สหประชาชาติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Nov 2022 14:41:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘IMF’ ชี้ ประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เงินกว่า 1.6 แสนล้านเหรียญเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1407079 Mon, 07 Nov 2022 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407079 เมื่อวานนี้เป็นวันแรกที่เปิดฉากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 27 ที่ประเทศอียิปต์ โดยมีการเสนอให้ประเทศร่ำรวยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากภาวะโลกร้อน รวมถึงการจัดหาเงินทุนให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือประเทศยากจน เพราะประเทศร่ำรวยนั้นก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า แต่ IMF มองว่าแค่นั้นไม่พอ

ก่อนการประชุม สหประชาชาติเรียกร้องให้ เพิ่มเงินทุนและการดำเนินการตามมาตรการ เพื่อช่วยให้ประเทศที่เปราะบางปรับตัวเข้ากับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม คริสตาลินา จอร์จีวา หัวหน้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวว่า ประเทศที่ร่ำรวยเพียงอย่างเดียวไม่สามารถ ปิดช่องว่างเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการ ลงทุนภาคเอกชน มากขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ความช่วยเหลือสาธารณะและเงินทุนจากรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะปิดช่องว่างเงินทุนในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา” คริสตาลินา กล่าว

ตามรายงานของสหประชาชาติ ประเทศที่อ่อนแอและกำลังพัฒนาจะต้องใช้เงินระหว่าง 1.6-3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปีนี้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และต้องใช้สูงถึง 5.65 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2050

“ความต้องการในการปรับตัวในประเทศกำลังพัฒนานั้นตั้งเป้าให้พุ่งสูงขึ้นถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 แต่การสนับสนุนด้านการปรับตัวในปัจจุบันมีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของเงินจำนวนนั้น” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน กรรมการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังพัดถล่มหลังจากพายุถล่มมนุษยชาติ อย่างเห็นตลอดปี 2022 อาทิ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน, คลื่นความร้อนในจีน

ซึ่งการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่เกิดจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าปัญหาที่เกิดจากการระบาดใหญ่ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบต่อการลดการปล่อยมลพิษ และภาษีและกฎระเบียบเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลหลายแห่งสามารถใช้ได้

“เราต้องตระหนักว่าเราล้าหลังในการปกป้องสวัสดิภาพของลูกหลานของเรา ภายในปี 2020-2030 เราต้องลดการปล่อยมลพิษระหว่าง 25-50% แต่ปัจจุบันการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้น”

Source

]]>
1407079
UN เตือน COVID-19 ไม่ใช่เรื่องดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเกิดระยะสั้น พร้อมความทุกข์ยากของคน https://positioningmag.com/1271878 Mon, 06 Apr 2020 04:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271878 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน (Inger Andersen) ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงและคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ในช่วงเวลาที่รัฐบาลของหลายประเทศกำลังรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ควรถูกมองว่า “เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม”

สหประชาชาติรายงานคำกล่าวของอิงเกอร์ แอนเดอร์สัน เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า “ขณะที่เรากำลังขยับจากการรับมือภาวะสงครามไปเป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม (Build Back Better) เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสัญญาณต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม และรู้ว่ามันจะส่งผลต่ออนาคตและคุณภาพชีวิตของเราอย่างไร เพราะ COVID-19 อย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับสิ่งแวดล้อม”

สำหรับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 ที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก แอนเดอร์สันกล่าวว่า

“ผลที่มองเห็นได้ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว เพราะมันเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันน่าเศร้าและความทุกข์ยากของมนุษย์โลก”

“การระบาดใหญ่จะส่งผลให้ปริมาณขยะทางการแพทย์ และของเสียอันตรายเพิ่มพูนมากขึ้น นี่ไม่ใช่รูปแบบของการตอบสนองทางสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่สำหรับนักสิ่งแวดล้อม

เธอกล่าวว่า “ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปปส์ (Scripps Institution of Oceanography) ย้ำว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะต้องลดลงประมาณ 10% ทั่วโลก และจะต้องต่อเนื่องนานหนึ่งปี กว่าจะเห็นถึงระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชัดเจน”

“ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่อันน่าสะพรึงครั้งนี้ ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของเราให้สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

“การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในระยะยาวเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแนวโน้มของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้”

ดังนั้น หลังจากวิกฤตครั้งนี้ ในช่วงที่เราวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีโอกาสอย่างแท้จริงที่จะรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการลงทุนในพลังงานทดแทน อาคารอัจฉริยะ การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการขนส่งสาธารณะ … ”

เธอกล่าวว่า “เสาหลักที่สำคัญประการหนึ่งในแผนฟื้นฟูหลังผ่านพ้นโรค COVID-19 จะต้องมาพร้อมกับกรอบการวางแผนที่กระตือรือร้น สามารถวัดผลได้ และไม่แบ่งแย่ง เพราะการรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ หลากหลาย และงอกงามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้”

]]>
1271878