สัตว์ป่า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 Feb 2020 00:30:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บทเรียนชั้นดี! จีนรับรองกฎหมาย “ห้ามค้า-บริโภค-ขนส่ง” สัตว์ป่าทุกชนิด https://positioningmag.com/1265641 Tue, 25 Feb 2020 17:55:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265641 สื่อไชน่า เดลี่รายงานว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ซึ่งเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่ามาจากสัตว์ป่า ทำให้สภานิติบัญญัติจีนตัดสินใจลงดาบห้ามการกินสัตว์ป่าทั่วประเทศอย่างสมบูรณ์

ในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการประจำแห่งสภาผู้แทนประชาชนจีน หรือ NPC ยังได้ตัดสินเลื่อนการประชุมเต็มคณะของสภา NPC ซึ่งจัดเป็นประจำปีโดยเริ่มจากวันที่ 5 มี.ค.

คณะกรรมาธิการประจำของ NPC แจงอย่างชัดเจนว่ากฎหมายห้ามกินสัตว์ป่าฉบับใหม่นี้ ครอบคลุมสัตว์ป่าทุกชนิดที่อยู่ในรายชื่อสัตว์ที่ได้รับความคุ้มครองในกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า (Wild Animal Protection Law) ฉบับที่บังคับใช้อยู่ หรือกฎหมายอื่นๆ และสัตว์ป่าบกทุกชนิด รวมทั้งสัตว์ป่าในศูนย์เพาะเลี้ยงและฟาร์ม

กฎหมายห้ามกินสัตว์ป่าฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ในทันที ได้ระบุบทลงโทษหนักสำหรับการล่า การค้า และการขนส่งสัตว์ป่าที่มีรายชื่อในกฎหมายคุ้มครองฯฉบับที่บังคับใช้อยู่ ทั้งนี้ การล่า การค้า และการขนส่งสัตว์ป่าบกที่มีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคถือเป็น “ข้อห้ามใหม่”

หลี่ จ้านซู ประธานคณะกรรมาธิการประจำ NPC กล่าวในวันที่ 24 ก.พ. ว่ามาตรการป้องกันและงานควบคุมโรคระบาดไวรัสโคโรนาภายใต้การแนะแนวของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กำลังเกิดมรรคผล สำหรับการตัดสินใจล่าสุดของสภานิติบัญญัตินี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาพและชีวิตประชาชน

จากข้อมูลนับถึงวันที่ 23 ก.พ. ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจีนแผ่นดินใหญ่ มีจำนวนเท่ากับ 77,785 คน และจำนวนผู้เสียชีวิต เท่ากับ 2,666 คน

อุตสาหกรรมการค้าและการบริโภคสัตว์ป่ามีมูลค่า 520,000 ล้านหยวน (74 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีการจ้างคนงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว กว่า 14 ล้านคน ทั้งนี้จากรายงานข่าวของสื่อในฮ่องกง เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ เผยโดยอ้างอิงรายงานปี 2017 ของ Chinese Academy of Engineering ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน

เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ระบุว่ากฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับที่บังคับใช้ในปัจจุบันซึ่งสภาฯ รับรองเมื่อปี 1989 ครอบคลุมการอนุรักษ์ การค้า และการใช้ประโยชน์ แต่ก็ยังเต็มไปด้วยช่องโหว่เนื่องจากยังอนุญาตการบริโภคสัตว์ป่า และการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์

Source

]]>
1265641