ยิบอินซอย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Nov 2024 01:47:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Robinhood” บทใหม่ภายใต้ “ยิบอินซอย” ขอเก็บ GP 28%  https://positioningmag.com/1499156 Fri, 15 Nov 2024 01:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499156 เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปี 2567 ที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ที่สร้างความตกใจไม่น้อยสำหรับการประกาศยุติการให้บริการของ “Robinhood” แอป Food Delivery ภายใต้การบริหารของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ที่จะหยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.2567 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป เนื่องจากบรรลุภารกิจช่วยเหลือร้านค้า ไรเดอร์ และคนตัวเล็กในช่วงวิกฤตโควิดได้ตามเป้าประสงค์ 

อีกทั้งตลาด Food Delivery ของไทยมีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดที่ชิงส่วนแบ่งกันอย่างดุเดือด รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ผู้เล่นรายเล็กอย่าง Robinhood ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนัก และบริษัทฯแบกรับภาวะการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดย

  • ปี 2563 ขาดทุน 87 ล้านบาท
  • ปี 2564 ขาดทุน 1.3 พันล้านบาท
  • ปี 2565 ขาดทุน 1.9 พันล้านบาท 
  • ปี 2566 ตัวเลขการขาดทุนพุ่งสูงกว่า 2.1 พันล้านบาท 

รวม 4 ปีที่ดำเนินกิจการมาบริษัทฯขาดทุนไปแล้ว 5 พันกว่าล้านบาท 

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 มีการรายงานว่า SCBX ออกมาการแจ้ง “เลื่อน” การยุติการให้บริการ Food Delivery บนแอปพลิเคชัน Robinhood แต่บริการอื่นๆ ในแอปอย่าง Travel, Ride, Mart และ Express ยังคงยุติการให้บริการตามกำหนดเดิมคือในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากบริษัทฯ อยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อเสนอเข้าซื้อกิจการทั้งหมดจากผู้ที่สนใจ ที่มีจำนวนมากกว่าที่คาดไว้ 

ซึ่งบริษัทฯที่ขี่ม้าขาวมา คือ “กลุ่มยิบอินซอย” ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังและทำงานร่วมกับวงการธุรกิจไทยมาเกือบ 100 ปีแล้ว โดยมีการเซ็นสัญญาปิดดีลซื้อขาย Robinhood ด้วยมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา

“มรกต  ยิบอินซอย” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส (Robinhood)

ภาคต่อ “Robinhood” ภายใต้การบริหารของ “กลุ่มยิบอินซอย

การที่ SCBX เปลี่ยนใจไม่ปิดบริการแล้ว หากมองดูแบบไม่ลงลึกอะไรมาก “การขายต่อ” ถือเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งเพราะอย่างน้อยยังได้เงินทุนกลับมาอยู่บ้าง แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง คนที่ทำธุรกิจก็ไม่อยากให้สิ่งที่สร้างมากับมือต้องขาดทุนจนล้มหายตายจากไป แต่มุ่งหวังให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง SCBX ได้ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่สนใจซื้อกิจการ คือ ผู้ซื้อฯ ต้องเป็นกลุ่มธุรกิจสัญชาติไทย ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ Robinhood เป็นแพลตฟอร์มของคนไทยเพื่อคนไทยต่อไป ซึ่ง “กลุ่มยิบอินซอย” จึงปิดดีลนี้ไปได้ 

เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วที่ “Robinhood” เข้ามาอยู่ใต้การบริหารงานของ “กลุ่มยิบอินซอย” โดย “มรกต  ยิบอินซอย” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส (Robinhood) เผยว่า การเข้าซื้อ Robinhood มาบริหารต่อ ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักและมีการเติบโตมากขึ้น เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคนี้ “เทคโนโลยี” และ “แพลตฟอร์มออนไลน์” มีบทบาทสำคัญที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น 

การปิดดีลซื้อขาย Robinhood ในครั้งนี้ ยิบอินซอยเล็งเห็นถึงศักยภาพในการให้บริการส่งอาหารของ Robinhood ที่มีฐานลูกค้าที่มีคุณภาพ ไรเดอร์มีความสุภาพและรวดเร็ว อีกทั้งร้านค้าที่เปิดให้บริการมีหลากหลายทั้งร้านชื่อดังชั้นนำและร้านเล็กๆที่มีความเฉพาะตัว ทำให้บริษัทฯ มองว่า Robinhood เป็นแพลตฟอร์มไทยที่มีรากฐานที่ดีและสามารถต่อยอดให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นได้ แม้จะมีการตั้งคำถามต่อการซื้อกิจการที่ขาดทุนเข้ามาบริหาร แต่ยิบอินซอยเชื่อว่า Robinhood ยังสามารถเติบโตต่อไปได้เพราะเป็นแอปที่มีจุดแข็งคือเป็นของคนไทยที่พัฒนามาเพื่อการใช้ชีวิตของคนไทย สามารถสร้างการแข่งขัน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปูทางต่อยอดโปรเจ็กต์อื่นๆในอนาคตต่อไปได้  โดยปัจจุบันมีคำสั่งซื้อต่อวันเฉลี่ยเกือบ 40,000 คำสั่งซื้อ ส่งผลให้ตัวเลขผลประกอบการของ Robinhood มีการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ 

เก็บ GP 28% น้อยกว่าตลาด

เจ้าของยิบอินซอย กล่าวอีกว่า Robinhood สามารถออกนอกกรอบกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ขยับตัวได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่นจากที่เมื่อก่อนอยู่ในกรอบของการดำเนินงานแบบ CSR เป็นหลักและไม่มีพันธมิตรไม่ยุ่งกับใคร แต่ปัจจุบัน สามารถเข้าไปเป็นพันธมิตรกับ KTC ที่ถือเป็นแบงก์ที่มีโปรโมชั่นในการสะสมคะแนนค่อนข้างเยอะได้ แต่หลักสำคัญอย่างเรื่องความปลอดถภัยเราก็ยังคงยึดเอาไ้ว้ พร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้ธุรกิจมีกำไรเกิดเป็น Good Business Ecosystem

ปัจจุบันทีมงาน Robinhood ที่เป็นทีมงานเดิมมีทั้งหมด 50 คน ซึ่งยิบอินซอยได้ให้ทีมงานของบริษัทฯ เข้าไปช่วยซัพพอร์ตการดำเนินงานในด้านคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีหลังบ้าน เพื่อผลักดันให้ธุรกิจกลับมาเติบโต โดยบริษัทฯ มีการวางแผนในการพัฒนา Robinhood ให้เป็นมากกว่าแอป Food Delivery ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในปัจจุบันไปแล้ว ให้พัฒนาต่อยอดไปยังกลุ่มบริการ Mart หรือ บริการเรียกรถ 

แต่ขอเริ่มทำสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างการทำให้บริการ Food Delivery ให้มีรากฐานให้แข็งแกร่งขึ้น ผ่านการดำเนินการต่างๆ ทั้งพูดคุยกับพาร์ทเนอร์เพื่อขอการสนับสนุน หรือชักชวนให้ไรเดอร์ ร้านค้า รวมถึงยูสเซอร์ให้กลับเข้ามา Active ในแอป และได้ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2567 จะสามารถทำยอดการสั่งซื้อให้ได้ 50,000 ออเดอร์ต่อวัน 

และบริษัทฯตั้งเป้าทำออเดอร์คำสั่งซื้ออาหารรายวันให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการทำรายได้จากการเก็บค่า GP จากร้านค้า 28% (GP 25% และค่าการตลาด 3%) โดยเมื่อก่อนร้านค้าอาจไม่ต้องเสียค่า GP เพราะวิกฤตโควิดแต่การดำเนินในปัจจุบันเป็นรูปแบบของธุรกิจมากขึ้นซึ่งต้องมีรายได้และกำไรทำให้ต้องเก็บค่า GP และ Robinhood ก็ให้ตัวเลือกผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการจ่ายค่า GP แต่ต้องใช้วิธีการเก็บค่าส่งเต็มจำนวน ซึ่งอาจทำให้มีราคาที่แพงกว่าแอปอื่น

ซึ่งค่า GP ที่ Robinhood เก็บจากร้านค้า 28% นี้ ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้เล่นอื่นในตลาด ที่มีการเรียกเก็บค่า GP ตั้งแต่ 30% (ไม่รวม VAT 7%) ไปจนถึง 32% (ไม่รวม VAT 7%) และ 32.1%  (รวม VAT 7% แล้ว) 

มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด และบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน โรบินฮู้ด (คนที่ 2 นับจากซ้ายมือ), อนุวัต บูรพชัยศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอปพลิเคชั่น Paypoint (คนตรงกลาง), ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (คนทรี่ 3 นับจากขวามือ) และคณะพันธมิตร Paypoint

 

เข้าร่วม “Paypoint” ขยายฐานลูกค้า ตั้งเป้ากลับมาแข็งแกร่งใน 2 ปี

ล่าสุด ยิบอินซอย ได้นำเอา “Robinhood” เข้าไปจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ “Paypoint” แอปพลิเคชั่นรวบรวมรับฝากและแลกคะแนนสะสม ภายใต้การบริหารของบริษัท ศูนย์รับฝากคะแนน (ประเทศไทย) จำกัด ในการต่อยอดธุรกิจ ให้ Robinhood สามารถรวบรวมและแลกคะแนนสะสมในการชำระค่าสินค้าและบริการของร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์ตัวแทนของพันธมิตรได้ทั้งในและต่างประเทศ

ผ่านการทำงานของ ควอนตัม เทคโนโลยี พัฒนาระบบร่วมกับ TPD โดยการสร้างกรอบการทำงานเชิงอัลกอริทึมสำหรับ Paypoint ภายใต้การพัฒนาของบริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น โดยจะคำนวณการรวมคะแนนสะสมเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนคะแนนสะสมระหว่างพันธมิตรแบบเรียลไทม์ ป้องกันการทำ arbitrage (การซื้อของชนิดเดียวกันในราคาที่แตกต่างกัน แล้วนำไปขายทำกำไรต่อโดยปราศจากความเสี่ยง) เพราะผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนคะแนนไปยังกลุ่มพันธมิตรได้โดยตรง มั่นใจได้ว่าทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นกับกลไกตลาด 

อาทิ ผู้ใช้ที่มีการสะสมคะแนนจากการใช้บริการของ Robinhood สามารถนำคะแนนสะสมไปแลกหรือใช้จ่ายในบริการที่ต้องการของพันธมิตรได้ เช่น ปั๊มน้ำมันบางจาง หรือ แอร์ เอเชีย ในขณะที่ผู้ใช้ของพาร์ทเนอร์อย่าง แอร์ เอเชีย หรือ บางจาก ก็สามารถรวบรวมคะแนนมาใช้จ่ายบริการของ Robinhood ได้เช่นกัน โดยจะมีการเริ่มใช้ Paypoint ได้ในต้นปี 2568 เป็นต้นไป

ซึ่งปัจจุบัน Paypoint มีพันธมิตรอยู่ 7 บริษัทด้วยกัน ประกอบด้วย 

  •  บริษัท บางจาก  คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บิ๊กไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Air Asia) 
  • บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (แอพพลิเคชั่นโรบินฮู้ด)
  • บริษัท เฮลท์อัพ จำกัด
  • บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่นแมเนจเม้นท์ จำกัด
  • บริษัท โกลด์เด้น99 จำกัด
  • MAAI BY KTC โดยบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท พริ้นซิเพิลเฮลท์แคร์ จำกัด 

และในอนาคตจะมีพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมงานกันมากขึ้น รวมถึงการขยายแพลตฟอร์มให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทยและขยายออกไปยังต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคมีอิสระในการในจ่ายคะแนนมากขึ้น พร้อมพาให้ธุรกิจกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิมให้ได้ภายใน 2 ปี

]]>
1499156
รู้จัก ‘ยิบอินซอย’ บริษัทอายุแตะ ‘ร้อยปี’ จากธุรกิจ ‘เหมืองแร่’ สู่ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีในไทย และเป็นเจ้าของใหม่ ‘Robinhood’ https://positioningmag.com/1492341 Tue, 01 Oct 2024 04:57:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492341 ถือว่าเป็นอะไรที่เข็มขัดสั้น หรือ คาดไม่ถึง เลยทีเดียว สำหรับดีล Robinhood แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ของ SCBX ที่ไม่ได้ถูกซื้อโดยบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน แต่กลับได้กลุ่มผู้ลงทุนที่นำโดย ยิบอินซอย (YIP IN TSOI) มาซื้อไปในมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดย Positioning จะพาไปรู้จักกับกลุ่มยิบอินซอย บริษัทไทยอายุเกือบร้อยปี ว่าเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้าง

ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีในไทย ที่เริ่มจากธุรกิจเหมืองแร่

แค่บริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับฟู้ดเดลิเวอรี่มาซื้อ Robinhood ก็ถือว่าน่าสนใจแล้ว แต่เมื่อมารู้จักกับ บริษัท ยิบอินซอย ยิ่งน่าสนใจกว่า โดยเฉพาะในแง่ของ การปรับตัวตามยุคสมัย จนปัจจุบันยิบอินซอยเป็นบริษัทไทยที่มีอายุแตะ ร้อยปี เข้าไปแล้ว

โดยจุดเริ่มต้นของบริษัท ต้องย้อนไปไกลถึงพ.ศ. 2469 ถือกำเนิดจากธุรกิจ เหมืองแร่ ที่กำลังเติบโต ทำให้ ยิบ (Yip) อินซอย (In Tsoi) ชายชาวจีนที่มีโอกาสเดินทางมาไทย ได้เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ จึงได้เริ่มทำธุรกิจเหมืองแร่ พร้อมก่อตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลยิบอินซอยแอนด์โกขึ้นมาที่หาดใหญ่

หลังจากที่กิจการไปได้ดีจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด (Yip In Tsoi & Company Limited) ในปี พ.ศ.2473 ด้วยทุนจดทะเบียน 150,000 บาท และได้ขยับขยายจากสำนักงานที่เป็นห้องแถว 2 คูหาที่ชุมทางหาดใหญ่ ไปอยู่ที่บางรัก กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2481 และยังคงเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่จนถึงปัจจุบัน

มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จํากัด

แม้ว่าบริษัทจะเริ่มจากธุรกิจเหมืองแร่ แต่บริษัทก็ปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัทได้ขยับขยายไปสู่ ธุรกิจนำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับโลก อาทิ การนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม นำเข้ารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก เครื่องจักรทอกระสอบ เครื่องปรับอากาศ สินค้าอุปโภคบริโภค โดยยิบอินซอยถือเป็นผู้บุกเบิกการค้าปุ๋ยเคมีเป็นรายแรกของไทย โดยนำเข้าปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมนี เข้ามาจำหน่าย ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ตราใบไม้” เมื่อ พ.ศ.2489

หรือแม้แต่ใน ธุรกิจด้านการเงิน ยิบอินซอยก็ทำ โดยก่อตั้ง บริษัท ยิบอินซอยลงทุนและค้าหลักทรัพย์ จำกัด (YIT Invesment & Securities Ltd.- YISCO) บริษัท ยิบอินซอย เงินทุน (Yipintsoi Finance Limited. – YIPFIN) ทำธุรกิจด้านการเงินและหลักทรัพย์ โดยภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เงินทุนเอกธนกิจ จำกัด

เริ่มเข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีในเจนสอง

จนมาปีพ.ศ.2497 ที่ยิบอินซอยก็เริ่มเข้าสู่ ธุรกิจด้านเทคโนโลยี จากการเป็นตัวแทนจำหน่าย Burroughs Adding Machine เครื่องบวกเลขแบบจักรกลที่ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานระดับสูง จนมาปีพ.ศ. 2506 ทายาทเจนสองอย่าง ธวัช ยิบอินซอย ก็ได้ต่อยอดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เบอร์โร่วส์ สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ และได้ขยายธุรกิจเข้าสู่งานจัดจำหน่ายและติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในอีก 10 ปีต่อมา โดยมี เทียนชัย ลายเลิศ ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจนี้

จนมาถึงพ.ศ. 2540 ยุคที่ระบบเมนเฟรมกำลังถูกแทนที่ด้วย Open system ทำให้ผู้บริหารเจนสามอย่าง นางมรกต ยิบอินซอย และ นายสุภัค ลายเลิศ ก็ได้มุ่งสู่ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร โดยได้การนำเทคโนโลยีใหม่ประสิทธิภาพสูง เช่น เนทแอป (NetApp) และผลิตภัณฑ์ของ SUN microsystem เข้ามาสร้างตลาดกลุ่มใหม่ ๆ ทำให้ยิบอินซอย ถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสู่ประเทศไทย เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และโซลูชั่นดิจิทัลสำหรับธุรกิจ

ปัจจุบัน บริษัทยิบอินซอย จำกัด อยู่ภายใต้ 3 ตระกูลใหญ่ ได้แก่ ตระกูลยิบอินซอย ตระกูลลายเลิศ และ ตระกูลจูตระกูล มีพนักงาน 1,900 คน มีบริษัทในเครือมีทั้งสิ้น 9 แห่ง ครอบคลุม 4 ธุรกิจ 1.ไอทีดิจิทัลโซลูชัน 2.เทคโนโลยีขั้นสูง 3.การค้าและการผลิต และ 4.ธุรกิจประกันและมีศูนย์บริการกว่า 32 แห่งทั่วประเทศไทยและในเขตประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพด้าน Clean Energy & Smart Agri-Tech Solutions และ Nano Bio Technology อีกด้วย อาทิ จากเดิมที่มีอยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท โมรีน่า โซลูชั่นส์ จำกัด (Morena) สตาร์ทอัพด้าน BIOTECHNOLOGY, บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด สตาร์ทอัพใช้เทคโนโลยี AI ตรวจสอบพันธุ์ข้าว และ บริษัท โซลารินน์ จำกัด สตาร์ทอัพ ด้านพลังงานสะอาด (EASYRICE) ที่กำลังจะเริ่มผลิต จักรยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์

จับตาก้าวต่อไปหลังได้ Robinhood

ล่าสุด ยิบอินซอยก็ได้นำทีมเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood โดยมูลค่าการซื้อขายคิดเป็นมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วยมูลค่าเบื้องต้นชำระทันที 400 ล้านบาท และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มผู้ลงทุนที่เหลือประกอบด้วยกลุ่ม Brooker Group ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน, กลุ่ม SCT Rental Car ที่ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์ รวมถึงบริษัทย่อยของ Loxley คือ LOXBIT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นของประเทศไทย

ต้องยอมรับว่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ไม่ได้ง่าย เพราะตลอด 10 ปีมีผู้เล่นที่ม้วนเสื่อกลับบ้านก็ไม่น้อย ดังนั้น จากนี้คงต้องจับตาว่า ยิบอินซอยที่ได้ Robinhood จะนำไปต่อยอดกับธุรกิจในเครืออย่างไร เพราะยิบอินซอยมีความพร้อมทั้งด้านไอทีโซลูชั่น ประกัน หรือแม้แต่ธุรกิจมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ก็คงต้องติดตามดูกัน ยาว ๆ ต่อไป

]]>
1492341