สถาบันวิทยสิริเมธี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Oct 2021 09:40:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องบทบาท VISTEC มหาวิทยาลัยแนวหน้าแห่งวงการนวัตกรรมไทย ส่งนักวิทย์คว้ารางวัลระดับประเทศ https://positioningmag.com/1356107 Tue, 12 Oct 2021 10:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356107

6 ปีหลัง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ก่อตั้งขึ้น จากการมุ่งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของไทยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วันนี้ผลงานของสถาบันฯ ผลิดอกออกผล “ศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์” บุคลากรของสถาบันได้ “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2564” ด้วยผลงานการคิดค้นเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) โดยสถาบันฯ ยังมีผลงานวิจัยอีกมากที่จะพลิกวงการวิทยาศาสตร์ไทย เช่น แบตเตอรีลิเธียมไอออน หุ่นยนต์ เศรษฐกิจหมุนเวียนจากขยะอินทรีย์

คำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยน้อยเกินไป” ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงเลย วัดได้จากข้อมูลของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลาอยู่เพียง 20 คนต่อประชากร 10,000 คน และถ้าคิดสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยต่อจีดีพีประเทศ จะคิดเป็นเพียง 1.11% เท่านั้น

จากความขาดแคลนนักวิจัยดังนี้ กลุ่ม ปตท. และผู้ร่วมสนับสนุน จึงจัดตั้ง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ขึ้นเมื่อปี 2558 ตั้งอยู่ในวังจันทร์ วัลเลย์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และสนับสนุนนักวิจัยเป็นรายโครงการ เรียกได้ว่าพุ่งเป้าไปที่การศึกษาขั้นสูงและการวิจัย ตรงจุดความต้องการของประเทศ


สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่กำลังหาสถานที่เรียนต่อหรือทำวิจัย VISTEC จึงเป็นหนึ่งสถาบันการศึกษาที่น่าสนใจ ที่นี่จะมี 4 สาขาวิชาให้เลือก คือ 1) สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering: MSE) 2) สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน (School of Energy Science and Engineering: ESE) 3) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล (School of Biomolecular Science and Engineering: BSE) และ 4) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (School of Information Science and Technology: IST) ซึ่งตามการคาดการณ์ของ OECD Megatrends ความรู้ทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ไบโอเทค วัสดุขั้นสูง และดิจิทัล จะเป็นวิทยาการสำคัญของโลก!


ตัวอย่างการวิจัยภายในสาขาต่างๆ ที่เปิดสอน

เป้าหมายระยะยาวของ VISTEC ต้องการเป็นผู้นำการสร้างองค์ความรู้และนักวิทยาศาสตร์นักวิจัยรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ ให้กับประเทศ มีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของไทย ทำให้งานของนักวิจัยจะถูกนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรรมจริง เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาไปสู่การเป็นประเทศผู้พัฒนานวัตกรรมได้

ผลงานด้านวิชาการของ VISTEC ยังได้รับการยอมรับ โดย Nature Index เมื่อปี 2563 จัดอันดับให้สถาบันวิทยสิริเมธีเป็นอันดับ 1 ของไทยและอันดับ 3 ของอาเซียนในด้านสาขาเคมี เป็นอันดับ 2 ของไทยในภาพรวมทุกสาขาวิชา ปัจจุบัน พฤษภาคม 2564 เป็นอันดับหนึ่งของไทยในทุกสาขาวิชา และถือเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของโลกในหมวดมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

ล่าสุด อีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า VISTEC ได้สนับสนุนสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ คือการที่คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประกาศให้ “ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโน สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ผู้คิดค้น “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 400,000 บาท


“ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโนสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

ศ.ดร.วินิช อธิบายว่า “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์แบบใหม่ วัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์นี้เป็นสารประกอบของคาร์บอน นำมาออกแบบใหม่ในระดับโมเลกุลให้มีคุณสมบัติเปล่งแสงได้ดี ดูดกลืนแสงได้ดี หรือนำไฟฟ้าได้ดี เป้าหมายคือนำมาใช้แทนวัสดุกึ่งตัวนำซิลิคอนที่ใช้กันในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมวัสดุใหม่ที่นำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอ OLED, เซลล์แสงอาทิตย์, วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ยืดหยุ่นพับงอได้ (แบบที่ใช้ในหน้าจอสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ) การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้ความรู้ทั้งด้านเคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชมบูธนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

งานวิจัยของ ศ.ดร.วินิช ไม่ใช่หัวข้อเดียวที่เกิดขึ้นในสถาบันวิทยสิริเมธี ทั้งนักศึกษาและนักวิจัยใน VISTEC ต่างเลือกหัวข้อวิจัยที่จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างหัวข้องานวิจัยปี 2564 ด้านพลังงานมีการวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้า” พัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออนให้เก็บพลังงานได้มากขึ้น อายุใช้งานนานขึ้น ซึ่งสำคัญมากในยุคนี้ที่ความต้องการใช้แบตเตอรีเติบโตสูง หรือด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มีการวิจัย “ระบบอัจฉริยะของโครงกระดูกรยางค์ล่างภายนอก” สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวตัวช่วงล่าง

ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจเช่นกัน เพราะมี “โครงการขยะเพิ่มทรัพย์ C-ROS” เข้าเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นงานวิจัยที่รวมความรู้แบบสหวิทยาการ ต้องการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ไบโอเทคได้แบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ประเทศไทยเราก็จะเป็น “สังคมไร้ขยะ” ได้จริง

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับดิจิทัล หุ่นยนต์ ไบโอเทค ฯลฯ คือความหวังการสร้างเศรษฐกิจ “New S-Curve” ในประเทศไทย และนักศึกษา-นักวิจัยใน VISTEC ทั้งที่จบการศึกษาแล้วหลายรุ่น รวมถึงที่ยังศึกษาอยู่กว่า 300 คนขณะนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวงการนวัตกรรมแห่งอนาคต!

]]>
1356107
รู้จัก “วังจันทร์วัลเลย์” โครงการยักษ์ 3,400 ไร่ แหล่งปั้น “นวัตกรรม” โดย ปตท. https://positioningmag.com/1311370 Mon, 28 Dec 2020 04:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311370
ประเทศไทยกำลังยกระดับเศรษฐกิจด้วย “นวัตกรรม” ทำให้ ปตท. เลือกลงทุนโครงการ “วังจันทร์วัลเลย์” เนื้อที่กว่า 3,400 ไร่ ในจังหวัดระยอง ให้เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation; EECi) ส่งเสริมนวัตกรรมแบบครบวงจร ทั้งการวิจัยและพัฒนา โรงเรียนนักวิทย์ จนถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับนักวิจัย

บนพื้นที่ 3,454 ไร่ ในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง คือที่ตั้งของ “วังจันทร์วัลเลย์” พัฒนาโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประเทศ

วิสัยทัศน์แหล่งนวัตกรรมของ ปตท. ไม่ใช่แค่เพียงนวัตกรรมด้านพลังงานเท่านั้น แต่มองครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ขยายไปถึงภาคเกษตรกรรมและบริการ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนไทยในอนาคต และยังเปิดให้บริษัทที่สนใจเข้าร่วมในระบบนิเวศนี้ได้ทั้งหมด

เมื่อเป็นแหล่งวิจัยนวัตกรรม วังจันทร์วัลเลย์ จึงมีทั้งพื้นที่เพื่อการศึกษา เพื่อปั้นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่รุ่นเยาว์ รวมถึงมีแหล่งที่พักอาศัย แหล่งสันทนาการ พื้นที่ธรรมชาติให้กับนักวิจัย ซึ่งเปิดให้ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาใช้งานได้ด้วย ทำให้ภาพของโครงการนี้มีความสมบูรณ์ครบวงจร มองแบบครบลูปในการสร้างแหล่งนวัตกรรม และครอบคลุมไปไกลกว่าเฉพาะ ปตท.

3 ส่วนประกอบสร้างนวัตกรรมใน “วังจันทร์วัลเลย์”

พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ แบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบหลักตามคอนเซ็ปต์ Smart Natural Innovation Platform ได้แก่

1) พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) กลุ่มที่ตอบโจทย์การสร้างการศึกษา คือ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นใหม่ของประเทศ ช่วย Up-skill หรือ Re-skill ให้บุคลากร และเป็นตัวกลางสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ รวมถึงมีกลุ่มที่ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาทางการเกษตร มุ่งสู่การสร้างประสิทธิภาพผลผลิตและ Smart Farming ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

2) พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม หรือ Smart Innovation Platform เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร  พร้อมรองรับวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ EECi  นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ส่วนกลาง และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) ซึ่งมีการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจ

3) พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) นักวิจัย นักเรียน และชุมชนที่เกี่ยวข้องจะใช้ชีวิตได้จริงในโครงการนี้ เพราะโครงการมีการพัฒนา ที่พักอาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า แหล่งนันทนาการ พื้นที่อาคารต่างๆ ยังดีไซน์แบบ Universal Design ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อดึงดูดบุคลากรชั้นนำให้มาร่วมสร้างสรรค์งานในพื้นที่นี้

วังจันทร์วัลเลย์ ยังได้รับการประกาศเป็น “เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ” (Smart City) จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้น องค์ประกอบภายในโครงการจะพัฒนาตามหลักการ Smart City ครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart People, Smart Living, Smart Environment, Smart Mobility, Smart Energy และ Smart Governance ดังนั้น นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาตรงกับองค์ประกอบของ Smart City ในหลายด้าน เรายังจะได้เห็นวังจันทร์วัลเลย์เป็นเมืองตัวอย่างของการปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยภายในจะมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานสะอาด กระจายไฟฟ้าสู่ทั้งโครงการด้วยระบบ Smart Grid มีรถประจำทางไฟฟ้ารับส่งภายในพื้นที่ มีทางเดินและทางจักรยานที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เมือง “แซนด์บ็อกซ์” ทดลองนวัตกรรมได้ที่นี่

แหล่งพัฒนานวัตกรรมคงเกิดขึ้นจริงไม่ได้เลยถ้าไม่สามารถ “ทดลอง” สิ่งใหม่ได้ ดังนั้น วังจันทร์วัลเลย์จึงประสานงานทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเปิดพื้นที่ให้โครงการนี้เป็น “แซนด์บ็อกซ์” ผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ

โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วขณะนี้คือ 5G Play Ground เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้โครงข่าย 5G และ UAV Regulatory Sandbox ทดสอบเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Unmanned Aerial Vehicle หรือก็คือ “โดรน” นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือหลายฝ่าย ได้แก่

  • สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) : สนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้ ช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) : บริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) : ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้การสนับสนุนการดำเนินการ UAV Sandbox
  • สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ทดสอบและพัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์
  • บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) : ทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G
  • บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) (ดีแทค) : พัฒนาการทดสอบกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G ควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง สั่งการรวดเร็วและให้ภาพที่คมชัด

เปิดรับผู้ที่สนใจ โครงการพร้อม 100% ในปี 2564

ขณะนี้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 95% จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ภายในไตรมาส 3 ปี 2564 ระหว่างนี้โครงการกำลังเปิดรับผู้ที่สนใจและพันธมิตรเพิ่มเติม โดย ปตท. จะทำหน้าที่เป็น Enabler ผู้สร้างระบบนิเวศความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังตัวอย่างแซนด์บ็อกซ์ 5G และ UAV ข้างต้น จุดประสงค์เพื่อมุ่งสู่นวัตกรรมสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจ

วังจันทร์วัลเลย์มีสิทธิประโยชน์ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าใช้บริการในโครงการ ดังนี้

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี
  • ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
  • ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย
  • สมาร์ทวีซ่า สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว
  • พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox)
  • ศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล info@wangchanvalley.com

]]>
1311370