รถอีวี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Nov 2024 03:54:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ระส่ำ https://positioningmag.com/1500067 Thu, 21 Nov 2024 03:54:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500067 ไม่ใช่แค่แบรนด์ญี่ปุ่นที่ได้ผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงจากการมาของ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี จากจีน แต่ฝั่ง ตะวันตก เองก็กระทบไม่ว่าจะเป็น Volkswagen จนล่าสุด Ford ที่เตรียมลดพนักงานถึง 4,000 คน

ฟอร์ด (Ford Motor Co) เปิดเผยว่า จะลดจำนวนพนักงานลง 4,000 คน ภายในสิ้นปี 2027 โดยจำนวนพนักงานทั้งหมดที่ถูกปลดจะมาจากฝั่งยุโรปทั้งหมด ได้แก่ เยอรมันนี 2,900 ตําแหน่ง, สหราชอาณาจักร 800 ตําแหน่ง และประเทศอื่น ๆ ใน ยุโรป 300 ตําแหน่ง โดยปัจจุบัน ฟอร์ดมีพนักงานในยุโรป 28,000 คน และ 174,000 คนทั่วโลก

นอกจากนี้ ฟอร์ดยังต้องออกมาตรการเพื่อลดต้นทุนอื่น ๆ ได้แก่ ลดการผลิตรถรุ่นเอ็กซ์พลอเรอร์ (Ford Explorer) และลดกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นคาปริ อีวี (Capri EV) ซึ่งทั้ง 2 รุ่นนี้มีฐานการผลิตในเยอรมันนี ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมานั้น ฟอร์ดอ้างว่าเป็นผลจากแรงกดดันจากเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากรถไฟฟ้าจากจีน รวมถึงยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้

“อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกยังคงอยู่ในช่วงของการหยุดชะงักที่สําคัญ เนื่องจากเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปไปสู่ไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในยุโรปนั้นรุนแรงเป็นพิเศษ เนื่องจากนอกจากเจอการแข่งขันที่รุนแรง ยังต้องสู้กับเศรษฐกิจที่ตกต่ำ” บริษัทกล่าวในแถลงการณ์ 

ทั้งนี้ ยอดขายของฟอร์ดในตลาดยุโรปช่วง 9 เดือนแรกลดลง -15.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับภาพรวมตลาดที่ลดลง -6.1% ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของฟอร์ดลดลงเหลือ 3% จากปีที่ผ่านมามี 3.5% 

เมื่อเจาะลงไปในตลาดรถยนต์เยอรมันนีในช่วง 9 เดือนแรกพบว่า ยอดขายรถอีวีลดลงถึง -28.6% ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากการที่รัฐบาลยกเลิกนโยบายอุดหนุนผู้บริโภค รวมถึงการขยายสถานีชาร์จที่ล่าช้ากว่าที่คาด

Source

]]>
1500067
‘BYD’ ทำรายได้แซง ‘Tesla’ เป็นครั้งแรกใน Q3/2567 แม้ตลาด ‘จีน’ จะอยู่ในช่วงขาลง https://positioningmag.com/1496959 Fri, 01 Nov 2024 04:46:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496959 ผลัดกันขึ้นเป็น เบอร์ 1 ในตลาด รถอีวี ในด้านจำนวนยอดขาย สำหรับค่าย บีวายดี (BYD) และ เทสล่า (Tesla) แต่ถ้าเป็นในด้านมูลค่ารายได้ BYD เพิ่งจะขึ้นแซง Tesla ได้เป็นครั้งแรก ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แม้การแข่งขันจะดุเดือดก็ตาม

BYD ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนได้รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 โดยกวาดรายได้ถึง 28,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น +24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่แซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tesla ที่ทำรายได้ 25,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

แม้ว่าตลาดรถอีวีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีนจะอยู่ในช่วง ขาลง แต่ BYD ยังคงรักษายอดขายได้อย่างแข็งแรง และสามารถทำยอดขายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนสิงหาคม โดยมียอดขายทะลุ 370,000 คัน เพิ่มขึ้น +30% โดยยอดขายประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถ ไฮบริด ในขณะที่รถยนต์ของ Tesla ยังเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% 

อย่างไรก็ตาม หากวัดในแง่ ผลกำไร Tesla ยังคงเป็นผู้นำ โดยมีกำไรสุทธิ 2,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2% ขณะที่ BYD มีกําไรราว 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.5% และเมื่อวัดจากรายได้รวมทั้ง 3 ไตรมาส Tesla ยังคงเป็นเบอร์ 1 ด้วยรายได้รวม 75,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน BYD อยู่ที่ 71,980 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน BYD เป็นหนึ่งในผู้ผลิต EV ที่โดดเด่นที่สุดในประเทศจีน โดย BYD ต้องสู้ทั้งศึกเพื่อนร่วมชาติ และสู้กับ Tesla ของ Elon Musk ที่ถือเป็นหนึ่งในคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุด เพราะ Model Y ของ Tesla ยังคงเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่ขายดีที่สุดในประเทศจีนในเดือนกันยายน ส่วน Autohome Seagull ของ BYD ตามหลังในอันดับ 2

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการแข่งขันมีแต่จะดุเดือดมากขึ้น เนื่องจากภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรปที่จะเก็บภาษีรถอีวีจากจีนเพิ่มสูงสุด 45.3% ซึ่งมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้ แม้ว่าจีนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

Source

]]>
1496959
มองข้อจำกัดสกัด ‘อินโดนีเซีย’ ขึ้นเป็น ‘EV HUB’ แม้จะเป็นประเทศแรกของภูมิภาคที่มีโรงงานผลิตแบตฯ https://positioningmag.com/1496301 Tue, 29 Oct 2024 11:30:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496301 ด้วยข้อได้เปรียบจากแร่ นิกเกิล ทำให้ อินโดนีเซีย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่สามารถสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอินโดฯ เชื่อว่าโรงงานผลิตแบตฯ จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการเป็น EV HUB ของภูมิภาค แต่ก็อาจไม่ง่ายขนาดนั้น

หลังจากได้รับเลือกจากบริษัทร่วมทุนระหว่าง ฮุนได (Hyundai) และ แอลจี (LG) ของเกาหลีใต้ให้สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถอีวีมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีโรงงานผลิตแบตฯ โดยปัจจุบัน แบตเตอรี่จากโรงงานในอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังบริษัทในเครือ ฮุนได Hyundai ในเกาหลีใต้และอินเดีย

แน่นอนว่าอินโดนีเซียไม่คิดจะหยุดแค่นี้ โดยกำลังมองหาวิธีเพิ่มการลงทุนเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน โดยเริ่มออกมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์ไฟฟ้า  ไม่ว่าจะเป็น การยกเว้นภาษี โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามายังอินโดนีเซียจนถึงปี 2568 หากบริษัทต่าง ๆ มีการสร้างโรงงานผลิตและผลิตรถยนต์ในประเทศให้ได้จำนวนเท่ากับที่นำเข้าภายในสิ้นปี 2570 

ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ก็ดึงให้แบรนด์รถอีวีหลายแบรนด์ตบเท้ากันเข้ามาในตลาดอินโดนีเซีย อาทิ BYD, VinFast และ Wuling ที่ประกาศแผนว่าจะผลิตแบตเตอรี่ ที่โรงงานในอินโดนีเซียภายในสิ้นปี 2024 และจากมาตรการทั้งหลาย ทำให้ยอดขายรถอีวีในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้พุ่งเป็นกว่า 23,000 คัน จากปีที่ผ่านมามียอดขาย 17,000 คัน ตามข้อมูลจากสมาคมยานยนต์อินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโรงงานผลิตแบตฯ แห่งแรกของภูมิภาค และเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองนิกเกิลมากที่สุดในโลก แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ประเทศยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอันเนื่องมาจาก ศักยภาพในการแปรรูปและการกลั่นที่ไม่ดี เนื่องจากขาดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทำให้นิกเกิลต้องผ่านการแปรรูปจากเกาหลีใต้และจีนก่อน

อีกทั้งยังมีความกังวลด้าน สิ่งแวดล้อม โดยนักสิ่งแวดล้อมเตือนว่า การทำเหมืองนิกเกิลเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการ ตัดไม้ทำลายป่า ในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไออนฟอสเฟต (LFP) ที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในจีน ก็อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการแบตฯ ที่อินโดนีเซียกำลังผลิตอยู่ด้วย

อีกสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การแข่งขัน โดยเฉพาะจาก ประเทศไทย ซึ่งไทยเองก็พยายามจะเป็น EV HUB โดยไทยเองก็สามารถดึงดูดให้หลายแบรนด์ตั้งโรงงานผลิตในประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดได้เปรียบ เพราะหากแบรนด์นั้น ๆ มีโรงงานในบางประเทศแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย

โดยข้อมูลของ ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา พบว่า ในช่วงต้นปี 2566 ไทยมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 78.7% ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่ 8%

ก็ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียมีความได้เปรียบทั้งในแง่ประชากร และทรัพยากรที่หลายประเทศไม่มี แต่ประเทศอื่น ๆ ก็มีจุดแข็งของตัวเอง อาทิ ไทยเองก็มี Know how จากรถยนต์สันดาป และเข้าสู่ตลาดอีวีค่อนข้างเร็วกว่าหลายประเทศ ก็คงต้องรอดูกันว่าใครจะชิงความได้เปรียบจนขึ้นเป็น EV HUB ของภูมิภาคได้ 

Source

]]>
1496301
มองอนาคต ‘Tesla’ ภายในปี 2029 รายได้หลักจะไม่ได้มาจากการขาย ‘รถอีวี’ แต่เป็น ‘ซอฟต์แวร์’ https://positioningmag.com/1495845 Mon, 28 Oct 2024 07:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495845 แม้ภาพในปัจจุบันของ เทสลา (Tesla) ที่คนภายนอกมองจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถอีวี แต่ในมุมของนักลงทุน มองว่าอีกไม่กี่ปี รายได้หลักของบริษัทจะไม่ได้มาจากการขายรถ แต่เป็น ซอฟต์แวร์เอไอการขับขี่อัตโนมัติ

แม้ปัจจุบันรายได้ประมาณ 79% ของ Tesla มาจากการขายรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) แต่ Ark Investment Management ที่ลงทุนในหุ้นของ Tesla กลับประเมินว่า ภายในปี 2029 สัดส่วนรายได้ 86% ของ Tesla จะมาจากด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากการขายรถอีวี ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์ระบบการขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full Self-Driving: FSD) ของบริษัท

โดย Cathie Wood หัวหน้าของ Ark Investment Management มองว่า ยอดขายรถอีวีของ Tela กำลังชะลอตัว โดยในปี 2023 มียอดจัดส่ง 1.8 ล้านคัน แต่ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2024 กลับมียอดจัดส่งเพียง 1.29 ล้านคัน ซึ่งลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวรุ่น Model S ในปี 2011 แม้ว่าบริษัทจะลดราคาลงอย่างมาก เพื่อกระตุ้นตลาดแล้วก็ตาม

โดย Wood มองว่า ความต้องการในตลาดรถอีวีกําลังลดลง เนื่องจากท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลําบาก ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะรัดเข็มขัด อีกทั้งยังคงเลือกใช้รถยนต์สันดาปที่มีราคาถูกกว่า และมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานน้อยกว่า 

นอกจากนี้ Tesla ยังต้องเจอกับการแข่งขันที่รุนแรงจาก ค่ายรถจีน ที่มีราคาถูกกว่า แม้ว่า Elon Musk ซีอีโอของ Tesla มีแผนจะสร้างรุ่นราคาประหยัดมาสู้ก็ตาม โดยคาดว่าจะเข้าสู่การผลิตในปี 2025 และขายในราคา 25,000 ดอลลาร์ แต่สุดท้ายแล้ว Musk ก็สั่งพับโครงการนี้ไป พร้อมกับประกาศว่า อนาคตของบริษัทอยู่ที่ ยานพาหนะอัตโนมัติ แทน 

โดยบริษัทได้เปิดตัว Cybercab เมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งเป็นรถโรโบแท็กซี่ที่ขับขี่ด้วยตัวเองโดยไม่มีพวงมาลัยหรือคันเร่ง ซึ่ง Cybercab จะทํางานบนซอฟต์แวร์ FSD ของ Tesla ซึ่งบริษัทได้พัฒนามาหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม มันยังไม่ได้รับการอนุมัติสําหรับการใช้งานในสหรัฐอเมริกา และคนขับที่เป็นมนุษย์ต้องพร้อมที่จะรับช่วงต่อตลอดเวลา แต่จากข้อมูลที่รวบรวมจากการทดสอบเบต้า เป็นไปได้ว่า Cybercab ปลอดภัยกว่ารถยนต์ทั่วไปบนท้องถนนอยู่แล้ว

ตามรายงานความปลอดภัยของยานพาหนะรายไตรมาสล่าสุดของ Tesla พบว่า เกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ทุก ๆ 7 ล้านไมล์ เมื่อเทียบกับการเกิดอุบัติเหตุทุก ๆ 7 แสนไมล์โดยเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา หรืออาจแปลได้ว่า FSD นั้นปลอดภัยกว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ถึง 10 เท่า และตามสถิติ ซอฟต์แวร์จะยิ่งเก่งขึ้น เนื่องจากโมเดล AI ที่ใช้อ้างอิงนั้นเรียนรู้จากข้อมูลใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง 

ปัจจุบัน Tesla กําลังสร้างกลุ่มชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) 50,000 ชิ้นจาก Nvidia เพื่อฝึก FSD ต่อไป โดยบริษัทกําลังจะลงทุนมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูล AI ในปีนี้ ด้วยเหตุนี้ Musk จึงคาดหวังว่าซอฟต์แวร์จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกํากับดูแลสําหรับการใช้งานรถอัตโนมัติในที่สุด และอาจจําหน่ายในเท็กซัสในปีหน้า และอาจเป็นแคลิฟอร์เนีย ดังนั้น Tesla หมายมั่นปั้นมือกับระบบ FSD มาก และคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จาก 3 วิธี ได้แก่

  1. ขายซอฟต์แวร์ให้กับผู้ที่ซื้อรถของเทสลา
  2. การออกใบอนุญาตซอฟต์แวร์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นโดยมีค่าธรรมเนียม
  3. ผ่านเครือข่ายการเรียกรถที่เทสลาสร้างขึ้นเอง ซึ่งจะช่วยให้ Cybercabs สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ตลอดเวลา (เช่น Uber ยกเว้นไม่มีคนขับโดยสิ้นเชิง)

ทั้งนี้ ธุรกิจซอฟต์แวร์มักจะมีอัตรากําไรขั้นต้น 80% หรือมากกว่า ซึ่งสูงกว่าอัตรากําไรขั้นต้นปัจจุบันของ Tesla ที่ 19.8% ในพอร์ตโฟลิโอธุรกิจฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ FSD มีโอกาสจะขึ้นมาเป็นรายได้หลักของบริษัทในอนาคต

โดยแบบจําลองทางการเงินของ Ark ชี้ให้เห็นว่า Tesla จะสร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2029 โดย FSD และ Cybercab คิดเป็นสัดส่วน 63% อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตรากําไรที่สูง Ark เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะคิดเป็น 86% ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ 4.40 แสนล้านดอลลาร์ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (EBITDA)

Source

]]>
1495845
ปิดฉาก 87 ปี? ‘โฟล์คสวาเกน’ เล็งปิดโรงงานใน ‘เยอรมนี’ ประเทศบ้านเกิดเพื่อลดต้นทุน หลังถูกแบรนด์จีนตีตลาด https://positioningmag.com/1488662 Tue, 03 Sep 2024 15:52:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488662 ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันตลาดรถยนต์กำลังถูก แบรนด์จีน ตีตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในฝั่งของ รถอีวี หรือ รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำให้การมีอยู่ของแบรนด์รถยนต์สันดาปกำลังสั่นคลอนอย่างหนัก ทั้งในฝั่งของญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งรวมไปถึง โฟล์คสวาเกน ที่อาจถึงขั้นต้องปิดโรงงานในประเทศบ้านเกิด

นี่อาจจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 87 ปี ของ โฟล์คสวาเกน (Volkswagen) ผู้ผลิตรถยนต์ชาวเยอรมันที่กำลังเตรียม ปิดโรงงานในประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ ลดต้นทุน เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปกำลังอยู่ในสถานะวิกฤต เนื่องจากคู่แข่งใหม่ ๆ ที่กำลังตบเท้าเข้าสู่ตลาดยุโรป

“สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจยิ่งยากขึ้น และคู่แข่งรายใหม่กําลังเข้าสู่ตลาดยุโรป ในขณะที่ฐานการผลิตในเยอรมนีมีความล้าหลังในแง่ของความสามารถในการแข่งขัน เราเลยต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดในตอนนี้” โอลิเวอร์ บลูม ซีอีโอของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป กล่าว

ปัจจุบัน โฟล์คสวาเกนไม่ใช่แค่ต้องเผชิญกับการแข่งขันในยุโรป แต่บริษัทได้ สูญเสียส่วนแบ่งตลาดในจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ ทำกำไรได้มากที่สุด และแม้ว่าบริษัทได้เริ่มโครงการการ ลดต้นทุน มูลค่าหลายพันล้านยูโรตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน

อย่างไรก็ตาม บริษัทจําเป็นต้อง ยุติข้อตกลงการคุ้มครองการจ้างงาน ซึ่งเป็นโครงการความมั่นคงในการทํางานที่มีมาตั้งแต่ปี 1994 เพื่อให้แน่ใจว่า การปรับโครงสร้างที่จําเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้นในระยะสั้น

ซึ่งนั่นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับสหภาพแรงงาน โดยปัจจุบันบริษัทมีพนักงานประมาณ 3 แสนคนในเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนพนักงานทั้งหมดทั่วโลก

แน่นอนว่าการปิดโรงงานของโฟล์คสวาเกน จะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเยอรมนี เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียงาน รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งนั่นทำให้บริษัททำได้แค่ให้พนักงานเกษียณก่อนกำหนดและลาออกโดยสมัครใจเท่านั้น

“สถานการณ์ตึงเครียดอย่างยิ่งและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยมาตรการลดต้นทุนง่าย ๆ นี่คือเหตุผลที่เราต้องการเริ่มการสนทนากับตัวแทนพนักงานโดยเร็วที่สุดเพื่อสํารวจความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน” โอลิเวอร์ ทิ้งท้าย

bloomberg

]]>
1488662
ถึงคิว ‘แคนาดา’ ขึ้นภาษี ‘อีวีจีน’ 100% ตามรอยสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การแข่งขันไม่เป็นธรรม https://positioningmag.com/1488025 Thu, 29 Aug 2024 08:43:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488025 หลังจากที่ สหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นภาษีการนำเข้า รถอีวีจากจีน 100% รวมถึง สหภาพยุโรป ที่ขึ้นภาษีการนำเข้ารถจากจีนเช่นกัน ล่าสุด แคนาดา ก็เป็นอีกประเทศที่ประกาศขึ้นภาษีการนำเข้ารถอีวีจีน เพื่อสกัดกั้นการนำเข้า

จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ประกาศว่า ประเทศแคนาดาจะจัดเก็บ ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน 100% เท่ากับภาษีของสหรัฐฯ จากเดิมที่จัดเก็บเพียง 6.1% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 นอกจากนี้ ยังจะเรียกเก็บภาษีนำเข้า จากเหล็กและอะลูมิเนียมของจีน 25% อีกด้วย โดยจะบังคับใช้วันที่ 15 ต.ค. 2567

ที่ผ่านมา ทางการจีน มีแนวโน้ม แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หลังจากที่รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ครั้งใหญ่ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ขั้นสูง โซลาร์เซลล์ เหล็ก อะลูมิเนียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลจีนพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของ COVID-19 

ขณะที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหาว่า รัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนสำหรับแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้บริษัทจีนไม่ได้โฟกัสที่การทำ กำไร ซึ่งนั่นทำให้บริษัทเหล่านั้นได้รับความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในการค้าโลก

“แคนาดากำลังดำเนินการต่อต้านสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นนโยบายรัฐบาลจีนเลือกที่จะให้บริษัทของประเทศตัวเองได้รับข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในตลาดโลก โดยตั้งใจผลิตเกินกว่าที่จีนจะบริโภคเพื่อส่งออก และไม่คิดว่าจีนกำลังเล่นตามกฎเดียวกัน” ทรูโด กล่าว

ทั้งนี้ จีนถือเป็นพันธมิตรการค้ารายใหญ่เป็น อันดับสองของแคนาดา รองจากสหรัฐฯ ซึ่งจีนก็ได้ออกตอบโต้มาตรการดังกล่าวว่า เป็นการกีดกันทางการค้า ซึ่งละเมิดกฎขององค์การการค้าโลก และจวกว่า แคนาดากำลัง ทำลายระบบเศรษฐกิจโลก

ที่ผ่านมา รถอีวีจากจีนสามารถขายได้ในราคาเพียง 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.2 แสนบาท)

Source

]]>
1488025
ยอดขาย ‘รถอีวี’ ทั่วโลกเดือนก.ค.โต 21% หลังได้แรงหนุนจากตลาด ‘จีน’ ที่ทำสถิติเติบโตสูงสุด https://positioningmag.com/1486005 Tue, 13 Aug 2024 08:02:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486005 ดูเหมือนยอดขายทั่วโลกของรถยนต์ไฮบริดไฟฟ้าและปลั๊กอินยังไปต่อได้ โดยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 21% โดยปัจจัยหลักมาจากยอดขายของ จีน ที่ถือว่าเติบโตสูงสุดในปี 2024 แม้ว่าการเติบโตจากฝั่งยุโรปจะลดลงก็ตาม  

ตามรายงานโดย Rho Motion เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม โดยรวมทั้ง รถไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (BEV) และ ปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) มียอดรวมทั่วโลกอยู่ที่ 1.35 ล้านคัน โดยเฉพาะประเทศจีนมียอดขายที่ 8.8 แสนคัน เพิ่มขึ้น +31% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่ตลาด ยุโรป มียอดขาย ลดลง -7.8% ในเดือนกรกฎาคม โดยตลาด เยอรมนี ที่ถือเป็นตลาดใหญ่สุดของยุโรป ลดลง -12% ส่วนในตลาด สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ยอดขาย เพิ่มขึ้น +7.1% 

ที่น่าสนใจคือ รถปลั๊กอินไฮบริด กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในตลาดจีน ยอดขายของรถปลั๊กอินไฮบริดช่วง 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นถึง +70% จากปีที่แล้ว สอดคล้องกับยอดขายของค่ายผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่สุดในจีนและใหญ่สุดในโลกอย่าง BYD ที่ยอดขายรถ PHEV เติบโตถึง +44% ขณะที่รถ BEV เติบโต +13%

ทั้งนี้ สมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งประเทศจีน (China Passenger Car Association) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนในเดือนกรกฎาคม หดตัว -5% แต่ภาค การส่งออกเพิ่มขึ้น +20% โดยยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านคัน โดยขายภายในประเทศประมาณ 1.6 ล้านคัน ลดลง 10% จากปีก่อน ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% เป็น 399,000 คัน รถยนต์ที่ขายไป มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์พลังงานใหม่

Source

]]>
1486005
‘ซัมซุง’ โชว์นวัตกรรมแบตฯ รถอีวีใหม่วิ่งได้ไกล 900 กิโลเมตร แถมชาร์จไวใน 9 นาที อายุการใช้งานยาว 20 ปี https://positioningmag.com/1485984 Tue, 13 Aug 2024 04:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485984 แม้ว่าเกาหลีใต้อาจไม่ใช่ผู้ชนะในตลาด รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี เหมือนกับ จีน ที่กำลังรุกตลาดโลกอย่างรวดเร็ว แต่เกาหลีใต้ก็ยังเติบโตไปด้วยได้ผ่านการ ขายแบตเตอรี่ โดยล่าสุด ซัมซุงได้เปิดตัวแบตเตอรี่ใหม่ที่วิ่งได้ไกล 900 กิโลเมตร

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซัมซุง (Samsung) ได้เปิดตัวนวัตกรรม แบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State battery) ที่ช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลกว่า 900 กิโลเมตร โดยแบตเตอรี่ดังกล่าวมีความหนาแน่นของพลังงานที่ประมาณ 500 Wh/kg หรือประมาณ สองเท่าของแบตเตอรี่รถอีวีในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังใช้เวลาชาร์จเต็มเพียง 9 นาที และแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนาน 20 ปี

Ko Joo-young รองประธาน Samsung SDI กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์กําลังให้ความสนใจแบตเตอรี่ Next-gen นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขนาด เล็กกว่า เบากว่า และปลอดภัยกว่า แบตเตอรี่อีวีในปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตของแบตเตอรี่โซลิดสเตตก็ยังสูงกว่าแบตเตอรี่ในปัจจุบันอยู่มาก ดังนั้น การจะใช้แบตเตอรี่โซลิดสเตตจึงถูกจํากัดให้อยู่ในกลุ่ม พรีเมียมสุด 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ซัมซุง แต่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง โตโยต้า (Toyota) ยังตั้งเป้าผลิตแบตเตอรี่โซลิดสเตตจำนวนมากภายในปี 2027 โดยนักวิเคราะห์มองว่า โตโยต้าอาจใช้แบตเตอรี่โซลิดสเตตในรถ Lexus EV ระดับพรีเมียม

ในฝั่งของจีน ตอนนี้แบรนด์ นิโอ (NIO) ได้เสนอแบตเตอรี่กึ่งโซลิดสเตตที่เปิดใช้งานระยะทางมากกว่า 900-1,000 กิโลเมตร ความเร็วในการชาร์จ 5C หรือ 6C ultra-rapid ที่ชาร์จได้เร็วเพียง 10 นาที แต่อุปสรรคหลักของการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานการชาร์จที่ยังไม่เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีโซลิดสเตตไม่ใช่แค่ไม้ตายเดียวของซัมซุง แต่บริษัทกำลังพัฒนา แบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟต (LFP) และแบตเตอรี่ที่ปราศจากโคบอลต์ที่มีราคา ถูกกว่า เพื่อใช้แข่งขันในกลุ่มรถอีวีราคาประหยัด ขณะที่ความนิยมของแบตเตอรี่ LFP เองก็กําลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรายงานล่าสุดคาดว่า เทคโนโลยีนี้คิดเป็น 40% ของยอดขายรถอีวีแล้ว

Source

]]>
1485984
SCB IEC ประเมินราคา ‘รถอีวี’ อาจ ‘ลดลง 50%’ เมื่อใช้งานไป 1 ปี แต่ถือว่า ‘คุ้มสุด’ เมื่อใช้ระยะยาว https://positioningmag.com/1485151 Mon, 05 Aug 2024 07:43:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485151 จะเห็นว่า รถอีวี ในไทยมีการ ดัมพ์ราคา กันหนักมากช่วงนี้ จนผู้บริโภคที่ซื้อไปตั้งแต่แรกเกิดอาการ เซ็ง ไปตาม ๆ กัน ขณะที่ผู้บริโภคใหม่ ๆ ก็มีท่าทีว่าจะ รอดูสถานการณ์ไปก่อน ไม่รีบร้อนซื้อ โดย SCB EIC (SCB Economic Intelligence Center) ก็ได้ออกมาประเมินถึงผลกระทบและความคุ้มในการเลือกใช้รถในปัจจุบัน

คนไทยตัดสินใจนานขึ้น

พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถของคนไทยเปลี่ยนไป โดยมีความ ซับซ้อน ใช้เวลาตัดสินใจนาน และต้องการข้อมูลที่รอบด้าน มากยิ่งขึ้น พฤติกรรมการซื้อรถของคนไทยมีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากอดีตใน 3 ประเด็น ได้แก่

  • อายุการใช้งานรถยนต์ยาวนานขึ้นเป็น 10 ปี จากเดิมที่มักเปลี่ยนรถกันทุก ๆ 7 ปี
  • ข้อมูลค่าใช้จ่ายจากการใช้งานรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน ค่าซ่อม ค่าเสื่อม และเบี้ยประกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อใกล้เคียงกับการลดราคาขาย
  • รถยนต์ไฟฟ้าทั้ง BEV และ Hybrid กลายเป็นตัวเลือกหลักของตลาดรถยนต์นั่งนับตั้งปี 2023 เป็นต้นมา และคาดว่าจะครองส่วนแบ่งยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ภาพจาก Unsplash

ทิศทางการปรับลดราคาขายรถยนต์

สงครามราคาในตลาดรถยนต์ไทยจะยังทวีความรุนแรง แต่ประสิทธิผลของกลยุทธ์ดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง เพราะผู้บริโภคเกิดความเคยชินและหันมารอมากขึ้น SCB EIC ประเมินว่า การปรับลดราคาขายรถยนต์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้าง โดย Segment ที่คาดว่าจะมีความรุนแรงสูงสุด คือ

  • รถเก๋งขนาดเล็ก หรือ Eco car
  • รถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากประเทศจีนที่เปิดตัวไปแล้วในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา
  • กลุ่มรถยนต์ราคาระหว่าง 5 แสน 1 ล้านบาท จะมีตัวเลือกในตลาดเพิ่มขึ้นมาก

ผลพวงจากการจัดโปรโมชันที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถใหม่ออกไป เพื่อรอให้ราคาปรับลดลงอีกในอนาคต

มูลค่ารถยนต์อีวีอาจลดเกือบ

มูลค่าคงเหลือของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง BEV (ใช้ไฟฟ้า 100%) และ Hybrid มีแนวโน้ม ลดลงมากถึงเกือบ 50% จากราคาขาย เมื่อใช้งานไปเพียงแค่ 1 ปี เท่านั้น มูลค่าซากของรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อใช้งานไปเพียง 1 ปี จะเสื่อมค่าลงมากถึง 50% ขณะที่ รถสันดาปสามารถรักษามูลค่าในปีแรกไว้ได้ถึง 67% ของราคารถใหม่ โดยปัจจัยที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมค่าลงมากนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ราคาขายที่ถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลของภาคธุรกิจต่ออุปสงค์ของ EV ในตลาดรถยนต์มือ 2

รถอีวีถูกกว่าหมด ยกเว้นประกัน

ค่าใช้จ่ายผันแปรจากการใช้งานรถ BEV ต่ำกว่ารถสันดาป และ Hybrid ค่อนข้างมาก แต่ต้องจับตาต้นทุนแฝงจากปัญหาความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ การใช้งานรถ BEV ก่อให้เกิดรายจ่ายจากการชาร์จไฟฟ้าเพียง 62 บาท/วัน ต่ำกว่าค่าเชื้อเพลิงของรถสันดาป กว่าเท่าตัว ด้านค่าใช้จ่ายการ เช็กระยะ ซึ่งถูกกว่ารถประเภทอื่น ๆ ถึง 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาต้นทุนแฝงอื่น ๆ เช่น ค่าเสียโอกาสจากการรอชาร์จไฟเนื่องจากสถานีชาร์จสาธารณะมีไม่เพียงพอ รวมถึงค่าเดินทางและระยะเวลาซ่อมที่ยาวนาน เพราะอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศมีจำกัด รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงและอู่ซ่อมรายย่อยก็มีน้อยและกระจายตัวไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

แม้ค่าพลังงานและการเช็กระยะจะถูกกว่า แต่ เบี้ยประกัน รถ BEV พงกว่ารถสันดาป และ Hybrid กว่าเท่าตัว เนื่องจากราคาขายที่ถูกปรับลดลงต่อเนื่อง รวมถึงระบบนิเวศน์ EV ในประเทศไทยยังพัฒนาได้ไม่เท่าทันกับความต้องการของตลาด ปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เบี้ยประกันรถ BEV ผันผวนและยังอยู่ในระดับสูง คือ การคำนวณทุนประกันทำได้ยาก เพราะ

  • เหล่าผู้ผลิตมีการปรับลดราคาขายลงอย่างต่อเนื่อง
  • ราคาอะไหล่ต่อชิ้นค่อนข้างแพง
  • อู่ซ่อมรายย่อยมีน้อย
  • บริษัทรับทำประกันภัย EV ก็มีจำกัด

ดังนั้น เบี้ยประกันรถ EV จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง แม้จะทยอยปรับลดลงบ้างตามทิศทางการพัฒนาระบบนิเวศ EV ของไทยที่กำลังมีความพร้อมยิ่งขึ้น ทั้งจากการลงทุนขยายอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศ รวมถึงการเร่งพัฒนาธุรกิจอู่ซ่อมและฝีมือแรงงานให้ตอบโจทย์

อีวีคุ้มสุดในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม รถ BEV เป็นตัวเลือกการขับขี่ที่ตอบโจทย์ความ ประหยัดในระยะยาว ได้ดีที่สุด แม้ว่าการใช้งานช่วง 2 – 3 ปีแรกจะมีต้นทุนการถือครองที่สูงกว่ารถประเภทอื่น ๆ เนื่องจากภาระเบี้ยประกันและค่าเสื่อมที่อยู่ในระดับสูง การเปรียบเทียบความคุ้มค่าตลอดอายุการใช้งาน 10 ปี ถือว่าภาระรายจ่ายของ รถสันดาปสูงที่สุด ขณะที่รถไฮบริดจะมีต้นทุนการใช้งานต่ำมากในระยะสั้น จากนั้นจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามภาระค่าเชื้อเพลิง สำหรับรถ BEV ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าในระยะยาว เพราะค่าใช้จ่ายการชาร์จไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุงที่อยู่ในระดับต่ำสามารถชดเชยภาระเบี้ยประกันที่โดยรวมยังแพงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น ๆ

Source

]]>
1485151
รวมกันเราอยู่! “Honda – Nissan” ร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ “รถอีวี” จุดหมายเพื่อสู้ในตลาด “จีน” https://positioningmag.com/1484988 Fri, 02 Aug 2024 08:23:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1484988 “Honda Motor” และ “Nissan Motor” ประกาศความร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ “รถอีวี” เช่น ซอฟต์แวร์ แบตเตอรี เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาของทั้งสองฝ่ายและทำให้แข่งขันในตลาดต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ “จีน” ซึ่งยอดขายของทั้งสองบริษัทกำลังตกต่ำ

ขณะที่ “Mitsubishi Motors” ซึ่งมีดีลความร่วมมือกับ “Nissan” มาตั้งแต่ปี 2016 จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์รวม 3 บริษัท ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการเจรจาเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนระหว่าง Honda และ Nissan หรือไม่ โทชิฮิโร มิเบะ ประธานบริษัท Honda กล่าวว่า “เรายังไม่ได้หารือเกี่ยวกับการเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนในขณะนี้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้”

เมื่อร่วมกัน 3 บริษัทแล้วจะทำให้ต้นทุนการพัฒนาลดลง และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งญี่ปุ่นด้วยกันได้ เพราะก่อนหน้านี้มี 4 บริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ Toyota Motor, Subaru, Suzuki Motor และ Mazda Motor ที่ประกาศสร้างกิจการร่วมค้า ผนึกกำลังกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปแล้ว

“แม้ว่าเราจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่เรามีความท้าทายเหมือนกัน” มาโกโตะ อูชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Nissan กล่าวในงานแถลงข่าวร่วมกับมิเบะ “ประเด็นหลักของความร่วมมือของเราจะเป็นด้านซอฟต์แวร์”

Honda
Honda Ye GT Concept รถอีวีของแบรนด์ที่จะเข้าทำตลาดในจีนเท่านั้น

บริษัทรถญี่ปุ่นนั้นกำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดใน “จีน” อย่างต่อเนื่อง หลังจากรถยนต์ไฟฟ้าจีน เช่น BYD ได้รับความนิยมสูงขึ้น และกินส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มรถยนต์พรีเมียม เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยอดขายของ Honda ในจีนตกลงถึง 40% และของ Nissan ก็ตกลง 27% เมื่อสัปดาห์ก่อน Honda เพิ่งจะตัดสินใจลดการผลิตรถสันดาปในฐานผลิตที่จีนลง 19% ส่วน Mitsubishi Motors ถึงกับถอนฐานผลิตออกจากจีนไปแล้วตั้งแต่ปีก่อน

“Honda และ Nissan กำลังเผชิญกับความยากลำบากในจีน และพวกเขาจะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นถึงจะยังอยู่ในตลาดที่นั่นได้” ทัตซูโอะ โยชิดะ นักวิเคราะห์ยานยนต์อาวุโสจาก Bloomberg Intelligence กล่าว ดังนั้น การเป็นพันธมิตรนี้จึง “มีเหตุผล”

อูชิตะ ซีอีโอของ Nissan กล่าวด้วยว่า แบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าต้องใช้การลงทุนมหาศาล ดังนั้น การที่บริษัทรถตกลงร่วมมือกันพัฒนาในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการสร้างความมั่นใจมากขึ้นว่าจะได้ผลตอบแทนจากการทุ่มทรัพยากรลงไป

Nissan
Nissan LEAF เจนเนอเรชันใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2025

สำหรับผลงานในช่วงครึ่งปีแรก 2024 ทั้ง 3 บริษัทในความร่วมมือนี้คือ Honda, Nissan และ Mitsubishi สร้างยอดขายรถยนต์ไป 4 ล้านคันทั่วโลก ซึ่งยังน้อยกว่า Toyota แค่บริษัทเดียวที่สามารถขายได้ 5.2 ล้านคัน

การต่อสู้ของบริษัทรถญี่ปุ่นในตลาดโลกนั้นมีแรงหนุนจากรัฐบาลด้วย โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่ารถญี่ปุ่นจะต้องได้ส่วนแบ่งตลาด 30% ในตลาดโลกภายในปี 2030

“รัฐบาลและบริษัทรถญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติแล้วว่า ญี่ปุ่นจะไม่ชนะในตลาดถ้าสถานะยังเป็นแบบนี้ต่อไป” ทาเครุ อิโตะ ผู้อำนวยการที่สำนักงานการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการเคลื่อนที่ของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมกล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้ว

Source

]]>
1484988