2 สี ได้แก่ Navy Stripe และ Multicolor ไซส์ 38 – 45 ราคา 2,890 บาท เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ MOO Official Store ศูนย์การค้าสยามพารากอน

    เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

    ]]>
    1306653
    ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้! ‘ลาซาด้า’ เขย่าวงการแฟชั่น เสิร์ฟ ‘Virtual Runway’ ต่อยอดเทรนด์ ‘ไลฟ์คอมเมิร์ซ’ โกยยอดขายให้แบรนด์เพิ่มกว่า 60 เท่า https://positioningmag.com/1300830 Fri, 09 Oct 2020 11:00:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300830

    หากพูดถึงเทรนด์ ‘ไลฟ์คอมเมิร์ซ’ นี่ไม่ใช่เทรนด์ที่ใหม่เสียทีเดียว เพราะว่าเริ่มเห็นกระแสตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่เพราะ COVID-19 ที่ทำให้คนต้องกักตัวอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้มีเวลาว่างมากกว่าเดิม จึงส่งผลให้ผู้บริโภคมีเวลาที่จะดู ‘ไลฟ์ขายของ’ มากขึ้น ส่งผลให้เทรนด์ไลฟ์คอมเมิร์ซจึงเติบโตขึ้นกว่าเดิม และไม่ใช่แค่ไทย แต่ในจีนก็กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน ไลฟ์คอมเมิร์ซไทยมีมาร์เก็ตไซส์ประมาณ 5-10% ของมูลค่าอีคอมเมิร์ซทั้งหมด หรือประมาณ 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

    ‘ลาซาด้า’ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเบอร์ต้นๆ ของไทย ถือเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ของไทยที่เพิ่มฟีเจอร์ ‘ไลฟ์สตรีมมิ่ง’ หรือ ‘LazLive’ เข้ามาในแพลตฟอร์มผ่านกลยุทธ์ ‘Shoppertainment’ ที่เปลี่ยนให้การช้อปปิ้งไม่ใช่แค่การ ‘ซื้อ’ แต่ต้อง ‘สนุก’ ด้วย ซึ่งการไม่ใช่แค่ช่วยให้ลูกค้าได้ความสะดวกในการซื้อสินค้า แต่ยังสามารถพูดคุยสอบถามถึงตัวสินค้าได้ทันที แถมยังได้ในเรื่องของเอนเตอร์เทนต์เมนต์เพื่อดึงให้ลูกค้าอยู่บนแพลตฟอร์มนานขึ้นอีกด้วย

    แน่นอนว่าในปี 2020 นี้ จะแค่ไลฟ์ขายของแบบธรรมดา ๆ คงจะไม่พอ เพราะเมื่อวันที่ 2-4 ตุลาคมที่ผ่านมา ลาซาด้าได้จับมือนิตยสารแอล ประเทศไทย (ELLE Thailand) จัดงาน ‘ELLE Digital Fashion Week 2020 Powered by Lazada’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Front Row at Home ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการจัดแสดงแฟชั่นโชว์แบบ ‘Virtual Runway’ เต็มรูปแบบ ซึ่งโปรดักชั่นทั้งหมดใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) ในรูปแบบซีจี (CG) และถ่ายทอดสดผ่าน LazLive โดยลูกค้าที่กำลังชมสามารถซื้อสินค้าไปด้วยพร้อมกัน (See Now Buy Now) รวมถึงสามารถรับ ‘คูปองพิเศษ’ ระหว่าง Livestreaming อีกด้วย

    สำหรับงาน ELLE Digital Fashion Week 2020 Powered by Lazada เป็นการต่อยอดความสำเร็จของ ‘Lazada Thai Designer Club’ เซ็กเมนต์ใหม่บน ‘LazMall’ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ยกระดับแพลตฟอร์ม เพื่อตอบสนองความต้องการนักช้อปที่รักการแต่งตัว และมีการทำ Exclusive Collection ร่วมกัน เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ให้กับแบรนด์ โดย ณ ปัจจุบัน Lazada Thai Designer Club รวบรวมสินค้าแบรนด์ไทยดีไซเนอร์กว่า 50 แบรนด์ไว้จำหน่ายบนแพลตฟอร์ม

    โดยภายในงานนี้ มีผลงานดีไซเนอร์ไทยชั้นนำที่ร่วมโชว์ในทั้งหมด 7 แบรนด์ ได้แก่ ASV, ISSUE, Kloset, Milin, PAINKILLER, T AND T และ Vickteerut

    ทั้งนี้ งาน ‘ELLE Digital Fashion Week 2020 Powered by Lazada’ ดิจิตัลรันเวย์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มาพร้อมกับสถิติที่น่าสนใจ อาทิ

    · ยอดผู้เข้าชมมากกว่า 52,000 คน

    · ความสำเร็จของแบรนด์ที่เข้าร่วมโชว์ อาทิ

    o แบรนด์ Vickteerut ได้ยอดขายอันดับ 1

    o แบรนด์ T&T ยอดขายโตกว่า 60 เท่า

    · สินค้าแฟชั่นกว่า 1,000 ชิ้น ถูกกดใส่รถเข็นในขณะกำลังรับชมไลฟ์ (See Now, Buy Now)

    หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา นายกสมาคมแฟชั่นดีไซเนอร์กรุงเทพฯ หรือ BFS กล่าวว่า “การร่วมมือในการจัดงาน Elle Digital Fashion Week 2020 ของ ELLE, BFS และลาซาด้า เป็นการต่อยอดจาก Lazada Thai Designer Club ที่เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยดีไซนเนอร์ไทยได้เติบโตและขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงการทำโปรเจคต่างๆ ที่จะช่วยดีไซเนอร์ไทยร่วมกันโดยใช้จุดแข็งของแต่ละคน โดยลาซาด้าได้ใช้ฟีเจอร์ LazLive ร่วมกับความเชี่ยวชาญของการทำ Fashion Show จาก ELLE และดีไซเนอร์ไทย ในการสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการแฟชั่นจัด Virtual Runway บนอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มเป็นครั้งแรก ซึ่งกระแสตอบรับดีมากๆ เรียกได้ว่าเป็นก้าวใหม่ครั้งสำคัญของวงการแฟชั่นอย่างแท้จริง”

    อีกหนึ่งความเห็นจาก มีมี่ – มิลิน ยุวจรัสกุล ดีไซเนอร์ไทยผู้ก่อตั้งแบรนด์ Milin “ในการทำ Elle Digital Fashion Week 2020 ในรูปแบบ Virtual Runway ครั้งนี้โดยการใช้ฟีเจอร์ See Now Buy Now ของลาซาด้าเข้ามาร่วมด้วย ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าของแบรนด์ได้ในขณะรับชมแฟชั่นโชว์ สิ่งนี้ถือว่าเป็นการพลิกโฉมอีกครั้งของวงการแฟชั่นร่วมกันกับลาซาด้า ที่การจัดแฟชั่นโชว์ทั่วไปไม่สามารถทำได้ ทำให้การซื้อสินค้าจากแบรนด์เป็นเรื่องง่ายขึ้น รวมถึงยอดขายที่โตขึ้นด้วยจากแพลตฟอร์มของลาซาด้า สิ่งนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการทำอะไรใหม่ๆ ให้กับแบรนด์ของเรา รวมถึงเพื่อนๆ ดีไซนเนอร์ด้วย ”

    งานนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวความสำเร็จของลาซาด้า ในฐานะผู้นำอีคอมเมิร์ซแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

    Movement จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามต่อไป…

     

    ]]>
    1300830