ลงทุนไอที – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 22 Jan 2023 08:22:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คาดเม็ดเงินลงทุน ‘ไอที’ ไทยยังเติบโต 4.2% ‘ซอฟต์แวร์-ไอทีเซอร์วิส’ ขึ้นแท่น 2 กลุ่มเติบโตสูงสุด https://positioningmag.com/1416182 Sun, 22 Jan 2023 01:39:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416182 การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่ม 2.4% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่ารวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก 5.1% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของไตรมาสที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อยังตัดกำลังซื้อของผู้บริโภคและส่งผลให้การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอทีเติบโตลดลง แต่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายไอทีขององค์กรในภาพรวมจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจกำลังเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อกำลังส่งผลร้ายแรงต่อตลาดผู้บริโภค และมีส่วนทำให้ธุรกิจแบบ B2C จำนวนมากเลิกจ้างพนักงาน ขณะที่ภาคองค์กรจะมียอดการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นกับโครงการดิจิทัลต่าง ๆ แม้เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในช่วงชะลอตัวก็ตาม

“เศรษฐกิจที่ผันผวนได้เปลี่ยนบริบทการตัดสินใจของธุรกิจและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารไอทีเกิดความลังเลมากขึ้นและตัดสินใจล่าช้า หรือต้องจัดลำดับความสำคัญของงานกันใหม่ ซึ่งเราได้เห็นธุรกิจแบบ B2B ได้ดำเนินการทำนองนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะบริษัทที่เน้นลงทุนเกินตัวไปกับการสร้างการเติบโต อย่างไรก็ตามงบประมาณด้านไอทีไม่ใช่ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และการใช้จ่ายด้านไอทียังไม่ได้อยู่ในช่วงภาวะถดถอย”

การ์ทเนอร์คาดว่าในปีนี้ (2566) กลุ่มซอฟต์แวร์ (Software) และ บริการไอที (IT Services) จะเติบโตสูงสุดที่ 9.3% และ 5.5% ตามลำดับ โดย กลุ่มอุปกรณ์ไอที (Devices) คาดว่าจะ เติบโตลดลงถึง 5.1% เนื่องจากทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจขยายรอบอายุการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ ออกไป

“ช่วงการระบาดใหญ่ พนักงานและผู้บริโภคต่างเปลี่ยนอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานและการศึกษาแบบรีโมทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแท็บเล็ต แล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากไม่มีเหตุผลอันจำเป็นในการอัปเกรด ผู้บริโภคจะยังใช้อุปกรณ์เดิมต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าและอุปกรณ์ไอที”

สำหรับยอดการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะสูงแตะ 9.3 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 4.2% จากปี 2565 โดยใน กลุ่มซอฟต์แวร์และกลุ่มบริการด้านไอทีจะเติบโตระดับเลขสองหลัก เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ เพิ่มการใช้จ่ายกับโครงการดิจิทัล

“ภาวะเงินเฟ้อ การขาดแคลนทักษะ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศไทย ทำให้ผู้บริหารด้านไอทีเกิดการลังเล ชะลอการตัดสินใจ และต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่ แม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจเหล่านี้เกิดขึ้น แต่เรายังเห็นองค์กรท้องถิ่นมียอดการใช้จ่ายในโครงการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น”

ตลาดแรงงานส่งผลต่อการลงทุนไอที

ตำแหน่งงานว่างมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส และในหลายประเทศมีอัตราตำแหน่งงานที่เปิดรับต่ออัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยภาวะการแข่งขันแย่งชิงบุคลากรที่มีความสามารถจะเป็นสิ่งที่ท้าทายการทำงานของผู้บริหารไอที สำหรับการว่าจ้างพนักงานไอทีที่มีทักษะ และยังจำกัดการเติบโตของบริษัทที่พยายามขยายขนาดโดยปราศจากทีมงานที่มีทักษะที่จำเป็น

การใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ยังเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตลาดบริการด้านไอที เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องการดึงพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีจากภายนอกเพื่องานวางระบบและสนับสนุนการทำงานในองค์กร ตัวอย่างเช่น มูลค่าใช้จ่ายด้านบริการให้คำปรึกษาคาดว่าจะสูงแตะระดับ 264.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 6.7% จากปี 2565

“ผู้บริหารไอทีกำลังประสบความล้มเหลวในด้านการแข่งขันชิงตัวพนักงานที่มีทักษะ โดยยอดการใช้จ่ายบริการทางด้านไอทีนั้นกำลังเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าบริการภายในอื่น ๆ ขององค์กรในทุกอุตสาหกรรม พนักงานไอทีระดับหัวกะทิกำลังโยกย้ายจากการเป็นผู้บริหารไอทีขององค์กรไปสู่การเป็นผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี (Technology and Service Providers หรือ TSPs) พร้อมมีความต้องการค่าจ้างเพิ่มขึ้น ขณะที่ก็มองหาโอกาสในการทำงานและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ”

]]>
1416182
เม็ดเงิน ‘ลงทุนไอที’ ปี 66 ทั่วโลกยังสดใส เหตุองค์กรเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรับมือพิษศก. https://positioningmag.com/1412517 Wed, 14 Dec 2022 12:43:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412517 แม้ตลาดสินค้าไอทีคอนซูมเมอร์จะชะลอตัวลง เพราะผู้บริโภครัดเข็มขัดไว้ใช้จ่ายกับของจำเป็น แต่ในส่วนของการลงทุนขององค์กรกลับสวนทาง โดยทั้งจากการคาดการณ์ของบริษัทวิจัย Gartner และ IDC ต่างก็มองว่าปี 2566 การลงทุนไอทีจะเติบโตราว 5-6%

Gartner ได้คาดการณ์การลงทุนด้านไอทีทั่วโลกปี 2566 จะเติบโตได้ 5.1% มีมูลค่ารวม 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนบริบทของการลงทุนด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ พยายามจะทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจดิจิทัล เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

“การใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรนั้นพิสูจน์ได้ว่าไม่ถดถอย เนื่องจาก CEO และ CFO จะลงทุนในโครงการริเริ่มในด้านธุรกิจดิจิทัล โดยองค์กรต่าง ๆ พยายามหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนในปัจจุบัน จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิเคราะห์ของ Gartner กล่าว

เช่นเดียวกับทาง IDC คาดว่าการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีหลัก ซอฟต์แวร์ธุรกิจ บริการระดับมืออาชีพเพื่อติดตั้งและใช้งานระบบ จะเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-6% แม้เศรษฐกิจจะถดถอยรุนแรงแต่องค์กรก็ต้องลงทุน โดย Rick Villars นักวิเคราะห์ของ IDC ให้เหตุผลว่า เพราะเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สวนทางกับสินค้าไอทีของคอนซูมเมอร์ ที่อัตราเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในเกือบทุกประเทศทั่วโลก โดยกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ยอดขายสินค้าไอทีชะลอตัวลงตั้งแต่ 65 ไปจนถึงปี 66 โดยคาดว่าปีนี้ตลาดจะติดลบถึง -8.4% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะลบ -0.6%

Source

]]>
1412517
‘ลงทุนไอที’ ปีหน้าฟื้นแน่! เทคโนโลยีทำงานระยะไกลจะเป็น ‘พระเอก’ ดันตลาด https://positioningmag.com/1304630 Thu, 05 Nov 2020 11:09:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304630 แม้สถานการณ์ COVID-19 จะทำให้องค์กรทั่วโลกต้องหันมาพึ่งพาไอทีมากขึ้น แต่ ‘การ์ทเนอร์’ ก็ยังคาดว่าเม็ดเงินการลงทุนด้านไอทีจะลดลง 5.4% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าคาดว่าจะกลับมาโตได้อีกครั้ง

ภายในงาน Gartner IT Symposium/Xpo Americas ที่จัดขึ้นในรูปแบบเวอร์ชวล เหล่านักวิเคราะห์ได้แสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มตลาดไอทีทั่วโลกในปี 2564 อาจจะแตะ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 4% โดยตลาดซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้งที่ 7.2%

เนื่องจากแรงกระตุ้นขององค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาส่งเสริมการทำงานจากระยะไกลของบุคลากรมากขึ้น รวมถึงบริการแบบเวอร์ชวล อาทิ บริการเรียนหรือบริการด้านสุขภาพทางไกล และการประยุกต์ใช้ระบบไฮเปอร์ออโตเมชั่น เพื่อให้องค์กรตอบรับความต้องการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดได้อย่างเหมาะสม

ส่วนตลาดดาต้าเซ็นเตอร์จะเติบโตสูงเป็นอันดับสองที่ 5.2% เนื่องจากไฮเปอร์สแคลเลอร์เร่งสร้างศูนย์ข้อมูล และองค์กรทั่วไปกลับมาดำเนินแผนการขยายศูนย์ข้อมูลตามปกติ โดยอนุญาตให้พนักงานกลับเข้าทำงานในสำนักงานได้เหมือนเดิม และแม้ว่ากิจกรรมบนคลาวด์จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่องค์กรเปลี่ยนไปใช้ระบบการทำงานผ่านระยะไกล หรือมีการใช้จ่ายของคลาวด์ระดับองค์กรในหลากหลายหมวดหมู่ แต่กิจกรรมเหล่านั้นจะยังไม่ส่งผลต่อรายได้ของผู้ผลิตต่างๆ จนถึงปี 2564

“ภาวะการใช้จ่ายชะลอตัวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ราวเมษายนจนถึงสิงหาคมปีนี้ รวมถึงโครงการต่าง ๆ ประเภท ‘ทดลองใช้’ ของผู้ให้บริการระบบคลาวด์กำลังจะเริ่มทำให้รายได้จากคลาวด์ขยับขึ้นจากปีนี้ และจะเติบโตยาวไปถึงปี 2565 เนื่องจากคลาวด์พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี” จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ด้วยความผันผวนของรายได้ทำให้ ‘เงินสด’ มีสถานะสำคัญสูงสุด ทำให้ตอนนี้เหล่าซีไอโอกำลังจัดลำดับความสำคัญว่างานไหนเหมาะสมกับการลงทุนด้วยต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้น แม้ว่าบริษัทต่าง ๆ มีงานด้านไอทีต้องทำมากขึ้นด้วยเงินให้ใช้ที่น้อยลง พวกเขาจึงเบรกในส่วนที่ไม่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือและเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเติบโตของตลาดอุปกรณ์และบริการด้านการสื่อสารลดลง

“จากนี้ต่อไปการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลจะไม่อยู่ภายใต้เหตุผลเรื่อง ROI แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาด ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศวันนี้ได้เป็นตัวกำหนดความอยู่รอดของธุรกิจมากกว่าแง่ของการเติบโต”

ทั้งนี้ คาดการณ์ภาพรวมมูลค่าการใช้จ่ายไอทีของประเทศไทยในปีหน้าจะพลิกกลับมาเติบโตที่ 5.6% จากในปีนี้คาดว่าจะลดลง 6.8%

]]>
1304630
ภาพรวมมูลค่าการใช้จ่ายด้านบริการไอทีทั่วโลกและไทยช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1296812 Mon, 14 Sep 2020 08:48:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296812 1296812 Work from Home ไม่ช่วย ลงทุนไอที -4.7% องค์กรเบรกซื้อ ‘อุปกรณ์’ และ ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ https://positioningmag.com/1296360 Thu, 10 Sep 2020 12:32:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296360 หลังจากเกิดการระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลกนั้น หลายองค์กรในช่วงแรกก็ได้เริ่มเพื่อปรับตัวต่อสถานการณ์ โดยให้พนักงานทำงานผ่านระบบทางไกล รวมถึงการศึกษาช่องทางดิจิทัลใหม่ ๆ และการกู้คืนความเชื่อมั่นกับนักลงทุนที่เกิดความไม่มั่นใจ แต่ถึงกระนั้น ‘การ์ทเนอร์’ (Gartner) ได้ระบุว่าเม็ดเงินลงทุนในไอทีทั่วโลกจะลดลง -4.7%

เจฟฟ์ เคซี่ย์ นักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ทเนอร์ ระบุว่า หลังการเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 5% ในปี 2562 แต่ผลจาก COVID-19 ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านบริการไอทีลดลง ไม่ว่าจะเป็น ขนาด เงื่อนไข และประเภทของดีลในสัญญาทางการค้าล้วนได้รับผลกระทบ เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่ ๆ ถูกตัดทอนหรือยกเลิกไป โดยคาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงราว -4.7% หรือคิดเป็นมูลค่า 514,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอที อาทิ ในหมวดพีซีและอุปกรณ์เคลื่อนที่จะเห็นการเติบโตลดลงมากที่สุด -12.1% ตามมาด้วยในหมวดของระบบดาต้าเซ็นเตอร์

COVID-19 ไม่เพียงเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีในแวดวงธนาคารและหลักทรัพย์นั้นเกิดความผันผวน แต่ยังเป็นตัวกำหนดวิธีการทำธุรกรรมของลูกค้าต่อสถาบันการเงินให้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บริษัทเหล่านี้ยังต้องเดินหน้าให้บริการและตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำและการสนับสนุนน้อยลงจากภาครัฐ”

การ์ทเนอร์คาดการณ์การใช้จ่ายด้านสินค้าและบริการทางเทคโนโลยี รวมไปถึงระบบไอทีสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กรของธุรกิจธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ของโลกนั้นจะกลับมาพลิกฟื้นในช่วงปี 2564 ด้วยอัตราการเติบโตที่ 6.6% ทั่วโลก และสำหรับประเทศไทยคาดว่าปีนี้มีเม็ดเงินลงทุนราว 48,900 ล้านบาท โดยลดลงจากปีที่แล้ว -1.7% และคาดว่าในปี 2564 จะกลับมาเติบโต 6.6% เช่นกัน

“ด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ที่ดีขึ้น ตอนนี้ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ต่างกำลังเร่งผลักดันและริเริ่มการใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น แชทบอทสื่อสารกับลูกค้า กระบวนการอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ (RPA) และโซลูชันการสร้างบัญชีแบบ end-to-end นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโครงสร้างองค์กรและขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการหันมาจัดลำดับความสำคัญของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในปีหน้า” นายเคซี่ย์ กล่าวเพิ่มเติม

การ์ทเนอร์เชื่อว่าความสามารถของการสร้างมูลค่าให้กับบริการและที่มาของรายได้แหล่งใหม่ ๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อสร้างความสำเร็จระยะยาวตามแผนการฟื้นฟูธุรกิจ COVID-19 ชี้ให้ธนาคารมองเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มบทบาทของการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลและขยายบริการให้ครอบคลุม จากผลสำรวจ 2020 Gartner CIO Survey ระบุว่าปัจจุบันธนาคารมีรายได้ที่มาจากบริการดิจิทัลเพียง 27% เท่านั้น

]]>
1296360
พิษ COVID-19 ฉุดเงินลงทุนไอทีไทยดิ่ง 9% ทั่วโลก 8% คาด 3 ปีถึงฟื้นเท่าปี 62 https://positioningmag.com/1278322 Wed, 13 May 2020 10:44:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278322 แม้ว่าวิกฤติ COVID-19 จะทำให้เกิดมาตรการล็อกดาวน์จนหลายองค์กรทั่วโลกออกมาตรการ ‘Work from Home’ แต่ดูเหมือนจะไม่เพียงพอให้เกิดการลงทุนด้านไอที เนื่องจากเศรษฐกิจที่ต้องชะงัก กำลังซื้อของคนไม่มี องค์กรเองก็ต้อง รัดเข็มขัด ส่งผลให้แนวโน้มการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่า 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2562 ถึง 8% ตามการคาดการณ์ล่าสุดของ การ์ทเนอร์อิงค์

การระบาดของ COVID-19 และผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ทำให้ CIO หรือผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ต้องจัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและบริการ โดยได้เข้าสู่โหมด รัดเข็มขัด ซึ่งหมายความว่า การลงทุนจะลดลงและการจัดลำดับความสำคัญเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ตลอดทั้งปี 2563

สำหรับการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2563 ที่คาดว่าลดลง -8% แบ่งเป็น

  • การลงทุนดาต้า เซ็นเตอร์ -9.75%
  • ซอฟต์แวร์ในองค์กร -6.9%
  • อุปกรณ์ดีไวซ์ -15.5%
  • บริการทางด้านไอที -7.7%
  • บริการทางด้านสื่อสาร -4.5%

จะเห็นว่าตลาดไอทีทุกกลุ่มประสบกับการใช้จ่ายที่ลดลง โดยเฉพาะในตลาดอุปกรณ์ดีไวซ์และระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ขณะที่รูปแบบการทำงานระยะไกลในกลุ่มย่อย เช่น บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เป็นกลุ่มเดียวที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 19% ในปี 2563 ซึ่งจะเห็นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ข้อความและการประชุมบนระบบคลาวด์โดยเติบโตขึ้น 8.9% และ 24.3% ตามลำดับ

“การฟื้นคืนสู่สภาวะปกติจะไม่เป็นไปตามรูปแบบดังเช่นสถานการณ์ที่ผ่าน ๆ มา เนื่องจากพลังที่อยู่เบื้องหลังสภาวะของการถดถอยนี้จะทำเกิดแรงสะท้อนอย่างรุนแรงต่อทั้งอุปสงค์และอุปทานที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข สังคมและการค้า” นายจอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าว

ในส่วนของประเทศไทย คาดว่าการใช้จ่ายไอทีจะลดลงต่ำกว่าทั่วโลกที่ -9.3% แบ่งเป็น

  • การลงทุนดาต้า เซ็นเตอร์ -17.9%
  • ซอฟต์แวร์ในองค์กร -3.6%
  • อุปกรณ์ดีไวซ์ -18.1%
  • บริการทางด้านไอที -6.7%
  • บริการทางด้านสื่อสาร -5.9%

“อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมหนัก (อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกล แรงงานและเงินจำนวนมาก) แม้ว่าการใช้จ่ายด้านไอทีจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตลอดปี 2563 แต่มองว่าต้องใช้เวลานานกว่าสามปีในการกลับมามีมูลค่าเทียบเท่ากับปี 2562”

]]>
1278322