ลิเธียม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 29 Aug 2023 13:01:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักวิเคราะห์ประเมิน โลกกำลังขาดแคลน ‘ลิเธียม’ ภายในปี 2025 เนื่องจากการเติบโตของ ‘รถอีวี’ https://positioningmag.com/1442785 Tue, 29 Aug 2023 11:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442785 ลิเธียม ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้ในการผลิต แบตเตอรี่ ในขณะที่เทรนด์ทั่วโลกกำลังพุ่งไปที่การใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ทำให้ความต้องการลิเธียมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้นักวิเคราะห์ประเมินว่าในช่วงปี 2025-2030 โลกอาจจะขาดแคลนลิเธียม

BMI ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของ Fitch Solutions เป็นหนึ่งในกลุ่มที่คาดการณ์การขาดดุลอุปทานลิเธียมภายในปี 2025 โดยคาดว่าการขาดดุลนั้นเกิดจากความต้องการลิเธียมของจีนที่สูงกว่าอุปทาน โดยเฉพาะความต้องการลิเธียมในรถอีวีของจีนจะเพิ่มเฉลี่ย 20.4% ในช่วงปี 2023-2032 

กลับกัน ลิเธียมของจีนจะเพิ่มขึ้นเพียง 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งแปลว่าจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มได้ไม่ถึง 1 ใน 3 ด้วยซ้ำ โดยปัจจุบันจีนถือเป็นผู้ผลิตลิเธียมรายใหญ่ อันดับสามของโลก ซึ่งลิเธียมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 

ในปี 2021 โลกผลิตลิเธียมได้ 540,000 ตัน แต่ภายในปี 2032 ทาง World Economic Forum คาดการณ์ว่า ความต้องการลิเธียมทั่วโลกจะสูงถึงมากกว่า 3 ล้านตัน ขณะที่การคาดการณ์ของ S&P Global Commodity Insights ประเมินว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 อยู่ที่ 13.8 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคัน ภายในปี 2032

ด้าน Corinne Blanchard ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยลิเธียมและเทคโนโลยีสะอาดของ Deutsche Bank กล่าวว่า ภายในสิ้นปี 2025 การขาดดุลของลิเธียมจะอยู่ที่ 40,000-60,000 ตัน แต่การขาดดุลจะมากขึ้นเป็น 768,000 ตัน ภายในสิ้นปี 2032 แม้ว่าการเติบโตของลิเธียมจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็จะยังช้ากว่าความต้องการ และสิ่งที่จะตามมาคือ ราคาลิเธียมที่พุ่งขึ้น หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2022 โดยขึ้นถึง 12 เท่า เมื่อเทียบกับราคาของเดือนมกราคม 2021

ปัจจุบัน ตามข้อมูลของ Refinitiv เปิดเผยว่าทั่วโลกมีเหมืองลิเธียมเพียง 101 แห่ง แต่จากข้อมูลของ บริษัทวิจัยพลังงาน พบว่า มีโครงการลิเธียมหลายร้อยโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจ แต่ความซับซ้อนในด้านธรณีวิทยาและกระบวนการขออนุญาตที่ใช้เวลานานยังคงเป็นความท้าทาย โดย Susan Zou รองประธาน Rystad Energy ประมาณการว่า เหมืองลิเธียมทั้งหมดจะเพิ่มขึ้น 30-40%

Source

]]>
1442785
‘ลิเธียม’ ราคาพุ่ง ‘5 เท่า’ จากความต้องการ ‘แบตเตอรี่ในรถอีวี’ ที่พุ่งสูงขึ้น https://positioningmag.com/1387767 Mon, 06 Jun 2022 03:45:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387767 ลิเธียม ถือเป็นโลหะหายากที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟ โดยราคาพุ่งขึ้น 5 เท่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการจากผู้ผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น ตามรายงานล่าสุดของบริษัทวิจัย Argus สื่อของอังกฤษ แต่ไม่ใช่แค่ลิเธียม ราคาโลหะอื่น ๆ เช่น โคบอลต์และนิกเกิลที่ใช้สำหรับผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 30-40% ของราคารถอีวีทั้งคัน

ความต้องการใช้แร่โลหะที่เพิ่มขึ้น มาพร้อมกับที่รัสเซียรุกรานยูเครน ทำให้ซัพพลายเชนลิเธียมหยุดชะงัก ในทางกลับกัน อาจส่งผลให้ราคาของรถอีวีสูงขึ้นอีก อาจทำให้ผู้บริโภคอาจชะลอการเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปไปสู่รถอีวี

จากข้อมูลของ Argus ระบุว่า จีน เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่จำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในจีน ทำให้ราคาของลิเธียมมักซื้อขายในสกุลเงินหยวน ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณ 89,000 หยวนต่อตัน (เมษายน 64) เป็น 486,000 หยวนต่อตันในปัจจุบัน ส่วนราคาโคบอลต์เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า และ นิกเกิลเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน

การเพิ่มขึ้นของราคานิกเกิลเกิดขึ้นหลังจากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตโลหะรายใหญ่บุกยูเครน ทำให้เกิดความกังวลเรื่องอุปทานในสหรัฐอเมริกา Toshihide Kinoshita นักวิเคราะห์อาวุโสของ SMBC Nikko Securities Inc. กล่าวว่า หากราคาของโลหะหายากและวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จำเป็นต้องขึ้นราคารถอีวีขึ้น 30% หรือมากกว่านั้น หรืออย่างที่ผ่านมา Tesla ขึ้นราคาสินค้าทั้งหมดในช่วงต้นปีเพื่อผลักภาระค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้นให้กับลูกค้า

ต้นทุนวัตถุดิบอาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้รถอีวีแพร่หลายได้ช้าลง”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงของ Ford คาดว่า อีก 4-5 ปีอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสงครามราคาครั้งใหญ่ เนื่องจากต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าลดลง โดยเฉพาะเคมีภัณฑ์แบตเตอรี่แบบใหม่ที่ใช้โลหะมีค่าที่มีราคาแพงและหายากน้อยลง เช่น นิกเกิลและโคบอลต์ ที่ราคากำลังพุ่งสูงอยู่ตอนนี้

ทั้งนี้ ผู้ผลิตรถยนต์กำลังเร่งไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อเผชิญกับความพยายามระดับโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าจะมีความต้องการสินค้าและราคาจะเพิ่มขึ้นอีก โดย Toyota กล่าวในเดือนธันวาคมว่ามีเป้าหมายที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้า 3.5 ล้านคันทั่วโลกในปี 2030 ส่วนบริษัท Honda ตั้งเป้ายอดขายต่อปีที่ 2 ล้านคัน ด้าน Nissan ตั้งเป้ายอดขาย 50% ของยอดขายทั้งหมดในปีเดียวกัน

Source

]]>
1387767
กระแสรักษ์โลกกำลังเปลี่ยน ‘ทองแดง’ ให้กลายเป็น ‘บ่อน้ำมัน’ แห่งใหม่ https://positioningmag.com/1328954 Fri, 23 Apr 2021 04:19:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328954 เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ ‘น้ำมันดิบ’ เป็นศูนย์กลางของสินค้าทั่วโลก แต่ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพยายามต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ น้ำมันจึงอาจจะเริ่มถูกลดทอนความสำคัญไป ขณะที่ ‘ทองแดง’ และ ‘ลิเธียม’ กำลังจะมีบทบาทมากขึ้นและจะกลายเป็น ‘New Oil’ ในโลกยุคใหม่

ทองแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบที่ช่วยให้ใช้พลังงานลม, แสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับการใช้งาน รวมถึงหลายประเทศออกมาตรการและตั้งเป้ายกเลิกการใช้รถยนต์น้ำมันที่เป็นสาเหตุของมลพิษ และหันมาส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และส่งผลให้ความต้องการแร่นิกเกิล ทองแดง และโคบอลต์มากขึ้นไปด้วย

“ทองแดงมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน” นักวิเคราะห์ของโกลด์แมนแซคส์ กล่าว ดังนั้น “ทองแดง คือ แหล่งน้ำมันใหม่”

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ราคาทองแดงเพิ่มขึ้น 80% ปัจจุบันราคาทองแดงทะลุ 9,000 ดอลลาร์ต่อตัน สูงสุดในรอบ 10 ปี โดย Goldman Sachs มองว่า การเติบโตดังกล่าวอาจทำให้ทั่วโลกเจอปัญหาขาดแคลนทองแดงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และภายในปี 2025 ราคาทองแดงอาจพุ่งสู่ 15,000 ดอลลาร์ต่อตัน

จากความต้องการทองแดงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้ Jiangxi Copper Co. ผู้ผลิตทองแดงของจีนมีรายได้เพิ่มขึ้น 20% สูงสุดในรอบ 8 ปี ส่วน OZ Minerals Ltd. ของออสเตรเลียมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า และนอกจากทองแดงแล้ว แต่ ‘ลิเธียม’ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า ก็อาจเจอปัญหาขาดแคลนในปี 2025 เช่นกันเนื่องจากการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกปีนี้คาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นอย่างเป็นอันตราย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างมาก โดยมีการประเมินว่าการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น 1.5 พันล้านตันในปีนี้ เนื่องจากการใช้ถ่านหินอย่างหนักในเอเชียและจีน

Source

]]>
1328954