วอลเลย์บอล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Dec 2022 11:15:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดอินไซต์ ‘รายการกีฬา’ กับโอกาสในการใช้ทำ ‘การตลาด’ สำหรับแบรนด์ https://positioningmag.com/1414110 Tue, 27 Dec 2022 10:10:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414110 เพิ่งจบไปสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup 2022 และที่กำลังฟาดแข้งก็คือ AFF Mitsubishi Electric Cup อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 รายการต่างก็มีดราม่าเรื่องการซื้อลิขสิทธิ์ ที่ช่องทีวีมองว่าอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้น ไปดูกันว่า รายการกีฬา ยังเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ที่จะทำตลาดอยู่ไหม

ฟุตบอล-วอลเลย์บอล 2 กีฬาขวัญใจคนไทย

จากการสำรวจของ Nielsen Sports Fan Insights 2022 ที่เป็นการศึกษาแฟนตัวยงของกีฬาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโปรไฟล์ พฤติกรรม ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ การเสพสื่อ และอื่น ๆ กับกลุ่มตัวอย่างคนไทยอายุระหว่าง 16-69 ปี ทั่วประเทศ พบว่าประเทศไทยมีกลุ่มผู้ชมและแฟนคลับกีฬาที่หนาแน่นมาก และเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ เป็นโอกาสที่แบรนด์ต่าง ๆ จะเข้ามาทำการตลาดกับ Audience กลุ่มนี้

ฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีแฟนคลับจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีฐานแฟนมากกว่า 31.9 ล้านคน หรือ 62% ที่มีความสนใจ หรือดูฟุตบอล อันดับสองคือ วอลเลย์บอล มีฐานแฟน 28.84 ล้านคน (56%) ส่วนกีฬาที่มีจำนวนแฟน ๆ เยอะรองลงมาคือ แบดมินตัน และ มวยไทย สิ่งที่น่าสนใจคือ ฐานแฟนคลับฟุตบอลที่เป็นผู้หญิงเติบโตขึ้นมาก โดยมีฐานแฟนที่เป็น ผู้หญิง ถึง 42% สะท้อนให้เห็นว่ารายการกีฬาสามารถเข้าถึงคนได้ทุกเพศ และทุกวัย

เรตติ้งรายการกีฬาแซงละคร 2 ปีซ้อน

เทรนด์การดูรายการกีฬาในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องจริง แต่ที่น่าสนใจคือช่องทางการรับชม โดยจากการศึกษาพบว่านอกจากคนไทยถึง 70% ดูรายการกีฬาผ่าน Social Media ตามมาด้วย Free TV 69% และ OTT Platform 55%

ขณะที่ความนิยมของรายการกีฬายังแซงหน้า ละคร โดยเรตติ้งสูงสุดส่วนใหญ่เป็นรายการกีฬา โดยในปี 2021 รายการเรตติ้งอันดับ 1 คือ การถ่ายทอดสด ฟุตบอลเอ เอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ (ไทย+อินโดนีเซีย) และในปีนี้ 2022 การถ่ายทอดสด การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ 2022 (ไทย+โดมินิกัน) ทำเรตติ้งได้สูงสุดทั้งช่องทางทีวีและดิจิทัล (Cross-Platform Ratings) ได้รับเรตติ้ง 10.088 โดยรายการกีฬาไหนที่มีทีมไทยเข้าร่วมแข่งขันด้วยจะได้รับเรตติ้งดีเป็นพิเศษ

มองโอกาสการทำการตลาดกับแฟนกีฬา

จากการสำรวจของ Nielsen พบว่า 85% ของคนไทยเชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ / ผู้สนับสนุน (Sponsorship Marketing) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกีฬา ในปี 2021 แบรนด์ต่าง ๆ ทั่วโลกมีการประกาศข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์ให้กับงานกีฬาเพิ่มขึ้น 107% และจากการวิเคราะห์ผู้สนับสนุน 100 รายใน 7 ประเทศกว่า 20 อุตสาหกรรม พบว่าการเป็นสปอนเซอร์ด้านกีฬาทำให้ความตั้งใจในการซื้อสินค้าในหมู่แฟน ๆ เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 10%

แฟน ๆ ที่คลั่งไคล้กีฬามีกำลังซื้อสูง ตั้งใจหนุนสินค้าแบรนด์สปอนเซอร์ เป็นโอกาสทองที่แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าไปทำการตลาดได้ ซึ่ง 69% ของคนไทยเห็นด้วยว่าการที่แบรนด์เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับกีฬาสามารถดึงดูดความสนใจแบรนด์ได้เพิ่มขึ้น และ 61% จะซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์กีฬามากกว่าซื้อแบรนด์คู่แข่ง หากราคาและคุณภาพเท่ากัน

นอกจากนี้โฆษณาที่มีการใช้ธีมกีฬา พบว่าได้รับการตอบรับดี คนไทยมากกว่า 42% รู้สึกโดนใจกับโฆษณาธีมกีฬา และ การใช้นักกีฬามาเป็นตัวดึงความสนใจ จะได้รับการตอบรับดีในหมู่คน Gen Y และ Gen X จะเห็นว่าการทำการตลาดกับกีฬาเป็นเทรนด์ที่มาแรง และยังเป็นกระแสอยู่ตลอดเวลา แบรนด์เองต้องเตรียมรับมือเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ และเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้นนั่นเอง

]]>
1414110
เจาะอินไซต์การรับชม ‘กีฬา’ และ ‘อีสปอร์ต’ ที่แบรนด์ต้องรู้ก่อนจะลงเงินโฆษณา https://positioningmag.com/1338835 Thu, 24 Jun 2021 11:28:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338835 หากพูดถึงเรื่อง กีฬา และ กีฬาอีสปอร์ต เชื่อว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่คนไทยหลายคนให้ความสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่มาคู่กันก็คือ สปอนเซอร์ แต่หลายแบรนด์อาจจะยังไม่แน่ใจว่าในส่วนของรายการกีฬานั้นมีผู้ชมมากน้อยแค่ไหน เป็นใคร และจะได้อะไรกลับมา ดังนั้น นีลเส็น ประเทศไทย จึงได้ออกมาเปิดเผยถึงอินไซต์ว่าภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง

ประชากรไทย 43 ล้านคนชมกีฬา

จากผลสำรวจในช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชมชาวไทย 84% หรือกว่า 43 ล้านคน กลับมารับชมกีฬา และมากกว่า 20 ล้านคน รับชมกีฬาในสนามแข่ง โดยคนไทย 19 ล้านคน เล่นกีฬา

แพลตฟอร์มในการรับชมกีฬา 5 อันดับ ได้แก่

  • ฟรีทีวี (74%)
  • โซเชียลมีเดีย (69%)
  • สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (46%)
  • OTT แพลตฟอร์ม (44%)
  • เพย์ทีวี (37%)

คนดูโหยหารายการกีฬา

แม้ว่าช่วงการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ไม่สามารถจัดแข่งขันกกีฬาได้ ซึ่งส่งผลกระทบให้ไม่มีรายการกีฬาถ่ายทอดสด จากยอดการรับชมเดือนละ 40-45 ล้านคนกลายเป็นศูนย์ในช่วงเดือนเมษายน 2020 แต่พอช่วงที่มีการผ่อนปรน มีการจัดแข่งขันกีฬาสดคนก็กลับมาชมกีฬาเหมือนเดิม อย่างที่ผ่านมา รายการ วอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สามารถทำเรตติ้งได้ 5.3%

ส่งผลให้โฆษณาสามารถเข้าถึงคนดูได้มากขึ้น อาทิ มิตซูบิชิ สามารถเข้าถึงคนดูได้ 3.9 ล้านคน จากการแข่งขัน AFC U23 Championship Thailand 2020, Coca-Cola เข้าถึงคนดู 1.8 ล้านคนจากรายการ Thai Fight, Leo Soda เข้าถึงคน 1.1 ล้านคน จากรายการ Toyota Thai League และ Nescafe เข้าถึคนดู 5 ล้านคน จากรายการวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นลีก 2021 สำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลยูโร 2020 มียอดผู้ชมสะสม 8.1 ล้านคนในช่วง 12 วันที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารายการกีฬาที่สำคัญยังสามารถดึงดูดคนได้อยู่

คนดูกีฬามักมีรายได้สูงกว่า

ผู้ชมกีฬาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ สูง เมื่อเทียบกับผู้ชมทั่วไป โดยประเภทรายการกีฬาที่คนไทยสนใจมากสุดคือ

  • ฟุตบอล (61%) ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมากกว่าคนไทยทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
  • วอลเลย์บอล (53%) มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนใหญ่อาศัยในกรุงเทพฯ และเขตเทศบาลต่างจังหวัด กำลังซื้อระดับปานกลาง
  • แบตมินตัน (42%) ผู้ชมส่วนใหญ่รายได้ปานกลางถึงสูง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก
  • มวยไทย (41%) จับกลุ่มรายได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด

 

โซเชียลช่องทางหลักติดตามข่าว

โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางอันดับ 1 (80%) ตามด้วยทีวี (78%) แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง (75%) Social Messaging (63%) และ เว็บไซต์ต่าง ๆ (60%) ทั้งนี้ ช่องทางการติดตามโซเชียล 5 อันดับ ดังนี้

  • Facebook 93%
  • YouTube 92%
  • Instagram 66%
  • Twitter 61%
  • TikTok 55%

สำหรับรายการแข่งขันที่คนไทยให้ความสนใจ ได้แก่ FIFA Would Cup 61%, Asian Game 55%, Sea Game 54% และ Asian Volleyball Cup 53%

ส่วนการแข่งขันที่จัดเป็นฤดูการที่คนไทยสนใจ ได้แก่ Premier League 55%, UEFA Champions League 49%, UEFA Europa League 44% และ Toyota Thai League 43%

ในส่วนของกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดแข่งในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้พบว่า คนไทยให้ความสนใจเพียง 43% แม้ว่าจะรู้จักเกือบ 100% อย่างไรก็ตาม หากวัดตามจำนวนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 60,000 บาทพบว่าพวกเขาให้ความสนใจ 53% สูงกว่าค่าเฉลี่ย

สปอนเซอร์มีภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับแฟนกีฬา

  • 65% ของผู้ชมเห็นด้วยว่าแบรนด์ผู้สนับสนุนกีฬาได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้น
  • 63% รู้สึกจดจำชื่อแบรนด์ได้
  • 60% รู้สึกว่าแบรนด์มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 55% จะเลือกใช้แบรนด์สปอนเซอร์มากกว่าแบรนด์คู่แข่ง

ที่น่าสนใจคือ สำหรับแฟนกีฬาจะให้ความสำคัญกับสปอนเซอร์มากกว่าผู้ชมทั่วไป โดยจะมีความภักดีต่อแบรนด์มากกว่า รักแบรนด์มากกว่า

แฟนอีสปอร์ตเป็นวัยรุ่นรายได้สูง

จากการสำรวจแฟนกีฬาอีสปอร์ตในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า 65% เป็นเพศชาย เป็นกลุ่มนักศึกษาหรือ Fist Jobber อายุเฉลี่ยประมาณ 27 ปี มีรายได้สูงกว่าเฉลี่ยคนกรุงที่ 45,000 บาท โดยเฉลี่ยมักจะใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการ เล่นเกม และใช้เวลา 5 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ยในการ รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ดย  79% ดูเพราะชื่นชอบ 74% ดูเป็นงานอดิเรก และ 61% ดูเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นเกม

 

โทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์หลักสำหรับใช้เล่นเกมและรับชมการแข่งขันมากถึง 88% ส่วนการเล่นเกมบน พีซี คิดเป็น 54% และมีเพียง 45% ที่ใช้เกม คอนโซล ส่วนแพลตฟอร์มที่ชาวอีสปอร์ตไทยใช้รับชมการแข่งขันอีสปอร์ต ได้แก่

  • YouTube 77%
  • Twitch 48%
  • Facebook 16%
  • mixer 12%
  • Garena 11%

ทั้งนี้ 71% ของแฟนอีสปอร์ตมองว่าสปอนเซอร์ช่วยทำให้ประสบการณ์ดีขึ้น 69% รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มคอมมูนิตี้อีสปอร์ต และ 55% รู้สึกว่าแบรนด์ที่ได้รับการแนะนำจากนักกีฬาหรือสตรีมเมอร์ให้ความรู้สึกว่ามีความจริงใจ

สรุป คนดูกีฬามีอำนาจการซื้อสูงกว่า โดยทีวียังคงเป็นช่องทางหลักในการรับชม แต่โซเชียลมีความสำคัญในการติดตามข่าวสาร ส่วนแบรนด์สปอนเซอร์จะได้รับผลบวกจากการสนับสนุนแน่นอน และแม้การแข่งขันกีฬาจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ผู้ชมกีฬาไม่เคยหายไปไหน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอาจยังไม่ฟื้นจากพิษ COVID-19 แต่หากไม่ลงโฆษณาอาจทำให้แบรนด์ไม่ได้สื่อสาร ทำให้ถูกลืมและถูกคู่แข่งแทรกขึ้นมาได้ ดังนั้น ต้องวางแผนอย่างรัดกุมและเฉียบขาดมากขึ้น

]]>
1338835