พลังงานแสงอาทิตย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Jul 2023 01:37:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองโอกาสตลาด ‘โซลาร์เซลล์ไทย’ ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้าน! https://positioningmag.com/1437465 Tue, 11 Jul 2023 09:15:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437465 ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้ พลังงานสะอาด เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่หลายคนเจอกับ ค่าไฟ แสนแพง ทำให้เริ่มตื่นตัวกับพลังงานจาก แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ หลายคนคงสงสัยแล้วตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยนั้น ใหญ่ ขนาดไหน และมีโอกาสให้สอดแทรกอย่างไรได้บ้าง

มองสถานการณ์พลังงานสะอาดโลก

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มองว่า ปีนี้กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน และภาครัฐที่บังคับใช้นโยบาย โดย พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม จะเป็น ตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้พลังงานสะอาดขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กำลังผลิตพลังงานทดแทนทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 107 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยคาดว่าในปีหน้ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะแตะ 4,500 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งเทียบเท่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าของจีนและสหรัฐอเมริการวมกัน

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า โซลาร์เซลล์ จะเพิ่มขึ้นราว 2 ใน 3 และคาดว่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2024 เนื่องจากราคาค่าไฟของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้ผู้คนเริ่มหันมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขณะที่ พลังงานลม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ในปี 2023 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

โซลาร์เซลล์ไทยมีเพียง 3,000 เมกะวัตต์

สำหรับสถานการณ์ด้านพลังงานสะอาดของไทยนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษา สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) ปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่กรอบปี 2018-2025 อยู่ที่ 20,343 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของ โซลาร์เซลล์ 3,000 เมกะวัตต์ มากสุดในกลุ่ม ตามด้วย กังหันลม 1,500 เมกะวัตต์

ส่วนกรอบปี 2018-2037 จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ เป็นส่วนแบ่งของพลังงานสะอาดรวมโซลาร์เซลล์และกังหันลม 18,833 เมกะวัตต์

“เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เฉลี่ยวัตต์ละ 80 บาท แต่ปัจจุบันเหลือ 10 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลที่แนวโน้มมีแต่จะสูงขึ้น ดังนั้น ต่อไปไม่มีทางจะหนีพ้นการใช้พลังงานสะอาด และไม่มีอะไรจะชนะพลังงานแสงอาทิตย์และลมได้”

โอกาสมากกว่า 60,000 ล้านบาท

ไววิทย์ อุทัยเฉลิม กรรมการบริหาร บริษัท ซันเดย์ โซลาร์ ซัพพลาย จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจร กล่าวว่า หากนับเฉพาะแผนการผลิตพลังงานของไทย (Power Development Plan : PDP) ที่ต้องการผลิตพลังงานสะอาดให้ได้แตะ 20,000 เมกะวัตต์ คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ดังนั้น ตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยจะมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านแน่นอน

อย่างในส่วนภาค ครัวเรือน มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดโซลาร์เซลล์ อย่างเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีครัวเรือนกว่า 3 ล้านหลัง แต่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่ ไม่ถึง 10% แต่ภายใน 3 ปีจากนี้ คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 20% เพราะผู้บริโภคมีความตื่นตัวมาก หลังจากที่ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงนโยบายจากทางภาครัฐก็มีการสนับสนุน และธนาคารก็มีการให้กู้เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วย

“ตอนนี้เดเวลอปเปอร์ก็หันมาติดโซลาร์เซลล์ในโครงการกันหมด มีโปรโมชันใช้ไฟฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้า และต่อไปการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็จะเหมือนมือถือ ที่มีราคาถูงลงเรื่อย ๆ ดังนั้นตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก”

ผนึกทงเวย โซลาร์ เบอร์ 1 ของโลก

สำหรับ ซันเดย์ โซลาร์ ล่าสุดได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทยแต่เพียงรายเดียวของ ทงเวย โซลาร์ แบรนด์ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic: PV) ชนิดผลึกซิลิคอนรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติจีน ปัจจุบัน ทงเวย เป็นหนึ่งในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศจีน โดยในปี 2022 มีผลประกอบการรวมประมาณ 783,241 ล้านบาท

ทงเวย มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ 6 แห่งในประเทศจีน ได้แก่ เหอเฟย, ซวงหลิว, เหม่ยซาน, จินถัง, เหยียนเฉิง, หนานทง และที่โครงการทงเหอ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ (modules) ไปยัง 48 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีเหมืองซิลิคอนที่สามารถซัพพลายผนึกซิลิคอนให้กับบริษัทผู้ผลิต PV ชั้นนำ อาทิ Jinko, JA, Cannadian, LONGI, Trina, เป็นต้น

ปัจจุบัน ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ครบวงจรในไทยมีประมาณ 15-20 บริษัท เฉพาะบริษัทที่มีพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทใหญ่แบบทงเวยมีไม่ถึง 5 บริษัท ดังนั้น การแข่งขันจึงไม่ได้สูง โดย ซันเดย์ โซลาร์ จะจับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก เช่น กลุ่มผู้รับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ลูกค้าธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการ โรงงาน สถานประกอบการ และโครงการอสังหาริมทรัพย์

โดยในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้ 2,000 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ตั้งเป้า 3 ปี มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท และภายใน 5 ปีตั้งเป้าโกยรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนจะรุกตลาดอีวีด้วย อาทิ หัวชาร์จอีวีชาร์จเจอร์ แบตเตอรี่สำหรับรถและโรงงานไฟฟ้า

“เราจะทำหมดเดี่ยวกับพลังงานสะอาด อย่างตลาดอีวีเราก็จะไปแน่แต่ไม่ได้ไปทำสถานีชาร์จ แต่จะนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์แทน”

]]>
1437465
ตามไปฟังเพลง “เป็นเธอ” แคมเปญของ “บ้านปู” ที่ใช้ “พลังงานสะอาด” อัดเพลง ถ่าย MV และจัดคอนเสิร์ต! https://positioningmag.com/1411699 Fri, 16 Dec 2022 11:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411699

จะมีสักกี่ครั้งที่การผลิตเพลงขึ้นมาสักเพลงหนึ่ง ตั้งแต่การอัดเสียงในสตูดิโอ ถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ จนถึงการจัดเวทีคอนเสิร์ต จะใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด” ทั้งหมด แต่แคมเปญล่าสุดของ “บ้านปู” พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง ผ่านการสร้างสรรค์เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) โดยได้นักร้องสาวเสียงดี “วี – วิโอเลต วอเทียร์” ตัวแทนคนรุ่นใหม่ มาร่วมสื่อสารเพลงรักจากพลังงานสะอาดในแคมเปญนี้

ธุรกิจพลังงานเป็นเรื่องที่ทั้งใกล้และไกลตัวเรา ใกล้เพราะในชีวิตประจำวันทุกคนย่อมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า แต่อาจจะรู้สึกไกลตัวเพราะพลังงานเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ไม่ได้สื่อสารเรื่องแบรนด์มากนัก

อย่างไรก็ตาม ผู้คนในโลกยุคใหม่กำลังตื่นตัวกับการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) พลเมืองคนหนึ่งของโลก ในบทบาทผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ก็มีการปรับพอร์ตธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บ้านปูต้องการเชื่อมต่อกับสาธารณชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ในฐานะบริษัทพลังงานไทยทันสมัยและใส่ใจด้านความยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์ที่ตอบรับกับโลกอนาคต Greener & Smarter

บรรยากาศการถ่ายทำ MV ด้วยพลังงานสะอาด

โซลูชันด้านพลังงานของบ้านปูนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ถ้าจะนำเสนอในเชิงเทคนิคล้วนๆ ก็คงจะฟังดูไกลตัวผู้บริโภค บ้านปูจึงเลือกดึงเรื่องพลังงานให้ใกล้ตัวคนมากขึ้นผ่านแคมเปญ “เพลงรักจากพลังงานสะอาด” สร้างสรรค์เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) ขึ้นมา โดยความพิเศษ คือ ไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตเพลงนี้ เกิดจากเทคโนโลยีที่ผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด”


เพลง “เป็นเธอ” เพลงรักที่ส่งมอบความรู้สึกดีๆ

แคมเปญ “เพลงรักจากพลังงานสะอาด” ครั้งนี้ มีการดึงตัว “แอ้ม – อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์” นักแต่งเพลงชื่อดัง มาร่วมงานกับนักร้องสาวเสียงดี “วี – วิโอเลต วอเทียร์” เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ด้านพลังงานจากแบรนด์บ้านปูผ่านบทเพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky)


เพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก การได้พบเจอใครสักคนที่เปลี่ยนโลกของเรา แต่ถ้าหากฟังให้ลึกลงไปจะได้พบความหมายลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ในเพลง เพราะเนื้อเพลงได้เปรียบ “พลังงาน” เป็นเสมือน “ความรัก” ที่ช่วยขับเคลื่อนสิ่งดีๆ เปลี่ยนโลกใบนี้ให้สดใสขึ้น

เมื่อเนื้อเพลงรวมกับดนตรีฟังสบายสไตล์วี – วิโอเลต ทำให้ประสบการณ์ด้านพลังงานจากแบรนด์บ้านปูได้รับการสื่อสารออกมาด้วย “พลังบวก” ที่ทำให้คนฟังอมยิ้มมีความสุขไปตามกัน


โชว์ศักยภาพโซลูชัน “พลังงานสะอาด” จากบ้านปู

เบื้องหลังความไพเราะของเพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) คือกระบวนการผลิตเพลง ตั้งแต่การอัดเสียงในสตูดิโอ การถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ ไปจนถึงการแสดงโชว์บนเวทีคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์เป็นเวลานาน 6 ชั่วโมง ทั้งหมดนี้ได้ใช้ไฟฟ้าจาก “พลังงานสะอาด” ที่ผลิตผ่าน Energy Solutions ของบ้านปูในทุกขั้นตอน!

เบื้องหลังการติดตั้งระบบโซลูชันพลังงาน (Energy Solutions) ที่เวทีมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์

โซลูชันพลังงาน (Energy Solutions) ของบ้านปู ที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับทั้งแคมเปญนี้ ประกอบด้วย

  • ระบบผลิตและกักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

ช่วงกลางวันสามารถรับแสงอาทิตย์ผ่านแผงโซลาร์เซลล์ แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยตรง และมีแบตเตอรีเพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามค่ำคืน รวมถึงมีการประยุกต์ใช้กับรถเทรลเลอร์ จึงสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้ทุกที่ กลายเป็นหัวใจสำคัญในการจ่ายไฟให้กองถ่าย MV และการจัดมินิคอนเสิร์ต

  • เครื่องกักเก็บพลังงาน เครื่องนี้สามารถรับพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มากักเก็บในแบตเตอรี และเชื่อมต่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทันที โดยมีทั้งขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกด้วยริโมตคอนโทรล จึงนำมาใช้กับการอัดเพลงในสตูดิโอ และขนาดใหญ่ที่มีความจุถึง 1 MWh หรือเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าเป็นเวลา 1 เดือนของบ้านหนึ่งหลัง จึงนำมาใช้กับการจัดเวทีคอนเสิร์ตที่ใจกลางสยามสแควร์

นอกจากนี้ ใน MV เราจะเห็นผลิตภัณฑ์สำหรับ end users ของบ้านปูร่วมอยู่ในฉาก เช่น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi, ยานยนต์ไฟฟ้าจาก Banpu NEXT หรือโซลาร์รูฟท็อปในสถานที่ถ่ายทำ Summer Lasalle ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงบ้านปูกับชีวิตประจำวันของตนเองได้ด้วย

ถือเป็นการแสดงศักยภาพของบ้านปูผ่าน ‘use case’ ของจริงว่า การใช้พลังงานสะอาดไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวผู้บริโภค และพลังงานจะสะอาดขับเคลื่อนโลกเราต่อไปได้จริงๆ


สะพานที่เชื่อมต่อให้คนรุ่นใหม่รู้จัก “บ้านปู” มากขึ้น

บรรยากาศความสนุก สดใส ในมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์

แคมเปญเพลงรักจากพลังงานสะอาดของบ้านปูนั้นได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวัง โดย MV เพลง “เป็นเธอ” (Brighter Sky) บน YouTube และ Facebook นั้นมียอดวิวรวมทะลุ 3 ล้านครั้ง ขณะที่การจัดมินิคอนเสิร์ตใจกลางสยามสแควร์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็มีประชาชน คนรุ่นใหม่เข้าร่วมชมเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี บ้านปูไม่ได้คาดหวังกับยอดวิวมากเท่ากับการเริ่มสร้างความรักที่มีต่อแบรนด์ (Brand Love) ในหัวใจของคนรุ่นใหม่ และให้ผู้ที่ได้ฟังหรือมาร่วมชมมินิคอนเสิร์ตได้รับประสบการณ์ที่ดี ได้มาสัมผัสว่า “บ้านปูอยู่ใกล้คุณกว่าที่คุณคิด” และบ้านปูคือแบรนด์ที่มุ่งมั่น “ส่งมอบพลังงานที่ดีขึ้นเพื่ออนาคต” (Smarter Energy for the Future)

]]>
1411699
รู้จักโซลาร์เซลล์ 3 ชนิด ข้อดี-ข้อด้อยคืออะไร? และทำไมยุคนี้โซลาร์ฟาร์มมักลอยอยู่ในน้ำ? https://positioningmag.com/1320970 Tue, 02 Mar 2021 04:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320970

ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการใช้ “พลังงานหมุนเวียน” แทนฟอสซิล เพราะเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและยั่งยืนกว่าในการผลิต โดยมี “พลังงานแสงอาทิตย์” เป็นหนึ่งในประเภทพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยม ในอนาคตเราจะได้เห็นแผง “โซลาร์เซลล์” อยู่รอบตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่กลางที่โล่งกว้าง บนผืนน้ำ ไปจนถึงบนหลังคาบ้าน

เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่นิยม แผงโซลาร์เซลล์ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและมีตัวเลือกหลากหลายขึ้น โซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นจากธาตุซิลิคอนซึ่งมักจะพบในทราย ส่วนแหล่งผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ ประเทศจีนนี่เอง

แม้แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตจากธาตุซิลิคอนเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียด ปกติโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดและมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ดังนี้

1. “โมโน” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells)

แผงโมโนเป็นชนิดที่ดีที่สุดในท้องตลาด สามารถสังเกตหน้าตาได้จากลักษณะจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน ทำให้ดูเหมือนมีจุดขาวๆ อยู่ตลอดทั้งแผง

แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เพราะใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้น ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วยโดยอยู่ที่ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี

แต่ข้อเสียที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีก็คือ “ราคา” จะสูงตามไปด้วย รวมถึงเป็นชนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าในการผลิต เพราะการใช้ซิลิคอนชิ้นเดียว ทำให้ต้องมีการตัดซิลิคอนให้ได้รูป และจะมีซิลิคอนเหลือเป็นขยะระหว่างกระบวนการผลิต

ทั้งนี้ เนื่องจากราคาที่สูงทำให้การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น แผงโซลาร์เซลล์แบบพกพา กระเป๋าโซลาร์เซลล์ แต่ประเทศแถบยุโรปมีการใช้แผงแบบโมโนในการตั้งโซลาร์ฟาร์มเช่นกัน

2. “โพลี” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells)

แผงโพลีมีคุณภาพรองลงมาจากแผงโมโน หน้าตาของแผงแบบนี้จะดูเหมือนตารางสี่เหลี่ยม โดยบริเวณเหลี่ยมจะไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน

การผลิตแผงโพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมกันเป็นแผง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19% เห็นได้ว่าประสิทธิภาพแตกต่างกับแผงโมโนไม่มากนัก แถมยังมีราคาถูกกว่า และลดการทิ้งขยะเศษเหลือของซิลิคอนระหว่างผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อายุการใช้งานก็ยาวนานไม่แพ้กันนัก โดยใช้ได้นานประมาณ 20 ปี

แผงโพลียังมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ทำให้เป็นชนิดโซลาร์เซลล์ที่นิยมมากในโซลาร์ฟาร์มเขตเมืองร้อนรวมถึงประเทศไทยด้วย

3. “อมอร์ฟัส” – แผงโซลาร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells)

แผงแบบอมอร์ฟัสนั้นเป็นประเภทที่ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการใช้ Thin Film Technology เคลือบ “สาร” ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ไว้บนแผงที่ทำมาจากแก้วหรือพลาสติก หน้าตาของแผงจะมีลายเส้นตรงถี่ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตารางเหมือนอีกสองชนิดข้างต้น

ข้อดีของแผงแบบนี้คือราคาถูกที่สุด และสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ในที่แสงน้อย รวมถึงการเคลือบสารบนพลาสติกได้ ทำให้ถูกนำไปปรับใช้กับพื้นที่ที่มีความโค้งมน เช่น ติดตั้งบนพื้นผิวของยานพาหนะ แน่นอนว่าเป็นสารเคลือบ ไม่ใช่ซิลิคอน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงอมอร์ฟัสจะไม่สูงนัก และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปีเท่านั้น

ปัจจุบันแผงแบบอมอร์ฟัสมักจะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ต้องการไฟฟ้าต่ำ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา

โซลาร์ฟาร์ม “ลอยน้ำ” กำลังมาแรง

ดังที่กล่าวไปว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้นมาก จนหลายประเทศตั้งเป้าให้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งไฟฟ้าหลักแล้ว มิใช่เป็นเพียงแหล่งพลังงานเสริมเท่านั้น

นอกจากนี้ ในหลายประเทศมีการตั้งโซลาร์ฟาร์มเพื่อผลิตพลังงาน และหนึ่งในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มที่นิยมกันคือแบบ “ลอยน้ำ” เพราะมีข้อดีที่เหนือกว่าการติดตั้งบนบกคือ ลดการใช้พื้นที่ดินที่สามารถนำไปทำประโยชน์อื่นได้ และลดการถางป่าหรือโยกย้ายบ้านเรือนประชาชนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รวมถึงการลอยในน้ำยังมีผลดีกับตัวแผงโซลาร์เซลล์ด้วยเพราะช่วยลดโอกาสเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดของแผง

โดยแผงโซลาร์ลอยน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งในอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทะเล ฯลฯ หรือกรณีตัวอย่างในประเทศจีน มีการใช้เหมืองเก่าเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุย ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วและมีน้ำท่วมขัง นำพื้นที่มาติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำแทน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีกครั้ง

เมืองไทยก็มีแล้ว! โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล กลุ่ม ปตท.

ไม่เฉพาะต่างประเทศที่พัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในประเทศไทยก็มีการพัฒนาแล้วเช่นกัน โดย กลุ่ม ปตท. เพิ่งเปิดตัว “โครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล” (Floating Solar on Sea) ไปเมื่อปี 2563 โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ที่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง และถือเป็นโครงการโซลาร์ลอยน้ำทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเลโครงการนำร่องนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100 กิโลวัตต์ และเป็นโครงการที่เกิดจากการนำความเชี่ยวชาญหลายแขนงของบริษัทในกลุ่ม ปตท. มาร่วมมือกันผลิตแผงโซลาร์ลอยน้ำ โดยให้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมเมล็ดพลาสติกเกรดพิเศษ InnoPlus HD8200B เพื่อผลิตทุ่นลอยน้ำ โดยมีการเพิ่มสารต้านการยึดเกาะและลดการสะสมของเพรียงทะเล ซึ่งมีความปลอดภัยเพราะเป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานการสัมผัสอาหาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล รวมทั้งทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งด้วยสารเติมแต่งที่ป้องกันรังสี UV ทำให้มีอายุการใช้งานนาน 25 ปี ส่วนการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) ในเครือ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ความท้าทายของโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล คือต้องมีความทนทานต่อรังสี UV ความชื้น และความเค็มในทะเล สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มีคุณภาพ เป็นมิตรกับสัตว์น้ำ การติดตั้งต้องคำนึงถึงการขึ้นลงของน้ำทะเลและคลื่นลม ซึ่งก่อนจะติดตั้งโครงการ ปตท. ได้พัฒนาจนผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว

นับจากนี้ ปตท. จะมีการนำไฟฟ้าใช้ในกลุ่มบริษัทเพื่อศึกษาข้อมูลการใช้งาน โดยมุ่งหวังยกระดับให้เป็นธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ (New Energy Business) ของกลุ่ม เพื่อสร้างแหล่งพลังงานใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกใบนี้

]]>
1320970