สื่อการสอน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 03 Jan 2023 03:15:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทรู คลิกไลฟ์ มุ่งเสริมแกร่งโรงเรียนเอกชนด้วย CREATIVE LEARNING INNOVATION จัดทัพนวัตกรรมการเรียนล้ำนำเทรนด์ ครบวงจร พร้อมยกระดับเด็กไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มศักยภาพ https://positioningmag.com/1414171 Tue, 03 Jan 2023 10:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414171

ทรู คลิกไลฟ์ TRUE CLICK LIFE ผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่อการศึกษาแบบครบวงจร ก้าวสู่ปีที่ 15 ไปพร้อมกับความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย เสริมแกร่งโรงเรียนเอกชนสู่การเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยดึงจุดแข็งด้านความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสารครบวงจรและนวัตกรรมล้ำสมัยของไทย ต่อยอดสู่การออกแบบหลักสูตรที่มีกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับโรงเรียนเอกชน

โดดเด่นที่หลักสูตรคุณภาพก้าวล้ำนำเทรนด์ และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ พร้อมสื่อการสอนครบครัน หวังแบ่งเบาภาระของครูผู้สอน เพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียน โดยมีโรงเรียนทั่วประเทศที่ใช้หลักสูตรพิเศษนี้กว่า 250 แห่งแล้ว และพร้อมที่จะขยายศักยภาพสื่อการเรียนการสอนที่รองรับการศึกษาไทยในยุคใหม่ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เดินหน้าสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง มุ่งอบรมพัฒนาครู เพิ่มรายวิชาที่รองรับแนวโน้มการศึกษาในอนาคต อัปเดทหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ดร. เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดมุมมองก้าวทันโลกดิจิทัลสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนว่า ทรูเข้ามามีส่วนผลักดันกระบวนการศึกษาของไทยหลากหลายมิติมาโดยตลอด ทรูจึงมองเห็นช่องว่างด้านการเชื่อมต่อกระบวนการเรียนรู้ เกิดไอเดียผลิตสื่อมัลติมีเดียและคลังความรู้ในรูปแบบดิจิทัลขึ้นเอง ด้วยการใช้ศักยภาพด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ผลิตนวัตกรรมสื่อการสอนเต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละชั้นเรียนภายใต้การทำงานของ ทรู คลิกไลฟ์ (TRUE CLICK LIFE)

ผู้บริหารด้านการศึกษา ทรู เผยวิสัยทัศน์ของทรู คลิกไลฟ์ จะมุ่งยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล เน้นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนยุคใหม่ภายใต้แนวคิด CREATIVE LEARNING INNOVATION ประกอบด้วย 5 นวัตกรรมครบวงจร ครอบคลุมทุกมิติการศึกษา

1. Innovative Curriculum นวัตกรรมหลักสูตรคุณภาพ ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ (Computing Science Genius Program) หลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Genius Program) หลักสูตรภาษาจีน (Chinese Genius Program) หลักสูตรโรโบติกส์ (Robotics Genius Program) และหลักสูตรดนตรี (Music Genius Program)

2. Innovative Multimedia สื่อมัลติมีเดียล้ำสมัย ตอบโจทย์การศึกษายุคใหม่

3. Innovative Education Management ระบบการบริหารจัดการการศึกษา วิเคราะห์ประเมินข้อมูลโรงเรียน ครู นักเรียนได้ตรงจุด

4. Innovative Learning Community สร้างสังคมการเรียนรู้ เชื่อมโยง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

5. Innovative Professional Development พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ เสริมทักษะก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตลอดปี

ทั้งนี้ เหตุผลที่ทรู คลิกไลฟ์ ชนะใจ และเข้าสู่รั้วโรงเรียนเอกชนได้มากกว่า 250 แห่งในปัจจุบัน มาจากความเข้าใจความต้องการของโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างลึกซึ้ง และสามารถตอบสนองได้อย่างตรงจุด พร้อมนำเสนอความคุ้มค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนมากที่สุด และส่งมอบกระบวนการเรียนรู้แบบครบวงจรให้กับโรงเรียนแบบเบ็ดเสร็จ (End to End)

“เราขอเพียงห้องเปล่าเพื่อปรับเปลี่ยน ดีไซน์สิ่งแวดล้อม จัดวางสื่อ และบูรณาการเรียนการสอนให้ตรงตามเป้าหมาย รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่เข้าใจเด็ก ให้ความสนุก กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และเหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งใบงาน กิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนพัฒนาครูต้นแบบที่เข้าใจระบบการเรียนรู้ตามแบบฉบับของทรู คลิกไลฟ์ ส่งตรงถึงโรงเรียน เพื่อนำไปสื่อสารต่อกับครูของโรงเรียนอีกทอดหนึ่ง เพื่อทำให้รูปแบบการเรียนการสอนสมบูรณ์แบบและผลสัมฤทธิ์สูงสุด” ดร. เนตรชนก กล่าว

“เสน่ห์ของสื่อการเรียนการสอนของทรู คลิกไลฟ์ คือความใส่ใจในกระบวนการการเรียนรู้ของเด็ก สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ในแต่ละชั้นวัย เราสร้างแอนิเมชัน ที่มีคาแรกเตอร์อย่างพี่แทนและน้องแยมเป็นตัวแทนของเด็กชายและหญิง และยังมีพี่คลิก Click เป็นตัวแทนของผู้ช่วยเหลือการเรียนที่จะเติบโตตามเด็กๆ ไปเรื่อย ๆ เราสร้างสื่อการสอนที่ใส่ใจในรายละเอียด และสอดรับกับการเรียนรู้ มีการใช้สื่อแบบผสมผสาน อาทิ หนังสือ สื่อภาพ สื่อกิจกรรม สื่อดิจิทัล เพลง การ์ตูนแอนิเมชัน เกมฝึกทักษะ แฟลชการ์ด บวกกับทักษะการสอนของครูที่จะสังเกตพฤติกรรมและกระตุ้นเด็กให้สนุกกับเรียนรู้ตลอดคาบเรียน พร้อมกับเชื่อมโยงกับกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ และบรรลุผลตามโครงสร้างหลักสูตร”

ดร.เนตรชนก กล่าวต่อว่า ทรู คลิกไฟล์ ไม่เพียงมุ่งเฉพาะเจาะจงไปที่เด็กเท่านั้น แต่ยังใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยง ครู นักเรียน และผู้ปกครองเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการใช้เครื่องมือที่กระตุ้นส่วนรวมเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งยังพัฒนาระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนของครูผู้สอน ส่งต่อชุดความรู้สู่ผู้เรียนได้อย่างตรงจุด และแสดงผลการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล มีการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลของโรงเรียน ครู และนักเรียนในทุกมิติเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาอีกด้วย

ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาต่อของทรู คลิกไลฟ์ จะยังคงสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เชื่อมโยง โดยจะพัฒนาสื่อการเรียนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทรู คลิกไลฟ์ มีเครื่องมือพร้อมจัดทำสื่อต่าง ๆ ให้สดใหม่ได้อยู่เสมอ นอกจากนั้นยังมีแผนในการสร้าง Learning Center เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาแบบยั่งยืนให้ทั้งนักเรียนและครู ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 พร้อมประกาศตัวเป็นทางเลือกทางการศึกษา โดยคาดหวังจำนวนโรงเรียนที่สนใจหลักสูตรทรู คลิกไลฟ์ เพิ่มขึ้น 500 – 1,000 แห่งทั่วประเทศ

โรงเรียนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมหลักสูตร ทรู คลิกไลฟ์ ติดต่อได้ที่โทร. 08-9116-0239 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trueclicklife.com

 

]]>
1414171
การเรียนแบบออนไลน์ของทั้งผู้เรียน และผู้สอนเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้นในปีที่ผ่านมา https://positioningmag.com/1351537 Tue, 14 Sep 2021 04:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351537

ผ่านมาหนึ่งปีกว่าแล้วที่โรงเรียน สถานศึกษาทั้งหลายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจไม่ทันได้เตรียมรับมือเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รายงานการสำรวจฉบับล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดย เลอโนโว และ ไมโครซอฟท์ พบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเริ่มเข้าใจถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของการเรียนออนไลน์ และเริ่มที่จะสนุกไปกับการใช้ประโยชน์จากการเรียนออนไลน์ อย่างไรก็ตามการเรียนออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรค โดยอุปสรรคนี้ไม่ใช่การขาดแคลนการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่เป็นการไม่รู้จักใช้โซลูชันที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งความท้าทายด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเนื่องจากการเรียนออนไลน์ที่ปัจจุบันกินระยะเวลามานาน

การปิดโรงเรียนในหลายๆ ประเทศเกือบตลอดทั้งปี 2020 นี้ทำให้ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษาต่างเผชิญกับความท้าทายของเทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ การศึกษานี้ช่วยให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษาได้ปรับตัวให้เข้ากับการเรียนออนไลน์อย่างไรบ้างในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ความท้าทายที่แท้จริงมีอะไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขใดบ้างที่นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้เทคโนโลยีการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การศึกษานี้ได้สำรวจนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และครูผู้สอนประมาณ 3,400 คน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ e – learning ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังสำรวจว่าเทคโนโลยีสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างไร โดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ YouGov และ Terrapin ได้ดำเนินการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผลการสำรวจที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

เทคโนโลยีการศึกษากลายเป็นบรรทัดฐานในช่วงปีที่แล้วโดยมีผลลัพธ์ที่หลากหลาย

ครูผู้สอน และนักเรียนนักศึกษา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผลกระทบของชั้นเรียนออนไลน์ที่มีต่อผลประสิทธิภาพด้านการศึกษา ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นในทางที่ดีเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนทางออนไลน์ โดย 59% มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพการสอนที่ดีขึ้น และ 24% เชื่อว่ายังคงรักษาระดับของประสิทธิภาพไว้ได้ อย่างไรก็ตาม การประเมินของนักเรียนนักศึกษามีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ประมาณหนึ่งในสามของนักเรียนเชื่อว่าประสิทธิภาพของตนดีขึ้น อีกสามส่วนเชื่อว่ายังคงเหมือนเดิมในช่วงเรียนออนไลน์ และอีกสามส่วนที่เหลือเชื่อว่าประสิทธิภาพการเรียนของตนลดลง

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้ว นักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา แนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไป โดย 66% ของนักเรียนนักศึกษาและ 86% ของครูผู้สอนคาดว่าจะใช้จ่ายไปกับเทคโนโลยีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในปีที่จะมาถึงนี้

การเข้าถึงและความสะดวกสบายถือว่าเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของการเรียนออนไลน์

การเข้าถึง และความยืดหยุ่น ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนนักศึกษา รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาและสื่อการเรียนที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก ในขณะเดียวกัน ครูผู้สอนมองว่าการรวมศูนย์สื่อการสอนให้มาอยู่ในแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายเพียงที่เดียวนั้นเป็นข้อดีที่เห็นได้ชัด เช่น Microsoft Teams สำหรับการศึกษารวมทั้งผู้ที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า e – learning ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการสนับสนุนในแบบส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

นักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอน ต่างก็ตระหนักถึงความต้องการของตนแต่เพิ่งเริ่มใช้ประโยชน์จากโซลูชันที่มีอยู่

นักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครองกล่าวว่า เทคโนโลยีที่ให้ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ประสิทธิภาพที่ยืดหยุ่น และคุณประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็น “สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง” และมีเพียง 17% เท่านั้นที่มองว่าค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดสำหรับโซลูชันเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ 75% ของครูผู้สอนยังให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยเฉพาะสำหรับการศึกษา, การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล(79%), ฟีเจอร์การทำงานร่วมกัน(64%), เครื่องมือสำหรับการประเมินนักเรียนนักศึกษา(63%), ความง่ายในการใช้งานทั่วไป (59%) และฟีเจอร์การเข้าถึง(53%) ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ (72%) ใช้แล็ปท็อปและ 29% ใช้แท็บเล็ตในการเรียนออนไลน์ แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้โซลูชันการเรียนรู้แบบเต็มรูปแบบ

นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนพบว่ามีวิธีรับมือกับการสนับสนุนทางเทคนิค แต่การเสียสมาธิ การมีส่วนร่วม และการปลีกตัวอยู่ลำพังก็ยังคงเป็นอุปสรรค

การเว้นระยะห่างทางกายภาพไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับนักเรียนนักศึกษาหรืออาจารย์ในการขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคที่ต้องการในขณะที่เรียนออนไลน์หรือ e-learning แม้ว่าทีมสนับสนุนทางเทคนิคของสถานศึกษาหลายแห่งไม่สามารถรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน แต่นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างก็พบว่ามีแหล่งสนับสนุนอื่นๆ

โดยนักเรียนนักศึกษามักจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้น เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยมากกว่า ในทำนองเดียวกัน 32% ของครูผู้สอนพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเทคนิคด้วยตนเอง อีก 31% ขอความช่วยเหลือจากครูท่านอื่น และ 11% ขอความช่วยเหลือจากเด็กที่อยู่ในละแวกบ้านใกล้เคียงกัน

ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมที่ลดน้อยลงเป็นปัญหาที่ทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนมากกว่าครึ่งเผชิญ โดย การสำรวจทำให้พบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเกินครึ่งมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่อ่อนแอลงในช่วงเรียนออนไลน์ ทั้งนี้ความท้าทาย 4 อย่างที่นักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครอง ลงความเห็นพ้องกันจากการเรียนออนไลน์คือ เรื่องสมาธิในการเรียน, แรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียนออนไลน์ที่บ้านมีน้อย, การขาดโอกาสได้พบปะมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์/เพื่อนร่วมชั้น และเรื่องความโดดเดียวจากการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม

แม้ว่าแอปพลิเคชันการประชุมทางวิดีโอมีช่องทางในการมีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ที่หลากหลาย แต่การเข้าชั้นเรียนทั้งหมดผ่านหน้าจอกลับเป็นความท้าทายสำหรับนักเรียนนักศึกษา โดย 75% ของครูผู้สอนกล่าวว่า “นักเรียนไม่มีสมาธิเมื่อต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์” ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง

รูปแบบการสมัครใช้บริการใหม่ๆ การทำงานร่วมกันและอุปกรณ์ที่ชาญฉลาดมากขึ้นช่วยปลดล็อกศักยภาพในการเรียนออนไลน์ได้

แม้ผลสำรวจจะชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา แต่การดึงศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้นยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยทั้งนักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอนต่างกำลังมองหาวิธีการที่จะเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีที่สามารถก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และกับเนื้อหาของการเรียน

โลกได้เข้าสู่สภาวะ New Normal และการศึกษาก็กำลังก้าวเข้าสู่การเรียนการสอนยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เข้าถึง เสมือนอยู่ในชั้นเรียนจริง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกชั้นเรียน

]]>
1351537
รู้จักโครงการ ‘The Educator’ โดย ‘AIS Academy’ กับภารกิจนำเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับ “ครู” สู่ยุค 2021 https://positioningmag.com/1344249 Thu, 29 Jul 2021 04:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344249

การเรียนออนไลน์ (Learn Form Home) ในบ้านเราเริ่มเป็นที่รู้จัก และมีให้เห็นตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงระลอกแรกในปี 2020 แต่ถึงอย่างนั้นการเรียนในรูปแบบนี้ยังพบอุปสรรคอีกมากมาย โดยเฉพาะสื่อการสอนและวิธีการสอนของครูที่ยังปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนได้รับความรู้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ AIS Academy ลุกขึ้นมากระตุกสังคมโลกการศึกษาอีกครั้ง ให้หวนคิดและถึงเวลาที่ดิจิทัลเทคโนโลยีจะเข้าไปเปลี่ยนหน้าตา รูปแบบวิธีการสอน รวมถึงยกระดับครูไทย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ไม่ใช่ครูทุกคนที่พร้อมสอนออนไลน์

ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าคุณครูในแต่ละพื้นที่ของไทยมีความแตกต่างและหลากหลาย อย่างไรก็ตามในแต่ละพื้นที่ก็พยายามและความมุ่งมั่นที่จะจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์เพื่อทดแทนการสอนแบบปกติ ดังนั้น ครูจึงพยายามพัฒนาตนเอง พยายามปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดกับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสกิลทางด้านดิจิทัลและภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็น 2 ทักษะที่คุณครูในปัจจุบันจำเป็นต้องเรียนรู้ แต่สิ่งสำคัญกว่าคือ จิตวิญญาณของความเป็นครูและหัวใจของการเรียนรู้ เพราะครูต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตการเป็นครูเพื่อพัฒนาตนเอง

“ยุคนี้คุณครูเองต้องทำงานหนักมาก เพราะบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีมากนัก ดังนั้น จึงมีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ครูก็พยายามปรับตัวเรียนรู้เพื่อที่จะสอนนักเรียน สิ่งสำคัญคือ หัวใจของการเรียนรู้”

ความยั่งยืนที่แท้จริงต้องมากกว่าแค่ในองค์กร

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอไอเอสเล็งเห็นเรื่องดิจิทัลทรานซ์ฟอร์มเมชั่นตั้งแต่ก่อนการระบาดของ COVID-19 เมื่อองค์กรได้ผ่านการทำดิจิทัลทรานซ์ฟอร์มเมชั่น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงการทำงานและการเรียนการสอนภายในองค์กร แต่การทำเฉพาะภายในอาจเป็น ‘ความยั่งยืนที่ไม่ยั่งยืน’ เท่ากับการช่วยให้สังคมภายนอกเติบโตไปด้วยกันจึงเกิดเป็นโครงการ THE EDUCATORS THAILAND โดย AIS Academy

“ประโยชน์ของดิจิทัลจะทำให้การเรียนการสอนสามารถทำได้ทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ที่ห่างไกลและโรงเรียนที่มีข้อจำกัดด้านจำนวนคุณครู ขณะที่ครูเองก็พยายามปรับตัว ดังนั้น ถ้ามีอาวุธช่วยครูก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทัดเทียม”

เจาะลึกโครงการ THE EDUCATORS THAILAND

สำหรับโครงการ THE EDUCATORS THAILAND เพื่อต่อยอดการศึกษาของไทย ด้วยการให้ความสำคัญกับคุณครู บุคลากรต้นน้ำ ผ่านความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาหลักสูตรและต่อยอดทักษะการออกแบบสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดรับกับการศึกษายุคดิจิทัลแบบครบวงจร ตั้งแต่ การวางโครงสร้างหลักสูตร เครื่องมือสื่อการสอน และการวัดประเมินผลผู้เรียน

โครงการดังกล่าวนั้นเปิดกว้างให้บุคลากรด้านการศึกษาจากภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น นักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกสอน สามารถเข้าร่วม Un Learn และ Re Learn ทักษะการสอน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 1,000 คน

“เราเห็นว่าคุณครูกว่า 90% ที่เข้าร่วมโครงการของเรามีความพร้อมและความตั้งใจในการเรียนรู้อย่างมาก” ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ หัวหน้าส่วนงานการจัดการความรู้ด้านเทคนิค AIS กล่าว

สำหรับเนื้อหาภาคทฤษฎีที่จะทำการสอนมีทั้งหมด 5 หลักสูตร ได้แก่

1. ภูมิทัศน์ของการเรียนในอนาคต องค์ประกอบของการเรียนออนไลน์ สื่อการสอนออนไลน์ ระบบ LMS และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน

2. การวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีการเรียนออนไลน์

3. กลยุทธ์การสอนออนไลน์ การสอนแบบผู้เรียนอิสระ การสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม การออกแบบการสอน

4. การผลิตวิดีโอออนไลน์ สำหรับการศึกษา

5. การวัดประเมินผลออนไลน์ การวัดความรู้ การวัดทักษะ การวัดทัศนคติ

ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวถูกออกแบบและพัฒนาโดย AIS Academy ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรชั้นนำในวงการ โดยเป็นหลักสูตรเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมโครงการ THE EDUCATORS THAILAND เท่านั้น เมื่อผู้เรียนผ่านการอบรมหลักสูตรจะได้รับใบประกาศนียบัตร และ Digital Credential Badge ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณวุฒิระดับสากล

นอกจากนี้ยังมีเวิร์คช้อปการผลิตนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เตรียมความพร้อมในการผลิตผลงานในการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศ พระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม-ราชกุมารี โดยจะมีการประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประจำปี 2564 ในวันที่ 15 ธ.ค.

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และ Intouch, กรรมการ บริษัท เลิร์นดิ จำกัด กล่าวว่า ทาง AIS Academy ยังมีภารกิจในการนำองคูความรู้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้กับอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคสังคม เพราะเชื่อว่าเป็นการช่วยยกระดับอีโคซิสเต็มส์ให้เติบโตไปด้วยกันในทุกด้านด้วยเทคโนโลยี ดังนั้น เอไอเอสอยากจะเป็นตัวช่วยในการจุดประกายให้ภาคเอกชนต่าง ๆ นำจุดแข็งมาช่วยให้ประเทศสามารถฟื้นฟูจาก COVID-19 และมีความสามารถในการแข่งขันได้

“ระหว่างทางที่เราพัฒนาเราอยากเห็นการยกระดับขีดความสามารถและ Mindset แม้โครงการจะจบในช่วงสิ้นปี แต่เชื่อว่าคนที่เข้าโครงการจะนำประสบการณ์ไปส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรื่องการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ และเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ”

 

]]>
1344249