ระบบคลาวด์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Jul 2022 08:10:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โนเกีย” เดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 https://positioningmag.com/1391359 Tue, 05 Jul 2022 07:55:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391359 ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดบนเส้นทางสู่อุตสาหกรรม 4.0 นับตั้งแต่การประกาศแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาลเพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านหุ่นยนต์, การใช้ระบบออโตเมชันในโรงงาน, การบิน, โลจิสติกส์และการเกษตร

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะในภูมิภาคด้วยการนําเทคโนโลยี 5G มาใช้ครั้งแรกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยังพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโซลูชันเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล

ในฐานะที่โนเกียเป็นผู้นําในด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรม (IIoT) และเครือข่ายสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 บริษัทจึงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบโซลูชันสำหรับองค์กรและส่งเสริมเมืองอัจฉริยะและระบบนิเวศอุตสาหกรรมของประเทศไทยตามที่ได้บรรยายในงานสัมมนาครั้งนี้

โนเกียให้คำมั่นที่จะนำเสนอโซลูชันที่ออกแบบตามวัตถุประสงค์สําหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรม 4.0 และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ตั้งแต่โซลูชัน Nokia Digital Automation Cloud (DAC) ไปจนถึง Routing Silicon รุ่นที่ห้าบริษัทนำเสนอเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถเปลี่ยนอุตสาหกรรมไปสู่ระบบปฏิบัติการ Ready 4.0 Anything operations ซึ่งสนับสนุนโดยภารกิจ ธุรกิจ และเครือข่ายที่สำคัญทางสังคมของโนเกีย

โนเกียยังเผยด้วยว่าการเชื่อมต่อไร้สายในเครือข่ายแบบส่วนตัวได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งสําคัญในการขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งยังช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถหลอมรวมเข้ากับกระบวนการดิจิทัลโดยการเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งเครื่องจักรเซ็นเซอร์และพนักงานเคลื่อนที่ด้วยวิธีที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงได้ ปลอดภัยและน่าเชื่อถือที่สุด ด้วยการให้บริการโซลูชันสำหรับภารกิจสำคัญให้แก่ลูกค้าองค์กร

ฐิติพันธุ์ วรกุลลัฎฐานีย์ ผู้บริหารฝ่ายขายองค์กร (Enterprise Sales Leader) บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

“เทคโนโลยีที่มีความแข็งแกร่งที่พิสูจน์แล้วอย่าง 5G และการเชื่อมต่อในเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวช่วยในการสร้างระบบต้นแบบเมืองที่มีความอัจฉริยะ และมีบูรณาการที่ช่วยวางรากฐานสำหรับเมืองแห่งอนาคตได้ เมื่อประเทศไทยยังคงเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่องค์กรในประเทศไทยจะเร่งผลักดันการยอมรับเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงการเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นดิจิทัลและกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย”

โนเกียได้ดำเนินการจัดการเครือข่ายสำหรับภารกิจสำคัญให้แก่ลูกค้าองค์กรกว่า 2,000 ราย ที่อยู่ในธุรกิจการขนส่ง, พลังงาน, องค์กรขนาดใหญ่, ภาคการผลิต, ระบบ Webscale และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความเชี่ยวชาญไปสู่ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวอีกกว่า 450 แห่งทั่วโลกในหลากหลายภาคส่วน และได้รับการอ้างอิงโดยนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจํานวนมากในฐานะผู้ให้บริการการเชื่อมต่อไร้สายแบบส่วนตัว ชั้นนําของโลก

ระบบขนส่งรางกับระบบ 5G

GSM-R คือระบบเครือข่าย 2G เดิม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางรางในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นเหตุที่ 5G คืออนาคตของอุตสาหกรรมนี้เป็นเพราะมันจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของการนำไปใช้งาน อุปสงค์ที่ต้องการใช้งานในอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง อาทิ เทคโนโลยีออโตเมชั่นโรโบติกส์ และปัญญาประดิษฐ์ ที่จำเป็นต้องอาศัยแบนด์วิดท์ที่เร็วขึ้น และกว้างขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล

โนเกียได้ให้การสนับสนุนลูกค้าเสมอด้วยการให้ข้อมูล องค์ความรู้ และการสนับสนุนด้านเทคนิค สนับสนุนด้วยการเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนเครือข่ายการขนส่งทางรางที่สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับของภาครัฐและยังเป็นมาตรฐานสากล

ในประเทศไทยการสนับสนุน และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางส่วนใหญ่จะมาจากรัฐบาล ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลมีการลงทุนมากกว่า 4 ล้านล้านบาทในโครงการระบบขนส่งทางราง อากาศ และทะเล นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนที่จะพัฒนาการเดินรถไฟในจังหวัดหนองคายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศไทย และลาวที่สามารถต่อขยายไปสู่ประเทศจีนได้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทางการค้าให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งหน่วยงานภาคเอกชนยังร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางในประเทศไทยอีกด้วย

ความท้าทายส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่โนเกียก็พร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีใช้สำหรับระบบขนส่งทางรางเท่านั้น แต่ยังสามารถให้บริการระบบขนส่งอื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นใน สนามบิน ท่าเรือ โรงงานอัจฉริยะ ที่รวมถึงการทำเหมืองแร่ และหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ มีโซลูชันที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น รถไฟความเร็วสูง เพราะเป็นระบบขนส่งที่มีความรวดเร็ว สะดวกสบาย และมีความปลอดภัย หากประเทศไทยมีโครงข่ายระบบขนส่งทางรางความเร็วสูง คนก็จะขับรถยนต์ส่วนตัวน้อยลงซึ่งจะช่วยลดการปล่อยพลังงานได้ด้วย มีหลายแง่มุมทีเดียวที่โนเกียยินดีจะให้การสนับสนุนรัฐบาล

]]>
1391359
เจาะอินไซต์การใช้ “คลาวด์” ในองค์กรทั่วโลกเเละไทย ปี 2019 “ไฮบริดคลาวด์” กำลังมา https://positioningmag.com/1263015 Tue, 04 Feb 2020 14:41:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263015 ธุรกิจคลาวด์กำลังบูมในยุคเเห่งข้อมูล ส่วนผู้บริโภครุ่นใหม่ก็ต้องการความรวดเร็วทันใจ ทุกระบบต้องเชื่อมต่อกัน เหล่าธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทัน องค์กรต่างๆ กำลังมองหาวิธีจัดการกับข้อมูลที่กระจายในหลายที่เเละมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

นูทานิคซ์ (Nutanix) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง เผยผลสำรวจ การใช้งานคลาวด์องค์กร (Enterprise Cloud Index : ECI) ทั่วโลกเเละในประเทศไทย ครั้งที่ 2 พร้อมผลการวิจัยในการเลือกใช้ไพรเวทคลาวด์ ไฮบริดคลาวด์และพับลิคคลาวด์สำหรับองค์กร

ผลสำรวจนี้จัดทำโดย “แวนสัน บอร์น” ผู้ทำวิจัยในนามของนูทานิคซ์ ทำการวิจัยเพื่อจะได้ทราบถึงสถานะของการใช้คลาวด์ในองค์กรทั่วโลกและแผนการใช้งาน ซึ่งได้ทำการสอบถามผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,650 คนจาก 24 ประเทศทั่วโลก จากอุตสาหกรรมหลายประเภท หลายขนาดธุรกิจในภูมิภาคอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก

จากรายงาน พบว่าองค์กรมีการวางแผนที่จะโยกการลงทุนไปสู่สถาปัตยกรรมไฮบริดคลาวด์อย่างจริงจัง รวมถึงแผนการปรับใช้ไฮบริดคลาวด์ อย่างมีนัยสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า จากการสำรวจปี 2019 แสดงให้เห็นว่า 85%
ของผู้ตอบเลือกไฮบริดคลาวด์เพื่อใช้ในการทำงานด้านไอทีที่สมบูรณ์แบบ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบสำรวจกว่า 73% ระบุว่าได้ย้ายแอปพลิเคชันของตัวเองกลับจากพับลิกคลาวด์มายัง on-premise ด้วยเหตุผลสำคัญเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” ที่ควบคุมไม่ได้หรือมากเกินกว่าที่ประเมินไว้ และ 60% ระบุว่าความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการใช้งานคลาวด์

สรุปข้อมูลหลักจากการสำรวจ “การใช้งานคลาวด์องค์กรทั่วโลก ประจำปี 2562” โดยนูทานิกซ์ ดังนี้

  • แอปพลิเคชันต่าง ๆ กำลังถูกโยกย้ายจากพับลิคคลาวด์ กลับไปไว้ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร

เกือบสามในสี่ (73%) ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่า พวกเขากำลังย้ายแอปพลิเคชันบางตัวออกจากพับลิค คลาวด์ไปไว้ยังดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร โดย 22% ของผู้ใช้เหล่านั้นกำลังย้ายแอปพลิเคชันมากกว่าห้าตัวขึ้นไป
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ตอกย้ำว่าองค์กรจำเป็นต้องใช้คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นของไฮบริดคลาวด์เพื่อทำให้องค์กรสามารถปรับใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

  • ความปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อกลยุทธ์การใช้คลาวด์ในอนาคตขององค์กร 

กว่าครึ่ง (60%) ของผู้ตอบแบบสอบถามปี 2019 กล่าวว่า สถานะด้านความปลอดภัยของคลาวด์จะมีผลกระทบอย่างมากที่สุดต่อแผนการเลือกใช้คลาวด์ในอนาคต ในทำนองเดียวกันความปลอดภัยของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อบังคับถือเป็นตัวแปรอันดับต้น ๆ (26%) ในการตัดสินใจเลือกใช้งานขององค์กร

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเห็นว่า ในบรรดารูปแบบการปฏิบัติการด้านไอทีทั้งหมด ไฮบริดคลาวด์เป็นระบบที่ปลอดภัยที่สุด

ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งในสี่ (28%) ระบุว่าไฮบริดเป็นรูปแบบที่ปลอดภัยที่สุด ซึ่งนับเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เลือกไพรเวทคลาวด์/ระบบปิดแบบเดิมเพียงอย่างเดียว (21%) และเป็นจำนวนมากกว่าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่เลือกแบบดั้งเดิมที่เป็นการเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร เพียงอย่างเดียว (13%) เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะองค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกระบบคลาวด์ที่เหมาะสมกับความต้องการด้านความปลอดภัยของตน

  • ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบหนึ่งในสี่ (23.5%) ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบัน

บริษัทจำนวนมากยังตามไม่ทันกับการใช้คลาวด์ในองค์กร อย่างไรก็ตาม แผนงานต่าง ๆ ของผู้ตอบแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่า ในระยะเวลาหนึ่งปี จำนวนองค์กรที่ไม่มีการใช้คลาวด์จะลดลงไปอยู่ที่ 6.5% และในระยะเวลาสองปี จะลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 3%

ทั้งนี้รายงานพบว่าจำนวนองค์กรที่ไม่มีการใช้คลาวด์ในทวีปอเมริกาลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 21% เมื่อเทียบกับแถบยุโรป-ตะวันออกกลาง-แอฟริกา (EMEA) ซึ่งลดลง 25% และเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ลดลง 24%

  • องค์กรต่าง ๆ กำลังพยายามให้คลาวด์คอมพิวติ้งเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบดิจิทัล

ผู้ตอบแบบสอบถามปีนี้เกือบสามในสี่ (72%) กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบคลาวด์ในองค์กร ส่วนอีก 64% เห็นว่าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กรของพวกเขา

ภาพรวมตลาดคลาวด์ทั่วโลก จากรายงานของ Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษา ระบุว่า สหรัฐอเมริกายังเป็นผู้นำในการเปลี่ยนระบบจัดเก็บข้อมูลมาไว้บนคลาวด์มาตั้งแต่ปี 2015 วัดจากสัดส่วนงบสำหรับบริการคลาวด์จะสูงถึง 14% ของงบไอทีทั้งหมดในบริษัท

ขณะที่ประเทศอย่าง แคนาดา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ บราซิล และออสเตรเลีย จะใช้งบคลาวด์สัดส่วน 10-11.5%

ประเด็นที่น่าสนใจคือ “ญี่ปุ่น” ที่เป็นประเทศพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย ลำดับต้นๆ ของโลก กลับ “ไม่นิยมใช้ระบบคลาวด์” โดยมีการใช้งบคลาวด์สัดส่วนเพียง 4.4% ของงบไอที และการเติบโตของงบที่ใช้กับคลาวด์ในญี่ปุ่นยังเติบโตน้อยกว่า 20% ในรอบ 5 ปี (2017-2022) สวนทางกับประเทศจีนซึ่งปัจจุบันใช้งบคลาวด์สัดส่วน 8% ของงบไอทีรวม แต่มีการเติบโตเร็วที่ 35% ในรอบ 5 ปี

ด้านองค์กรธุรกิจไทยยังไว้ใจการใช้งานศูนย์ข้อมูลดั้งเดิมอยู่ เเละมีลักษณะการใช้คลาวด์เเบบ “ใช้พับลิคคลาวด์” ก่อน จากนั้นจึงย้ายไปเป็นระบบไฮบริดคลาวด์ในภายหลัง

สรุปข้อมูลหลักจากการสำรวจ “การใช้งานคลาวด์องค์กรในไทย ประจำปี 2019” ดังนี้ 

  • องค์กรเเละภาคธุรกิจต่างๆ ในไทย ยังใช้งานเเอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่บนพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์เเบบเดิม

ผู้ตอบเเบบสอบถามกว่า 59 % ระบุว่าในปัจจุบันศูนย์ข้อมูลของตนไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ ตัวเลขดังกล่าวค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 52.79%

  • ประเทศไทยยังคงใช้งานระบบไพรเวทคลาวด์น้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ

ปัจจุบันมีเพียง 29% ของธุรกิจในไทยที่ใช้ระบบไพรเวทคลาวด์ เมื่อเทียบกับทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 52% เเละในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ 53.57% ทั้งนี้ใน 3-5 ปีข้างหน้า ธุรกิจในประเทศไทย ยังวางเเผนจะลดการใช้ไพรเวทคลาวด์ให้เหลือเพียง 12%

  • บริษัทในไทยไม่มากนักที่เชื่อว่า ไฮบริดคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับการใช้เเอปพลิเคชั่นที่สุด

โดย 76% ผู้ตอบเเบบสำรวจ เห็นด้วยเเละเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ไฮบริดคลาวด์เป็นรูปเเบบไอทีที่เหมาะสมกับองค์กรของตน ซึ่งตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 85.1% เเละในเอเชียเเปซิฟิก 84.34 % องค์กรส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคยังกล่าวว่า พวกเขาไม่พบโซลูชั่นที่เหมาะสมในการสร้างเเละจัดการสภาพเเวดล้อมระบบ ไฮบริดคลาวด์ จากผู้จัดจำหน่ายไอทีของตนในปัจจุบัน

  • ความกังวล 3 อันดับเเรกขององค์กรไทย คือ ความปลอดภัย การขาดเเคลนบุคลากรไอที เเละเเนวปฏิบัติด้านกฏระเบียบ

เป็นไปเเนวทางเดียวกันกับเเนวโน้มทั่วโลก โดยปัจจัยเเรกที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบคลาวด์ในองค์กรคือ การรักษาความปลอดภัย ส่วน 61% ของบริษัทส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่าบริษัทของตนยังขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เเละ 60% เชื่อว่ากฎรเบียบของท้องถิ่น เช่น ข้อกำหนดในการเก็บข้อมูล จะส่งผลกระทบสำคัญต่อเเผนการใช้ระบบคลาวด์

ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการนูทานิคซ์ (Nutanix) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในประเทศไทยธุรกิจยังคงใช้แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่บนโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมกว่า 59% ที่ยังไม่ใช้ระบบคลาวด์ นั่นคือ “โอกาส” การพัฒนาของระบบคลาวด์ในไทย

เขาอธิบายต่อว่า ความยืดหยุ่นเป็นหัวใจสำคัญในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีเเนวโน้มที่องค์กรจะไปเน้นที่มัลติคลาวด์และไฮบริดคลาวด์แทน ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของตลาด เช่น ช่วงเทศกาลช็อปปิงออนไลน์ 11.11 ที่มีความต้องการการประมูลผลระดับสูง นอกจากนี้ยังมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง

“ตอนนี้ลูกค้าของนูทานิคซ์ในไทย ตอนนี้มีราว 300 ราย เป็นกลุ่มลูกค้าที่เเตกต่างจากเมื่อ 6 ปีก่อนมาก ซึ่งเดิมจะจำกัดอยู่ในเเวดวงบริษัทที่ต้องใช้เทคโนโลยีเท่านั้น เเละตอนนั้นมีหลายบริษัทยังไม่เข้าใจการใช้คลาวด์ เเต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ กลุ่มธุรกิจหันมาใช้บริการ เพราะต้องการอำนวยความสะดวก ความเร็วเเละปลอดภัยให้ลูกค้า อย่างธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก รวมไปถึงโรงพยาบาล”

เขายกตัวอย่างถึง “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์” ที่ใช้ระบบ Private Cloud มาช่วยให้เเพทย์เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้จากอุปกรณ์ของตนเองจากทุกที่เเละทุกเวลา ด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อนเเพทย์จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลทางการเเพทบ์ได้เเม่ไม่ได้หรือในโรงพยาบาล หรือเเม้กระทั่งกรณีอยู่ต่างประเทศ เป็นระบบที่เริ่มลงทุนได้ที่ละน้อยตามงบประมาณ ถ่ายโอนข้อมูลเป็นรายปีได้

สำหรับกลยุทธ์ของ นูทานิคซ์ใน ปี 2020 นี้ต้องการจะเจาะกลุ่มลูกค้าขนาดกลางเเละขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้า เเบ่งเป็นธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรชราว 60% เเละธุรกิจขนาดกลาง 40% โดยมองว่า Digital Transformation เเละพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจคลาวด์เติบโตต่อไป

 

FYI

  • ไพรเวทคลาวด์ คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีระบบคลาวด์ที่บริษัทเอกชนสร้างขึ้นมาใช้ภายในบริษัททำงานในศูนย์ข้อมูลขององค์กรหรือโฮสต์ โดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 เป็นการเฉพาะสำหรับองค์กรนั้นๆ
  • พับลิคคลาวด์ คือ โครงสร้างพื้นฐาน as-a-service (IaaS) และแพลตฟอร์ม as-a-service (PaaS)โดยผู้ให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะ เช่น Microsoft Azure , Amazon Web services เเละ Google Clould
  • ฮบริดคลาวด์ คือการใช้งานระบบไพรเวทเเละพับลิคคลาวด์ร่วมกัน โดยมีการกำหนดขอบเขตการทำงาน
    ร่วมกันอย่างชัดเจน
  • มัลติคลาวด์ คือ สภาพเเวดล้อมด้านไอทีที่ใช้บริการระบบพับลิคคลาวด์หลายเเห่งเเละมีการกำหนดขอบเขตการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
  • ศูนย์ข้อมูลเเบบดั้งเดิม คือ ระบบประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล เเละอุปกรณ์เครือข่ายติดตั้งอยู่ในสถานที่หรือองค์กรเพื่อจุดประสงค์การใช้งานเเอปพลิเคชั่น การรวบรวมเเละจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์

 

 

 

]]>
1263015