สหรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Nov 2024 04:47:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สหรัฐฯ สั่ง ‘TSMC’ ห้ามส่งชิปขั้นสูงให้ ‘จีน’ หวังสกัดการพัฒนา AI https://positioningmag.com/1498278 Mon, 11 Nov 2024 04:25:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498278 สหรัฐอเมริกา ยังคงเดินหน้าแบนหัวเว่ย โดยไม่ใช่แค่คุมเข้มการส่งออก ชิป หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ เพราะหลังจากที่มีการพบว่า หัวเว่ย ได้ใช้ชิปจาก TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวัน ทำให้สหรัฐฯ ได้ขอให้เลิกจัดส่งชิปขั้นสูงไปยังจีน

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ขอให้ TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก หยุดส่งชิปขนาด 7 นาโนเมตร หรือมากกว่า ซึ่งเป็นชิปขั้นสูงที่มีไว้สําหรับขับเคลื่อน AI และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ไปยังประเทศจีน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. นี้

โดยก่อนหน้านี้ ทาง Tech Insights บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีได้แยกชิ้นส่วนสินค้าของ หัวเว่ย (Huawei) ที่เผยให้เห็นชิปของ TSMC อยู่ภายใน ซึ่งถือเป็นการ ละเมิดการควบคุมการส่งออก เพราะหัวเว่ยถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ ส่งผลให้ทาง TSMC ต้องหยุดจัดส่งชิปให้กับบริษัท Sophgo เนื่องจากคาดว่าเป็นบริษัทที่ส่งต่อชิปให้ทางหัวเว่ย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การปราบปรามครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายในจีน และจะช่วยให้สหรัฐฯ ประเมินว่าบริษัทอื่น ๆ กําลังเปลี่ยนเส้นทางชิปสําหรับ AI ไปยังหัวเว่ยหรือไม่ 

ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ร่างกฎใหม่เกี่ยวกับการส่งออกอุปกรณ์ทําชิปจากต่างประเทศ และวางแผนที่จะเพิ่มบริษัทจีนประมาณ 120 แห่ง ในรายชื่อนิติบุคคลที่จํากัดของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงโรงงานผลิตชิป ผู้ผลิตเครื่องมือ และบริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวยังไม่ถูกบังคับใช้

ทั้งนี้ จากรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาของ TSMC แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีรายได้จากชิปขนาด 7 นาโนเมตรหรือชิปขั้นสูงถึง 69% จากรายได้ทั้งหมด 

Source

]]>
1498278
ถึงคิว ‘แคนาดา’ ขึ้นภาษี ‘อีวีจีน’ 100% ตามรอยสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การแข่งขันไม่เป็นธรรม https://positioningmag.com/1488025 Thu, 29 Aug 2024 08:43:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488025 หลังจากที่ สหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นภาษีการนำเข้า รถอีวีจากจีน 100% รวมถึง สหภาพยุโรป ที่ขึ้นภาษีการนำเข้ารถจากจีนเช่นกัน ล่าสุด แคนาดา ก็เป็นอีกประเทศที่ประกาศขึ้นภาษีการนำเข้ารถอีวีจีน เพื่อสกัดกั้นการนำเข้า

จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ประกาศว่า ประเทศแคนาดาจะจัดเก็บ ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน 100% เท่ากับภาษีของสหรัฐฯ จากเดิมที่จัดเก็บเพียง 6.1% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 นอกจากนี้ ยังจะเรียกเก็บภาษีนำเข้า จากเหล็กและอะลูมิเนียมของจีน 25% อีกด้วย โดยจะบังคับใช้วันที่ 15 ต.ค. 2567

ที่ผ่านมา ทางการจีน มีแนวโน้ม แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หลังจากที่รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ครั้งใหญ่ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ขั้นสูง โซลาร์เซลล์ เหล็ก อะลูมิเนียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลจีนพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของ COVID-19 

ขณะที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหาว่า รัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนสำหรับแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้บริษัทจีนไม่ได้โฟกัสที่การทำ กำไร ซึ่งนั่นทำให้บริษัทเหล่านั้นได้รับความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในการค้าโลก

“แคนาดากำลังดำเนินการต่อต้านสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นนโยบายรัฐบาลจีนเลือกที่จะให้บริษัทของประเทศตัวเองได้รับข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในตลาดโลก โดยตั้งใจผลิตเกินกว่าที่จีนจะบริโภคเพื่อส่งออก และไม่คิดว่าจีนกำลังเล่นตามกฎเดียวกัน” ทรูโด กล่าว

ทั้งนี้ จีนถือเป็นพันธมิตรการค้ารายใหญ่เป็น อันดับสองของแคนาดา รองจากสหรัฐฯ ซึ่งจีนก็ได้ออกตอบโต้มาตรการดังกล่าวว่า เป็นการกีดกันทางการค้า ซึ่งละเมิดกฎขององค์การการค้าโลก และจวกว่า แคนาดากำลัง ทำลายระบบเศรษฐกิจโลก

ที่ผ่านมา รถอีวีจากจีนสามารถขายได้ในราคาเพียง 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.2 แสนบาท)

Source

]]>
1488025
รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
‘จีน’ จวก ‘อเมริกา’ ว่าสร้างอุปสรรคให้กับอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น หลังเพิ่มเกณฑ์ควบคุมส่งออกไปยังจีน https://positioningmag.com/1468601 Mon, 01 Apr 2024 11:59:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468601 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก้ไขกฎเกี่ยวกับการส่งออกชิป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้จีนเข้าถึงชิปปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือสร้างชิปของสหรัฐฯ ได้ยากขึ้น เนื่องจากข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ เพรากลัวว่าจีนจะนำชิปไปเสริมประสิทธิภาพให้กองทัพ

ล่าสุด จีน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎเกณฑ์การส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น โดยกล่าวว่า อเมริกากำลังสร้างอุปสรรคในการค้าขายและเพิ่มความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น โดยความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทจีนและบริษัทต่างชาติ และยังเป็นอันตรายต่อสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของพวกเขา จีนต่อต้านสิ่งนี้อย่างแข็งขัน

สหรัฐฯ ได้ขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติ แก้ไขกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจ และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างอุปสรรคมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างภาระในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่หนักขึ้นสำหรับบริษัทจีนและอเมริกาที่ต้องการทำงานร่วมกันในเชิงเศรษฐกิจและทางการค้าตามปกติ และยังสร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก” โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ย้อนไปช่วงเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ กำหนดกฎเกณฑ์ห้ามการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปยังจีน ทำให้บริษัทอย่าง Nvidia และ AMD ได้แก้ปัญหาโดยการ ผลิตชิปสำหรับจำหน่ายให้จีนโดยเฉพาะ โดยจะออกแบบให้ตรงตามสเปกที่สหรัฐฯ ตั้งไว้ แต่จากกฎใหม่ที่สหรัฐออกมา จะมาอุดช่องว่างดังกล่าว โดยกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งมีความยาว 166 หน้าจะมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีหน้า (4 เม.ย.) นี้

จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก”

Source

]]>
1468601
คาดยอดขาย ‘รถอีวี’ ทั่วโลกทะลุ 14 ล้านคัน เติบโต 35% https://positioningmag.com/1430481 Mon, 15 May 2023 03:18:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430481 จากรายงานของ Global Electric Vehicle Outlook ดูเหมือนว่าสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี ทั่วโลกจะสดใส เพราะทั้งเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึงมาตรการจูงใจในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้ยอดขายรถอีวีทั่วโลกปีนี้จะทะลุ 14 ล้านคัน เติบโตสูงถึง 35%

ตามรายงานของ Global Electric Vehicle Outlook ที่ได้แพร่เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา คาดว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% โดยมีรถอีวีทั้งหมดกว่า 14 ล้านคัน ส่งผลให้ส่วนแบ่งของรถอีวีในตลาดรถยนต์ทั้งหมดเพิ่มเป็น 18% จากที่ปี 2020 มีส่วนแบ่งเพียง 4% โดยยอดการซื้อใหม่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในปลายปีนี้จากช่วงไตรมาสแรกมียอดขายมากกว่า 2.3 ล้านคัน

การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาด จีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งแต่ละประเทศก็มีหลากหลายปัจจัยในการผลักดันให้เกิดการเติบโต อาทิ ในสหภาพยุโรปที่ออกแพ็กเกจ Fit for 55 อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ตั้งเป้าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์สำหรับรถยนต์ใหม่ภายในปี 2035

หรือในสหรัฐอเมริกา ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติลดอัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และรวมถึงมาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะติดตั้งแท่นชาร์จเพิ่มเติมมากขึ้น ขณะที่ประเทศจีนเองก็ได้ขยายนโยบายจูงใจในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม ส่งผลให้ส่วนแบ่งยอดขายของรถอีวีกับรถยนต์ทั้งหมดในประเทศทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 29% ในปีนี้ จากที่ปี 2021 มีสัดส่วน 16%

ปัจจุบัน จีนถือเป็นผู้นำของตลาดอีวีทั่วโลก โดยมีส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกถึง 60% ส่วนในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยยอดขายในปี 2022 ขยายตัว 15% และ 55% ตามลำดับ

ส่วนใน ญี่ปุ่น การเติบโตของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าตามหลังตลาดอื่น ๆ โดยมีจำนวนรถอีวีเพียง 3% เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ โดยเติบโตเพียง 1% เท่านั้น

“รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลังงานใหม่ของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังนำการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลก โดยรถยนต์เป็นเพียงคลื่นลูกแรก รถเมล์ไฟฟ้าและรถบรรทุกจะตามมาในไม่ช้า” Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารของ IEA กล่าว “รถยนต์เป็นเพียงคลื่นลูกแรก รถเมล์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจลดการเติบโตของยอดขายรถอีวีในปีนี้ ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและการยุตินโยบายสนับสนุนรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศจีน

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะลดความต้องการน้ำมันลงอย่างน้อย 5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2030

Source

]]>
1430481
ผู้บริโภคสหรัฐฯ วางเเผนประหยัด-ลดเที่ยว-ทานข้าวนอกบ้านน้อยลง หลังราคาน้ำมันพุ่ง https://positioningmag.com/1377250 Fri, 11 Mar 2022 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377250 ผู้บริโภคในสหรัฐฯ วางเเผนจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านเเละการชมภาพยนตร์ลง หากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง หลังรัสเซียบุกโจมตียูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

จากผลสำรวจของสำนักข่าว Reuters เเละ Ipsos บริษัทด้านการวิจัยตลาด ที่ได้รวบรวมความคิดเห็นของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ 1,005 คน พบว่า 54% เตรียมจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านลง หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ขณะที่ 49% เตรียมจะลดการใช้จ่ายในการรับชมภาพยนตร์และความบันเทิงอื่น ๆ ลง และกว่า 60% กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ขับรถทางไกล เพื่อไปทำกิจกรรมยามว่าง

สมาคมยานยนต์อเมริกัน หรือ AAA ระบุว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปั๊มในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 10 มี.. อยู่ที่ประมาณ 4.32 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เพิ่มขึ้นจาก 3.48 ดอลลาร์ในเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันเบนซินอาจพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน หากราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ตอบโต้การบุกยูเครนของรัสเซีย ซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ด้วยมาตรการการคว่ำบาตรต่อรัสเซียครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงการห้ามนำเข้าพลังงานจากรัสเซียด้วย

การคว่ำบาตรทำให้เศรษฐกิจรัสเซียปั่นป่วน เเละผู้บริโภคในสหรัฐฯ เองก็ยังต้องแบกรับต้นทุนจากความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันที่สูงอยู่แล้วได้พุ่งไปสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เเละส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน

ผู้ตอบแบบสำรวจ 47% จะลดการใช้จ่ายในการตกเเต่งเเละปรับปรุงบ้าน อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ใหม่และเครื่องใช้ต่างๆ หากราคาน้ำมันยังคงเเพงขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงจะใช้จ่ายปกติในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ‘จำเป็น’ เช่น 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มองว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขาใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค เเละ 58% คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ส่วนอีกประมาณครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาจะยังคงใช้จ่ายในการซื้อของชำเหมือนเดิม โดยในส่วนนี้ 28% คาดว่าจะใช้จ่ายน้อยลง 28% และ 18% คาดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1377250
‘Tencent’ – ‘Alibaba’ ถูกสหรัฐฯ จับขึ้นบัญชี ‘ตลาดละเมิดลิขสิทธิ์’ https://positioningmag.com/1374645 Sun, 20 Feb 2022 04:46:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374645 เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ดำเนินการโดย Tencent Holdings Ltd และ Alibaba Group Holding Ltd อาทิ AliExpress และ WeChat ได้ถูกรวมอยู่ในบัญชีกลุ่มตลาดที่มีการ ‘ละเมิดลิขสิทธิ์’ ล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (USTR) ได้ออกมาแถลงว่า ตลาดซื้อขายออนไลน์จำนวน 42 แห่งและตลาดออฟไลน์จำนวน 35 แห่งที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีว่า มีความเกี่ยวข้องกับการขายและการอำนวยความสะดวกสำหรับการขายสินค้าลอกเลียนแบบและละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกในระดับสูง (Notorious Markets)

โดยในจำนวนดังกล่าวมีแพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba ซึ่งก่อนหน้านี้ทางการสหรัฐฯ ได้มีการขึ้นบัญชีแพลตฟอร์มอย่าง Baidu Wangpan DHGate Pinduoduo และ Taobao ซึ่ง USTR ระบุว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นที่รู้จักในด้านการผลิต การจัดจำหน่าย และการขายสินค้าลอกเลียนแบบ

“แพลตฟอร์มอย่าง AliExpress และอีโคซิสเต็มส์ด้านอีคอมเมิร์ซของ WeChat ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ที่สำคัญสองแห่งในจีนซึ่งมีรายงานว่าอำนวยความสะดวกในการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก” สำนักงาน USTR กล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม Alibaba กล่าวว่า จะทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ขณะที่ Tencent กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้อย่างยิ่ง” และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยที่ผ่านมา แพลตฟอร์มได้ติดตามตรวจสอบ ขัดขวาง และดำเนินการกับการละเมิดข้ามแพลตฟอร์มอย่างแข็งขัน และได้ลงทุนทรัพยากรที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา

ทั้งนี้ การที่แบรนด์มีรายรายชื่ออยู่ในบัญชีกลุ่มตลาดที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ระดับสูง แม้ไม่มีบทลงโทษโดยตรง แต่ถือเป็นการทำลายชื่อเสียงของบริษัท ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาและจีนมีส่วนร่วมในความตึงเครียดทางการค้ามาหลายปีในประเด็นต่าง ๆ เช่น ภาษี เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

Source

]]>
1374645
Goldman Sachs คาดเฟดจะประกาศ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ ถึง 7 ครั้งในปีนี้ https://positioningmag.com/1373697 Fri, 11 Feb 2022 08:18:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373697 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 7 ครั้งภายในปีนี้ เพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI สูงกว่าที่คาดไว้

ก่อนหน้านี้ Goldman Sachs ประเมินว่า เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ เเต่มุมมองนี้เปลี่ยนไป หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือ CPI ประจำเดือนม.. แตะที่ระดับ 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1982 สร้างแรงกดดันให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ก็พุ่งขึ้น 6.0% ในเดือนม.. เมื่อเทียบรายปี

นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ประเมินว่า ในการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทั้ง 7 ครั้ง อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ‘0.50%’ ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี..นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก รวมไปถึงการปรับเพิ่มของค่าจ้างในตลาดเเรงงาน

เช่นเดียวกับความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Citi ที่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี..นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ตอนนี้เราคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมีนาคม ตามด้วยการปรับขึ้น 0.25% สี่ครั้งในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2033 หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 1.50% ในปีนี้

ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเฟดจะคงแนวทางนโยบายการเงินเเบบ ’ค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินคาดก็ตาม

 

ที่มา : Straitstimes , Reuters , CNBC 

]]>
1373697
‘โอมิครอน-เงินเฟ้อ’ ปัจจัยเสี่ยงฉุดการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง https://positioningmag.com/1366051 Wed, 08 Dec 2021 13:32:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366051
‘โอมิครอน’ สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัว เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เงินเฟ้ออาจเร่งขึ้นแตะ 3% ในช่วงต้นปีหน้าชั่วคราว คาด กนง.คงดอกเบี้ยต่ำจนถึงสิ้นปี 65 ด้านเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้า เพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ว่า มีแนวโน้มฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่บรรเทาลง การฉีดวัคซีนมีมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม ประกอบกับผลเชิงบวกจากการเปิดประเทศ

โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 133,061 คน เร่งขึ้นจากเดือนตุลาคม ที่ 20,272 คน เเละความต่อเนื่องของมาตรการรัฐก็ยังช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น หลังจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ เกิดขึ้นในประเทศทางแอฟริกา และเริ่มตรวจพบในหลายประเทศมากขึ้น รวมถึงไทย

ขณะที่ปัจจุบันยังต้องติดตามรายละเอียดที่ชัดเจน ถึงความรุนแรงของสายพันธุ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้

(Photo: Shutterstock)

เงินเฟ้อไทย อาจเเตะ 3% ต้นปีหน้า 

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ประเมินว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 2.71% YoY จาก 2.38% เดือนตุลาคม

สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ (+37.2%) ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหาร โดยเฉพาะผักสด (+12.7%) ซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปรับขึ้นของราคาเครื่องประกอบอาหาร (+6.2%) เนื่องจากความต้องการและต้นทุนขนส่งที่ปรับเพิ่ม

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.29% เพิ่มขึ้นจาก 0.21% เดือนตุลาคม สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.15% และ 0.23% ตามลำดับ

“แม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเร่งขึ้นในช่วงปลายปีนี้ และมีแนวโน้มอาจแตะระดับสูงใกล้ 3% ในช่วงไตรมาส 1/2565 เนื่องจากผลของฐานที่ต่ำและการส่งผ่านของต้นทุน แต่คาดว่าจะชะลอลงและกลับมาแตะระดับใกล้ขอบล่างของกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการที่ 1% ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเอื้อให้ กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและเติบโตในอัตราที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพ

โอมิครอน ปัจจัยเสี่ยง ฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 

สำหรับเศรษฐกิจโลก วิจัยกรุงศรีระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจโลกเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น แต่ไวรัสโอมิครอนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในระยะต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของโลกแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 54.8 โดยดัชนีของกลุ่มประเทศแกนหลัก เช่น ยูโรโซน ญี่ปุ่น ปรับดีขึ้นสู่ระดับ 55.8 และ 53.3 ตามลำดับ สะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง (ค่าดัชนี > 50) ของกิจกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ

โดยองค์ประกอบของดัชนี PMI ของโลกปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิต ยอดสั่งซื้อใหม่ ยอดสั่งซื้อเพื่อการส่งออก และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทางด้านราคาบ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่พุ่งขึ้น

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประเมินว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจยาวนานกว่าที่คาดและถือเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศแกนหลักปรับนโยบายการเงินเร็วและแรงกว่าคาดการณ์เดิม จนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ OECD ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP โลกในปีนี้ลงเล็กน้อยสู่ 5.6% จากเดิมคาด 5.7%

ส่วนในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4.5% นอกจากนี้ OECD ยังระบุถึงความเสี่ยงจากไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งเตือนว่าไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกจากปัญหาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและอาจซ้ำเติมภาวะชะงักงันด้านอุปทาน

“ส่วนความกังวลด้านเงินเฟ้อแม้อาจเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดด้านอุปทานและปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ราคาพลังงานที่ปรับลดลงอาจช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะต่อไป”

(Photo by Epics/Getty Images)

เฟดเร่งปรับลด QE

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง คาดเฟดอาจเร่งปรับลด QE ให้เสร็จก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางปรับขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนพฤศจิกายนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคการผลิตที่เพิ่มสู่ระดับ 61.1 สูงกว่าตลาดคาด และนอกภาคการผลิตซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำข้อมูลในปี 2540 ที่ 69.1

ด้านการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5.34 แสนตำแหน่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ 4.2% ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือนที่ 1.95 ล้านคนตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทยอยปรับตัวดีขึ้น ล่าสุด อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาด

ขณะที่ ประธานเฟด ส่งสัญญาณเร่งการปรับลดแรงกระตุ้นทางการเงิน โดยกล่าวต่อสภาคองเกรสว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังประเมินว่าความเสี่ยงจากปัญหาไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อจากปัญหาการชะงักงันด้านอุปทานและการขาดแคลนแรงงานจากความวิตกกังวลต่อการระบาด จากปัจจัยดังกล่าวเฟดจึงเห็นควรว่าจะหารือเรื่องการยุติโครงการเข้าซื้อพันธบัตรให้เร็วขึ้นกว่าเดิมในการประชุมวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้

“วิจัยกรุงศรีประเมินว่า เฟดจะประกาศเร่งปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ให้เสร็จสิ้นก่อนกลางปีหน้าเพื่อปูทางให้สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อย่างน้อย 25 bps ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565”

]]>
1366051
Goldman Sachs ลดคาดการณ์ ‘เศรษฐกิจสหรัฐฯ’ ปีหน้า จากความไม่เเน่นอนของโอมิครอน https://positioningmag.com/1365546 Mon, 06 Dec 2021 12:58:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365546 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐฯ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 4.2% ในปีหน้า เหลือเป็นขยายตัว 3.8% จากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของ
ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ ‘โอมิครอน’

Joseph Briggs นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ระบุว่า ตัวแปรสำคัญอย่าง โอมิครอน (Omicron)
อาจทำให้การเปิดเศรษฐกิจครั้งใหม่ของสหรัฐฯ ช้าลง แต่ “การใช้จ่ายด้านบริการจะลดลงเพียงเล็กน้อย”

ดังนั้นบริษัทจึงปรับคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2022 ลดลงมาอยู่ที่ 3.8% จากเดิม 4.2% ขณะที่ GDP ของสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.9% ลดลงที่เคยคาดไว้ที่ 3.3%

“ตอนนี้ยังมีคำถามมากมายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ เราประเมินว่าโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระดับปานกลาง”

เเม้โอมิครอนจะเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าเดิม เเต่เชื่อว่าวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันจะมีประสิทธิภาพลดลงไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์โรคระบาดยังน่ากังวลต่อเนื่อง อาจทำให้ปัญหาขาดแคลนซัพพลายรุนเเรงยิ่งขึ้นอีก เมื่อประเทศอื่น ๆ ทยอยยกระดับมาตรการคุมเข้มพรมเเดน เเต่การที่ประเทศคู่ค้า มีอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้นก็น่าจะไม่ทำให้ปัญหานี้ถึงขั้นวิกฤต

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมาว่า IMF มีแนวโน้มที่จะปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงจากการระบาดของโอมิครอน

ล่าสุดโอมิครอนเเพร่ระบาดแล้ว 47 ประเทศรวมไทย โดยวันนี้ (6 ธ.ค.64 ) กระทรวงสาธารณสุข แถลงยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน ‘รายแรกในไทย’ เเละได้เข้าสอบสวนโรคแล้ว ซึ่งสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในไทยขณะนี้ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา พบมากถึง 99.87% ของเชื้อที่พบในประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นสายพันธุ์อัลฟาและเบตาที่จำกัดอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1365546