พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 20 May 2020 12:58:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดใจทายาทรุ่น 3 เเห่ง “อยู่วิทยา” นำทัพภารกิจ “พึ่งตน เพื่อชาติ” ปรับวิถีชีวิตรับวิกฤต https://positioningmag.com/1279432 Wed, 20 May 2020 11:25:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279432 ครอบครัว “อยู่วิทยา” มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของไทย ที่มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 2.02 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 6.6 แสนล้านบาทจากการจัดอันดับของ Forbes ปี 2563 ตอบรับเข้าเข้าร่วม “ทีมไทยเเลนด์” หลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง 20 มหาเศรษฐีไทย เพื่อขอแนวทางความเห็นในการมีส่วนร่วมช่วยเหลือประเทศสู้กับวิกฤต COVID-19

นำมาสู่การเปิดตัวโครงการ ‘พึ่งตน เพื่อชาติ’ ด้วยแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ มาร่วมช่วยคนไทยให้ได้ 1 ล้านคน เน้นสร้างความมั่นคงด้านอาหาร “มีกินมีใช้” พึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนเเม้จะเจอวิกฤต โดยในเฟสเเรกจะมีการทุ่มงบ 300 ล้านบาท ในช่วง 3 ปีแรกเพื่อสร้าง “100 ชุมชนต้นเเบบ”

ที่ผ่านมาครอบครัวอยู่วิทยาไม่ค่อยออกสื่อมากนัก เป็นโอกาสดีที่เราจะมาพูดคุยกับ “พรรณราย พหลโยธิน” ทายาทรุ่น 3 ที่ผู้ได้รับการมอบหมายให้เป็น “หัวเรือใหญ่” ในการขับเคลื่อนโครงการพึ่งตน เพื่อชาติ ครั้งนี้

พรรณราย หรือ “ผึ้ง” เป็นบุตรสาวของวิชาญ พหลโยธินและสายพิณ พหลโยธิน (อยู่วิทยา) เเม้ไม่ได้บริหารในธุรกิจหลักของครอบครัว อย่างกระทิงเเดงหรือสปอนเซอร์ เเต่มีความโดดเด่นด้าน “กิจกรรมเพื่อสังคม” ที่ทำมาต่อเนื่อง
ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเธอจึงได้รับเลือกให้เป็นผู้ดูเเลหลักของ “พึ่งตน เพื่อชาติ”

-พรรณราย พหลโยธิน ทายาทรุ่น 3 ของครอบครัวอยู่วิทยา

ในส่วนธุรกิจ พรรณรายดูเเลบริษัทยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีซี
ฟาร์มา-เคม จำกัด พร้อมเปิดกิจการร้านอาหาร The Mew (เขาใหญ่) เเละเป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เขาใหญ่ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ฯ ดังกล่าวจะกลายเป็นสถานที่อบรมหลักของโครงการนี้

“เราระดมคนทั้งรุ่น 2 และรุ่น 3 ของตระกูลเข้ามาช่วยกันทำ ตามความสามารถและความถนัดของแต่ละคน โดยทายาทรุ่น 3 จะเป็นคนลงมือทำเพราะเป็นพวกคิดไวทำไว เก่งด้านเทคโนโลยี การออกแบบ ขณะที่ผู้ใหญ่รุ่น 2 จะนำประสบการณ์มาคอยให้คำแนะนำ ช่วงนี้กำลังอยู่ระหว่างการสรุปขั้นตอนสุดท้าย”

โดยหัวใจหลักของโครงการคือการพึ่งพากัน พรรณราย อธิบายว่า การแบ่งปันเป็นเสน่ห์ของคนไทยที่ปลูกฝังอยู่ใน DNA ของเราทุกคน ไม่ว่าประเทศจะเกิดวิกฤตร้ายแรงแค่ไหน คนไทยก็ไม่เคยทิ้งกัน เชื่อว่ายิ่งแบ่งปันยิ่งแลกเปลี่ยนมากขึ้นเท่าใด เศรษฐกิจชุมชนก็ยิ่งจะมั่นคงขึ้น เข้มเเข็งมากขึ้น

“เราเชื่อมั่นว่าแนวคิดและหลักปฏิบัติแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ และรับมือกับทุกวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต”

โดยโครงการพึ่งตน เพื่อชาติ มีงบประมาณ 300 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปีแรก ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและการศึกษา เช่น สภาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ สนับสนุนด้านการเป็น
“พี่เลี้ยง” ให้กับคนที่มีเป้าหมายในชีวิตเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกทักษะวิธีการสร้างแหล่งอาหารเพื่อดูแลตนเองและครอบครัว

“เป้าหมายตอนนี้คือการเน้นจัดอบรมให้ได้ 1000 คนเเรกภายใน 1ปี เตรียมเปิดรับสมัครในเดือนมิ.ย.นี้ เปิดรับทั้ง
กลุ่มคนเมืองและคนต่างจังหวัด ที่ต้องการจะเปลี่ยนแนวทางการดำรงชีวิตใหม่ มีความตั้งใจจะเข้ามาเป็น “ทัพหน้า”
ขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ โดยระยะยาวเราวางเป้าว่าช่วยคนไทยให้ได้ 1 ล้านคน”

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เขาใหญ่

เบื้องต้นจะมีการจัดอบรมที่ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา ที่จัดอบรมมาต่อเนื่องตั้งเเต่ปี 2558 เเต่จะมีการเพิ่มหลักสูตรให้นำไปปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับแต่ละบุคคลมากขึ้น เริ่มจากการเปลี่ยนหลักคิดสู่ “การพึ่งตนเอง” จากการทำความรู้จักอาหารที่เรากิน การเพาะปลูก การแปรรูป การฟื้นฟูดิน การจัดการน้ำไปจนถึงภาพความสัมพันธ์ในระดับลุ่มน้ำ เรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติ พื้นฐานการดำรงชีวิต การดูแลสุขภาพไปจนถึงศิลปะวัฒนธรรม พัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างผลิตภัณฑ์เป็นความพอเพียงแบบร่วมสมัย ฯลฯ

“ตอนนี้ทุกอย่างพร้อมเเล้ว รอสถานการณ์ดีขึ้น เราจะกระจายลงพื้นที่ชุมชน การอบรมจะอยู่ในช่วง 5-10 วันเพื่อ
สร้างงานสร้างอาชีพ ให้กลับไปพึ่งพาตนเองได้ ใครที่ไม่มีที่ดิน เราก็มีที่ดินของเราให้คนที่อยากทำจริงๆ ได้ทดลองทำ นอกจากนี้จะมีการทำเเพลตฟอร์มเก็บข้อมูล ให้เป็นฐานข้อมูลส่งต่อในระยะยาวด้วย”

ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลอยู่วิทยา มองความท้าทายของโครงการ “พึ่งตน เพื่อชาติ” ไว้ว่า ด้วยความที่เป็นเเผนระยะยาว เป็นโครงการเปลี่ยนกระบวนการความคิดของคน จำเป็นต้องใช้เวลาเเละไม่อาจเห็นผลได้ในชั่วพริบตา เราจึงพยายามต่อยอดสิ่งที่เราทำมาอยู่เเล้ว ให้เข้าถึงผู้คนมากขึ้น ดังนั้นความท้าทายจึงเป็นการที่ต้องอดทน ก้าวไปทีละขั้น ทำทุกอย่างจากเล็กไปสู่ใหญ่ เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ต้องค่อยเป็นค่อยไป

บรรยากาศการอบรมในศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา

ขณะที่ ‘พึ่งตน เพื่อชาติ’ ถูกวางเป็นโครงการระยะยาวที่ต้องใช้เวลาหลายปี เเต่คนในสังคมกำลังต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนในยามวิกฤต

“พรรณราย” กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางครอบครัวก็มีการออกโครงการช่วยเหลือระยะสั้น อย่างการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และบริจาคเงินให้แก่สถานพยาบาลที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีความต้องการทั่วประเทศ รวมมูลค่ากว่า 70 ล้านบาท และยังได้บริจาคอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ แอลกอฮอล์เจล และหน้ากากผ้าให้แก่ชุมชนต่างๆ ตั้งแต่เดือนมี.ค.เป็นต้นมา ขณะเดียวกันก็ได้ดูแลสวัสดิภาพของกลุ่มพนักงานบริษัท พนักงานขายและพนักงานโรงงานควบคู่กันไปด้วย

“ช่วงต่อไปหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย เราจะมีการจัดห้องเรียนออนไลน์ เน้นการสอนให้พึ่งตนเองฉบับคนเมือง เช่นการปลูกผัก 3 วันได้กิน ปุ๋ยหมักน้ำหมัก องค์ความรู้การเกษตรที่ทำได้ง่าย”

บรรยากาศการอบรม ในศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา

เมื่อถามถึงการเเพร่ระบาดของ COVID19 ว่ากระทบต่อธุรกิจของตระกูลอยู่วิทยาอย่างไร เธอตอบว่า ได้รับผลกระทบอย่างเเน่นอน เเต่มีการปรับตัวเเละพยายามรักษาพนักงานไว้ให้มากที่สุด โดยส่วนที่เธอดูอยู่ที่เป็นบริษัทยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพนั้น ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก มีเพียงช่วงเเรกที่มีการชะลอการสั่งซื้อเท่านั้น เเต่ตอนนี้ยอดกลับมาปกติเเล้ว เเละมีเเนวโน้มจะขยายตัวขึ้น เพราะคนตื่นตัวในการรักษาสุขภาพมากขึ้น

ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารที่เขาใหญ่ ได้รับผลกระทบโดยตรง มีการทดลองจัดส่งเเบบเดลิเวอรี่เเต่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว โดยได้จัดให้พนักงานเข้าอบรมกับศูนย์เรียนรู้ฯ ในช่วงที่ร้านยังเปิดไม่ได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง จึงต้องมีการปรับปรุงร้านใหม่ให้เป็นไปตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing)

“ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหาร มองว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่สุดตอนนี้ ร้านอาหารต้อง
ปรับตัวในทุกด้าน เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า เชื่อว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นคนไทยจะกลับมาเที่ยวในประเทศอีกครั้ง ดังนั้นจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม”

เมื่อถามว่ามุมมองการทำ CSR ขององค์กรจะเป็นอย่างไรเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเเบบ New Normal
ทายาทอยู่วิทยา ตอบว่าจะเป็นเเนวเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุ่มคนมากขึ้น กลับมาให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเอง
เเละช่วยเหลือผู้อื่น ถ้ามีความยั่งยืน ความมั่นคง ไม่ว่าจะเจอวิกฤตใดก็ตาม จะมีโอกาสรอดได้มากขึ้น เเบรนด์
ต่างๆ ก็คงจะหันมาสนับสนุนด้านการเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อการใชีชีวิตมากขึ้น

“กระบวนการที่จะไปเปลี่ยนความคิดคน ให้มองเห็นค่าของการพึ่งพาตนเอง ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่าย
เเม้จะเป็นเรื่องที่ต้องทำระยะยาว เเต่ถ้ามีความตั้งใจจริงที่จะเริ่มต้น ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีในการสร้างความ
ยั่งยืนในประเทศไทยต่อไป”

 

]]>
1279432
ครม.ไฟเขียว เห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ “การบินไทย” พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย https://positioningmag.com/1279366 Tue, 19 May 2020 07:09:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279366 ครม. มีมติเห็นชอบให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเเละปรับโครงสร้างหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย

วันนี้ (19 พ.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

การยื่นขอฟื้นฟูกิจการครั้งนี้ จะดำเนินการทั้งศาลล้มละลายไทยและศาลล้มละลายสหรัฐ โดยอาศัย Chapter 11 ตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐฯ เพราะการบินไทยต้องดำเนินกิจการต่อไป

โดยให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทยจาก 51% เหลือ 48% เพื่อให้การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ให้ฟื้นฟูกิจการได้คล่องตัวขึ้นเเละให้การบินไทยเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยผ่านกระบวนการศาลล้มละลายกลาง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เเละสาเหตุที่รัฐบาลไม่ตัดสินใจหาเงินมาให้การบินไทยบริหารตัวเองนั้น เพราะประเทศและโลกกำลังเผชิญกับวิกฤต COVID-19 จึงจำเป็นต้องรักษางบประมาณของประเทศไว้สำหรับการช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ

โดยนายกฯ ยืนยันว่ารัฐบาลยังพร้อมสนับสนุนการดำเนินการของการบินไทยอย่างเต็มที่ เพื่อให้การบินไทยสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ต่อไปได้

“หวังว่าการช่วยเหลือครั้งนี้ จะช่วยให้การบินไทยกลับมาเป็นสายการบินที่แข็งแกร่งได้อีกครั้ง” พล.อ.ประยุทธ์ระบุ

สำหรับสถานการณ์การเงินของการบินไทย สิ้นปี 2563 ฝ่ายบริหารการบินไทย ประเมินว่าจะขาดทุนสุทธิ 59,000 ล้านบาท ส่วนของทุน 4.7 หมื่นล้านบาท ในขณะที่หนี้สินที่มีดอกเบี้ย (ไม่รวมค่าเช่าเครื่องบิน) อยู่ที่ 220,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานของการบินไทย ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยในการลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังและจะ “คัดค้านจนถึงที่สุด” โดยให้เหตุผลว่า การลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลัง ในช่วงที่บริษัทกำลังจะเข้าแผนฟื้นฟูฯ จะเป็นเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของบริษัทฯ ในสายตาของเจ้าหนี้และนักลงทุน

หลังมติ ครม.ดังกล่าว ทางฝ่ายผู้บริหารการบินไทย ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทฯ ยังประกอบธุรกิจตามปกติ แม้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้กฏหมาย

จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการคนที่ 2 รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแม้จะเป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการเลิกหรือชำระบัญชีบริษัทฯ หรือไม่ได้มุ่งหมายให้บริษัทฯ ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายในครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายรองรับและให้ความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

“บริษัทฯ ยังสามารถประกอบธุรกิจปกติต่อไปได้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทางของการบินไทยทั่วโลก หรือการขนส่งสินค้าไปรษณียภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูองค์กรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”

 

Source 1 ,

]]>
1279366