จากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนเเรงมากขึ้น ที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เห็นว่าควรให้ให้ประชาชนสามารถใช้เครื่องตรวจแบบ ‘Antigen Test Kit’ หรือ ATK ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงที่ตรวจและครอบคลุมประชากรให้มากที่สุด
ATK จัดอยู่ในหมวดอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่สถานพยาบาล หรือ ‘ซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ที่ร้านขายยาเท่านั้น’ เพราะมีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับประชาชน
“ไม่อนุญาตให้ขายในร้านสะดวกซื้อหรือทางออนไลน์ เนื่องจากต้องมีการตรวจและยอมรับในเรื่องมาตรฐาน จึงขอให้ระมัดระวังในการซื้อเพราะอาจแปลผลผิด และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ”
ด้านผู้ประกอบการ–โรงงาน ที่มีพนักงานเกิน 50 คนขึ้นไป ปกติตามกฎหมายจะต้องมีสถานพยาบาลกำกับสถานประกอบการอยู่แล้ว จึงอนุญาตให้สามารถจัดหา ATK เพื่อตรวจพนักงานได้
โดย ศบค. ระบุว่า แม้มาตรฐานของ ATK จะไม่เท่าแบบชุดตรวจแบบ RT-PCR แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้รับการตรวจ
สำหรับแนวทางการตรวจ กรณีพบผลการตรวจเป็นบวก (Antigen Kit positive) หรือ ‘ติดเชื้อ’ ต้องเข้ารับการรักษา ขอให้ประชาชนไปติดต่อสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทันที ไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ
หากกรณีผลการตรวจเป็นลบ (Antigen Kit negative) หรือ ‘ไม่ติดเชื้อ’ แต่มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อ หรือมีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง แม้ผลตรวจจะออกมาเป็นลบ เเต่จะต้องตรวจซ้ำในวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 พร้อมลดการเดินทาง เนื่องจาก ATK ยังไม่มีความแม่นยำเพียงพอ ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ 16 ก.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองแล้ว ซึ่งชุดตรวจดังกล่าวจะเป็นการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกด้านหน้าหรือน้ำลาย ภายในชุดตรวจจะมีคู่มืออธิบายถึงวิธีการใช้ และวิธีการแปลผลฉบับภาษาไทย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและนำไปใช้ได้ได้อย่างถูกต้อง
ขอให้ผู้บริโภคสังเกตข้อความบนฉลาก “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้” โดยสามารถตรวจสอบชุดตรวจที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ทางเว็บไซต์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ >>> https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/SitePages/test_kit_covid19.aspx
อย. เน้นย้ำว่าผู้บริโภคไม่ควรซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง ผ่านทางสื่อออนไลน์หรือแหล่งอื่น เนื่องจากอาจได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานเสี่ยงต่อการนำไปใช้และแปลผลผิดพลาด สำหรับผู้ประกอบการที่จะโฆษณาจำหน่ายชุดตรวจต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน “หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
]]>
วันนี้ (9 ก.ค.2564) ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เเถลงว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตามข้อเสนอยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา ดังนี้
นอกจกานี้ การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ เเละกำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด
โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับ สถานการณ์ต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24, 25, 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
ส่วนหน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป (เจ้าหน้าที่เริ่มตั้งด่าน)
ทั้งนี้ กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังคับใช้บทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
]]>
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงการปรับระดับพื้นที่สีแดงและสีส้มทั่วประเทศ โดยมีพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 18 จังหวัด และ พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 59 จังหวัด
พื้นที่สีแดง 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ตาก นครปฐม นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ระยอง สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระแก้ว สุพรรณบุรี และอุดรธานี ส่วนจังหวัดอื่นๆ จัดเป็นพื้นที่สีส้ม
โดยเน้นย้ำว่าไม่ได้มีการสั่งล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวห้ามออกจากเคหะสถาน เพราะจะมีผลต่อการใช้ชีวิตและทำมาหากินของประชาชน
ดังนั้น เมื่อไม่ล็อกดาวน์ จะเป็นการควบคุมกิจกรรมบางประเภทที่มีรายงานเข้ามาแล้วว่าทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 เช่น สถานบันเทิง ออกค่าย งานสัมมนา แข่งขันกีฬา ฯลฯ
ทำให้ ศบค. ตัดสินใจร่างข้อกำหนดเหล่านี้เพื่อควบคุมการระบาด ดังนี้
1.ห้ามดำเนินการจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่ของโรคทั่วราชอาณาจักร คือ
– ห้ามจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือใดๆ ที่มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
– ห้ามรวมกลุ่มกันมากกว่า 50 คน ยกเว้นได้รับอนุญาต
2.ปิดสถานบริการที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร เช่น ผับบาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด ฯลฯ อย่างน้อย 14 วัน
3.กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุมตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะมีมาตรการต่างกันตามสีพื้นที่ ดังข้อ 4-5
4.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)
– ให้ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถนั่งทานในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และเปิดสำหรับซื้อกลับบ้านได้ไม่เกิน 23.00 น.
– ห้ามจำหน่ายสุราภายในร้านเด็ดขาด
– ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ เปิดได้ถึง 21.00 น. และงดเว้นกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงงดเว้นบริการตู้เกม เครื่องเล่นเกม สวนสนุก
– ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ถนนคนเดิน ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ให้เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. และเปิดอีกครั้งได้ในเวลา 04.00 น.
– ยิม ฟิตเนส สนามกีฬา เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. แต่ยังสามารถจัดการแข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชมในสนาม
5.พื้นที่ควบคุม (สีส้ม)
– ร้านอาหารและเครื่องดื่มสามารถนั่งทานในร้านและซื้อกลับบ้านได้ไม่เกิน 23.00 น.
– ห้ามจำหน่ายสุราภายในร้านเด็ดขาด
– ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ เปิดได้ถึง 21.00 น. และงดเว้นกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงงดเว้นบริการตู้เกม เครื่องเล่นเกม สวนสนุก
(สำหรับร้านสะดวกซื้อและกลุ่มยิม ฟิตเนส สนามกีฬา ไม่มีกำหนดในพื้นที่สีส้ม)
6.ขอความร่วมมือประชาชนงดจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยง หรือรื่นเริง
7.ขอความร่วมมือภาคเอกชนจัด Work from Home หรือสลับวันทำงาน
8.ให้ภาครัฐเร่งดำเนินจัดหาสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และ สถานที่แยกกัก กักกันผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ โดยขอความร่วมมือจากสถานที่ต่างๆ เช่น หอประชุม มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ที่เหมาะสมให้ระดมความพร้อมในการจัดเตรียมสถานที่
9.กำหนดระยะเวลาทดลองใช้มาตรการดังนี้ 2 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 และในระยะนี้ หากผู้ว่าราชการจังหวัดต้องการเปลี่ยนระดับสีพื้นที่หรือออกมาตรการเพิ่มเติมสามารถทำได้
นพ.ทวีศิลป์ ย้ำว่า “ไม่มีเคอร์ฟิว” ทำให้การเดินทาง กิจการการค้าสามารถขนส่งได้ตามปกติ เพื่อให้ชีวิตของประชาชนเป็นปกติมากที่สุดที่ทำได้
]]>นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงการเปิดให้ต่างชาติเข้าประเทศ รวมถึงกองถ่ายภาพยนตร์ต่างชาติ ว่า จะมีการอนุญาตชาวต่างชาติ 4 กลุ่ม คือ
1. ต่างชาติเข้ามาจัดแสดงสินค้าในราชอาณาจักร ตรงนี้ทำเป็นประจำ ทำให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ โดยจำนวนคนไม่มาก และมีขอบเขตพื้นที่ มีวันเวลาชัดเจน
2. ชาวต่างชาติถ่ายทำภาพยนตร์ในราชอาณาจักร ก็จะขออนุญาตมามีช่วงเวลา มีกลุ่มคน มีพื้นที่สถานที่ มีตารางกำหนดแผนก็ควบคุมได้
3. แรงงาน 3 สัญชาติที่จะเข้ามา ไม่ใช่นักท่องเที่ยว เพราะเราขาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหาร และก่อสร้าง โดยจะเข้ามาช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจ
4. เมดิคัลแอนด์เวลเนส ที่เข้ามารักษาจนครบ 14 วัน ก็ให้อยู่ต่อ หรือรอนัดหมายของแพทย์อีกสักรอบ ก็จะได้เม็ดเงินเข้ามา ทั้งนี้ มาตรการชัดเจน คือ สเตทควอรันทีน หรือฮอสปิทัล คอวรันทีน จำนวน 14 วัน เพื่อให้เกิดความแน่ใจ
เมื่อถามว่า เมื่อไรจะเปิดให้คนไทยกลับมามากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีนักศึกษาที่เรียนจบในต่างประเทศรอเดินทางกลับจำนวนมาก มีโอกาสเพิ่มโควตาหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เราพยายามทำเต็มที ก่อนหน้านั้น ประมาณ 200 ราย และเพิ่มมาเป็น 300 400 500 และ 600 ราย ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรคนต่อวันจำนวนมาก ตอนนี้วันละ 600 คน ก็เต็มศักยภาพอยู่ อย่างไรก็ตาม การกลับมาก็ขอให้เต็มศักยภาพก่อน แล้วค่อยเพิ่มอีกได้หรือไม่ บางคนที่ไปต่างประเทศได้ มีศักยภาพสูง จะกลับเข้ามาแบบ อัลเทอร์เนทีฟ สเตทควอรันทีน หรือไม่ โดยจ่ายเงินเอง หากอยากกลับมาเร็วก็ติดต่อสถานทูต และพยายามประสานลงทะเบียนเอาไว้ และบอกว่าจะกลับมาอยู่ในที่อะไรแบบไหน เราจะจัดการบริการในพื้นที่ในประเทศ
]]>นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของไทย เนื่องจากต่างประเทศยังมีผู้ป่วยเพิ่มวันละมากกว่าแสนราย ว่า เรามีการประชุมในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเสนอต่อ ศบค.ชุดใหญ่ โดยเรามีความพร้อมเรื่องเตียง
มาตรการรองรับการเดินทางมาจากต่างประเทศ การจัดการในทางกฎหมายโดย พ.ร.บ.โรคติดต่อ บัญญัติวิธีการไว้ 3 อย่าง คือ
1. แยกกัก คือ ลงเครื่องมาป่วยเอาเข้า รพ.ทันที เรียกว่า Isolation
2. กักกัน (Quarantine) มี 4 ประเภท คือ
3. คุมไว้สังเกตอาการ (Close Observation) คือ ไม่ต้องนอนใน รพ.หรือ รพ. ประเภทนักธุรกิจมาระยะสั้นๆ มาเซ็นสัญญานอน 2-3 วันกลับบ้าน ก็ไม่อยากมาอยู่ 14 วัน แต่ต้องมีระบบตรวจสอบตั้งแต่ก่อนมา ระหว่างมา และก่อนจะกลับ ว่าไม่มีเชื้อ ตรวจกันยิบ และต้องมีแผนว่าจะไปไหนให้เราเห็น โดยรถยนต์ส่วนตัว จะไปดูไปตรงไหนต้องบอกเราทั้งหมดและไปในเส้นทางนี้ และต้องจ่ายเอง นอนโรงแรมไหน โรงแรมนั้นก็ต้องเป็น Alternative State Quarantine มีแพทย์ พยาบาลประกบ และจะไปที่ไหนจะไปเดี่ยวๆ ไม่ได้ ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ติดตามไปด้วย คือ เป็นการคุมไว้สังเกต อยู่ในสายตาของเราตลอด และต้องไม่เป็นความเสี่ยงกับเรา
การผ่อนปรน 6 กลุ่มที่จะเข้าไทย 200 คนต่อวัน กลุ่มคนที่จะเข้ามาในประเทศไทยมี 11 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้มีสัญชาติไทย อยู่ได้ทั้ง SQ LQ ALQ
2. ผู้มีเหตุยกเว้น ใช้แนวทางคุมไว้สังเกตอาการ
3. บุคคลในคณะทูต ใช้วิธีกักตนเองในสถานทูตนั้น (Home/Self Quarantine)
4. ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น เมื่อขนส่งเสร็จเข้ามาก็ขับรถออกไปได้ ไม่ต้องอยู่
5. ผู้ควบคุมยานพาหนะ อาจต้องพักค้าง เช่น กัปตันเครื่องบิน แอร์โฮสเตส สายการบินทั้งหลาย ใช้วิธี ASQ
6. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรสคนมีสัญชาติไทย ใช้ ASQ
7. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีถิ่นที่อยู่ในไทย ใช้ ASQ
8. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีใบอนุญาตทำงาน ใช้ ASQ
9. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาในไทย ใช้ ASQ หรือ OQ
10. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาในไทย ใช้กักใน รพ.
11. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยได้รับอนุญาตเข้ามาในไทยตามข้อตกลงพิเศษ มาระยะยาวใช้วิธี ASQ หรือมาระยะสั้นๆ ใช้วิธีคุมไว้สังเกตอาการ
]]>นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงมาตรการผ่อนคลายผู้คนเข้าราชอาณาจักรว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอเพิ่มบุคคล 6 กลุ่มเดินทางเข้าประเทศ ได้แก่
1. คู่สมรสและบุตรของผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ทำงานในราชอาณาจักร หรือคนที่ได้ Work Permit เดิมได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่แล้ว แต่ญาติไม่ได้เข้ามา ก็อนุญาตให้เข้ามาได้
2. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
3. คู่สมรสต่างชาติและบุตรที่อบด้วยกฎหมายของผู้มีสัญชาติไทย หรือคนต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยและบุตรอนุญาตให้เข้ามา
4. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือต่างชาติ ที่ต้องการเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยและมีผู้ติดตามเข้ามา คือ Medical Hub โดยจะเน้นบางโรคบางกลุ่ม ยืนยันว่าไม่ได้เอาคนป่วย COVDI-19 เข้ามา เพราะหากป่วยจะต้องถูกกันไว้ตั้งแต่แรก แต่ผู้ที่จะเข้ามารับการรักษา เช่น มาทำตา มาเสริมจมูก ตรวจเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งชื่อเสียงแพทย์ไทยดังด้านนี้ ก็มาได้
5. นักเรียนนักศึกษาต่างชาติ และผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว
6. ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ (Special Arrangement) กับประเทศเป้าหมาย อาจจะรวมแขกของรัฐบาล นักลงทุนพิเศษทั้งหลาย
รมว.กต.ได้เสนอขึ้นมาถึงการจัดทำความตกลงพิเศษ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค โควตาที่กำหนดให้สอดคล้องกับสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine : ASQ) คือ โรงแรมหรู ที่จับมือกับ รพ. ซึ่งคนเข้ามาต้องจ่ายเงินเองในการอยู่กักตัว 14 วัน
ขั้นต้นอาจกำหนดจำนวนรวม 200 คนต่อวัน ซึ่งตอนนี้ห้องว่าง 600 กว่าห้องก็คิดว่าน่าจะพอไหว ส่วนประเทศเป้าหมายที่พิจารณา คือ 4 ประเทศและ 1 เขตการปกครอง คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เกณฑ์การพิจารณา คือ 1. มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทย 2. ควบคุมการระบาดได้ดีใกล้เคียงกับไทย 3. มีระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และ 4. มีความพร้อมและความสนใจในการทำความตกลง
การที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำได้ 2 ระบบ คือ
1. ระบบปกติ (Normal Track) คือ ต้องเข้ามาอยู่ใน ASQ เพื่อกักตัว 14 วันก่อน โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง คือ คนที่ต้องมาอยู่กับเรานานๆ มาทำงานนานๆ
2. ระบบ Fast Track คือ มาระยะสั้นๆ หรือมาเร่งด่วน เช่น มาจดทะเบียนลงนามสัญญาสำคัญ 2 วันแล้วกลับ เป็นต้น ไม่ต้องอยู่ 14 วัน แต่ต้องมีเงื่อนไขเข้มงวด โดยหลักเกณฑ์ในการรองรับการเดินทางของแขกรัฐบาล คือ
นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ขณะที่กระทรวงการคมนาคมขอยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เสนอไป คือ การจัดที่นั่งเว้นที่นั่งบนบีทีเอส หรือรถต่างๆ เนื่องจากตอนนี้เข้าสู่การปกติ การเคลื่อนย้ายโดยขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น จึงขอยกเว้นเรื่องดังกล่าว แต่ต้องใส่หน้ากากตลดเวลา และความหนาแน่นสูงสุด คือ 70%
เมื่อถามถึงการลักลอบเข้าประเทศ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ผอ.ศบค.ห่วงใยและสั่งการให้ตรวจสอบ พบว่ามีการเดินทางผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายมีเป็นประจำ และมีรอบพื้นที่ประเทศไทย จึงสั่งการให้ฝ่ายมั่นคงดูแลเข้ม โดยพบว่ามิ.ย.ที่ผ่านมา ในรอบ 24 ชั่วโมงจากลาวจับกุม 7 คน กัมพูชา จับกุม 26 คน พม่า 35 คน และรายงานตลอดทั้งเดือนสะสม 2,498 คน ในช่วงเกือบ 1 เดือน มากที่สุด พม่า 1,276 คน ลาว 142 คน กัมพูชา 1,016 คน เวียดนาม 4 คน จีน 6 คน อินเดีย 27 คน อื่นๆ 27 คน ซึ่งไม่ใช่แค่พื้นที่ขอบชายแดน ยังมีพื้นที่ตอนในเข้ามาด้วย หมายความว่าเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายอยู่ในเมืองไทยและอาจอยู่มานานด้วย อาจจะเป็นเหตุที่เรายังวางใจไม่ได้ ถ้ามีการเดินทางกันอย่างนี้ ฝ่ายมั่นคงดูแลเต็มที่ก็จับได้ประมาณนี้ จะรอให้ฝ่ายมั่นคงทำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องขอประชาชนช่วยกันสอดส่องด้วยเพราะมีความเสี่ยงทั้งสิ้น
]]>ขั้นสองเริ่ม 1 ก.ค.หรือเมื่อพร้อมในกลุ่มเข้ามารับการรักษา ส่วนขั้นที่ 3 คือ Travel Bubble จ่อทำ 2 รูปแบบ เป็น “วิลลา ควอรันทีน” เริ่ม 1 ส.ค. ส่วนรูปแบบยกเลิกควอรันทีนยังต้องรออีกนาน
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงการเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยว่า การผ่อนคลายจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1
มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ดำเนินการให้เข้ามาได้ทันที คือ นักธุรกิจ/นักลงทุน มีลงทะเบียนไว้ 700 คน และอยู่ใน Waiting List เมื่อเข้ามาจะต้องถูกกักตัวตามมาตรการ 14 วัน และกลุ่มที่ให้เข้ามาได้ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 หลังเสนอ ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาเห็นชอบวันที่ 29 มิ.ย. คือ แรงงานฝีมือ/ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15,400 คน คนต่างด้าว กรณีเป็นครอบครัวคนไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในไทยจำนวน 2,000 คน ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ประมาณ 2,000 คน ส่วนนี้ต้องถูกกักตัว 14 วันเช่นกัน
ส่วนนักธุรกิจ นักลงทุน หรือแขกของรัฐบาลที่เดินทางเข้ามาสั้นๆ เช่น ประชุมสัมมนา 2 วันแล้วกลับ หรือลงนามสัญญาวันเดียวแล้วกลับ จะเสนอ ศบค.ให้เริ่มวันที่ 1 ก.ค.ด้วย โดยต้องมีมาตรการขั้นตอนตรวจเชื้อว่าปลอดโควิดทั้งต้นทาง เมื่อเดินทางถึงไทย มีประกันสุขภาพแสนเหรียญ และมีการจัดทีมติดตามทางการแพทย์อย่างน้อย 1 คน เพื่อกำกับดูแลสังเกตอาการ
ขั้นที่ 2
กลุ่มที่จะขอให้ดำเนินการวันที่ 1 ก.ค. หรือเมื่อมีความพร้อม ได้แก่ กลุ่ม Medical and Wellness Tourism ซึ่งประมาณการว่าจะเข้ามาประมาณ 30,000 คน โดยอาจเลือกไว้ในเขต กทม. ภูเก็ต หาดใหญ่ เชียงใหม่ เชียงราย (ตามความพร้อม) และกลุ่ม Medical and Wellness Tourism ที่ผนวกกับการดำเนินงานด้าน Safety Tour หรือ SHA
ขั้นที่ 3
โครงการทราเวล บับเบิล (Travel Bubble) แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ มาตรการวิลลา ควอรันทีน จะเริ่ม 1 ส.ค. โดยกลุ่มเดียวกันที่เข้ามาแล้วพักกลุ่มก้อนเดียวกัน เพื่อสะดวกติดตามกำกับ เช่น เช่าบังกะโลชุดใหญ่ริมหาด บางคนมาอยู่เป็นสัปดาห์เป็นเดือนอยู่แล้วก็อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด โดยจะเปิดบริการแบบนี้เพื่อนำเงินเข้ามา
รูปแบบที่ 2 คือ ผ่อนคลายมาตรการกักตัว แต่จะเริ่มดำเนินการเมื่อพร้อม และสังคมเชื่อมั่นในมาตรการ ตรงนี้ต้องรอไปอีกสักระยะ ส่วนกลุ่มประเทศยังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะตอนแรกหารือจีน ก็มีติดเชื้อปักกิ่ง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จะคุยก็มีติดเชื้อในประเทศก็ยืดออกไป ก็ต้องค่อยๆ คุยกัน
เมื่อถามว่ายังมีคนไทยรอกลับประเทศอีก แต่โควตาเข้ามาได้วันละ 500 คน เมื่อจะเปิดให้ต่างชาติเข้ามา ควรรอให้คนไทยกลับก่อนหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า จะมีการขอเพิ่มโควต้าเป็น 600 คนต่อวันหรือมากกว่า นอกจากนี้ คนไทยที่ต้องการเดินทางกลับก็อาจเลือกเข้าพักสถานกักตัวแบบทางเลือกที่เป็นโรงแรมดีๆ จับมือกับ รพ.เอกชน ซึ่งยังมีห้องว่างอยู่ 605 ห้อง ก็จะกลับมาเพิ่มเติมได้ และอาจจะหารือโรงแรมในต่างจังหวัดเปิดเป็น Alternative Local Quarantine ด้วย ในจังหวัดที่มีสนามบินให้ต่างชาติลง เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย โดยจับคู่กับ รพ.เอกชน
]]>วันนี้ (12 มิ.ย. 63) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงการผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 4 จากการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธานการประชุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยกเลิกเคอร์ฟิวการห้ามออกนอกเคหสถาน วันที่ 15 มิ.ย. 63 แต่ยังควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก น้ำ และอากาศ เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ
นพ.ทวีศิลป์ยังกล่าวถึงแนวทางการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด หรือ Travel Bubble ว่า ขณะนี้ ศบค.รับในหลักการแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการหารือ โดยมีการเสนอข้อกำหนดหลายประเด็น เช่น ผู้ที่เดินทางเข้ามาต้องผ่านการตรวจหาเชื้อ COVID-19 จากประเทศต้นทางเพื่อไม่ต้องกักตัว 14 วันภายในประเทศไทย
รวมถึงคาดว่าจะมีการอนุญาตให้เฉพาะบางกลุ่มที่มีแผนการเดินทางชัดเจน สามารถติดตามตัวได้ (track & trace) เช่น กลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาติดต่อธุรกิจ กลุ่มนักกอล์ฟที่เข้ามาเพื่อทำกิจกรรมในบริเวณสนามกอล์ฟเท่านั้น กลุ่มที่เดินทางมาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยหรือด้านเวลเนส (Medical Tourism)
การเปิด Travel Bubble น่าจะเกิดขึ้นเฉพาะบางประเทศ ในการหารือมีชื่อประเทศเหล่านี้ที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมา เช่น จีน ฮ่องกง มาเก๊า ญี่ปุ่น เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา ตะวันออกกลางบางประเทศ
หลังจากนี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อลงรายละเอียดข้อกำหนด Travel Bubble พร้อมสร้างความเข้าใจกับประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ วันที่ 12 มิ.ย. 63 ไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 4 ราย โดยพบในสถานที่กักตัวของรัฐทั้งสิ้น ไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ รวมมีผู้ติดเชื้อสะสม 3,129 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย (ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม) เป็นเวลา 18 วันติดต่อกันที่ประเทศไทยไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือให้ประชาชนระมัดระวังและป้องกันตัวจากโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด
]]>ซึ่งก่อนหน้านี้ห้างสามารถเปิดได้ในส่วนของซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ด ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร และที่ทำการหน่วยงานของรัฐและวิสาหกิจ ส่วนการคลายล็อกรอบที่ 2 นี้ มีอะไรที่เปิดได้ และยังต้องปิดต่อบ้าง เช็กลิสต์ได้เลย
1. สินค้าอุปโภค ร้านขายปลีกธุรกิจคอมพิวเตอร์ หนังสือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนอน วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ วัสดุสำนักงาน เครื่องครัว อุปกรณ์จำเป็นภายในครัวเรือน ดอกไม้ ต้นไม้ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง อุปกรณ์กีฬา
2. สินค้าโภคภัณฑ์ ทอง เครื่องประดับ จิวเวลรี
3. บริการอินเทอร์เน็ต ซักอบรีด ซ่อมแซมเครื่องใช้อุปกรณ์
4. ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
5. บริษัทประกันภัย ประกันชีวิต
6. คลินิกเวชกรรม สถานทันตกรรม
7. ห้องรับรอง
8. ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม สำหรับบุรุษ สตรี (เปิดเฉพาะสระ ตัด ซอยผม แต่งผม) ร้านทำเล็บ
9. ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฟู้ดคอร์ต และศูนย์อาหาร
1. โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง สเกต คาราโอเกะ
2. สวนสนุก สวนน้ำ สวนสัตว์
3. พื้นที่กิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมการขาย แข่งขันกีฬา
4. ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญ
5. สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส
6. ศูนย์ประชุม ห้องประชุม ฮอลล์
7. สถานที่จัดนิทรรศการ
8. โรงเรียน สถาบันกวดวิชา
9. สนามพระเครื่อง พระบูชา
10. ร้านนวดแผนไทย สปา
สำหรับกิจการกลุ่มอื่นๆ ที่มีการอนุญาตให้เปิดในเฟสสองนั้น ในส่วนของห้องประชุมโรงแรมและศูนย์ประชุม อนุญาตให้เปิดเฉพาะให้บริการจัดประชุมขององค์กรหรือหน่วยงาน (Meeting) ลักษณะนั่งประชุมแบบจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม แต่ที่ยังต้องปิดต่อไป คือ การจัดอบรม สัมมนา จัดแสดงสินค้า นิทรรศการ จัดงานเลี้ยง อีเวนต์ในโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้าสถานที่จัดนิทรรศการ
ขณะที่กิจการกลุ่มสถานพยาบาลที่คลายล็อกเพิ่มเติม คือ คลินิกเสริมความงาม เฉพาะเรือนร่าง ผิวพรรณ และเลเซอร์ ไม่รวมการเสริมความงามบริเวณใบหน้า ส่วนที่ยังต้องปิดต่อไปคือ การเสริมความงามควบคุมน้ำหนัก สถานที่สัก เจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร และสถานประกอบกิจการอาบอบนวด คือ นวดเสริมความงาม นวดตัว อาบน้ำ อบตัว อบไอน้ำ ออนเซน อาบ อบ นวด
]]>