ภัยไซเบอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Aug 2024 05:22:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถึงเวลาตรวจสุขภาพไซเบอร์ประจำปี ‘เอไอเอส’ ออก ‘Digital Health Check’ ให้คนไทยใช้เช็กและรับวัคซีนภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์! https://positioningmag.com/1487889 Thu, 29 Aug 2024 11:30:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1487889

โลกออนไลน์ไม่ได้มีแค่แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่เป็นภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน แต่ยังมีการหลอกลวงอีกหลากหลายวิธี ที่วันนี้มิจฉาชีพได้หากลลวงมาหลวงลวง ที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล

 ‘เอไอเอส’ ตระหนักถึงจุดนี้ดี จึงสร้างเครื่องมือให้คนไทยใช้ ‘เช็คภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์’ พร้อมกับสามารถรับ ‘วัคซีนป้องกัน’ ให้รู้เท่าทันการใช้งานดิจิทัล


ความเสียหายสะสมแตะ 7 หมื่นล้าน!

จากการเปิดเผยของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า นับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 มีการแจ้งความอาชญากรรมไซเบอร์ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด 612,603 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 69,186 ล้านบาท เฉลี่ยความเสียหายวันละกว่า 78 ล้านบาท

เมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า เหยื่อคดีอาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่เป็น ผู้หญิง (64%) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 22-59 ปี มากที่สุด ขณะที่ 5 คดีที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่

  • หลอกลวงซื้อสินค้าและบริการ 9 แสนคดี ความเสียหายกว่า 4 พันล้านบาท
  • หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 2 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท
  • หลอกให้กู้เงิน 3 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 3.1 พันล้านบาท
  • หลอกให้ลงทุน 5 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท
  • แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ 2 หมื่นคดี ความเสียหายกว่า 9 พันล้านบาท


Digital Health Check = การตรวจสุขภาพดิจิทัลประจำปี

จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์กำลังเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน และ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัล จึงได้ออก Digital Health Check เครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ อีกทั้งจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันด้วยหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสม

Digital Health Check ก็เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพประจำปี และรอฟังผลได้เลยว่าเราอยู่ในระดับไหน ซึ่งเอไอเอสจะมีวัคซีนที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะหลักที่ย่อยง่าย เช่น ละครคุณธรรม, การ์ตูน เป็นต้น” สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าว


คนไทยเกินครึ่งยังขาดความเข้าใจ

นอกเหนือจาก Digital Health Check แล้ว ทาง AIS ยังได้จัดทำ Thailand Cyber Wellness Index ที่ AIS ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการในการจัดทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นหนึ่งในชุดข้อมูลสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและความเข้าใจการใช้งานและรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่

  • การใช้ดิจิทัล
  • ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
  • การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
  • การรู้เท่าทันดิจิทัล
  • ความเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
  • การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล

การแสดงความสำพันธ์ทางดิจิทัล

สำหรับผลการศึกษาในปีนี้ จากกลุ่มตัวอย่างทุกเจนเนอเรชั่น จำนวน 50,965 ราย ใน 77 จังหวัด พบว่า คนไทยมีความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลเพิ่มขึ้น แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับ พื้นฐาน (46%) ขณะที่กลุ่มที่มีความรู้ระดับสูงอยู่ที่ 35.5% และกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง 18.5% ขณะที่กลุ่มวัยที่เสี่ยงที่สุด ได้แก่ เด็กอายุ 10-15 ปี และ ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลที่สุดคือ คนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็น ความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่าน รวมถึงยังไม่ทราบว่า การเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น

ในแกนการสร้างวิสดอม เราจะมีการสื่อสารที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะเราต้องการนำเครื่องมือนี้เข้าสู่ประชาชนมากขึ้นเพื่อให้คนรู้ว่ามีภูมิแค่ไหน เพราะเป็นภัยใกล้ตัวมาก ดังนั้น ไม่ใช่แค่ร่วมกับโรงเรียนที่เราทำร่วมกับสพฐ. และกทม. แต่เราคุยกับกระทรวงพม. เพื่อนำตรงนี้เข้าไปสู่ประชาชนให้มากที่สุด


ไม่ใช่แค่ให้ความรู้ แต่ใช้เทคโนโลยีช่วยสกัดด้วย

นอกจากการเผยแพร่องค์ความรู้แล้ว AIS ยังมีสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยนับตั้งแต่ให้บริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการกว่า 2 ล้านสาย นอกจากนี้ AIS ยังมีบริการ AIS Secure Net โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถบล็อกเว็บไซต์อันตรายไปแล้วกว่า 16.57 ล้านครั้ง บล็อกเว็บไซต์ปลอม 940,267 เว็บไซต์ และในปีนี้ AIS ให้ ลูกค้า AIS ใช้บริการ AIS Secure Net ฟรี 12 เดือน โดยกด *689*6#

นอกจากนี้ ยังเพิ่มเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG โดยจะช่วยปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในราคาเดือนละ 39 บาท โดยกด *689*10# โทรออก เพื่อสมัคร

“ที่ผ่านมาเรามีการร่วมมือกับทั้งกรมตำรวจ กระทรวงดีอี นำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกสัญญาณตามแนวตะเข็บชายแดน, การลงทะเบียนซิม ดังนั้น AIS จะไม่หยุดแค่การสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี แต่ AIS จะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการป้องกันมากขึ้น โดยปีหน้าเราจะยกระดับเน็ตเวิร์กให้ปลอดภัยกว่าเดิม” สายชล ทิ้งท้าย

]]>
1487889
‘มีความรู้ก็อยู่รอด’ อีกแคมเปญย่อยง่ายของ ‘เอไอเอส อุ่นใจไซเบอร์’ ช่วยคนไทยไม่ตกเป็นเหยื่อ! https://positioningmag.com/1406726 Sat, 05 Nov 2022 10:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406726

ย้อนไปปี 2562 ที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) เริ่มชวนคนไทยให้หันมาตระหนักถึง ภัยไซเบอร์ ผ่านหลักสูตร ‘อุ่นใจไซเบอร์’ พร้อมกับออกแคมเปญ “ถ้าเราทุกคนช่วยกัน เพราะเราทุกคนคือเครือข่าย” ที่สะท้อนถึงปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญจากการมาของอินเตอร์เน็ต จนมาถึงแคมเปญล่าสุด ‘มีความรู้ก็อยู่รอด’ ที่สะท้อนถึงความรุนแรงของภัยไซเบอร์ที่อาจรุนแรงถึงชีวิต


ภัยไซเบอร์ที่มากกว่าบูลลี่

จากจุดเริ่มต้นเพื่อช่วยเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) แต่ปัจจุบันหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ของ เอไอเอส คิดไปไกลกว่านั้นมาก เพราะการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ไม่ได้อยู่แค่เยาวชน แต่ต้องสร้างให้กับทุกคน เพราะ มิจฉาชีพ ในปัจจุบันก็มาในรูปแบบออนไลน์

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในช่วง 8 เดือนที่มีการเปิดให้แจ้งความผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com มีการแจ้งความถึง 113,461 คดี แบ่งเป็น 19 ประเภท รวมมูลค่าความเสียหาย 21,900 ล้านบาท โดยคดีเกี่ยวกับการ ซื้อของออนไลน์ เช่น ไม่ได้ของหรือไม่ตรงปกมีมากที่สุด แต่คดีที่ทำให้เกิดความ เสียหายมากสุด คือ หลอกลงทุน และ แก๊งคอลเซ็นเตอร์

“มิจฉาชีพมักโทรมาแจ้งเรื่องมีพัสดุตกค้างเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยจะหลอกล่อให้เราโอนเงินเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือใช้โปรไฟล์หนุ่มหล่อสาวสวยมาหลอกให้รักแล้วชวนลงทุน โดยมีคนโดนหลอกมูลค่าความเสียหายเป็นหลักล้านทุกวัน” พล.ต.ต.นิเวศน์ ย้ำ

ทางด้าน แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การที่คนใช้เวลากับออนไลน์มากขึ้นก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ยิ่งการระบาดของโควิดได้มีผลต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวยิ่งห่างเหิน ปัญหาต่าง ๆ ยิ่งรุมเร้า กลายเป็นสาเหตุหลัก ๆ ในการทำร้ายตัวเองมาจาก อัตราการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ และมีวิธีการที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

“กรมสุขภาพจิต เก็บข้อมูลแล้วพบว่า คนไทยมีความรู้เรื่องสุขภาพจิตพอสมควร แต่เป็นลักษณะ รู้เฉย ๆ แต่ไม่ได้นำมาใช้หรือนำมาปฏิบัติอย่างเต็มที่ ให้ตัวเองอยู่รอดท่ามกลางมีปัญหารุมเร้า”


‘มีความรู้ก็อยู่รอด’ แคมเปญย่อยง่ายแต่ลึกซึ้ง

หลังจากที่เคยใช้แคมเปญ เพราะเราทุกคนคือเครือข่าย ที่นำเสนอในแบบดราม่าจริงจัง พร้อมสะท้อนถึงปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญจากการมาของอินเตอร์เน็ตจากปัญหาการบูลลี่ การติดเกม แต่ในบริบทปัจจุบันที่มีเรื่องของมิจฉาชีพ ปัญหาเฟคนิวส์ และทุกปัญหาอาจนำไปสู่การ สูญเสีย ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทำให้ พี่เอื้อง สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS ได้วาง 3 แนวทางหลักในการสื่อสารถึงภัยไซเบอร์ผ่านแคมเปญใหม่ มีความรู้ก็อยู่รอด ว่าต้อง ย่อยง่าย ไม่ต้องตีความ และไม่ทำร้ายใคร

“เอไอเอสเราเป็นคนสร้างอินฟราสตรั๊กเจอร์ เสมือนการสร้างซูเปอร์ไฮเวย์ดิจิทัล ถ้าคนที่มาใช้เส้นทางนี้ไม่มีความรู้ เขาจะใช้อย่างปลอดภัยได้อย่างไร อย่างขับรถเราก็ต้องมีสกิลการขับรถให้ปลอดภัย ดังนั้น เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ช่วยให้เขาอยู่บนโลกดิจิทัลให้ปลอดภัย ใช้ให้เกิดประโยชน์” พี่เอื้องย้ำ

สำหรับแคมเปญ มีความรู้ก็อยู่รอด เอไอเอสจึงได้ทำงานร่วมกับ Phenomena สร้างภาพยนตร์โฆษณาชิ้นใหม่ ที่เล่าเรื่องผ่าน ผี ที่นั่งคุยกันในห้องน้ำถึงสาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการ ถูกมิจฉาชีพหลอก หรือ หลงเชื่อเฟคนิวส์ ให้กับ น้องหน้ายักษ์ ที่ถูกบูลลี่เรื่องความผิดปกติจากการมีเขี้ยวโง้งขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถรับมือได้เพราะหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์

พลัช ร่มไทรย์ ผู้กำกับภาพ Phenomena อธิบายว่า ที่ต้องเล่าเรื่องผ่าน ผีหรือคนตายเพราะต้องการสื่อว่า ปัญหาเหล่านี้ส่งผลถึง ชีวิต จริง ๆ และที่นำเสนอเป็นแนวคอมมาดี้เพราะต้องการให้ดูง่าย ดูได้ทุกวัย ไม่อยากให้เขากดข้าม และอีกโจทย์สำคัญคือ ต้องไม่ทำร้ายใคร ดังนั้น จึงเลือกจะใส่เขี้ยวยักษ์ที่ ไม่มีจริง จะได้ไม่เป็นการบูลลี่รูปร่างหน้าตาในโฆษณา

“เราไม่รู้หรอกว่ามีคนเป็นเหยื่อเยอะมากและมันเป็นเรื่องคอ ขาด บาด ตาย คือ ตายจริง ๆ มันส่งผลถึงชีวิตจริง ๆ และเราตั้งโจทย์ว่าจะทำให้หนังได้ประโยชน์สูงสุดและไม่ทำร้ายใคร” พลัช ย้ำ

พี่เอื้องทิ้งท้ายว่า นอกจากแคมเปญโฆษณา แต่เอไอเอสจะไม่หยุดสื่อสารถึงบริบทยิบย่อยหรือที่ทริกเกอร์เหยื่อได้ง่าย อะไรที่มันเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ยังไม่สื่อสาร เราก็จะทำต่อไป เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงภัยไซเบอร์ ควบคู่กับหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ที่ประกอบด้วย 4P4ป โดยสามารถเรียนออนไลน์ได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/

ติดตามแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” ได้ที่ Facebook: AIS Sustainability และรับชมหนังโฆษณาชุดใหม่ล่าสุดได้ที่  https://m.ais.co.th/rxHnoozSJ

 

]]>
1406726