หย่า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jan 2024 02:35:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดสถิติ 5 ปีย้อนหลัง คนไทยจดทะเบียนสมรส 185,506 คู่ จดทะเบียนหย่า 42% คนกรุงครองแชมป์หย่ามากสุด! https://positioningmag.com/1460460 Sun, 28 Jan 2024 13:23:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460460 บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching เปิดอินไซต์ “รัก ๆ เลิก ๆ” ของชาวกรุง จากสถิติที่น่าสนใจจากกรมการปกครอง ที่เผยตัวเลขจำนวนการจดทะเบียนสมรสประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ชี้ให้เห็นว่า จ.กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์ทั้งด้านการจดทะเบียนสมรสที่สูงที่สุด และอัตราการจดทะเบียนหย่าที่ก็สูงเกินหน้าจังหวัดอื่นเช่นกัน

“ทำไมคนกรุงเทพฯ ถึงได้เป็นจังหวัดที่มีสถิติการสมรสสูงที่สุด และยังมีอัตราการหย่าที่สูงที่สุดในไทยทุกปีด้วยเช่นกัน” สาเหตุที่ซ่อนอยู่ภายใต้ตัวเลขสถิติเหล่านี้คืออะไร วันนี้แม่สื่อจะพาทุกท่านลงลึกไปสำรวจความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และสาเหตุที่ก่อให้เกิดตัวเลขเหล่านี้ขึ้นมา พร้อมทั้งสำรวจตัวเองไปพร้อมๆ กันเกี่ยวกับแนวคิด และทัศนคติ ค่านิยมที่เปลี่ยนไปทำให้คนตัดสินใจหย่ากันง่ายขึ้นนั้นจริงหรือไม่

ปี 66 กรุงเทพฯ อัตราจดทะเบียนสมรสสูงสุดยืน 1

Bangkok Matching ได้ทำการสำรวจสถิติอัตราการจดทะเบียนสมรสของคนไทยที่เก็บโดยกรมการปกครอง พบว่าในปี 2566 จังหวัดกรุงเทพมหานครมีอัตราการจดทะเบียนสมรสที่สูงถึง 39,150 คู่ เรียกได้ว่าเป็นตัวเลขที่ดูดี และพาใจฟูอยู่ไม่น้อย รองลงมาคือจังหวัดชลบุรี จดทะเบียนสมรสอยู่ที่ 14,593 คู่ และอันดับสามได้แก่จังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่ 10,568 คู่

โดยเขตที่คนกรุงเทพฯ นิยมไปจดทะเบียนสมรสก็เดาไม่ยาก เพราะมักจะเป็นเขตที่ได้รับความนิยมด้วยชื่อที่เป็นมงคลอย่าง เขตบางรัก และในช่วงวันวาเลนไทน์ปี 66 ที่ผ่านมา ก็ได้มีจำนวนคู่รักไปจดทะเบียนสมรสด้วยกันที่เขตนี้สูงถึง 640 คู่เลยทีเดียว

ซึ่งจังหวัดกรุงเทพฯ เองไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็นแชมป์ยอดจดทะเบียนสมรสสูงในปีนี้นะคะ แต่กรุงเทพฯ เป็นแชมป์เก่าที่ครองตำแหน่งมานาน หากจะลองมองย้อนไปให้ลึกกว่านั้น หยิบยกเอาสถิติย้อนหลัง 5 ปี จากกรมการปกครองมาให้ทุกคนดูตัวเลขจำนวนการจดทะเบียนสมรส ที่แตะทะลุหลักหมื่นต่อเนื่อง ยืน 1 จังหวัดที่จดทะเบียนสมรสสูงสุดมายาวนาน ด้วยตัวเลขการจดทะเบียนสมรสดังนี้

  • พ.ศ. 2562 สถิติการจดทะเบียนสมรสของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 47,017 คู่
  • พ.ศ. 2563 สถิติการจดทะเบียนสมรสของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 35,969 คู่
  • พ.ศ. 2564 สถิติการจดทะเบียนสมรสของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 23,595 คู่
  • พ.ศ. 2565 สถิติการจดทะเบียนสมรสของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 39,775 คู่
  • พ.ศ. 2566 สถิติการจดทะเบียนสมรสของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 39,150 คู่

รวมแล้ว 5 ปีที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ ได้จดทะเบียนสมรสไปทั้งหมดอยู่ที่ 185,506 คู่ เลยทีเดียว

รักแรง เลิกแรง คนกรุงหย่า 17,000 คู่

ที่น่าตกใจก็คือตัวเลขจากสถิติการจดทะเบียนหย่าภายในช่วงระยะเวลาแค่ 1 ปี ที่ทำการเก็บข้อมูลคือปี พ.ศ. 2566 กลับพบว่าจังหวัดกรุงเทพมหานครก็นำโด่งครองแชมป์เป็นจังหวัดที่มีอัตราการหย่าสูงถึง 17,410 คู่ ภายในปีเดียว ! รองลงมาคือจังหวัดชลบุรี ที่มีการจดทะเบียนหย่าที่ 8,060 คู่ และอันดับสามคือจังหวัดนครราชสีมาอยู่ที่ 5,880 คู่

ซึ่งถ้าพิจารณาจากจังหวัด Top 3 จังหวัดที่มีอัตราการจดทะเบียนสมรสสูงอย่าง กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี และนครราชสีมา ก็คือ 3 จังหวัดเดียวกันกับที่มีอัตราการจดทะเบียนหย่าสูงสุดเช่นกัน ! เรียกได้ว่ายิ่งแต่งเยอะเท่าไหร่ อัตราการไปกันไม่รอดก็ยิ่งพุ่งสูง จนทำให้อัตราการหย่านั้นกินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของอัตราการจดทะเบียนสมรสก็ว่าได้ ซึ่งถ้าหากเราลองกางสถิติการหย่าย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาของคนกรุงเทพฯ ออกมาดูกัน ก็จะพบว่า

  • พ.ศ. 2562 สถิติการจดทะเบียนหย่าของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 17,266 คู่
  • พ.ศ. 2563 สถิติการจดทะเบียนหย่าของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 15,567 คู่
  • พ.ศ. 2564 สถิติการจดทะเบียนหย่าของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 10,258 คู่
  • พ.ศ. 2565 สถิติการจดทะเบียนหย่าของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 17,635 คู่
  • พ.ศ. 2566 สถิติการจดทะเบียนหย่าของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 17,410 คู่

จากสถิติจะพบว่า อัตราการหย่าของคนไทยเฉพาะแค่ที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในช่วง 5 ปีให้หลังมานี้ มีจำนวนตัวเลขการหย่าร้างสูงทะลุ 78,136 คู่ ! คิดเป็น 42% ของอัตราการจดทะเบียนสมรส หรือเกือบครึ่งหนึ่งของคู่ที่ทำการจดทะเบียนสมรสเลยก็ว่าได้

4 สาเหตุการหย่าร้างที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

สำหรับการหย่าร้างนั้นถ้าหากว่าคนสองคนยังรักกันดีอยู่ก็คงไม่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นถูกไหมคะ ดังนั้นแล้วการที่จะหย่าร้างนั้นก็ต้องมีสาเหตุปัจจัยที่ทำให้คนสองคนที่ตัดสินใจแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันมานั้นต้องจบความสัมพันธ์ลงด้วยการ “หย่าร้าง” ซึ่งจากการค้นคว้า จนพบว่าการหย่าร้างมักจะเกิดขึ้นจาก 4 สาเหตุสำคัญ อ้างอิงตามสถิติจากสำนักข่าวไทยรัฐ

การทะเลาะ การใช้ความรุนแรง

ปัญหาอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดการหย่าร้างขึ้นคือการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างสามี-ภรรยา ลามไปจนถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อ้างอิงจากชุดข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว 76 จังหวัด และกรุงเทพฯ ประจำปี 2565 โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จะพบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมามีรายงานการใช้ความรุนแรงในครอบครัวสูงถึง 2,347 ราย ซึ่งกรุงเทพฯ ก็นำโด่งอันดับ 1 ด้านพื้นที่เกิดความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 142 ราย โดย 82% บอกว่าเป็นการเกิดเหตุภายในบ้านตนเอง และฝ่ายที่ถูกทำร้ายมักจะเป็นฝ่ายหญิง จำนวน 82.78%

การนอกใจ ไม่ซื่อสัตย์

เป็นสาเหตุที่ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะประเทศไทยเพิ่งติดอันดับอัตราการนอกใจสูงสุด 61% ในระดับโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 จากผลสำรวจอัตราการนอกใจคู่รักคู่สมรสจากทั่วโลกเมื่อปีที่ผ่านมา จึงไม่เซอร์ไพรส์สักเท่าไหร่ใช่ไหมคะที่สาเหตุ “นอกใจ” จะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอัตราการจดทะเบียนหย่าสูงขึ้นในประเทศไทย ซึ่งผลสำรวจเดียวกันจาก World population reviews ได้บอกไว้ว่าการนอกใจมักมาจากสาเหตุของการสนใจความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย อยากลอง One Night Stand รวมถึงการเข้ามาของแอปหาคู่ เว็บไซต์หาคู่ ที่มีส่วนหนุนอัตราการนอกใจในรูปแบบเดทออนไลน์ให้พุ่งสูงขึ้นไปด้วย

ขาดการรับผิดชอบ

เพราะการสร้างครอบครัวนั้นไม่สามารถสร้างด้วยใครคนใดคนหนึ่ง แต่คนสองคนจะต้องช่วยกันประคับประคองให้ไปจนถึงฝั่ง ซึ่งถ้าหากในขณะนั้นใครบางคนปล่อยมือไป ไม่ช่วยเหลือ ไม่สนับสนุนกันและกัน ทำให้อีกคนรู้สึกเป็นฝ่ายถูกทอดทิ้งในความสัมพันธ์ก็จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์นั้นเจือจางจนหมดไปในที่สุด โดยการขาดความรับผิดชอบนั้นสะท้อนได้ทั้งด้านการงาน การเงิน และการใช้ชีวิต ซึ่งถ้าหากทัศนคติและเป้าหมายในการใช้ชีวิตไม่ตรงกันก็ทำให้เกิดการหย่าร้างตามมา

ปัญหายาเสพติด

ปัญหาด้านการใช้ยาเสพติดนั้นคือสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว สถิติปี 2565 จากกรมกิจการสตรีและครอบครัวเผยว่าปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายร่างกายในครอบครัว ได้แก่

  • ยาเสพติด 19.5%
  • สุรา 11.8%
  • หึงหวง 10.08%
  • สุรา+บันดาลโทสะ 9.9%
  • บันดาลโทสะ 8.6%
  • รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจมากกว่า 8.1%

จึงทำให้ปัญหายาเสพติดนอกจากเป็นปัญหาของสังคมโดยรวมแล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการหย่าร้างในครัวเรือน และเป็นปัจจัยหนุนหลาย ๆ ด้าน เรียกว่าทั้งสร้างปัญหาสังคมและยังทำให้ความสัมพันธ์ครอบครัวแตกแยกอีกด้วย

การหย่าร้างคือทางออกที่แฟร์ต่อกัน หรือเป็นการหนีปัญหา ?

หลายครั้งที่เคยได้ยิน และพบเห็นประโยคว่า “การหย่าร้างคือทางออกของคนที่หนีปัญหา” หรือ “สมัยนี้หย่าร้างกันง่ายเพราะมีสิ่งเร้ารอบตัวเยอะกว่าสมัยก่อน” ซึ่งถ้าหากเป็นเมื่อก่อนคำนี้อาจจะทรงพลังและทำให้คนที่รู้สึกอยากหย่าร้างนั้นต้องกลับไปทบทวนความคิดตัวเองใหม่ ว่าตัวเองกำลังเลือกหนีปัญหาอยู่จริงหรือไม่ หรือเราสามารถกลับไปแก้ไขปัญหารอยร้าวในครอบครัวได้หรือไม่

แต่สำหรับปัจจุบันนี้การหย่าก็เหมือนกับการตัดสินใจที่จะจบเกม พาตัวเองออกมาจากเกมที่รู้ดีว่าเล่นไปยังไงก็คงจะวนอยู่ที่ด่านเดิม ๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รังแต่จะทำให้เสียเวลา เสียใจ และเสียคุณค่าความเป็นตัวเองไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น โดยสำนักข่าว The Momentum ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวคิดที่ว่า “การหย่าคือการหนีปัญหาจริงหรือไม่?” ซึ่งคอลัมนิสต์ผู้ให้คำตอบก็ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “การหย่าไม่ใช่การหนีปัญหา แต่คือการรู้ตัวเอง รู้ถึงปัญหาที่พบ ไม่ต้องกังวลเหมือนกับคนสมัยก่อนที่กลัวคำครหา กลัวลูกมีปัญหา กลัวเสียสถานะในสังคมต่าง ๆ และกล้าก้าวออกมาจากจุดนั้น” โดยได้ให้ความเห็นไว้ว่า “การหย่าคือการหาทางออก แต่การทนอยู่คือการหนีปัญหามากกว่า”

และนี่คือความต่างของค่านิยม ทัศนคติที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย

หรือหากมองในด้านกฎหมายการฟ้องหย่ากันบ้าง ผลงานวิจัยเรื่อง “เหตุหย่าเพราะครอบครัวแตกร้าว: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ” ได้ให้บทสรุปไว้ว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการหย่าร้างที่สูง เป็นเพราะว่าการหย่าในประเทศไทยนั้นสามารถทำได้ง่าย เพียงแค่คู่สมรสทั้ง 2 ฝ่ายมีความสมัครใจยินยอมก็สามารถหย่าขาดจากกันได้ทันที หรือถ้าหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมก็สามารถฟ้องหย่าหรือยื่นหย่าต่อศาลได้ ต่างจากกฎหมายต่างประเทศที่จะมีข้อกำหนดและเงื่อนไขในการฟ้องหย่าที่ยากกว่า เช่น ในประเทศออสเตรเลีย คู่รักที่จะมาฟ้องหย่าต่อกันได้นั้นจะต้องเป็นคู่สมรสกันมาไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่จะมีคำรับรองให้คู่สมรสสามารถฟ้องหย่าก่อนครบกำหนดได้ เป็นต้นค่ะ

คู่สมรสยุคใหม่ ถ้าหากรู้สึกว่าไม่ใช่ก็จะไม่ทนและเสียเวลา

ดังนั้นจากผลการสำรวจและสถิติต่าง ๆ ที่ Bangkok Matching ได้หยิบยกมาวิเคราะห์และนำเสนอให้เห็นตัวเลขที่เรียกได้ว่าหักล้างกันดุเดือดสุด ๆ สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร ที่จดทะเบียนสมรสว่าสูงแล้ว แต่อัตราการจดทะเบียนหย่าก็สูงจนเกือบจถึง 50% ของอัตราการจดทะเบียนสมรส เรียกได้ว่า “ครึ่งหนึ่งรอด อีกครึ่งหนึ่งร่วง” ก็ไม่เกินจริงเลย รวมถึงทัศนคติค่านิยมของคนยุคนี้ก็ไม่เหมือนสมัยก่อนที่มองว่าการหย่าคือการหนีปัญหา แต่ถือว่าเป็นการหาทางออกให้ปัญหาแบบซึ่งหน้ามากกว่า เพราะคิดว่าถ้าไม่ใช่ ก็ไม่จำเป็นต้องทน

]]>
1460460
COVID-19 เล่นกล! ทำสถิติ “การหย่า” ในไทยลดลง 6% แต่แต่งงานก็ลดลง 17% https://positioningmag.com/1317096 Sat, 06 Feb 2021 14:54:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317096 จากเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 ทั่วโลกในปี 2563 บริษัทจัดหาคู่ Bangkok Matching ได้ติดตามสภาวการณ์การหาคู่ การหย่าร้าง การสมรส ทั้งในไทยและในต่างประเทศ และพบว่าในประเทศไทยช่วง COVID-19 จากตัวเลขสถิติจากกรมการปกครอง ภาพรวมของสถิติการหย่าของทั้งประเทศลดลงราว 6% และสถิติการสมรสของทั้งประเทศก็ลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน

แต่เมื่อมาดูเฉพาะจังหวัดกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่มีประชากรมากสุดถึงประมาณ 5.6 ล้านคน เมืองที่มีคนแต่งงาน และหย่ามากที่สุดในประเทศไทยแล้ว พบว่า สถิติการหย่าในกรุงเทพมหานคร ในปี 2563 ลดลงราว 10% และสถิติการสมรสก็ลดลงถึง 22% เมื่อเทียบกับปี 2562 เลยทีเดียว

ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ Bangkok Matching คิดว่า ตัวเลขสถิติการหย่าที่ลดลงนั้น จริงๆ แล้วส่วนหนึ่งอาจไม่ได้หมายความว่า คู่ชีวิตไม่ได้มีปัญหา แต่มันอาจเป็นไปได้ว่า ด้วยสภาวะ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในด้านต่างๆ รวมถึงการเงิน และการต้องหาที่พักอาศัยใหม่ ทำให้คู่รักอาจเลือกที่จะอดทนในชีวิตสมรสต่อไปก่อน ยังไม่พร้อมจะแยกบ้าน และยังไม่พร้อมที่จะเริ่มทำเรื่องหย่า ณ ตอนนี้

รวมถึงบางส่วนอาจจะมาจากวัฒนธรรมการอดทน อดกลั้นในชีวิตคู่ และสำหรับยอดคู่แต่งงานที่ลดลง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคู่รักจำนวนมากได้เลื่อนงานแต่งงานออกไป หรือยกเลิกไปก่อนนั่นเอง อีกทั้งคนโสดบางส่วน อาจจะถูกชะลอการศึกษา ทำความรู้จักกันไปบ้าง จาก COVID-19 ทำให้จำนวนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นแต่งงานในปี 2563 ลดลง ก็เป็นไปได้เช่นกัน

แต่งงาน
Photo : Pixabay

สถานการณ์หย่าร้าง สมรสทั่วโลก

ประเทศอเมริกา Bloomberg รายงานว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2563 ช่วงโควิด 19 ระบาดใหม่ๆ ในประเทศอเมริกา ดูเหมือนยอดการหย่าในประเทศอเมริกามีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น แต่พอปลายปีกลับพบว่ายอดรวมการหย่ากลับลดลง รวมถึงยอดคู่แต่งงานก็ลดลงด้วยเช่นกัน

ซึ่งสถาบันวิจัยด้านประชากร และครอบครัว Bowling Green State University’s Center สำรวจ และพบว่า ยอดการหย่าที่ลดลงในปี 2563 ไม่ได้แปลว่าคู่ชีวิตในอเมริกาไม่ได้มีปัญหา มันอาจเป็นไปได้ว่า ด้วยสภาวะ COVID-19 ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ รวมถึงการเงิน และการหาที่พักอาศัยใหม่ ทำให้คู่รักเลือกที่จะอดทนในชีวิตสมรสต่อไปก่อน และยอดคู่แต่งงานที่ลดลง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคู่รักจำนวนมากได้เลื่อนงานแต่งงานออกไป หรือยกเลิกไปก่อนนั่นเอง

ประเทศจีน อังกฤษ และสวีเดน BBC รายงานว่าจากสภาวะกดดันจาก COVID-19 การล็อกดาวน์ทำให้ต้องคู่ชีวิตต้องใช้เวลาด้วยกันแทบจะตลอดเวลา สภาพการเงินที่ถูกผลกระทบ ส่งผลให้สถานการณ์การหย่าพุ่งสูงในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศอังกฤษ จีน และสวีเดน

Photo : Shutterstock

สำนักงานทนายด้านการหย่าร้างในอังกฤษแจ้งว่า ได้มีผู้สนใจติดต่อเข้ามาสอบถามเรื่องขั้นตอนการหย่าร้างเพิ่มขึ้นถึง 122% ในเดือนกรกฎาคม และตุลาคม ปี 2563 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา องค์กรการกุศลในประเทศอเมริกาที่ให้คำแนะนำด้านการจบความสัมพันธ์ การหย่าร้างทางออนไลน์ ก็ได้รับการติดต่อสอบถามพุ่งสูงขึ้นมากด้วยเช่นกัน แม้กระทั่งเว็บไซด์ออนไลน์ ขายแบบฟอร์มสัญญาข้อตกลงการหย่าร้าง ก็แจ้งว่ามียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 34%

ประเทศออสเตรเลีย พบว่าอัตราการสมรสลดลงถึง 30% ในครึ่งปีแรกของปี 2563 และคาดการณ์ว่าอัตราการหย่าก็น่าจะพุ่งสูงขึ้น ดูจากการค้นหาคำว่า “หย่าร้าง” (divorce) บน Google ในประเทศออสเตรเลีย ได้พุ่งสูงเป็นอย่างมาก

ประเทศเกาหลีใต้ พบว่ายอดการหย่าของคนเกาหลีใต้ช่วง มกราคม – กรกฎาคม 2563 เพิ่มขึ้น 3.1% และยอดแต่งงานลดลง 9.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

ประเทศญี่ปุ่น และประเทศที่ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวอย่าง ฮ่องกง และเกาหลีใต้ มีรายงานการร้องเรียนการใช้กำลังในบ้านของสามีและภรรยา ในช่วงล็อกดาวน์พุ่งสูงมาก ในประเทศญี่ปุ่นเอง ได้รับการร้องเรียนมากเป็นกว่าเท่าตัว แค่ในเดือนเมษายน 2563 เท่านั้น แต่กลับพบว่า สถิติการหย่าในญี่ปุ่นระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2563 กลับลดลงราว 9.8%

Photo : Pixabay

ในกรณีประเทศญี่ปุ่น และประเทศแถบเอเชียที่ชายเป็นใหญ่ในบ้านนี้ Bangkok Matching วิเคราะห์ว่า อัตราการหย่าที่ลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้การเลิกกัน หย่าขาดจากกัน เป็นไปได้โดยลำบาก และอีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของหญิงในประเทศนั้นเอง ที่อาจจะถือหลักอดทน อดกลั้น ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปลูกฝังกันมาของตน

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามไปคือ COVID-19 คงไม่ได้ส่งผลร้ายต่อความสัมพันธ์แง่เดียว ในทางกลับกันคู่ที่รอดจากความกดดันต่างๆ ในช่วงนี้มาได้นี้ ก็น่าจะมีแนวโน้มว่าความสัมพันธ์จะแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม รักกันมากกว่าเดิม ผูกพันกันมากกว่าเดิม จากการใช้เวลาด้วยกัน เป็นกำลังใจให้กันและกันผ่านวิกฤต COVID-19 นี้

อ้างอิง

]]>
1317096