สงครามอิสราเอล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Apr 2024 13:26:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตึงเครียดทั่วโลก! งบ ‘การทหาร’ ทั่วโลกพุ่งทะลุ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาวะสงคราม https://positioningmag.com/1470667 Mon, 22 Apr 2024 12:17:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470667 จากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ตามด้วยความตึงเครียดแถบตะวันออกกลางของ อิสราเอล กับภัยคุกคาม ทั้งจาก กลุ่มฮามาส ฮิซบอลเลาะห์ อิหร่าน และในเขตเวสต์แบงก์ ยังไม่รวมความขัดแย้งของ จีน-สหรัฐฯ ที่พลอยทำให้ จีนกับไต้หวันเริ่มตึง ๆ ใส่กัน ดังนั้น การที่งบที่ใช้จ่ายกับการทหารทั่วโลกจะสูงขึ้น จึงไม่ใช่อะไรที่น่าแปลกใจนัก

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา งบการลงทุนทางทหารทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ +6.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2552 ที่มีรายงานเรื่องแนวโน้มการใช้จ่ายทางทหาร

“การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อการเสื่อมถอยของสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลก” หนาน เทียน นักวิจัยอาวุโสในโครงการการใช้จ่ายทางทหารและการผลิตอาวุธของ SIPRI กล่าว

รายงานระบุว่า รายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 9 และรายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นใน ตะวันออกกลาง

แน่นอนว่ายูเครนและรัสเซียซึ่งอยู่ในภาวะสงครามอย่างแข็งขัน ติดอันดับประเทศที่เพิ่มการใช้จ่ายทางทหารมากที่สุดในปี 2566 อยู่ที่ 51% และ 24% ตามลำดับ โดยค่าใช้จ่ายทางการทหารตามจริงของ รัสเซีย ยังคงสูงกว่ายูเครนอยู่มาก โดยอยู่ที่ประมาณ 109,000 ล้านดอลลาร์ ส่วน ยูเครน อยู่ที่ 64,800 ล้านดอลลาร์

โดย รัสเซีย กลายเป็นรายจ่ายทางการทหารรายใหญ่ อันดับ 3 ของโลก ตามหลัง สหรัฐฯ ที่ใช้จ่าย 916,000 ล้านดอลลาร์ +2.3% และ จีน ใช้จ่าย 296,000 ล้านดอลลาร์ +6% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของ เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้น +9% และ +7.9% ตามลำดับ ส่วน อิสราเอล ซึ่งกำลังอยู่ในความขัดแย้งเช่นกัน ใช้จ่าย 27,500 ล้านดอลลาร์ +24%

“ค่าใช้จ่ายทางทหารรายเดือนของอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เริ่มสงครามในฉนวนกาซา”

ในแถบเอเชีย ประเทศอย่าง ไต้หวัน ใช้จ่ายทางทหารที่ 16,600 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งเป็นยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากไต้หวันก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ส่วน เกาหลีใต้ ใช้ 47,900 ล้านดอลลาร์ +1.1%

ที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่น ที่ใช้มากถึง 50,200 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้น มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2515 และยังถือเป็นงบสร้างกองทัพที่มากที่สุดของญี่ปุ่น นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

สำหรับ ไทย มีการใช้จ่ายทางทหารอยู่อันดับที่ 38 ของโลก โดยมีงบประมาณอยู่ที่ 5,800 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อนหน้า 6.5%

]]>
1470667
ประเมินราคา ‘น้ำมัน’ อาจทะยานสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หากสงครามอิสราเอล-ฮามาสทวีความรุนแรง https://positioningmag.com/1450115 Tue, 31 Oct 2023 07:58:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450115 ดูเหมือนว่าหากสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ยังยืดเยื้อจะไม่ใช่แค่ส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ทั่วโลกก็ได้ผลกระทบไปด้วย ที่เห็นชัดก็คือ ราคาน้ำมัน โดยธนาคารโลกมองว่าอาจทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากสงครามยืดเยื้อ

ธนาคารโลก ออกมาเตือนว่า หากความขัดแย้งของสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายออกไปนอกพรมแดนของฉนวนกาซา จนเกิดการคว่ำบาตรน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึง 157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ ในเดือนกรกฎาคม 2008 ที่มีการซื้อขายสูงถึง 147.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามข้อมูลจาก LSEG

นอกจากนี้ เคยมีเหตุการณ์การคว่ำบาตรน้ำมันของอาหรับในปี 1973 ส่งผลให้อุปทานน้ำมันทั่วโลกจะลดลง 6-8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั่นจะผลักดันราคาให้สูงขึ้น 56-75% หรือราว 140-157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

“วิกฤตน้ำมันเมื่อ 50 ปีก่อนทําให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 4 เท่าหลังจากรัฐมนตรีพลังงานอาหรับสั่งห้ามส่งออกน้ำมัน   ของสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การสนับสนุนอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1973 ซึ่งเป็นที่รู้จักในอิสราเอลในชื่อสงครามยมคิปปูร์”

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการประเมินสถานการณ์แย่ที่สุด โดยธนาคารโลกได้ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 ระดับ โดย กรณีที่ดีที่สุด คือ ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น 3-13% มาอยู่ที่ระดับ 93-102 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลล์ หากอุปทานน้ำมันทั่วโลกลดลง 500,000 ถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการลดลงที่เทียบได้กับช่วงสงครามกลาง เมืองลิเบียในปี 2011

รองลงมาคือ อุปทานลดลงตลาด 3-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อาจจะดันให้ราคาน้ำมันให้สูงขึ้นระหว่าง 109-121 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเทียบเท่ากับระดับที่ไปถึงในช่วงสงครามอิรักในปี 2003

ถึงแม้ว่าทั้งอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์จะไม่ใช่ผู้เล่นน้ำมันรายใหญ่ แต่ความขัดแย้งก็อยู่ในภูมิภาคการผลิต    น้ำมันที่สําคัญ

“หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญกับภาวะช็อกด้านพลังงานเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ เพราะไม่ใช่แค่จากสงครามในยูเครนเท่านั้น แต่ยังมาจากตะวันออกกลางด้วย”

Source

]]>
1450115
ผลพวง “สงครามอิสราเอล” ดันราคา “น้ำมัน” พุ่ง 4% https://positioningmag.com/1447262 Mon, 09 Oct 2023 06:45:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447262 สงครามระหว่าง อิสราเอล และ ฮามาส กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ได้ยืดเยื้อมาถึงวันที่ 3 แล้ว ซึ่งจากสงครามดังกล่าวได้ส่งผลต่อ ราคาน้ำมันและทองคำ 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาซื้อขายสูงขึ้น 4.53% ที่ 88.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันนี้ (9 ต.ค.2566) ขณะที่สหรัฐฯ ฟิวเจอร์ส West Texas Intermediate เพิ่มขึ้น 4.69% เป็น 88.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการตอบสนองของตลาดต่อภาวะสงคราม

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สงครามไม่ได้ทําให้แหล่งน้ํามันที่สําคัญใด ๆ ตกอยู่ในอันตรายโดยตรง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้ค้าน้ํามันรายใหญ่ โดย อิสราเอลมีโรงกลั่นน้ํามันสองแห่ง ที่มีกําลังการผลิตรวมกันเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ไม่ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งทั้งสองจะไม่ได้ส่งผลต่อโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสำคัญ ๆ โดยตรง แต่ก็เสมือนอยู่ หน้าประตูของภูมิภาคการผลิตและส่งออกน้ำมันที่สําคัญสําหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“ผลกระทบที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงจริง ๆ คือ การลดอุปทานหรือการขนส่งน้ำมัน” Vivek Dhar ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยการขุดและสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานของธนาคารเครือจักรภพ กล่าว

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ราคา ทองคำ ก็สูงขึ้น 0.99% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนหาสินทรัพย์หลบภัย ส่วนราคาทองในไทย สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 400 บาท โดยราคารับซื้อทองคำแท่งบาทละ 32,350 บาท ขายออก 32,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 31,760.20 บาท ขายออก 32,950 บาท

ทั้งนี้ จากการโจมตีของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าชาวอิสราเอลอย่างน้อย 700 คนถูกสังหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ได้บันทึกผู้เสียชีวิต 313 ราย จนถึงขณะนี้

Source

]]>
1447262