นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้ามาตรการเยียวยา 5,000 บาท หลังจากการตรวจสอบและคัดกรองตามหลักเกณฑ์แล้วพบว่า ในรอบที่ 1 ได้มีการตรวจสอบคัดกรองไปแล้ว 7.99 ล้านราย โดยจากจำนวนนี้สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
ส่วนกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ถึงการไม่ผ่านเกณฑ์เนื่องจากสาเหตุต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นเกษตรกรกระทรวงการคลัง ขอชี้แจงว่า เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกปีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการขึ้นทะเบียนจะเป็นราย “ครอบครัว” โดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนมาขึ้นทะเบียนและในการกรอกรายละเอียดสมาชิกในครอบครัว จะให้ระบุด้วยว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คน เป็นใครบ้าง และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมมีกี่คนคือใครบ้าง ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรชุดเดียวกันนี้ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นค่าเพาะปลูก ค่าเก็บเกี่ยว ค่าปัจจัยการผลิต เป็นต้น
ดังนั้น ในการคัดกรองของมาตรการเยียวยา 5,000 บาท กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรไม่ผ่านเกณฑ์ และจะมีการดูแลโดยมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกรโดยเฉพาะที่จะออกมาเร็วๆ นี้
นอกจากนี้ เมื่อปิดรับลงทะเบียนและได้คัดกรองผู้ลงทะเบียนครบถ้วนทั้งหมดแล้วซึ่งขณะนี้มีประมาณ 27 ล้านราย จะเปิดให้มีช่องทางการอุทธรณ์ผลการพิจารณาสำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการอุทธรณ์ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือนเช่นเดิม เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์
โฆษกกระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียนยังคงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยจะทยอยแจ้งผลการคัดกรองและโอนเงินเยียวยาอย่างต่อเนื่องตลอดทุกวันทำการ
โดยในรอบที่ 2 จะเริ่มทยอยส่ง SMS แจ้งผลและโอนเงินเยียวยาในช่วงวันที่ 13-14 เมษายน 2563 ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 6 แสนราย โดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองโดยเร็วที่สุด เพื่อให้คนทำงานที่เดือดร้อนจากสถานการณ์ Covid-19 ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันการณ์และตรงตัว
]]>