วอลเปเปอร์มงคล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Sep 2024 04:56:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะการตลาด ‘สายมู’ อะไรควร ‘Do’ อะไรต้อง ‘Don’t’ จากมุมมองของ 3 แบรนด์ที่ปังกับมูเก็ตติ้ง! https://positioningmag.com/1488252 Mon, 02 Sep 2024 03:09:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488252 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการ มูเตลู เป็นอะไรที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน และไม่ใช่แค่มูกับศาสนาพุทธเท่านั้น แต่คนไทยเปิดรับทุกเทพ ทุกศาสตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลสำรวจผลว่า คนไทยเกือบ 90% เชื่อเรื่องมู แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ 75% ยอมจ่ายเพื่อมู! ดังนั้น แบรนด์ต่าง ๆ ก็เห็นโอกาสจากจุดนี้ในการทำการตลาด โดยเฉพาะ AIS, KBank และคารวะ โกลบอล ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์จะมาบอกเล่าว่าการตลาดสายมู อะไร Do อะไร Don’t

ย้อนดูอินไซต์สายมูชาวไทย

อินไซต์การมูของคนไทยที่ศึกษาโดย สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) พบว่า กว่า 88% เชื่อเรื่องการมู โดยสิ่งที่ขอเป็นอันดับ 1 ก็คือ เรื่องเงิน (44%) ตามด้วย เรื่องโชคลาภ (17%) (ซึ่งก็ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอยู่ดี) ตามด้วยการมูเรื่อง สุขภาพ (12%) ส่วนการมูเรื่อง การงาน มีเพียง 8% เท่านั้น

แม้เชื่อเรื่องมูเหมือนกัน แต่แต่ละเจนก็มีวิธีมูต่างกัน โดย Gen X เน้นเรื่องการสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญทำทาน มักขอเรื่องสุขภาพมากกว่าเจนอื่น ๆ ส่วน Gen Y จะ เปิดกว้างให้กับความศรัทธาแบบไร้ขีดจำกัด ได้ทุกศาสนา และความเชื่อ ขอแค่มอบผลลัพธ์ในสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยเฉพาะเรื่อง การเงินและการงาน สุดท้าย Gen Z ชอบให้ blend in แบบเนียน ๆ ดังนั้น จะมูในแบบเรื่องของ แฟชั่นและสีสันในชีวิตประจำวัน เช่น ใส่เสื้อผ้าสีมงคล เครื่องประดับมงคลชิ้นเล็ก ๆ หรือตั้งวอลเปเปอร์บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

จะทำมูเก็ตติ้งต้องจริงจัง เชื่อถือได้

สำหรับ เอไอเอส แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแบรนด์แรก ๆ ของไทยที่ บุกเบิกการทำมูเก็ตติ้ง เพราะเรื่องของ เบอร์มงคล นั้นออกมานาน 10 ปีเต็ม โดย คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส เล่าให้ฟังว่า หนึ่งในข้อพิสูจน์ว่ามูเก็ตติ้งได้ผลก็คือ ยอดขายเบอร์มงคลตลอด 10 ปีไม่เคยตกลงเลย ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร โดยปัจจุบันมียอดขายเฉลี่ยที่เดือนละ 3 หมื่นเบอร์ รวมแล้วเอไอเอสมีรายได้กว่าปีละ 1,000 ล้านบาทจากเบอร์มงคล

โดย คณาธิป มองว่า ถ้าจะทำมูเก็ตติ้งอย่างแรกคือ ต้องเข้าใจตลาดก่อน ดังนั้น ต้องหาอินไซต์ของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร ชอบเรื่องอะไร และต้องระลึกไว้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อเรื่องมู ดังนั้น ต้องทำการตลาดให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย และที่สำคัญ ต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น เอไอเอสจะต้องมี อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ในศาสตร์ด้านตัวเลขจริง ๆ มาแนะนำ นอกจากนี้ จะต้องทำจริงจังเพราะการทำมูเก็ตติ้งจำเป็นต้องใช้เวลา

คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพดเอไอเอส

เช่นเดียวกับ นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด ที่ย้ำเรื่อง ความถูกต้องเชื่อถือได้ ดังนั้น สินค้าของคารวะจะผ่านการ ปลุกเสก อย่างถูกต้อง รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวขององค์เทพให้ถูกต้อง ไม่บิดเบือน แต่ก็ต้อง ยอมรับความเห็นต่าง

“จุดเริ่มต้นของเราเกิดจากเราพบว่า 8 ใน 10 ของคนเหงาขึ้น และต้องเจอกับการตัดสินใจที่ยากขึ้น ทำคนเลยหาของยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งเราอยากทำเพราะมีเครื่องประดับองค์เทพที่ใส่เป็นแฟชั่นได้ มีความโมเดิร์นใส่กับชุดประจำวันได้ เลยเกิดเป็นแบรนด์คาราวะ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองเรื่องมูเป็นเรื่องจริงจังขนาดนั้น แต่มีความใกล้ชิดมากขึ้น กล้าล้อเล่น แต่ก็เคารพ”

นันท์ธร พรกุลวัฒน์ Co-Founder และ COO บริษัท คารวะ โกลบอล จำกัด

เข้ากับไลฟ์สไตล์และเชื่อมโยงกับสินค้าแบรนด์

เนื่องจากการมูไม่ใช่เรื่องของคน Gen X อีกต่อไป แต่ Gen Z, Gen Y ก็สนใจเรื่องมู ดังนั้น วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank” มองว่า ต้องปรับให้ทันกับยุคสมัยและ ต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ และเชื่อมโยงกับสินค้าของแบรนด์ โดย Kbank ก็เห็นโอกาสจากการทำการตลาดสายมูโดยคอลแลปกับคารวะในการทำ บัตรเดบิตลายรวมองค์เทพ แม็กซ์พลัส กสิกรไทย ซึ่งมีจำนวนลูกค้าถึง 4-5 หมื่นใบ และลูกค้าบางคน สมัครทุกลาย เพื่อสะสม

นอกจากนี้ Kbank ยังให้วอลเปเปอร์และใบสลิปโอนเงินเป็นลายองค์เทพ เช่นเดียวกันกับเอไอเอส ที่ให้ วอลเปเปอร์ ลายเทพเมื่อซื้อเบอร์มงคล เพราะแบรนด์ควร ตามไปอยู่ในชีวิตประจำวัน อะไรที่อยู่ใกล้ตัว หรืออยู่ติดตัว

“ที่เราต้องลงมาทำเพราะมูเก็ตติ้งเป็นเทรนด์แรง แต่เราก็ต้องดูว่ามันเชื่อมโยงกับสินค้าเราหรือเปล่า ไม่ใช่กระโจนไปทุกเทรนด์  ดังนั้น คัสตอมเมอร์อินไซต์มีความสำคัญมาก เพราะต้องปรับตัวให้ทันผู้บริโภค”

วราพร วิริยะไชยกุล Co-Department Head – Payment and Foreign Exchange Products Management Department “KBank”

เสริมความมั่นใจ ไม่ใช่เสริมให้งมงาย

วราพร ย้ำว่า มูเก็ตติ้งเป็นการเล่นกับความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น แบรนด์ต้อง ไม่บิดเบือนความเชื่อ และข้อควรระวังคือ การสื่อสาร และต้องทำให้พอเหมาะพอดี โดยต้องสื่อสารให้ลูกค้าไม่เข้าใจผิด ไม่เช่นนั้นอาจ กระทบกับแบรนด์ เช่นเดียวกันกับ คณาธิป ที่เสริมว่า การตลาดสายมูต้องทำหน้าที่เป็น เครื่องยึดเหนี่ยว หรือเสริมความมั่นใจ ห้ามสัญญา

“ความท้าทายของการตลาดสายมูคือ มันละเอียดอ่อน พร้อมดราม่าได้ตลอด ดังนั้น แบรนด์ต้องอย่าทำเกินพอดี ต้องสื่อสารด้วยความระมัดระวังว่าเป็นแค่เครื่องยึดเหนี่ยว สร้างความมั่นใจ แต่อย่าไปให้คำมั่นว่าใช้แล้วรวย ใช้แล้วหายป่วย อย่าให้เกินพอดีให้ลูกค้ามองเราเป็นที่พึ่งสุดท้าย” คณาธิป เสริม

มูไทยจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์

อย่างไรก็ตาม เทรนด์สายมูไม่ใช่อะไรที่มาแล้วหายไปแน่นอน โดย วราพร เชื่อว่า เทรนด์จะอยู่ยาวและ ยิ่งเข้มข้น ด้วย โดยการมูจะ ใกล้ชิดกับบุคคลมากขึ้น สามารถมูได้ทุกที่ทุกเวลา เหมือนกับที่ใช้วอลเปเปอร์เพื่อมู และต่อไปการมูจะยิ่งแมสมากขึ้น ขณะที่ นันท์ธร มองว่า การมูของไทยสามารถกลายเป็น ซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย เพราะเห็นว่าคนประเทศอื่น ๆ ที่มีความเชื่อเรื่องมูเริ่มมามูกับวัดไทยเยอะ นอกจากนี้มองว่า เทรนด์ต่อไปของไอเทมสายมูคือ การนำวัสดุรักษ์โลกมาใช้มากขึ้น ด้าน คณาธิป มองว่า ต่อไป เทคโนโลยี จะมีบทบาทกับการตลาดสายมูมากขึ้น และมีความ Personalized มากขึ้น

“ตอนนี้มูเก็ตติ้งก็มีการแข่งขันสูง ทั้งในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจต่างกัน เพราะเงินผู้บริโภคมีจำกัด เขาก็ต้องพิจารณาว่าจะซื้ออะไร และการเปลี่ยนเเปลงที่มาเร็วไปเร็ว แต่ละเจนก็มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องปรับให้เขากับกลุ่มเป้าหมาย และทันกระแสเพื่อให้ลูกค้าสนใจ สุดท้าย ต้องทำให้เมหาะสม พอดี ไม่ใช่สร้างความงมงาย และความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญวราพร ทิ้งท้าย

]]>
1488252