มหากิจศิริ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 20 May 2020 02:54:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 TTA ธุรกิจของตระกูล “มหากิจศิริ” ขาดทุน 459 ล้านในไตรมาสแรก กระทบหนักจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1278726 Tue, 19 May 2020 15:55:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278726 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดผลประกอบการไตรมาสที่ 1/2563 จำนวน 3,295.8 ล้านบาท ซึ่งลดลง 21% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขาดทุนสุทธิจำนวน 459.2 ล้านบาท ผลมาจากธุรกิจที่อ่อนตัวตามฤดูกาล รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือมีรายได้คิดเป็น 38% กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง 21% กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร 22% และกลุ่มการลงทุนอื่น 19%

TTA ยังมีผลขาดทุนจากการลงทุน จำนวน 195 ล้านบาท และมีผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์ในไตรมาส 1/2563 จำนวน 140.8 ล้านบาท ซึ่งถูกบันทึกตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (TFRS 9) ปัจจัยหลักมาจากอนุพันธ์ประเภทสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน (Bunker Swap) เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ณ สิ้นไตรมาส

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 TTA มีสินทรัพย์รวม จำนวน 35,020.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% หรือ 1,547.9 ล้านบาท จากสิ้นปี 2562 สาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สิทธิการใช้ ซึ่งถูกบันทึกตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 และผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินจากการดำเนินงานในต่างประเทศของสินทรัพย์ที่เป็นบวก

TTA มีเงินสดภายใต้การบริหารอยู่ในระดับสูงที่ 6,565 ล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (net IBD/E) อยู่ในระดับต่ำที่ 0.09 เท่า

เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า

“กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือยังคงรักษาตำแหน่งที่ดีในอุตสาหกรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่า (TCE) สูงกว่าอัตราตลาดสุทธิถึง 25% ด้านกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรยังคงสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง มีมูลค่าสัญญาให้บริการรอส่งมอบ (order book) ที่ยืนยันแล้ว ถึงปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่วนพิซซ่า ฮัท ยังคงทำกำไรได้ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม”

แนวโน้มในอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือนั้น มีความเป็นไปได้ที่สถานการณ์การค้าสินค้าเทกองจะกลับมา ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 และในปี 2564 โดยเบื้องต้นคาดว่าอาจจะฟื้นตัวกลับมาเติบโตขึ้นประมาณ 5% ในปีหน้า เทียบกับอัตราการเติบโตของกองเรือที่ 2% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมอุตสาหกรรมในอนาคตยังคงมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

ด้านอุตสาหกรรมบริการนอกชายฝั่ง Rystad Energy ประมาณการภาพรวมอุตสาหกรรมการขุดเจาะและสำรวจ (drilling and exploration) ว่าจะลดลงร้อยละ 15 ในปี 2563 และคาดว่าการปรับลดงบประมาณในการสำรวจภาคสนาม (field development) จะส่งผลกระทบแก่ผู้ให้บริการภาคสนาม (field service provider) ต่อไป

กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ

ดัชนีบอลติค (BDI) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 592 จุด ในไตรมาสที่ 1/2563 ซึ่งเป็นผลกระทบตามฤดูกาลของธุรกิจและการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยรายได้ค่าระวางเรือของกลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรืออยู่ที่ 1,261.5 ล้านบาท ลดลง 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากอัตราค่าระวางเรือที่ลดลงและจำนวนวันให้บริการของเรือที่เช่ามาเสริมกองเรือ (chartered-in-vessel) ลดลง

อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือยังคงรักษาค่าใช้จ่ายในการเดินเรือ (OPEX) อยู่ในระดับต่ำที่ 3,856 เหรียญสหรัฐต่อวัน อัตราการใช้ประโยชน์เรือที่กลุ่มธุรกิจฯ เป็นเจ้าของยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 100% อีกทั้งมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่า (TCE) อยู่ที่ 7,817 เหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าระวางเรือซุปราแมกซ์สุทธิ (net Supramax TC rate) ที่ 6,229 เหรียญสหรัฐต่อวัน อยู่ 25% ในไตรมาสที่ 1/2563 ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือมีกำไรขั้นต้น จำนวน 197.7 ล้านบาท และ EBITDA จำนวน 11.5 ล้านบาท

ดังนั้น กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือรายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA ก่อนกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์ จำนวน 16.9 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2563

ณ สิ้นไตรมาส กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือเป็นเจ้าของเรือซุปราแมกซ์ จำนวน 21 ลำ มีระวางบรรทุกเฉลี่ยเท่ากับ 55,285 เดทเวทตัน (DWT) และมีอายุเฉลี่ย 12.96 ปี และไม่มีการซื้อหรือขายเรือในไตรมาสที่ 1/2563

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 51 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และถูกซื้อขายอย่างผันผวนในกรอบ 22-69 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่ 1/2563 มาตรการล็อกดาวน์ของหลายๆ ประเทศ เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลง สำหรับไตรมาสที่ 1/2563 รายได้ของกลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่งอยู่ที่ 693.8 ล้านบาท ซึ่งลดลง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากอัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อวันลดลง

อัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อวันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการที่เรือลำหนึ่งได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อรอเริ่มงาน (standby rate) ของโครงการหนึ่งซึ่งถูกเลื่อนออกไปตามกำหนดการใหม่ของลูกค้ารายหนึ่ง และการที่เรือที่เช่ามาเพื่อทำงานแทนเรือที่ถูกนำไปเข้าอู่แห้งในอีกโครงการหนึ่งได้รับค่าจ้างต่อวันต่ำกว่าสัญญาปกติ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาจ้างกรณีการเช่าเรือมาทำงานแทน

ขณะที่อัตราการใช้ประโยชน์เรือ (performing vessel utilization rate) เพิ่มขึ้นจาก 60% ในไตรมาสที่ 1/2562 เป็น 85% ในไตรมาสที่ 1/2563 ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนวันทำงานของเรือที่เพิ่มขึ้น ส่วนขาดทุนขั้นต้นอยู่ที่ 112.6 ล้านบาท ส่งผลให้ EBITDA เป็นลบอยู่ที่ 202.7 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่งรายงานผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 184.1 โดยมูลค่าสัญญาให้บริการที่รอส่งมอบ ณ สิ้นไตรมาส ยังคงแข็งแกร่งอยู่ที่ 193 ล้านเหรียญสหรัฐ

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร

รายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรในไตรมาสที่ 1/2563 อยู่ที่ 696.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องมาจากปริมาณขายปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในระหว่างที่ธุรกิจอ่อนตัวตามฤดูกาลในไตรมาสที่ 1/2563 ได้เกิดภาวะความแห้งแล้งและค่าความเค็มของน้ำเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม ความต้องการภายในประเทศจึงลดลง แต่ถูกเกินดุลด้วยปริมาณการส่งออกปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการมุ่งเน้นการส่งเสริมการตลาด และเครือข่ายความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง

จึงส่งผลให้ปริมาณขายปุ๋ยทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น 60% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 54.8 พันตัน ขณะเดียวกัน กำไรขั้นต้น (spread) อยู่ที่ 140.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน EBITDA เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากศูนย์เป็น 34.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยสรุป ในไตรมาสที่ 1/2563 กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรรายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 15.1 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 191% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

กลุ่มการลงทุนอื่น

  • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม:

1) พิซซ่า ฮัท ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ 70% ซึ่งสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 พิซซ่า ฮัท มีสาขาทั้งหมด 150 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดที่เปิดใหม่เป็นสาขาที่เปิดตามหัวเมืองใหญ่

2) ทาโก้ เบลล์ (Taco Bell) เป็นแฟรนไชส์อาหารกึ่งเม็กซิกันสไตล์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ 70% ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ทาโก้ เบลล์ มีสาขาทั้งหมด 6 สาขา ทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดที่เปิดใหม่เป็นสาขาที่เปิดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

  • ธุรกิจบริหารทรัพยากรน้ำ:

บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (“AIM”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ 80.5% เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และให้บริการครบวงจรทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ AIM ยังได้รับสัมปทานในการจำหน่ายน้ำประปาในหลวงพระบาง ประเทศลาว ผ่านบริษัทย่อยที่ AIM ถือหุ้นอยู่ 66.7%

]]>
1278726
“มหากิจศิริ” ลุยธุรกิจ AI Influencer Marketing ลงทุนใน Cloudbreakr สตาร์ทอัพน้องใหม่จากฮ่องกง https://positioningmag.com/1259954 Thu, 09 Jan 2020 14:28:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259954 สตาร์ทอัพ “คลาวด์เบรค” (Cloudbreakr) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการวิเคราะห์สื่อจากฮ่องกง พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์มด้าน Influencer Marketing ในไตรมาสแรก ปี 2020 โดยตระกูลมหากิจศิริร่วมลงทุนด้วย

รู้จัก Cloudbreakr

Cloudbreakr เป็นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI และ big data analytics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดยนำข้อมูลที่กำลังเป็นประเด็นล่าสุดบนสื่อดิจิทัล และเพื่อให้นักการตลาดสามารถวางกลยุทธ์ได้ และเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในการร่วมมือระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ทุกประเภท

จุดเด่นของ Cloudbreakr คือการมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมนับร้อยล้านแบบ ทำให้สามารถจับตามองและใกล้ชิดกับอินฟลูเอนเซอร์มากกว่า 100,000 คน รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“มหากิจศิริ” ร่วมลงทุน

ในด้านการลงทุน Cloudbreakr ได้รับเงินสนับสนุนระดับ Pre-Series A รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือคิดเป็นเงิน 1.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกองทุน Hong Kong X Technology Fund อีกทั้งยังได้รับเงินลงทุนจาก Beyond Ventures, Alibaba Entrepreneurs Fund, และตระกูล“มหากิจศิริ” โดย “กึ้ง เฉลิมชัย มหากิจศิริ” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA)

ตระกูล “มหากิจศิริ” ซึ่งได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ ให้เป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 14 ของเมืองไทย มีธุรกิจครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค แบรนด์เนสกาแฟ ภายใต้ PM Group และธุรกิจอาหารแบรนด์ Krispy Kreme, Pizza Hut, Mugendai, Coffee Gallery และ Taco Bell

ในส่วนของกึ้ง เฉลิมชัยได้มีธุรกิจส่วนตัวบริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือ 411 Entertainment โปรโมเตอร์ผู้จัดงานโชว์ หรือคอนเสิร์ตเกาหลี ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดแฟนมีตติ้ง ซงจุงกิ, พัคโบกอม และ WANNA ONE รวมไปถึงคอนเสิร์ตของ iKON และ WINNER

นอกจากการเป็นโปรโมเตอร์จัดคอนเสิร์ตเกาหลีแล้ว กึ้งเฉลิมชัยยังได้แตกไลน์เปิดค่ายเพลง 411 มิวสิค ที่ได้ปั้นนักร้องใหม่ในวงการ หนึ่งในนั้นก็คือ แอลลี่ หรือ อชิรญา นิติพน ลูกสาวของ อัมรินทร์ นิติพน กับ อัจฉริยา อังคสุวรรณศิริ

ซึ่งธุรกิจนี้ย่อมต้องอาศัยพลังของ Influencer อย่างมาก ทำให้กึ้ง เฉลิมชัยเองต้องสนใจลงทุนในธุรกิจ AI Influencer Marketing เพิ่มขึ้น

สนับสนุนเทคโนโลยี AI

Cloudbreakr มีบริการต่างๆ สำหรับผู้ใช้งานในการค้นหา, คัดกรองข้อมูล, เรียกดูโปรไฟล์ของสื่อและอินฟลูเอนเซอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียล โดยที่ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอินฟลูเอนเซอร์กับผู้ติดตามได้

นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยี AI ในการพัฒนาคุณภาพการบริการ, เครื่องมือสำหรับการติดตามคีย์เวิร์ด (Keyword Tracking), วิเคราะห์ข้อมูลจากภาพ (Image Analysis) และวัตถุประสงค์ทางการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencer Marketing) ให้ครอบคลุมกว่า 6 ประเทศในแถบเอเชีย

จนถึงวันนี้ Cloudbreakr ได้ให้บริการแพลตฟอร์ม Influencer Marketing กับบริษัทมากกว่า 100 แห่ง ทั้งแบรนด์ต่างประเทศที่ทำงานร่วมกับนักการตลาดมากกว่า 10,000 คนทั่วโลก รวมถึงแบรนด์ดังในไทยอย่าง Au Bon Pain, Baskin Robbins และ Taco Bell

ธุรกิจสตาร์อัพของ Cloudbreakr เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Hong Kong AI and Data Laboratory ซึ่งเป็นโครงการร่วมของอาลีบาบา, SenseTime และ Hong Kong Science and Technology Parks Corp (HKSTP) โดยมีกำหนดการเปิดตัวครั้งแรกในไทย ในต้นปี 2563

]]>
1259954