สิ่งที่น่าสนใจ คือ ลัคกี้สุกี้ เริ่มต้นธุรกิจเพียง 3 ปี แต่ทำรายได้ทะลุ 1,000 ล้านบาท มีการเติบโตทั้งรายได้และกำไรค่อนข้างเร็วพอ ๆ กับสุกี้ตี๋น้อย
ผลประกอบการลัคกี้สุกี้ (นับตั้งแต่เริ่มมีการรายงานรายได้-กำไร)
ผลประกอบการสุกี้ตี๋น้อย (นับตั้งแต่เริ่มมีการรายงานรายได้-กำไร)
และ ช่วง 9 เดือนแรก ปี 2567 สามารถทำกำไรได้ราว ๆ 890 ล้านบาท (อ้างอิงส่วนแบ่งกำไรของ JMART ที่ถือหุ้น 30% ใน บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของ สุกี้ตี๋น้อย)
“หากคิดอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้ของทั้ง 2 แบรนด์ ลัคกี้สุกี้อยู่ที่ 280.5% ต่อปี ส่วนของตี๋น้อยอยู่ที่ 89% ต่อปี นั่นแปลว่าการเติบโตของลัคกี้สุกี้สูงเทียบเคียงกับเจ้าตลาดอย่างสุกี้ตี๋น้อยได้เลย”
**การคำนวณใช้สูตร AAGR โดยของลัคกี้สุกี้ไม่นับปี 2565 ส่วนของสุกี้ตี๋น้อย ไม่นับปี 2562 ซึ่งเป็นปีฐาน เนื่องจาก ไม่มีข้อมูลตัวเลขการเติบโตเปรียบเทียบ
สำหรับ ลัคกี้สุกี้ และ สุกี้ตี๋น้อย มีจุดร่วมคล้ายกันหลายประการ ตั้งแต่การนำทัพด้วยผู้บริหารหญิงคนรุ่นใหม่ คือ
ขณะที่เส้นทางการสร้างแบรนด์ก็วาง Positioning ของลัคกี้สุกี้ และสุกี้ตี๋น้อย มีทั้งความเหมือนและความต่าง อาทิ
1.รูปแบบบุฟเฟ่ต์ ที่วางกลยุทธ์ด้านราคาคุ้มค่า
ทั้ง 2 แบรนด์ ตั้งราคาเท่ากัน เริ่มต้น 219 บาท/คน (ไม่รวมรีฟิลน้ำ และ VAT 7%) ด้วย “ราคาเข้าถึงง่าย” แต่มีเมนูหลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคเปิดใจทดลองทานได้ง่าย จนทำให้มีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียด และประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้นไม่นาน
2.เวลาเปิดยาวยันดึก
เวลาเปิด-ปิด เป็นหนึ่งปัจจัยสร้างความได้เปรียบของ 2 แบรนด์นี้ จากเดิมสุกี้ในตำนานร้านดัง ๆ มักเปิดในศูนย์การค้ามีเวลาเข้าใช้บริการอย่างจำกัด ตั้งแต่ 10.00-22.00 น.
แต่สุกี้ตี๋น้อย เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ทำร้านรูปแบบกินโต้รุ่ง เปิดเวลา 11.00-05.00 น. ด้วยข้อได้เปรียบจากการเป็นสาขา Stand Alone
ส่วน ลัคกี้สุกี้ ก็เปิดประมาณ 10.30 – 02.00 น. แม้จะเปิดสาขาตามโมเดิร์นเทรดและคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ก็เลือกสถานที่ที่ยืดหยุ่นด้านเวลาที่สามารถเปิดยันดึกได้ จึงเป็นจุดแข็งของแบรนด์ฯ
สิ่งที่อาจบอกได้ว่า 2 แบรนด์นี้แตกต่างกัน คือ โมเดลร้านค้า ที่ “สุกี้ตี๋น้อย” เน้นพื้นที่ Stand Alone มีที่จอดรถจำนวนมาก ใกล้แหล่งชุมชนหรือสถานศึกษา ส่วน “ลัคกี้สุกี้” มองตัวเองเป็นแบรนด์น้องใหม่ การเริ่มต้นเปิดไปกับห้าง/คอมมูนิตี้มอลล์ อาจจะเหมาะกว่า เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นแบรนด์มากขึ้น และค่อย ๆ สร้างการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ลัคกี้สุกี้ วางงบประมาณ 300 ล้านบาท ขยายสาขาเพิ่มทั้งลัคกี้สุกี้และลัคกี้บาร์บีคิว จำนวน 16-20 สาขา ตั้งเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท เติบโต 100% (YoY)
น่าสนใจว่า การเข้ามาท้าชิงของแบรนด์หน้าใหม่อย่าง “ลัคกี้สุกี้” ครั้งนี้ คงสร้างความร้อนแรงให้กับตลาดสุกี้ในไทย ที่มีมูลค่า 23,000-25,000 ล้านบาท ด้วยกำลังซื้อที่มีจำกัด และการแข่งขันของตลาดสุกี้ที่เป็นเรดโอเชี่ยนในขณะนี้…
]]>ทว่าตอนนี้ กลับมีแบรนด์สุกี้ม้ามืด คือ “ลัคกี้สุกี้” ที่เปิดตัวแค่ 3 ปี มีเพียง 15 สาขา (ลัคกี้บาร์บีคิวอีก 6 สาขา) แต่ทำรายได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
“ถ้าเทียบจากจุดเริ่มต้น รายได้ลัคกี้สุกี้ 3 ปี เติบโตระดับ 1,168%“
วิรัตน์ โรจยารุณ กรรมการบริหาร บริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหาร ลัคกี้สุกี้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดสุกี้ มูลค่า 23,000 – 25,000 ล้านบาท มีการแข่งขันดุเดือดจากเจ้าตลาด และผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยเข้ามาจำนวนมาก ทั้งรูปแบบบุฟเฟต์ และ a la carte
แต่แบรนด์ลัคกี้สุกี้ เติบโตต่อเนื่อง โดยปีล่าสุดมีรายได้ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 148% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) จากการขยายสาขาอย่างก้าวกระโดดใน 3 ปีที่ผ่านมา
เบื้องต้น ปีนี้ตั้งงบลงทุน 300 ล้านบาท เปิดเกมรุกขยายสาขา 16-20 สาขาเพิ่ม จากแบรนด์ลัคกี้สุกี้สัดส่วน 60% และลัคกี้บาร์บีคิวสัดส่วน 40% ขนาดพื้นที่ 500-600 ตร.ม./แห่ง เน้นทำเลเกาะไปตามมอลล์หรือห้าง ทั้ง กทม. และต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น สระบุรี และภาคตะวันออก เป็นต้น ทำให้สิ้นปี 2568 คาดมีจำนวนสาขา 36-40 แห่ง
ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคมองหาสิ่งที่คุ้มค่า และยั้งคิดก่อนใช้จ่าย
ประกอบกับ คนไทยมองว่าบุฟเฟต์คุ้มค่าเงิน โดยลัคกี้สุกี้ประมาณ 219 บาท/คน และลัคกี้บาร์บีคิว 299 บาท/คน (ไม่รวมเครื่องดื่มรีฟิลและ VAT) ราคาเข้าถึงง่าย ทำให้มีความถี่ในการรับทาน 2-3 ครั้ง/เดือน
วิรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ทำให้แบรนด์ลัคกี้สุกี้ติดตลาด และประสบความสำเร็จภายใน 3 ปี แม้ผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 4 คน ไม่ได้มาจากธุรกิจร้านอาหาร เพราะ เรากล้าทลายกรอบเดิมของร้านสุกี้ เราเป็นรายแรกที่นำสเลอปี้เข้ามาบริการในร้านสุกี้ และนำของทอดมาในร้านสุกี้ จากปกติจะมีเพียงหม้อไฟ และวัตถุดิบเกี่ยวกับสุกี้เท่านั้น
ส่งผลให้แบรนด์ติดตลาดมีการบอกปากต่อปาก จนปัจจุบันมีลูกค้าประจำ ที่เป็นเมมเบอร์ถึง 200,000 ราย เติบโต 100% (YoY)
โดยปี 2568 บริษัทฯ วางเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท เติบโต 100% จากปีก่อน (YoY) และแผนระยะยาว 3-5 ปี เตรียมนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
]]>“ที่ผ่านมา เราไม่มีกรอบ ทำได้ทุกอย่างที่อยากทำ ความโชคดี คือ ในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ เราแทงถูกมากกว่าแทงผิด เราไม่ได้ตัดสินใจบนโต๊ะ แต่ลงไปแก้ปัญหาเองหมด สเต็ปถัดไป ตั้งใจรักษาลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่ เราเชื่อว่าความพยายามไม่หมด ความสำเร็จก็ไม่หมด”