หุ้นกู้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 10 Jan 2022 04:33:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “Blue Finance” แหล่งเงินทุนเชื่อมโยงการอนุรักษ์มหาสมุทรจาก “ไทยยูเนี่ยน” บริษัทอาหารทะเลระดับโลก https://positioningmag.com/1369771 Mon, 10 Jan 2022 10:00:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369771

เครื่องมือทางการเงินแบบใหม่ที่ผูกโยงกับเป้าหมายด้านการอนุรักษ์ สะท้อนความตั้งใจในการทำงานด้านความยั่งยืน “ไทยยูเนี่ยน” เปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนแบบ Blue Finance” ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการอนุรักษ์มหาสมุทรโดยเฉพาะ มีการออกหุ้นกู้ลักษณะ Step up / Step down อัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นลงตามความสำเร็จของเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยไทยยูเนี่ยนวางเป้าจะเพิ่มแหล่งเงินทุน Blue Finance นี้ให้มีสัดส่วนถึง 75% ภายในปี 2568

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ถือเป็นบริษัทอาหารทะเลไทยที่ก้าวไปสู่ระดับโลก สร้างยอดขาย 44% จากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 29% จากยุโรป 10% จากประเทศไทย และ 17% จากกลุ่มประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาใต้

ปี 2563 ที่ผ่านมาแม้จะเกิดวิกฤต COVID-19 แต่ไทยยูเนี่ยนยังสร้างยอดขายได้ถึง 132,400 ล้านบาท เติบโต 4.9% และมีกำไรสุทธิ 6,246 ล้านบาท เติบโตถึง 63.7%

ขณะที่รอบ 9 เดือนแรกของปี 2564 ยอดขายยังทำได้ 102,547 ล้านบาท เติบโต 3.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และกำไรสุทธิ 6,083 ล้านบาท เติบโต 27% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ไทยยูเนี่ยนมีธุรกิจหลัก 3 ส่วนคือ 1) ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและบรรจุภัณฑ์อื่นๆ 2) ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น 3) ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า โดยเป็นเจ้าของแบรนด์ทั้งในระดับโลก เช่น Chicken of the Sea, John West, Petit Navire และแบรนด์ชื่อดังในไทย เช่น ซีเล็ค, QFresh และโมโนริ เป็นต้น


ไม่มีทะเล ไม่มีไทยยูเนี่ยน

เห็นได้ว่าธุรกิจของไทยยูเนี่ยนเชื่อมโยงกับ “มหาสมุทร” ตลอดทั้งห่วงโซ่ ทำให้ไทยยูเนี่ยนตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบที่ต้องมีต่อมหาสมุทร เพราะเล็งเห็นว่า หากไม่มีทะเลแล้ว ก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจอาหารทะเลได้

นี่จึงเป็นต้นธารของแนวคิด Healthy Living, Healthy Oceans กล่าวคือ ไทยยูเนี่ยนจะดูแลความเป็นอยู่ของผู้คน รวมถึงการดูแลทรัพยากรทางทะเลด้วย โดยยึดเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSDG

เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่ชัดเจน ไทยยูเนี่ยนมีการวางกลยุทธ์ SeaChange® ซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2558 เน้นด้านการดูแลแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและทำงานอย่างปลอดภัย เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบของบริษัทมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และมีผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากกลยุทธ์นี้แล้ว เช่น บริษัทได้เข้าร่วมในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) รวมถึงเป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับตลาดเกิดใหม่ 8 ปีติดต่อกัน

จากแนวคิดของไทยยูเนี่ยนและการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ปี 2564 นี้บริษัทได้ยกระดับไปอีกขั้นโดยการนำเรื่องความยั่งยืนมาเชื่อมโยงกับแหล่งเงินทุนของบริษัท เพื่อสะท้อนให้เห็นความตั้งใจจริงที่จะสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้น ผ่านการใช้เครื่องมือทางการเงินแบบ “Blue Finance”


Blue Finance คืออะไร?

โดยทั่วไปแล้วในวงการการเงินมีเครื่องมือทางการเงินประเภทที่เรียกว่า การเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืน” (Sustainability Linked Financings) หมายถึงเครื่องมือทางการเงินชนิดใดก็ได้ที่ทางผู้ออกได้ตกลงในข้อกำหนดว่าจะต้องมีเป้าหมายด้านความยั่งยืน หรือ ESG ที่มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อการพัฒนาด้านความยั่งยืน และเป็นเป้าหมายที่ท้าทายที่ต้องดำเนินให้สำเร็จตามเป้าในช่วงอายุของเครื่องมือทางการเงินนั้นๆ ซึ่งผลสำเร็จหรือไม่สำเร็จตามเป้าหมายจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะจ่ายให้กับนักลงทุน

สำหรับบริษัทไทยยูเนี่ยนซึ่งมีเป้าหมายหลักด้าน ความยั่งยืนในการอนุรักษ์มหาสมุทร รักษาทรัพยากรในทะเล และสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรม การใช้เครื่องมือทางการเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืนตามเป้าหมายของบริษัทจึงเรียกว่า “Blue Finance”

การจัดหาแหล่งเงินทุนแบบ Blue Finance นั้นทำได้ผ่านหลายช่องทาง เช่น สินเชื่อธนาคาร การออกหุ้นกู้ โดยเฉพาะหุ้นกู้นั้นมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบ Step up / Step down อัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นลงตามความสำเร็จของเป้าหมายด้านความยั่งยืน หากบริษัททำได้สำเร็จตามเป้าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ซึ่งไทยยูเนี่ยนระบุ ดัชนีชี้วัด 3 ด้าน ที่จะมาวัดผลว่าบริษัททำได้สำเร็จตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนหรือไม่ ดังนี้

  • การได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์หรือ DJSI ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
  • การลดปริมาณความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้า
  • บริษัทต้องซื้อปลาจากเรือที่มีเครื่องมือการตรวจสอบอิเล็คทรอนิคส์และ/หรือผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของซัพพลายเชนในจัดหาปลาทูน่าทั่วโลก

กลยุทธ์ดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนจัดหาแหล่งเงินทุนแบบ Blue Finance ไปเป็นจำนวนมาก ดังนี้

  • ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Loan) เป็นครั้งแรกทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย สินเชื่อที่ออกในประเทศไทยเป็นสกุลเงินไทยบาทและดอลล่าร์สหรัฐ และสินเชื่อนินจา/ซามูไรในประเทศญี่ปุ่นเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐและเยน โดยสินเชื่อทั้งสองจำนวนนี้รวมกันเป็นจำนวนเทียบเท่า 12,000 ล้านบาท ระยะเวลาในการกู้ยืม 5 ปี ซึ่งมีการกู้ยืมครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยการขอสินเชื่อในครั้งนี้ของไทยยูเนี่ยนได้รับการตอบรับมากกว่าสินเชื่อที่ต้องการมากกว่า 2 เท่า
  • การออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย มูลค่า 5,000 ล้านบาท อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.47% ต่อปี ให้กับผู้ลงทุนสถาบัน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 โดยมีจำนวนยอดจองซื้อมากกว่า 2 เท่า
  • การออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-linked Bond) ต่อเนื่องจากครั้งแรก มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการออกหุ้นกู้จำนวน 2 รุ่นเพื่อกระจายให้คลอบคลุมกลุ่มนักลงทุนระยะสั้นและระยะยาวได้ดียิ่งขั้น ประกอบด้วย รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.27% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.36% ต่อปี ให้กับผู้ลงทุนสถาบัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดยมีจำนวนยอดจองซื้อมากกว่า 2 เท่าเช่นกัน
  • การออกสินเชื่อนินจาที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเป็นครั้งที่สองที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 โดยเป็นสินเชื่อสกุลเงินเยนทั้งหมดจำนวน 14,000 ล้านเยน ระยะเวลา 5 ปี และจากผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก JCR อยู่ที่ A- ทำให้ไทยยูเนี่ยนได้รับการตอบรับจากสถาบันการเงินมากกว่าสองเท่าตัวจากจำนวนสินเชื่อที่ต้องการ
  • สินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ท้องทะเล จำนวน 2,000 ล้านบาท จากธนาคารชั้นนำในประเทศไทย เมื่อ 13 ธันวาคม 2564 รวมทั้ง บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจากับบางธนาคารในประเทศไทย เพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นและตราสารอนุพันธ์ให้เป็นวงเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนมากขึ้น

จากการดำเนินงานตลอดปี 2564 ไทยยูเนี่ยนคาดว่าสัดส่วนแหล่งเงินทุนแบบ Blue Finance จะขึ้นไปแตะ 50% ของสัดส่วนหนี้สินระยะยาวทั้งหมดของบริษัทได้ภายในเดือนมกราคม 2565

รวมถึงตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนของ Blue Finance ต่อหนี้สินระยะยาวทั้งหมดให้ไปแตะ 75% ภายในปี 2568 อีกด้วย

“Blue Finance สะท้อนให้เห็นว่าเราสามารถร่วมกับภาคการเงินในการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยให้เราสามารถอนุรักษ์ท้องทะเลได้อย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการผลิตสินค้าอาหารที่ดีมีคุณค่าต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคทั่วโลกไปพร้อมกัน” นายยงยุทธ เสฏฐวิวรรธน์ กรรมการผู้จัดการ ด้านการบริหารการเงินและศูนย์บริการร่วมทางการเงิน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว “เรามีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเรื่องการเงินเพื่อความยั่งยืนในตลาดทุนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนไทยยูเนี่ยนและพันธกิจในการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”

 

 

]]>
1369771
KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร ผ่าน “บล็อกเชน” ครั้งแรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนได้ 80-90% https://positioningmag.com/1284240 Fri, 19 Jun 2020 10:26:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284240 KBank ออกหุ้นกู้ 17 ล้านยูโร อายุ 3 เดือน ดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี ร่วมมือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เสนอขายบนบล็อกเชนสำเร็จเเบงก์เเรกในไทย คาดช่วยลดต้นทุนซื้อขายหุ้นกู้ลงได้ถึง 80-90% มองปีนี้เอกชนออกหุ้นกู้ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้านบาท 

ขายหุ้นกู้บนบล็อกเชนครั้งแรกในไทย

จงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าวว่า ธนาคารได้ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ดำเนินการเสนอขายและออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศผ่านเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) หรือที่เรียกว่าบล็อกเชน” (Blockchain) ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน โดย KBank เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศด้วยบล็อกเชน

หุ้นกู้สกุลเงินยูโรที่ออกในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 17 ล้านยูโร แบ่งเป็น 17,000 หน่วย อายุหุ้นกู้ประมาณ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0.52% ต่อปี และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อันดับความน่าเชื่อถือระดับสูงสุด “F1+(tha)”

สำหรับการออกหุ้นกู้สกุลเงินยูโรมูลค่า 17 ล้านยูโรนี้ อยู่ภายใต้โครงการหุ้นกู้ธนาคารกสิกรไทย วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) อนุญาตให้ธนาคารสามารถเสนอขายหุ้นกู้ภายใต้โครงการ Medium Term Note ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี

การออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนของแบงก์เป็นกิจกรรมปกติ ไม่ได้อิงกับสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจาก COVID-19 แต่ต้องการบริหารสภาพคล่องของธนาคารให้อิงกับปริมาณการปล่อยสินเชื่อ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารก็มีเงินฝากไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพราะความไม่เเน่นอนทำให้คนหันมาฝากเงินกับธนาคารมากขึ้น

ส่วนการระดมทุนในรูปแบบสกุลยูโรนั้น ก็เพื่อกระจายความเสี่ยง ไม่ให้กระจุกตัวอิงสกุลใดสกุลหนึ่ง ขณะที่เเนวโน้มการออกหุ้นเพิ่มเติมในปีนี้ ธนาคารต้องประเมินความต้องการสินเชื่อของลูกค้า สภาพคล่องของธนาคารและภาวะตลาดในขณะนั้นก่อน

การเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าการเสนอขายแบบปกติ เพราะเป็นโครงการนำร่องที่ทาง KBank ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมในตลาดทุนไทยนำเทคโนโลยี บล็อกเชนมาใช้ในงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทย ร่วมกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก สำนักงาน ก...ให้นำร่องโครงการ Registrar Service Platform Phase 1 (RSP1) และบรรจุอยู่ในโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถือเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนในระยะที่ 1

คาดปีนี้เอกชนออก “หุ้นกู้” ลดลงเหลือ 8-9 แสนล้าน 

ธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า โครงการ Registrar Service Platform Phase 1  เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบงานในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยประยุกต์ใช้บล็อกเชน มาช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลผู้ถือครองตราสารหนี้ ที่ผู้ร่วมตลาดทุกรายใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน

สำหรับเเผนการต่อไป จะมุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในตลาดแรกของตราสารหนี้ภาคเอกชนให้เป็น DLT Scripless Corporate Bond ซึ่งโครงการ RSP1 จะเป็นก้าวแรกของการกระโดดครั้งใหญ่ของตลาดตราสารหนี้ไทย และจากการจัดการออกและขายหุ้นกู้ของธนาคารกสิกรไทยด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน จะเป็นต้นแบบและมาตรฐานในการพัฒนาเพื่อใช้สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยต่อไป

ปีนี้คาดเอกชนจะออกหุ้นกู้ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ออกหุ้นกู้ไป 1.08 ล้านล้านบาท โดยบริษัทเอกชนจะออกหุ้นกู้เรตติ้งที่ A- ขึ้นไปยังมีความต้องการจากนักลงทุนสูง และไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ” 

ด้านธิติ ตันติกุลานันทน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ประเมินว่า ปีนี้จะมีเอกชนออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 9 แสนล้านบาท เเละระดับเรตติ้งที่ต่ำกว่า A- ความต้องการในตลาดลดลง

แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดทุนจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่การเสนอขายหุ้นกู้ มูลค่า 17 ล้านยูโรครั้งนี้ ยังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนในประเทศหลายแห่ง ทั้งจากกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ. และบรรดาบริษัทประกันภัย

เขามองว่า ในฐานะตัวกลางในการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ จะทำให้ธนาคารมีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ และเมื่อต้องรับหน้าที่เป็นตัวกลาง ธนาคารก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ออกตราสารหนี้รายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างมั่นใจ ส่วนผู้ลงทุนในหุ้นกู้ จะทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 

หมดยุคส่งกระดาษ “บล็อกเชน” ช่วยลดต้นทุนออกหุ้นกู้ลงถึง 80-90% 

ศีลวัต สันติวิสัฏฐ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เล่าว่า หลังจากที่ KBank ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาบริการออกหนังสือค้ำประกัน (LG) บนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้สำเร็จเป็นธนาคารแรกของโลก นำมาสู่การต่อยอดบริการอื่น ๆ อย่างเช่น การออกหุ้นกู้บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

เขาอธิบายว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ มีประโยชน์ทั้งในมุมของฐานข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของผู้ร่วมตลาด มีความสะดวกต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการออกหุ้นกู้ ทั้งผู้จองซื้อ ผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ นายทะเบียน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้สามารถทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ได้แบบเรียลไทม์ (Real Time) สามารถลดต้นทุนและลดขั้นตอนในการติดต่อสื่อสาร และทำให้การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่วันที่มีจองซื้อหุ้นกู้ จนถึงวันที่หุ้นกู้ครบกำหนดอายุ

ส่วนของนายทะเบียนหุ้นกู้ ก็สามารถจัดการข้อมูล ตรวจสอบ สอบทาน หรือติดตามผู้ถือหุ้นกู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนงานที่เคยใช้คนทำ (Manual) เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของเทคโนโลยีของ Blockchain และ smart contract ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และมีความปลอดภัยสูง ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการอำนวยความสะดวกและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไปพร้อมๆ กันในยุคดิจิทัล

ด้านของผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) เทคโนโลยีนี้ถือเป็นประตูเชื่อมระหว่างโลกของธุรกิจการรับฝากทรัพย์สินทางการเงินในปัจจุบัน กับโลกของการรับฝากทรัพย์สินดิจิทัล ทำให้หุ้นกู้ที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงินในปัจจุบันสามารถเก็บในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วย และเปิดโอกาสให้มีนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ได้อีกมาก

“ระบบเดิมจะมีค่าดำเนินการ 1 รายการระหว่าง Business-to-Business (B2B) ในการซื้อขายตราสารกระดาษ ต้นทุนจะอยู่ตั้งแต่ 500-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับไซส์ของผู้เล่น โดยผู้เล่นรายใหญ่จะต้นทุนต่ำกว่า เเต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลบนบล็อกเชนทั้งหมดเเล้ว จะสามารถลดต้นทุนการออกหุ้นกู้ปกติสูงถึง 80-90% ไม่ต้องรอเงิน รอเช็กว่าโอนหรือยัง รวมถึงการส่งมอบหลักฐานต่างๆ ก็ไม่ต้องส่งผ่านกระดาษแล้ว เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดด้วย”

โดยในอนาคตมีเเผนจะขยายไปสู่รายย่อย ซึ่งปัจจุบันธนาคารสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้แล้ว 12 สกุล

 

 

 

]]>
1284240
BTS กำไรปี 62/63 พุ่ง 8 พันล้าน โต 184% จ่อเพิ่มทุนพันล้านหุ้น เพิ่มวงเงินหุ้นกู้เป็น 6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1281646 Tue, 02 Jun 2020 05:04:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281646 BTS อวดกำไรปี 62/63 ที่ 8.16 พันล้านบาท โต 184% พร้อมปันผล 0.15 บาท/หุ้น เตรียมออกหุ้นเพิ่มทุน เสนอขาย PP 1.1 พันล้านหุ้น เพิ่มวงเงินหุ้นกู้จากเดิมเป็น 6 หมื่นล้านบาท ชี้เคอร์ฟิวทำเที่ยวเดินทางไตรมาสเเรก ลด 17.5%

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS รายงานผลดำเนินงาน งวดปี 62/63 (สิ้นสุด มี.ค. 63) มีกำไรสุทธิ 8,161.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 184.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,872.95 ล้านบาท โดยมีรายได้รวม จำนวน 42,203 ล้านบาท รายได้หลักมาจากธุรกิจระบบขนส่งมวลชน

โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.15 บาท ต่อหุ้น กำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 29 ก.ค. 2563 กำหนดจ่ายวันที่ 14 ส.ค. 2563

กวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส กรุ๊ป กล่าวว่า ผลประกอบการปีงบประมาณ 2562/63 (เมษายน 2562 ถึงมีนาคม 2563) เป็นที่น่าประทับใจ แม้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ โดยกำไรสุทธิในปีนี้เพิ่มขึ้น 184% จากปีก่อน แตะ 8.2 พันล้านบาท

ในขณะที่กำไรสุทธิหลังหักภาษีจากรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำสร้างสถิติสูงสุด ที่ 4.8 พันล้านบาท เติบโต 47% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจสื่อโฆษณาและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น รายได้รวมจำนวน 42.2 พันล้านบาท โดยมีรายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นรายได้หลัก ในส่วนธุรกิจสื่อโฆษณา มีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งแสดงกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อน

สำหรับธุรกิจระบบขนส่งมวลชน โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาของเรายังคงมีพัฒนาการรุดหน้าต่อเนื่องเป็นอย่างมาก โดยในปี 2562/63 มีรายได้ค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองและรายได้จากการให้บริการติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่ภายใต้สัญญาสัมปทานสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้และเหนือ จำนวน 25.2 พันล้านบาท

ด้านรายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ประจำปี 2562/63 เพิ่มขึ้น 65% YoY เป็น 3.8 พันล้านบาท บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ที่ 3.4 พันล้านบาท ปัจจัยหลักมาจากการเปิดให้บริการโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ทั้งสายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 รวมถึงการทยอยเปิดให้บริการ 5 สถานีแรกของโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือในปี 2562

นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าการเปิดทดลองให้บริการโครงการดังกล่าวอีก 4 สถานี ถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ในเดือนมิถุนายน 2563 และคาดว่าจะเปิดให้บริการสถานีที่เหลือภายในสิ้นปี 2563

BTS คาดว่าการเปิดให้บริการสถานีใหม่ๆ จะเป็นปัจจัยหนุนหลักของการเติบโตของรายได้ O&M ในอนาคต สำหรับโครงการคมนาคมขนส่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองนั้น คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าเป็นอย่างมากในปี 2563/64 ภายหลังการลงนามในสัญญาที่คาดว่าโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาจะสามารถลงนามได้ในเดือนมิถุนายน 2563 และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในเดือนกรกฎาคม 2563

สำหรับช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อไทย โดยรัฐขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน รวมถึงการปรับเวลาให้บริการให้สอดคล้องกับช่วงที่รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ด้วย โดยไตรมาสล่าสุด (มกราคมถึงมีนาคม 2563) จำนวนเที่ยวการเดินทางลดลง 17.5% จากปีก่อน

ในฝั่งธุรกิจสื่อโฆษณา บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแบบ Offline-to-Online (O2O) โซลูชั่นส์ สามารถสร้างสถิติรายได้และกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ โดยมีรายได้ 4 พันล้านบาท เติบโต 11% YoY และกำไรสุทธิ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.1 พันล้านบาทในปีก่อน โดยมีหน่วยธุรกิจใหม่ของ VGI อย่าง VGI Digital Lab ที่จะใช้ฐานข้อมูลในการให้บริการแบบดิจิทัล สร้างผลการดำเนินงานแข็งแกร่งทะลุเป้ารายได้ปีแรกที่วางไว้ 150 ล้านบาท

นอกจากนี้ VGI ยังได้ยกเลิกการควบรวมงบการเงินบริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562/63 เป็นต้นไป อันเป็นผลมาจากการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ VGI ใน MACO จากการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANB ทั้งนี้ การยกเลิกการควบรวมงบการเงินดังกล่าวทำให้อัตรากำไรสุทธิของ VGI ดียิ่งขึ้น โดย VGI มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 35.6% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาสต่อๆ ไป

จ่อเพิ่มทุน 1.1 พันล้านหุ้น 

BTS เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 เพื่อพิจารณาและอนุมัติแผนการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 4,400,000,000.00 บาท หรือเท่ากับประมาณ 8.36% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,100,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาท เพื่อเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement)

ทั้งนี้ บริษัทจะลดทุนทะเบียน 4,574,781,048.00 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 62,618,389,192.00 บาท เป็น 58,043,608,144.00 บาท โดยการตัดหุ้นจดทะเบียนที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย 1,143,695,262 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาท ก่อนทำการเพิ่มทุนใหม่ให้เป็น 62,533,050,788.00 บาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 1,122,360,661 หุ้น รองรับการปรับสิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ BTS-W5 จำนวนไม่เกิน 22,360,661 หุ้น และ การเสนอขายหุ้น PP จำนวนไม่เกิน 1,100,000,000 หุ้น

โดยบริษัทมีแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการของกลุ่มบริษัทในอนาคตอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มทุนจดทะเบียนของ บริษัทฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จะช่วยให้บริษัทฯ มีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้ในการรองรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตได้อย่างทันกาล โดยบริษัทฯ มีแผนการที่จะนำเงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนไปใช้ใน การลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อขยายกิจการของบริษัทฯ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินกิจการ

ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ใช้ใน การลงทุนดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับโอกาสและความคุ้มค่าของการลงทุนในขณะนั้น ๆ และเมื่อเทียบกับการกู้ยืมเงินแล้วจะไม่ทำให้อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings per Share) ลดลง

พร้อมกันนั้น จะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ พิจารณาและอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทฯ โดยมีวงเงินรวมกันทั้งสิ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ไม่เกิน 60,000 ล้านบาท (หรือสกุลเงินอื่นในจำนวนเทียบเท่า) ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการเพิ่มวงเงินการออกหุ้นกู้อีกจำนวน 30,000 ล้านบาท จากวงเงินเดิม ซึ่งที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 ของบริษัทฯ ได้อนุมัติไว้จำนวน 30,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุน 

อ่านเพิ่มเติม : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย 

]]>
1281646