วิกฤตต้มยำกุ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 May 2020 00:32:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดแนวคิด “เสี่ยใหญ่ สหพัฒน์” : COVID-19 สาหัสกว่าต้มยำกุ้ง 10 เท่า พ่นพิษธุรกิจ และชีวิต https://positioningmag.com/1280185 Mon, 25 May 2020 13:50:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280185 เสี่ยใหญ่สหพัฒน์ ย้ำ COVID-19 ส่งผลกระทบหนักหนาสาหัสกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง 10 เท่า เพราะพ่นพิษใส่หมดทั้งธุรกิจและชีวิตคนไม่เลือกหน้า แนะทางออกฟื้นเศรษฐกิจไทย พร้อมเร่งปรับตัวสู้วิกฤต

หนักกว่าต้มยำกุ้ง 10 เท่า

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวถึงสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและไทยในขณะนี้ว่า

“วิกฤตจาก COVID-19 ครั้งนี้มีความรุนแรงมากกว่าวิกฤตยุคต้มยำกุ้งในอดีตมากกว่า 10 เท่า เนื่องจากวิกฤตต้มยำกุ้งส่งผลกระทบเฉพาะภาคธุรกิจ บริษัทต่างๆ ของเอกชน ขณะที่ COVID-19 ส่งผลกระทบไปหมดทั่วโลกทั้งภาคธุรกิจ บริษัท ภาครัฐบาล ประชาชน และที่สำคัญกระทบต่อชีวิตด้วย หากควบคุมไม่ดีจะพังกันไปหมด”

อย่างไรก็ตาม จากปัญหา COVID-19 ที่เกิดขึ้นนี้ โอกาสที่ประเทศไทยจะกลับมาดีขึ้นหรือเหมือนเดิมนั้นจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องการเมืองก็มีส่วน หากมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจใหม่ก็จะทำให้ทุกอย่างสะดุดอีก ซึ่งตัวเองมองว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ทำดีแล้ว เดินถูกทางแล้วในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

“ตัวอย่างเช่นในเรื่องของการใช้นโยบาย 4.0 ตรงนี้ทำให้เรื่องการแจกเงินให้กับคนกว่า 14 ล้านคน เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ และการใช้บิ๊กดาต้าเข้ามาช่วยด้วยทำให้ช่วยลดความเดือดร้อนของคนได้เร็วขึ้น หากเป็นการเอาเงินเข้าแบงก์แบบปกติ หรือมารับด้วยตัวเองคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี เป็นต้น”

ขณะที่ในเรื่องของค่าเงินบาทนั้น หากรักษาค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะใช้เวลา 1 ปี หรือถ้าค่าเงินเท่ากับช่วงนี้ก็อาจจะต้องใช้เวลาถึง 3 ปีก็เป็นไปได้

รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งของมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลก อย่างเช่น อเมริกากับจีน จะมีความรุนแรงมากขึ้น

กำไรสหพัฒน์หล่น 20%

หากมองถึงธุรกิจของเครือสหพัฒน์เองกับวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่า ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับคนอื่นๆ แต่เรามีหลายธุรกิจ บางกลุ่มก็มียอดขายที่ตกลงมาก เช่น เท็กซ์ไทล พวกเสื้อผ้า รองเท้า แฟชั่น เครื่องหนัง เป็นต้น แต่ส่วนที่ไปได้ดีก็พวก อาหาร ของใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ซึ่งโดยรวมแล้วสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ไม่ดี ก็ทำให้รายได้รวมของทั้งเครือยังตกประมาณ 10-20% ส่วนกำไรก็ตกประมาณ 20%

สาเหตุหลักเพราะเรามีการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายจึงสามารถที่จะประคองตัวได้ รวมทั้งนับตั้งแต่วิกฤตต้มย้ำกุ้งเป็นต้นมา เครือสหพัฒน์ได้ปรับแนวทางด้านการลงทุนใหม่โดยจะเน้นไปที่การใช้เงินตัวเองในการลงทุนมากขึ้น ลดการพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินลง ให้ลงทุนภายใต้ความสามารถของตัวเอง มีมากก็ลงทุนมาก มีน้อยก็ลงทุนน้อย จึงทำให้เราไม่เดือดร้อนมากนัก จากเดิมที่ก่อนหน้าวิกฤติต้มยำกุ้งมีการกู้เงินจากสถาบันการเงินมาก จึงทำให้สถานะทางการเงินตอนนี้ยังพอมีความสามารถในการพยุงธุรกิจโดยรวมไปได้อย่างน้อยอีก 1 ปี

“สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ คือปัญหาว่า COVID-19 จะจบลงเมื่อไรไม่มีใครรู้ แต่สิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้วก็ถือเป็นบทเรียนที่ดีเพราะทำให้ทุกคนได้หันมามองตัวเอง เพราะถ้าหากใครที่มีความอึดมาก มีความสามารถมากก็จะต่อสู้ได้ และก็เป็นโอกาสในการเดินหน้าต่อไปได้ด้วย หากมองในมุมของประเทศไทย ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีเหมือนกัน เพราะเมื่อก่อนหน้านี้ต่างชาติหลายประเทศอาจจะมองประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังไม่พัฒนามาก ยังไม่ล้ำสมัย แต่จากปัญหาโควิดที่เกิดขึ้น ทำให้เขารู้จักเราในมุมมองที่ดีมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสาธารณสุขที่เราสามารถรับมือกับ COVID-19 ได้ดี จะทำให้เรากลายเป็นศูนย์กลางในอาเซียนได้ และโควิดทำให้หลายๆ อย่างในไทยต้องทำการเซตซีโรกันใหม่”

โอกาสของประเทศไทย

พร้อมกับให้ความเห็นว่า จากนี้คงมีแนวโน้มของธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ที่อาจจะถอนการลงทุนจากจีนโดยเฉพาะทุนจากอเมริกา อีกทั้งจีนเองก็มีความเข้มแข็งมากขึ้นในภาคการผลิตอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ จึงไม่ค่อยสนใจอุตสาหกรรมจากต่างประเทศมากนัก

ตรงนี้ก็ถือเป็นโอกาสของประเทศไทยเราที่จะตอบรับกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ในการเตรียมรับมือกับธุรกิจที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมาที่ไทยได้ หลายโครงการที่รัฐบาลทำมาก็ดี เช่น EEC หรือโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศภาคตะวันออก

การทำธุรกิจในยุคจากนี้ไป เป้าหมายสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสร้างการเติบโตด้านรายได้มากกว่าปีที่ผ่านมามากน้อยเท่าไร แต่ต้องคำนึงว่าจะทำธุรกิจอย่างไรให้มีความมั่นคงมากกว่า ซึ่งเครือสหพัฒน์เองก็ต้องปรับแนวทางการลงทุน โดยธุรกิจอะไรก็ตามที่มีโอกาส มีทางออกก็จะขยายตัวต่อไป เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มสินค้าส่วนตัวในชีวิตประจำวัน หรือกลุ่มสินค้าที่ส่งออก แต่ในส่วนของธุรกิจที่ไม่มีทางออกหรือมีปัญหาในตลาดก็จะลดความสำคัญหรือลดขนาดธุรกิจลง เช่น แฟชั่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้า เป็นต้น

ส่วนแนวนโยบายการลงทุนของเครือสหพัฒน์จากนี้จะขึ้นอยู่กับโอกาสมากกว่า ส่วนออนไลน์ถือว่าน่าสนใจ ตลาดเติบโตมากเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Source

]]>
1280185
ผลกระทบ COVID-19 อาจพุ่งกว่า 1.3 ล้านล้าน สมาคมธนาคารไทย เชื่อมาตรการรัฐ “ช่วยได้” https://positioningmag.com/1273452 Tue, 14 Apr 2020 13:05:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273452 สมาคมธนาคารไทย ชี้ผลกระทบ COVID-19 อาจสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หากสถานการณ์สงบเร็วกระทบจีดีพี 7.7% หากยืดเยื้อความเสียหายอาจรุนแรงขึ้น เชื่อมาตรการรัฐเป็น “ยาดี” ช่วยได้

เศรษฐกิจจะแย่กว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เเต่เเตกต่าง

ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย มองว่า ผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงินใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

“จุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิกฤตการระบาดของเชื้อ COVID-19 กับวิกฤตปี 2540 คือ ในรอบนี้ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ ‘เร็ว’ และมี ‘ขนาดใหญ่’ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ทรุดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดับแรกๆ คือ การจัดการด้านสาธารณะสุขเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและดูแลผู้ป่วยในวงที่กว้างขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องอาชีพและปากท้องของประชาชน”

ทั้งสองส่วนนี้ มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จัดสรรไปหมดแล้ว

ด้านการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะปัจจุบันตลาดการเงินไทยเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงินปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุรกิจและครัวเรือนได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจ ธปท. ออกซอฟต์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พ.ร.ก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตลอดจน พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งรวมแล้วคือมาตรการเยียวยาระยะที่ 3 ที่มีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้นถือเป็นส่วนสำคัญ

“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลังของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ จะยังคงขึ้นอยู่กับว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่า หากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอีกมากเพียงพอที่จะประคับประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน” ปรีดีกล่าว

อุ้มตลาดทุน – ต่อลมหายใจ SMEs

ประธานสมาคมธนาคารไทย เเนะว่ามาตรการ 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จำเป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่การจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มีขนาดใหญ่ราว 22% ของจีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิมและเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถาบันและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมในตราสารหนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยมาตรการช่วยภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนกิจการทั้งหมด และการจ้างงานกว่า 85% ของการจ้างงานทั้งประเทศ หรือกว่า 13 ล้านคน ผ่านการให้ซอฟต์โลนเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแบบอัตโนมัติ

“ทั้งหมดนี้ ก็คาดหวังว่าการต่อลมหายใจทางธุรกิจ จะช่วยพยุงจ้างงานและกลไกของห่วงโซ่ธุรกิจบางส่วนให้พอเดินต่อไปได้ ในระหว่างที่ทุกคนรวมพลังอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ” 

]]>
1273452