ลิทัวเนีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Sep 2021 10:27:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 งานงอกเสียวหมี่! หลัง ‘ลิทัวเนีย’ เตือนประชาชนให้เลิกใช้ เพราะพบระบบตรวจจับ ‘ข้อความ’ https://positioningmag.com/1353049 Wed, 22 Sep 2021 09:24:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353049 กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้ออกมาแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการซื้อสมาร์ทโฟนของจีน หรือถ้าใช้งานอยู่ก็ให้ทิ้ง หลังพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีความสามารถในการตรวจจับข้อความในตัว

กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้เปิดเผยว่า โทรศัพท์รุ่น Mi 10T 5G แฟล็กชิปของ ‘เสียวหมี่’ (Xiaomi) ยักษ์ใหญ่ด้านสมาร์ทโฟนของจีนที่จำหน่ายในยุโรป มีความสามารถในตัวในการตรวจจับและเซ็นเซอร์ข้อความต่าง ๆ เช่น “Free Tibet”, “Long live Taiwan independence” ซึ่งเป็นการสนับสนุนอิสรภาพของทิเบตและไต้หวัน ตลอดจนคำว่า “democracy movement” หรือขบวนการประชาธิปไตย

โดย Margiris Abukevicius รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้ให้คำแนะนำว่า อย่าซื้อโทรศัพท์จีนเครื่องใหม่ และ กำจัดโทรศัพท์ที่ซื้อไปแล้วโดยเร็วที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างลิทัวเนียและจีนเริ่มเสื่อมลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา จีนเรียกร้องให้ลิทัวเนียถอนเอกอัครราชทูตในกรุงปักกิ่ง และกล่าวว่าจะ เรียกคืนทูตของตนไปยังวิลนีอุส และจะเรียกคืนทูตจีนประจำกรุงวิลนีอุสด้วย หลังจากที่ไต้หวันประกาศว่าจะเปิดสำนักงานผู้แทนในลิทัวเนีย โดยใช้ชื่อว่า ‘สำนักงานผู้แทนไต้หวัน’ ซึ่งตามปกติแล้วการตั้งสำนักงานของไต้หวันในยุโรปและสหรัฐฯ จะใช้ชื่อว่า ‘ไทเป’

เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอิงกริดา ซิโมนีเต ของลิทัวเนียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเน้นย้ำถึงการสนับสนุนประเทศลิทัวเนียหากโดนจีนกดดัน

รายงานของ National Cyber ​​Center ยังระบุด้วยว่าโทรศัพท์ Xiaomi กำลังส่งข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ที่เข้ารหัสไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสิงคโปร์ ส่วน Huawei ของจีนพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในโทรศัพท์ P40 5G แต่ไม่พบในโทรศัพท์ของ OnePlus และผู้ผลิตรายอื่นในจีน

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Huawei ยืนยันกับ BNS News ว่าโทรศัพท์ของแบรนด์ไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้สู่ภายนอก ขณะที่เสียวหมี่ยังปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล

“สิ่งนี้สำคัญไม่เพียงแต่ในลิทัวเนียแต่กับทุกประเทศที่ใช้อุปกรณ์ Xiaomi”

Source

]]>
1353049
เปิดโผ 8 เมืองดาวรุ่ง แหล่งดึงดูด “เทคสตาร์ทอัพ” แห่งปี 2020 https://positioningmag.com/1310010 Thu, 10 Dec 2020 16:16:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310010 “เทคสตาร์ทอัพ” เป็นธุรกิจและวิธีลงทุนแบบใหม่ของโลก จนทำให้หลายเมืองปั้นตนเองให้มีระบบนิเวศเอื้อต่อการสร้างสตาร์ทอัพ ที่ผ่านมาแหล่งดึงดูดใหญ่ๆ จะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ของจีนกับสหรัฐอเมริกา แต่ในระยะหลัง เมืองอื่นของโลกก็ต้องการส่วนแบ่งจากตลาดนี้บ้าง จึงพยายามสร้างจุดเด่นดึงการลงทุนและบรรดาบุคลากรหัวกะทิด้านเทคโนโลยีเข้ามาอยู่อาศัย เกิดเป็น 8 เมืองดาวรุ่งเหล่านี้

Savills บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ เริ่มศึกษาและรายงานเมืองที่โดดเด่นด้านการลงทุนของกลุ่มเทคสตาร์ทอัพมาตั้งแต่ปี 2015 จนปัจจุบันการลงทุนกลุ่มนี้แพร่หลายออกไปทั่วโลก และทำให้หลายเมืองได้รับอานิสงส์ของการลงทุน โดยปี 2020 บริษัทจัดทำรายงานแบ่งเมืองแหล่งเทคสตาร์ทอัพออกเป็น 3 กลุ่ม คือ มหานครแห่งเทคโนโลยี, เมืองแห่งไลฟ์สไตล์เทคโนโลยี และ เมืองดาวรุ่งด้านเทคโนโลยี

สองกลุ่มแรกนั้นเป็นกลุ่มที่มีตัวตนบนแผนที่โลกในฐานะศูนย์รวมเทคสตาร์ทอัพอยู่แล้ว โดยข้อแตกต่างของ “มหานคร” กับ “เมืองไลฟ์สไตล์” คือกลุ่มมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรเกิน 5 ล้านคน และเป็นศูนย์รวมบุคลากรด้านเทคโนโลยีระดับโลก ส่วนเมืองแห่งไลฟ์สไตล์นั้นเป็นเมืองขนาดเล็กกว่า 5 ล้านคน ดึงดูดเงินลงทุนจากเวนเจอร์แคปิตอลได้น้อยกว่า แต่ไลฟ์สไตล์เป็นมิตรกับการใช้ชีวิตของชาวเทคมากกว่า

แผนที่เมืองแหล่งเทคสตาร์ทอัพ 3 กลุ่ม คือ มหานครแห่งเทคโนโลยี, เมืองแห่งไลฟ์สไตล์เทคโนโลยี และเมืองดาวรุ่งด้านเทคโนโลยี

มหานครแห่งเทคฯ นั้น Savills ประเมินไว้ 16 แห่งทั่วโลก แบ่งตามภูมิภาค ดังนี้
– อเมริกาเหนือ : ลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก, ซานฟรานซิสโก, โตรอนโต
– ยุโรป : ลอนดอน, ปารีส
– จีน : ปักกิ่ง, เฉิงตู, หางโจว, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้, เสิ่นเจิ้น
– เอเชีย : บังกาลอร์, โซล, สิงคโปร์, โตเกียว

ด้าน เมืองแห่งไลฟ์สไตล์เทคฯ ประเมินไว้ 12 แห่งทั่วโลก แบ่งตามภูมิภาค ดังนี้
– อเมริกาเหนือ : ออสติน, บอสตัน, เดนเวอร์, ซีแอตเทิล
– ยุโรป : อัมสเตอร์ดัม, บาร์เซโลนา, เบอร์ลิน, โคเปนเฮเกน, ดับลิน, สตอล์กโฮม
– ตะวันออกกลาง : เทลอาวีฟ
– เอเชีย : เมลเบิร์น

ในขณะที่กลุ่มสุดท้ายคือ “เมืองดาวรุ่ง” เป็นเมืองที่น่าจับตามองของปี 2020 คู่แข่งใหม่ในตลาดโลกเหล่านี้เริ่มได้รับความสนใจจากโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่ปูทางมาตลอด และอีกส่วนหนึ่งคือการระบาดของ COVID-19 ทำให้เหล่าหัวกะทิเทคโนโลยีเริ่มมองหาเมืองที่ประชากรหนาแน่นน้อยลงและดีต่อสุขภาพมากขึ้น รวมถึงค่าครองชีพต่ำกว่าเมืองใหญ่ด้วย ติดตามข้อมูลได้ด้านล่าง

 

8 เมืองดาวรุ่ง แหล่งดึงดูด “เทคสตาร์ทอัพ” แห่งปี 2020

1.ดีทรอยต์, สหรัฐอเมริกา
(Photo : Mohtashim Mahin/Pixabay)

เมืองอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ แห่งนี้กำลังร้างผู้คน เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์เองกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ทำให้ดีทรอยต์ต้องเปลี่ยนจุดยืนตัวเองใหม่จาก “เมืองแห่งรถยนต์” เป็น “เมืองแห่งการเดินทาง” โดยปรับตัวเองมามุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

ปัจจุบันมีบริษัทใหญ่เข้ามาลงทุนทั้ง Fiat-Chrysler, Google, GM, Ford และ Lyft จนถึงบริษัทสตาร์ทอัพด้านรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง เช่น Rivian ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของที่นี่ปรับไปมีเทคโนโลยีเป็นแกนกลางแทนได้สำเร็จ

นอกจากนี้ ดีทรอยต์เป็นหนึ่งในเมืองที่มีค่าครองชีพต่ำของสหรัฐฯ ทำให้เมืองสามารถให้ไลฟ์สไตล์ที่ราคาถูกกว่าเมืองชายฝั่งตะวันตกหรือตะวันออกของประเทศ ดีทรอยต์ยังติดอันดับ 6 ของการจัดอันดับเมืองที่ดีที่สุดสำหรับ “ดิจิทัล โนแมด” ด้วย โดยการจัดอันดับดังกล่าวของ Savills วัดจากดัชนีคุณภาพชีวิตคนสายเทค 6 ประการคือ ราคาเบอร์เกอร์วีแกนกับกาแฟแฟลตไวท์, ราคา MacBook Pro, ราคารองเท้ากีฬาทั่วไปกับหูฟังไร้สายแบบพรีเมียม, ความเร็วอินเทอร์เน็ต, ราคาโต๊ะทำงานในโคเวิร์กกิ้งสเปซ และคุณภาพอากาศ

 

2.โยโกฮาม่า, ญี่ปุ่น
(Photo : Pixabay)

หนึ่งเดียวจากเอเชียที่ติดผลสำรวจนี้ โยโกฮาม่าเป็นเมืองท่าแห่งแรกๆ ของญี่ปุ่นที่เปิดรับการค้าระหว่างประเทศในช่วงศตวรรษที่ 19 ทำให้เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของญี่ปุ่นมานานกว่า 150 ปี ในหลายปีที่ผ่านมา โยโกฮาม่าสามารถดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศและการย้ายฐานบริษัทได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากทำเลที่เข้าโตเกียวสะดวกและการเป็นแหล่งแรงงานฝีมือ

ในที่สุด โยโกฮาม่าประกาศตนเองเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาแห่งทวีปเอเชีย โดยมีบริษัทใหญ่มาตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาแล้ว คือ Apple, Lenovo, Samsung, Huawei และ LG ทำให้เมืองยิ่งติดสปีดการเป็นเมืองเทคโนโลยีระดับโลก โดยมีแรงหนุนคือการเป็นเมืองท่าส่งออกของประเทศ

สำหรับผู้อยู่อาศัย ค่าครองชีพของโยโกฮาม่าต่ำกว่าโตเกียว และมีประชากรหนาแน่นน้อยกว่า ทำให้น่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น

 

3.ทาลลินน์, เอสโตเนีย
(Photo : Pixabay)

ยุคแห่งยุโรปตะวันออกต้องมีเอสโตเนียเป็นหนึ่งในนั้น ขณะที่รัฐบาลอื่นทั่วโลกต้องหัวหมุนกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานและเชื่อมโยงกับประชาชนของตน แต่ภาครัฐของเอสโตเนียสามารถนำกิจกรรมของรัฐถึง 99% มาอยู่บนออนไลน์ได้ทั้งหมด (เหลือเพียงการสมรส-หย่าร้าง และซื้อขายอสังหาฯ ที่ต้องไปติดต่อสำนักงาน)

ประเทศนี้ยังมีการออกโปรแกรม e-Residency เมื่อปี 2014 เพื่อให้ใครๆ ก็เป็นประชากรเอสโตเนียแบบข้ามโลกเสมือนจริงได้ ปลดล็อกให้คุณสามารถตั้งบริษัทในเอสโตเนียได้โดยไม่ต้องเข้าไปอยู่ที่เอสโตเนียเลย ต่อมาเอสโตเนียยังออกวีซ่าสำหรับดิจิทัล โนแมดโดยเฉพาะ เพื่อให้กลุ่มคนทำงานระยะไกลกลุ่มนี้สามารถมาทำงานพร้อมใช้ชีวิตได้ในเอสโตเนียเป็นระยะเวลาสูงสุด 1 ปี

สิ่งแวดล้อมด้านเทคโนโลยีของภาครัฐและวิถีชีวิตคน ทำให้ทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศแห่งนี้เป็นที่น่าจับตามอง ปัจจุบันมีหน่วยงานยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปตั้งศูนย์ในทาลลินน์แล้วคือ หน่วยงานความร่วมมือด้านการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศของ NATO

 

4.วิลนีอุส, ลิทัวเนีย
(Photo : Pixabay)

อีกหนึ่งประเทศยุโรปตะวันออกที่ตีคู่มากับเอสโตเนีย ชื่อของประเทศลิทัวเนียอาจจะไม่ค่อยคุ้นในแผนที่โลก แต่จริงๆ แล้วนี่คือผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ และฟินเทค ลิทัวเนียมีสตาร์ทอัพกว่า 1,000 บริษัท และฟินเทคอีกกว่า 200 บริษัท สตาร์ทอัพดังด้านเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Revolut และ Google Payments มีสำนักงานของบริษัทอยู่ในวิลนีอุส และ ศูนย์บล็อกเชนแห่งยุโรป ที่เปิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2019 ก็ตั้งขึ้นที่เมืองนี้

เช่นเดียวกับเอสโตเนีย ลิทัวเนียก็ออกวีซ่าสำหรับคนทำงานในสตาร์ทอัพเหมือนกัน เพื่อดึงดูดคนจากประเทศ non-EU ทั้งหลายให้มาลงหลักปักฐานที่นี่

 

5.ไอนด์โฮเว่น, เนเธอร์แลนด์
(Photo : Shutterstock)

เมืองที่ท้าชิงตำแหน่งกับอัมสเตอร์ดัม เป็นที่ตั้งของย่าน Brainport พื้นที่ที่ถูกสนับสนุนให้เป็นแหล่งยกระดับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างบริษัทเอกชน ภาครัฐ และสถาบันการศึกษา

รวมถึงเป็นที่ตั้งของ High Tech Campus แหล่งรวมศูนย์วิจัยและพัฒนาของสารพัดบริษัทจากทั่วโลก เริ่มต้นจาก Philips เป็นบริษัทแรกที่มาลงทุน จนปัจจุบันมีมากกว่า 220 บริษัทในพื้นที่ รวมนักวิจัยมากกว่า 12,000 คน
ทำให้ High Tech Campus ประกาศตัวเองว่าเป็นพื้นที่ “ตารางกิโลเมตรที่อัจฉริยะที่สุดในยุโรป”

เมืองไอนด์โฮเว่นยังติดอันดับ 2 ของการจัดอันดับเมืองที่ดีที่สุดสำหรับ “ดิจิทัล โนแมด” โดยเป็นสวรรค์ของคนรักการขี่จักรยาน ด้วยทางจักรยานทั่วเมืองและมีทางจักรยานลอยฟ้าด้วย

 

6.แมนเชสเตอร์, สหราชอาณาจักร
(Photo by Nathan J Hilton from Pexels)

ไม่มีใครที่ไม่รู้จักแมนเชสเตอร์ ด้วยตำนานลูกหนังของสโมสรดังทั้งสองแห่ง แต่นั่นไม่ใช่จุดขายเดียวของแมนเชสเตอร์ เมืองนี้เป็นแหล่งรวมบริษัทเทคทั้งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Google, Microsoft, IBM และ Cisco รวมถึงบริษัทขนาดเล็กและสตาร์ทอัพรวมมากกว่า 10,000 แห่ง

แมนเชสเตอร์เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยติดอันดับโลกถึง 3 แห่ง ทำให้มีบุคลากรชั้นนำรองรับภาคธุรกิจ และทำให้มีความร่วมมือระหว่างเอกชนกับสถาบันการศึกษาได้ง่าย

เมืองนี้ยังเป็นเมืองหัวก้าวหน้าของประเทศ โดยตั้งเป้าจะเป็นเมืองปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2038 เร็วกว่าเป้าหมายของทั้งประเทศถึง 12 ปี และยังมีแผนสร้างทางเดินและทางจักรยานรวมระยะทาง 1,800 ไมล์ในเมือง

 

7.โบโกตา, โคลอมเบีย
(Photo : Pixabay)

ดังที่เห็นว่าทวีปอเมริกาใต้ยังไม่เคยมีศูนย์รวมเทคสตาร์ทอัพเลย ทำให้โบโกตา เมืองหลวงโคลอมเบียมีสิทธิ์สูงมากที่จะได้เป็นแห่งแรก ในเวลา 4 ปีที่ผ่านมา โบโกตากระโดดขึ้นมาถึง 200 อันดับเมื่อมีการจัดอันดับเมืองที่ดึงดูดเงินลงทุนจากเวนเจอร์ แคปิตอลได้มากที่สุด

เนื่องจากรัฐบาลโคลอมเบียลงทุนอย่างหนักในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยมีการให้แรงจูงใจสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง และมีโปรแกรมเทรนนิ่งพนักงาน พร้อมกับสร้างแหล่งข้อมูลสนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคให้เข้ามาลงทุนที่โคลอมเบีย

พื้นฐานด้านพฤติกรรมประชากรยังมีส่วนช่วยให้โบโกตาโตอย่างก้าวกระโดด EY สำรวจเมื่อปี 2019 พบว่า ชาวโคลอมเบียมีอัตราการเปลี่ยนไปใช้บริการฟินเทคสูงที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยประชากรสัดส่วน 76% จะมีการใช้บริการฟินเทคอย่างน้อยหนึ่งอย่าง

ตัวเมืองโบโกตาเองก็ถือเป็นเมืองที่อยู่อาศัยได้ดีพอควร เป็นเมืองทางเดินดี เข้าถึงสวนสาธารณะง่าย และอยู่ในอันดับ 11 ของการจัดอันดับเมืองที่ดีที่สุดสำหรับ “ดิจิทัล โนแมด”

 

8.เคปทาวน์, แอฟริกาใต้
(Photo : Sharon Ang/Pixabay)

เช่นเดียวกับละตินอเมริกา ทวีปแอฟริกาก็ยังไม่มีแหล่งเทคสตาร์ทอัพ แต่เคปทาวน์กำลังจะมาคว้าตำแหน่งนี้ เคปทาวน์เป็นศูนย์รวมสถาบันการเงินในแอฟริกาอยู่แล้ว ทำให้เหล่าฟินเทคจะมาใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ รวมถึงสตาร์ทอัพสายอื่นก็เข้ามาลงทุนดึงเม็ดเงินจากเวนเจอร์ แคปิตอลให้เพิ่มขึ้น โดยระหว่างปี 2016-2019 เงินลงทุนจากเวนเจอร์ แคปิตอลสู่เคปทาวน์เพิ่มขึ้น 147%

โครงสร้างพื้นฐานเมืองค่อนข้างมีเสน่ห์กับชาวเทคด้วย ด้วยที่ตั้งของเคปทาวน์ขนาบด้วยภูเขาและทะเลอย่างสวยงาม มาพร้อมกับค่าครองชีพต่ำกว่าเมืองเทคใดๆ ในโลก ทำให้เป็นจุดดึงดูดคนดิจิทัลเข้ามาหา

Source

]]>
1310010
“ลิทัวเนีย” เปลี่ยนคาเฟ่เป็นแคตวอล์ก! ตั้งหุ่นโชว์เสื้อผ้า แถมเป็นเพื่อนนั่งได้ด้วย https://positioningmag.com/1280399 Mon, 25 May 2020 05:33:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280399 ชมหุ่นโชว์เสื้อผ้าที่เฉิดฉายในชุดสวย จากผลงานการออกแบบของเหล่านักออกแบบท้องถิ่น ที่ถูกนำมาจัดวางในร้านอาหาร เขตเมืองเก่าวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย ที่ไม่ใช่เพื่อประดับเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนของผู้มาใช้บริการ เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ช่วยเว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยให้ผู้คนรู้จักผลงานของผู้ออกแบบและส่งเสริมยอดการขายด้วย
(Photo by Alfredas Pliadis/Xinhua)

เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา คาเฟ่และร้านอาหารได้กลายเป็นเวทีแสดงชุดเสื้อผ้าสุดโก้เก๋ เพื่อให้บรรดานักออกแบบที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งระงับการดำเนินงานเพราะ COVID-19 ได้โอกาสแสดงผลงานของพวกเขา

หลังจากประเทศแห่งนี้ได้อนุญาตให้บาร์ คาเฟ่ และร้านอาหารกลับมาเปิดทำการอีกครั้งภายใต้มาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด

(Photo by Alfredas Pliadis/Xinhua)
(Photo by Alfredas Pliadis/Xinhua)
(Photo by Alfredas Pliadis/Xinhua)
]]>
1280399
โรงหนังปิด-เครื่องบินหยุด “ลิทัวเนีย” ปิ๊งไอเดีย จัดฉายหนัง Drive-in ในรันเวย์สนามบิน https://positioningmag.com/1276424 Fri, 01 May 2020 15:18:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276424 รถยนต์ประมาณ 150 คัน ต่างมาจอดเพื่อชมหนังรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเกาหลีใต้ ซึ่งฉายให้ชมในลานจอดเครื่องบินของสนามบินที่ลิทัวเนีย ซึ่งตอนนี้แทบไม่มีเครื่องบินมาขึ้นลงเลยหลัง COVID-19 ระบาดไปทั่วโลก

โดยผู้ชมต่างนั่งชมภาพยนตร์กันอยู่ในรถยนต์ของตัวเอง ในโรงภาพยนตร์ “Drive-in” เฉพาะกิจในลานจอดเครื่องบินของสนามบินที่กรุงวิลนีอุส เมืองหลวงของลิทัวเนียเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่าปลอดภัยแตกต่างจากการชมภาพยนตร์ในโรง เพราะผู้ชมแต่ละคนจะนั่งอยู่ในรถยนต์ของตัวเอง

ซึ่งผู้จัดกิจกรรมดังกล่าวก็คือ องค์กรเทศกาลภาพยนตร์แห่งวิลนีอุส หรือ IFF ที่ได้จับมือกับสนามบินในการเนรมิตท่าอากาศยานใหญ่ของลิทัวเนีย

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ชาวลิทัวเนียได้มีโอกาสชมภาพยนตร์นอกบ้านกันอีกครั้ง หลังจากโรงหนังในประเทศต้องปิดดำเนินการแบบไม่มีกำหนดเพราะ COVID-19

“เราขอมอบประสบการณ์การชมภาพยนตร์แบบใหม่บนลานจอดเครื่องบิน เราอยากจะจัดงานแบบนี้มานานแล้ว แต่ฝันมาเป็นจริงเมื่อลานจอดเครื่องบินแทบจะว่างเลยในขณะนี้”

เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศชาวลิทัวเนียต้องใช้ชีวิตด้วยการสร้างระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดโรค จนทำให้โรงหนังในประเทศหยุดให้บริการมาตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. แต่นั่นไม่มีปัญหาในการฉายหนังแบบ Drive-in หรือ ฉายโดยผู้ชมนั่งอยู่ในรถยนต์

ซึ่งหนังที่ผู้จัดงานเลือกก็คือ Parasite ภาพยนตร์สุดดังจากเกาหลีใต้ โดยงานนี้ผู้จัดงานยังเลือกที่จะฉาย Parasite ฉบับขาวดำให้แฟนหนังได้ชมกันด้วย และดูเหมือนว่าประชาชนที่ชอบดูหนังจะตอบรับกิจกรรมนี้เป็นอย่างดี

สำหรับค่าตั๋วของการฉายหนังครั้งนี้คิดที่ 15 ยูโร หรือประมาณ 527 บาท ต่อรถยนต์หนึ่งคัน โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้กับผู้จัดเทศกาลหนัง IFF เพื่อใช้ในการดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่หวังผลกำไรต่อไป

โดยลิทัวเนียมีกำหนดจะอนุญาตให้เครื่องบินกลับมาปฏิบัติการอีกครั้งในวันที่ 10 พ.ค. นี้ แต่ผู้จัดงานก็เชื่อว่าน่าจะมีโอกาสได้จัดกิจกรรมแบบนี้อีก เพราะเที่ยวบินน่าจะยังไม่หนาแน่นนัก

ลิทัวเนียได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกๆ ที่ปิดเมืองเพื่อป้องการการระบาดของ COVID-19 โดยตอนนี้ทางรัฐบาลได้คลายมาตรการต่างๆ ไปบ้างแล้ว ทั้งร้านอาหาร, ห้องสมุด และร้านการแฟเริ่มกลับมาเปิดให้บริการ แต่โรงหนังยังไม่สามารถเปิดฉายหนังได้

กระทรวงสาธารณะสุขของลิทัวเนียตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั้งหมด 1,375 คน และมีผู้เสียชีวิต 45 คน จากประชากร 2.8 ล้านคน

Source

]]>
1276424