สศช. – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 16 Aug 2021 06:41:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สภาพัฒน์ หั่นเป้าจีดีพีไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% ฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ต้องเร่งคุมการระบาด https://positioningmag.com/1346823 Mon, 16 Aug 2021 05:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346823 สภาพัฒน์ฯ เเถลงจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัว 7.5% จากฐานที่ต่ำเเละอานิสงส์ส่งออก มองเศรษฐฏิจไทยยังไม่ถดถอยในทางเทคนิค เเต่กำลังขยายตัวลดลงเรื่อยๆ เเละมีเเนวโน้มฟื้นตัว ‘อย่างช้าๆ’ ปรับลดประมาณการจีดีพีทั้งปีนี้ เหลือ 0.7 -1.2% เเนะรัฐฉีดวัคซีน-เยียวยาให้ทั่วถึง เร่งคุมการระบาดให้ได้ในไตรมาส 3 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัว 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.6% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)

และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ 0.4% (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ 2%

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนรวม 8.1% ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 27.5% สาขาอุตสาหกรรมขยายตัว 16.8% สาขาขนส่งขยายตัว 11.6% 

เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 2% นั้นเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว เเละส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในภาคการส่งออก มาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชน เริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง

ด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยประมาณ 1.5 แสนคน จากประมาณการเดิมที่ราว 5 แสนคน

โดยรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 17.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 37.1% ในช่วง 4 ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 99.4% และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่  12.20%

เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง ในทางเทคนิคถือว่ายังขยาย และไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มีโมเมนตัมที่ทำให้การขยายตัวลดลงจากการระบาดที่รุนเเรง ตั้งเเต่ช่วงเดือน เม..ที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการว่างงานง อยู่ที่ 1.9% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 2% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 2%ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.4 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 2.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท คิดเป็น 56.1% ของ GDP

ลดเป้าจีดีพีปี 64 โตเฉลี่ย 1% ต้องเร่งคุมโควิดให้ได้ในไตรมาส

สำหรับเเนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7–1.2 (มีค่ากลางอยู่ที่ 1%) ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลง 6.1% ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดจาก 1.5 – 2.5% ในการประมาณการครั้งก่อน

ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว มีขึ้นภายใต้สมมติฐานที่คาดว่า ตัวเลขการติดเชื้อโควิดรายใหม่ จะผ่านจุดสูงสุดได้ปลายเดือน ส..นี้ และจะลดลงช่วงปลายเดือนก.. 64 เเละอาจะมีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี

ปัจจัยเสี่ยง : การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีข้อจำกัดสำคัญๆ ได้เเก่

1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง

2) ข้อจำกัดด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

3) ภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิตรวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

ปัจจัยบวก : เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ยังมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆโดยได้รับการสนับสนุนจาก

1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก

2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายลงทุนและมาตรการเศรษฐกิจของภาครัฐ

3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตร

4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

คาดว่ามูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ จะขยายตัว 16.3% การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 5% , 1.1% และ 4.7% ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 8.7% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดว่าจะ อยู่ในช่วง 1.0 – 1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.0% ของ GDP

Photo : Shutterstock

เเนะรัฐกระจายวัคซีน เยียวยาให้ทั่วถึง ออกมาตรการหนุนฟื้นตัว

ด้านข้อเสนอเเนะของสภาพัฒน์ ในการบริหารเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 2564 มี 7 ประเด็นที่ รัฐควรให้ความสำคัญ คือ

1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ลดการแพร่เชื้อในครัวเรือนชุมชนและกลุ่มแรงงาน เร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง

2) การช่วยเหลือเยียวยา ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรง ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่ และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลงให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ เร่งแก้ไขปัญหาขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ

(5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง เน้นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุน

7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มปี 2564

]]>
1346823
COVID-19 ฉุดจีดีพีไทย ไตรมาสเเรกหดตัว -1.8% “สภาพัฒน์” หั่นเป้าทั้งปีติดลบ 5-6% https://positioningmag.com/1279131 Mon, 18 May 2020 07:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279131 “สภาพัฒน์” แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2563 หดตัว -1.8% คาดทั้งปีติดลบ 5-6% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.5-2.5% มองไตรมาส 2 จะหนักที่สุด จากผลกระทบ COVID-19 ฉุดส่งออกเเละท่องเที่ยวทรุด

วันนี้ (18 พ.ค.) ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 1.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 4/2562 ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล

ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ ประเมินว่าจะหดตัวอยู่ในกรอบ -5 ถึง -6% โดยมีค่าเฉลี่ยกลางที่ -5.5% เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงและกระทบปริมาณการค้าของโลก รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศลดลง

ทั้งนี้ การประเมินว่าจีทั้งปีจะติดลบ 5-6% นั้นอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 และไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2

“คาดว่าเศรษฐกิจจะติดลบหนักที่สุดในไตรมาส 2 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะทุกอย่างถูกล็อกดาวน์ เเต่หวังว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะทยอยเดินทางเข้ามาในไทยได้ในไตรมาส 3 และ 4 เเละยังหวังว่าในปี 2564 จะมีวัคซีน COVID-19 ออกมาจะช่วยให้โลกกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง”

สำหรับรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2563 ของ สศช. มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนชะลอตัวลง การผลิต ภาคเกษตรลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ภาคนอกเกษตรลดลงร้อยละ 1.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่องร้อยละ 2.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

ภาคบริการ ลดลงร้อยละ 1.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง

ส่วนสาขาบริการที่สำคัญอื่น ๆ เช่น สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร สาขาอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว

การใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล

การลงทุนและการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ ลดลงร้อยละ 2.7 ร้อยละ 6.5 ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 2.2

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่ 4/2562

โดยการอุปโภคในกลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 8.8 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าไม่คงทนและกลุ่มบริการขยายตัวร้อยละ 2.8 และร้อยละ 9.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 8.5 ในไตรมาสที่ 4/2562 ตามลำดับ

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 10.4 ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 4/2562 ส่วนการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน ขยายตัวร้อยละ 10.0

การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 6.5 จากการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 4/2562 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจากการลงทุนด้านการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 4.3 และการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.7 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 9.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนด้านก่อสร้างลดลงร้อยละ 13.4 โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณประจำปี 2563

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ มูลค่า ณ ราคาประจำปีเพิ่มขึ้น 133.6 พันล้านบาท สินค้าคงคลังสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล เครื่องประดับอัญมณี เนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง และคอมพิวเตอร์ สำหรับสินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และทองคำ

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 325.1 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 253.6 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 71.5 พันล้านบาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2563 และแนวโน้มปี 2563

]]>
1279131