พลาสติกไมโครบีดส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Nov 2021 13:32:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค” ปรับขวด PET ในเครือ “ขวดใส ฝาไม่พิมพ์สี” เพื่อง่ายต่อการรีไซเคิล https://positioningmag.com/1363174 Mon, 22 Nov 2021 15:59:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363174 ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลาสติก PET กับบรรจุภัณฑ์ทุกชนิด เป็นขวด PET แบบใส ไม่มีสี และฝาขวดก็ไร้การพิมพ์สี เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% มีมูลค่าการรับซื้อสูงกว่าขวดสี

บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่ และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค จึงเลือกใช้พลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) เป็นบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มทุกชนิดของบริษัท โดยขวด PET แบบใส ไม่มีสี สามารถรีไซเคิลได้ 100% และมีมูลค่าการรับซื้อสูงกว่าขวดสี เพราะง่ายต่อการรีไซเคิล ด้วยกระบวนการคัดแยกขยะ

และการรีไซเคิลที่เป็นระบบ ขวด PET ใส ไม่มีสี จึงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ เส้นใยเพื่อผลิตเสื้อผ้าและชิ้นส่วนรถยนต์

ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตรวมถึงออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับคู่ค้า (suppliers) จนเกิดเป็น Lightweight Plastic ที่มีส่วนช่วยลดการใช้ปริมาณพลาสติกใหม่ลงสำหรับการผลิตขวดแต่ละขวด แต่ยังคงคุณสมบัติดีตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่ทั้งสะอาด ปลอดภัย มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนต่อแรงกระแทก ไม่เปราะแตกง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการจัดการ

นอกจากขวดแล้ว ฝาขวด และฉลากก็ยังผลิตจากวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ 100% เช่นกัน โดยฝาขวดทั้งหมดนั้นผลิตจากวัสดุ HDPE (High Density Polyethylene) เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง แต่มีน้ำหนักเบาช่วยลดการใช้พลาสติกใหม่ในการผลิต และยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%

ปัจจุบันฝาขวดเป๊ปซี่ทั้งหมด ได้มีการนำพิมพ์สีบนฝาออก เพื่อง่ายและลดใช้สารเคมีในการนำไปรีไซเคิล ส่วนฉลากของขวดนั้นผลิตจากพลาสติก 2 ชนิด คือ ฉลากแบบหุ้มขวด (Shrink Sleeve Label) ผลิตจากวัสดุ PET และฉลากแบบพันรอบขวด (Oriented Polypropylene Label) ผลิตจากวัสดุ PP (Polypropylene) โดย ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดการใช้พลาสติกเมื่อเทียบน้ำหนักต่อชิ้นของฉลาก

อชิต โจชิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

“การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (Packaging Sustainability Management) เป็นหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืน (Sustainability) ที่สำคัญของบริษัท นอกจากซันโทรี่ เป๊ปซี่โค จะมุ่งมั่นลดปริมาณการใช้พลาสติกใหม่ โดยตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา บริษัทฯ สามารถลดการใช้พลาสติกใหม่ลงได้ถึง 531.6 ตัน บริษัทยังริเริ่มโครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในโรงเรียนและชุมชน

อีกทั้งได้จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ วงษ์พาณิชย์ ธุรกิจบริหารจัดการขยะรีไซเคิลรายใหญ่ของไทย ซึ่งประกาศรับซื้อขวดพลาสติก PET ใส ไม่มีสี ของ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ด้วยราคาที่สูงกว่าขวดพลาสติก PET ทั่วไป เพิ่มอีกกิโลกรัมละ 1 บาท

รวมถึงริเริ่มโครงการนำร่อง ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเครื่อง ‘ReFun Machine’ โดยในปีนี้ร่วมมือกับ ซีพี ออลล์ ติดตั้งที่หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น 10 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ”

]]>
1363174
กฎหมายห้ามเครื่องสำอางใช้ “เม็ดสครับ” จากพลาสติกไมโครบีดส์ ดีเดย์ 1 ม.ค. 63 https://positioningmag.com/1258848 Sun, 29 Dec 2019 16:14:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258848 ดีเดย์ 1 ม.ค. 63 บังคับใช้ กม.ห้ามเครื่องสำอางใช้พลาสติกไมโครบีดส์ หรือเม็ดบีดส์เป็นส่วนผสม เหตุย่อยสลายยาก ระบบน้ำเสียกรองออกไม่ได้ เสี่ยงปนเปื้อนระบบนิเวศ สะสมในสัตว์

มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกที่มีส่วนผสมของพลาสติกไมโครบีดส์ เป็นเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย โดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป

เนื่องจากพลาสติกไมโครบีดส์เป็นพลาสติกขนาดเล็กมากและสลายตัวได้ยากในธรรมชาติ เมื่อถูกชะล้างลงไปตามท่อระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสียจะไม่สามารถกรองพลาสติกไมโครบีดส์เหล่านี้ออกไปได้ ทำให้เกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ และอาจปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร โดยสะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ได้รับพลาสติกไมโครบีดส์ เช่น ปลา หอย และสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่รับประทานสัตว์น้ำเหล่านั้นได้

การห้ามนำพลาสติกไมโครบีดส์มาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ที่ให้เลิกใช้พลาสติกไมโครบีดส์ในประเทศไทยภายในปี 2562 ตามโรดแมป (Roadmap) การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573

โดยพลาสติกไมโครบีดส์ที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาด ขัดผิว แล้วล้างออก เช่น โฟมล้างหน้า สบู่ ผลิตภัณฑ์ขัดผิวกาย ซึ่งเมื่อล้างออกจากร่างกายพลาสติกไมโครบีดส์จะถูกชะล้างลงไปตามท่อระบายน้ำ และก่อให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภคตามที่กล่าวข้างต้น

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า การกำกับดูแลพลาสติกไมโครบีดส์ในเครื่องสำอางเป็นไปตามสากล และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ขณะนี้ผู้ประกอบการรับทราบและพร้อมให้ความร่วมมือในการเลิกใช้พลาสติกไมโครบีดส์ ในผลิตภัณฑ์

โดยผู้ประกอบการรายเก่าจะผ่อนผันให้ขายได้จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2563 ซึ่งส่วนใหญ่ ได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีพลาสติกไมโครบีดส์เป็นส่วนประกอบออกจากท้องตลาดแล้ว หากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใดมีความจำเป็นต้องใช้ไมโครบีดส์อาจใช้ไมโครบีดส์จากธรรมชาติเป็นการทดแทนได้

]]>
1258848