องค์กรอนามัยโลก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 24 Jul 2022 13:03:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘WHO’ ประกาศให้ ‘โรคฝีดาษลิง’ เป็น ‘ภาวะฉุกเฉิน’ ด้านสุขภาพทั่วโลก https://positioningmag.com/1393690 Sun, 24 Jul 2022 04:19:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393690 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เปิดใช้งานระดับการแจ้งเตือนสูงสุดสำหรับการระบาดของ โรคฝีดาษลิง ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประกาศว่าไวรัสเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศที่น่ากังวล

เนื่องจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ประกาศเตือนภัยสูงสุด สำหรับการระบาดของ โรคฝีดาษลิง การประกาศดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า WHO มองว่าการระบาดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญเพียงพอต่อสุขภาพของโลกที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองและประสานงานกันระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายต่อไปและอาจทวีความรุนแรงขึ้น

“เรามีการระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านรูปแบบการแพร่เชื้อแบบใหม่ ซึ่งเราเข้าใจน้อยเกินไป ด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้ ฉันได้ตัดสินใจว่าการระบาดของฝีดาษลิงทั่วโลกถือเป็นเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่น่าเป็นห่วงในระดับนานาชาติ”

ข้อมูลของ WHO ระบุว่า มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากกว่า 16,000 รายในกว่า 70 ประเทศ จนถึงปีนี้ และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันเพิ่มขึ้นถึง 77% นับจากช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ปัจจุบันยุโรปเป็นศูนย์กลางของการระบาดทั่วโลก ในส่วนของจำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันมีทั้งหมด 5 รายในแอฟริกา โดยจนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตนอกแอฟริกา

สำหรับโรคฝีดาษลิง หรือ (Monkeypox) ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่เหมือนกับ Covid-19 โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบโรคฝีดาษในลิงครั้งแรกในปี 1958 ในลิงที่ถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการวิจัยในเดนมาร์ก และยืนยันกรณีแรกของมนุษย์ที่ติดเชื้อไวรัสในปี 1970 ในประเทศซาอีร์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

โดยส่วนใหญ่ไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางผิวหนังระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมีความเสี่ยงสูงสุดในขณะนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญโรคฝีดาษของ WHO กล่าวว่า 99% ของกรณีที่มีการรายงานนอกแอฟริกาอยู่ในกลุ่มผู้ชาย และ 98% ของการติดเชื้ออยู่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย อย่างไรก็ตาม WHO และ CDC ได้เน้นย้ำว่าทุกคนสามารถจับโรคฝีดาษได้โดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศ

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ในสเปนและอิตาลีตรวจพบ DNA ไวรัสโรคฝีดาษในน้ำอสุจิจากผู้ป่วยที่เป็นบวก แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำอสุจิระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนยังตรวจพบ DNA ของฝีดาษในตัวอย่างน้ำลาย

สำหรับอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ จะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ อาทิ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ก่อนจะเกิดผื่นและกลายเป็นตุ่มหนอง

 

]]>
1393690
‘WHO’ เตือน ‘โอมิครอน’ ไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้าย หลังผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20% ในสัปดาห์เดียว https://positioningmag.com/1370888 Wed, 19 Jan 2022 08:19:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370888 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาพูดถึงการระบาดใหญ่ว่าจะไม่สิ้นสุด เนื่องจากการติดเชื้อในระดับสูงทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่สายพันธุ์ใหม่เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ แม้ว่าการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จะเริ่มดีขึ้นในบางประเทศ

“เราได้ยินหลายคนพูดว่า โอมิครอนเป็นสายพันธุ์สุดท้ายของ COVID-19 ซึ่งนั่นไม่จริง เพราะเชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายและหมุนเวียนในระดับที่รุนแรงมากไปทั่วโลก” มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้าน COVID-19 ของ WHO กล่าว

การติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 20% ทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีรายงานผู้ป่วยทั้งหมดเกือบ 19 ล้านรายตามรายงานของ WHO แต่ มาเรีย แวน เคอร์คอฟ ตั้งข้อสังเกตว่ายังมีการติดเชื้อใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในรายงาน ทำให้จำนวนจริงสูงขึ้นมากกว่าที่คาด

“การแพร่เชื้อในระดับสูงทำให้ไวรัสมีโอกาสแพร่พันธุ์และกลายพันธุ์มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น” ดร.บรูซ เอิลเวิร์ด เจ้าหน้าที่อาวุโสของ WHO เตือน

มาเรีย แวน เคอร์คอฟ กล่าวว่า ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากและการเว้นระยะห่างทางสังคม เธอเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ เสริมความแข็งแกร่งให้กับมาตรการเหล่านั้นเพื่อควบคุมไวรัสให้ดีขึ้น และป้องกันคลื่นการติดเชื้อในอนาคต เมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น

“ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ เราจะก้าวไปสู่วิกฤตครั้งต่อไป และเราจำเป็นต้องยุติวิกฤตที่เราอยู่ในขณะนี้และเราสามารถทำได้ในขณะนี้ ดังนั้นอย่าละทิ้งกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลที่ปกป้องเราและคนที่เรารักให้ปลอดภัย” เธอกล่าว

ดร.แอนโธนี เฟาซี กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ว่าโอมิครอนจะเป็นเวฟสุดท้ายของการระบาดใหญ่หรือไม่

“ผมหวังว่าจะเป็นอย่างนั้น แต่มันจะเป็นอย่างนั้นก็ต่อเมื่อเราไม่พบตัวแปรอื่นที่หลีกเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของตัวแปรก่อนหน้า” เฟาซี กล่าว

CHINA test covid-19
(Photo by STRINGER / AFP)

ทั้งนี้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรย์ซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การติดเชื้อรายใหม่กำลังพุ่งถึงจุดสูงสุดในบางประเทศ สร้างความหวังว่าเวฟโอมิครอนที่เลวร้ายที่สุดจะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ระบบบริการสุขภาพยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเวฟการระบาดดังกล่าว

“ฉันขอให้ทุกคนพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ เพื่อที่คุณจะได้ช่วยลดแรงกดดันจากระบบ นี่ไม่ใช่เวลายอมแพ้”

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเตือนซ้ำ ๆ ว่า การกระจายวัคซีนอย่างไม่เท่าเทียมกันทั่วโลกทำให้อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันต่ำในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประชากรจำนวนมากเสี่ยงต่อการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายให้ทุกประเทศฉีดวัคซีน 40% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม 92 ประเทศไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าวตามข้อมูลของ WHO

]]>
1370888
WHO เตือนประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีน’ ฉีดกระตุ้นสู้โอมิครอน กระทบประเทศยากจน https://positioningmag.com/1366359 Fri, 10 Dec 2021 11:23:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366359 องค์การอนามัยโลก เตือนเหล่าประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีนโควิด’ สำหรับฉีดกระตุ้นเพื่อสกัดสายพันธุ์โอมิครอน เพราะจะส่งผลไปยังประเทศยากจนที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ

ประเทศตะวันตกกำลังเริ่มออกมาตรการฉีดวัคซีน ‘เข็มกระตุ้น’ หรือ booster shots โดยมุ่งไปที่ประชนชนกลุ่มเสี่ยง
ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ความน่ากังวลของโอมิครอนที่มีการเเพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้บางประเทศเริ่มขยายการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ยังประชากรกลุ่มอื่นๆ ด้วย

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)

Kate O’Brien ผู้อำนวยการด้านวัคซีนของ WHO กล่าวว่า ในช่วงที่เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่สถานการณ์ใดก็ตาม
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับโอมิครอน มีความเสี่ยงที่อุปทานของวัคซีนทั่วโลกจะกลับไปสู่ประเทศรายได้สูงที่กักตุนวัคซีนไว้อีกครั้ง ซึ่งนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันโรคระบาด เว้นแต่ว่าจะมีการกระจายวัคซีนไปยังทุกประเทศจริงๆ

ปัจจุบันวัคซีนโควิดที่มีอยู่ ประสบผลสำเร็จในการช่วยชะลอการแพร่ระบาดของโควิดและลดจำนวนผู้ป่วยหนักลงได้
เเต่ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำนั้น ยังคงเผชิญความเสี่ยงมากกว่าในสถานการณ์ที่มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์
เเละปัญหาสำคัญของโครงการ COVAX คือวัคซีนจำนวนมากที่ได้รับบริจาคจากประเทศร่ำรวย มักจะมีอายุในการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้น

ด้านไฟเซอร์และไบออนเทค ประกาศว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสูตรของบริษัท 2 เข็ม จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโอมิครอนลดลง อย่างมีนัยสำคัญ แต่การฉีดวัคซีน ‘เข็ม ‘ จะเพิ่มภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น 25 เท่า

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1366359
WHO ขอประเทศร่ำรวยเบรกฉีด ‘เข็ม 3’ เพื่อกระจายวัคซีนสู่ประเทศรายได้ต่ำ https://positioningmag.com/1345321 Thu, 05 Aug 2021 05:04:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345321 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยหยุดการแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น COVID-19 โดยอ้างถึงความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนทั่วโลก โดยต้องการให้หยุดการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนให้ถึง 10% ภายในสิ้นเดือนกันยายน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งหมดในโลกมีความสำคัญต่อการยุติการระบาดใหญ่ของ COVID-19 รวมถึงตัวแปรเดลตาที่กำลังระบาดหนัก ซึ่งการติดเชื้อที่สูง มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ มากขึ้น และจะยิ่งสร้างความเสี่ยงให้กับทุกประเทศ ทั้งที่ได้รับวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีน เว้นแต่ประชากรโลกจะได้รับวัคซีนมากขึ้น

ทั้งนี้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มีเป้าหมายที่จะกระจายการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 40% ของประชากรโลกภายในเดือนธันวาคมนี้ ดังนั้น การที่ประเทศร่ำรวยจะชะลอการฉีดวัคซีนไป 2 เดือน อาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้

“เราต้องการการพลิกกลับจากวัคซีนส่วนใหญ่ที่ส่งไปยังประเทศที่มีรายได้สูง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ต่ำส่วนใหญ่อย่างเร็วที่สุด โดยเฉพาะในจุดที่ประชากรสูงอายุ, ผู้ที่เป็นโรคประจำตัว, ผู้ที่ทำงานแนวหน้า เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าว

คำขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่หลายประเทศเริ่มมีแผนที่จะฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา อาทิ อิสราเอล ที่ประกาศว่าประเทศจะให้ฉีดเข็ม 3 เสริมแก่ประชากรสูงอายุ เช่นเดียวกันกับ สาธารณรัฐโดมินิกัน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเฮติเพิ่งได้รับวัคซีนชุดแรกเมื่อไม่นานมานี้

เจ้าหน้าที่ของ WHO ยังกล่าวอีกว่าเขาหวังว่าภายในกลางปี 2022 อัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกจะครอบคลุม 70% และจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับโลกหวังว่าประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงจะปฏิบัติตามคำขอโดยการเรียกร้องให้ยุติความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีน

“เราต้องการกลยุทธ์ด้านวัคซีน และเราต้องการมาตรการด้านสาธารณสุขและสังคมในระดับบุคคลและระดับชุมชน เราต้องการให้ทุกคนก้าวข้ามในตอนนี้” มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกกล่าว

Source

]]>
1345321
‘WHO’ กำลังเร่งหาสาเหตุทำไมสายพันธุ์ ‘เดลตา’ ถึงอันตรายกว่าสายพันธุ์อื่นมาก https://positioningmag.com/1344786 Mon, 02 Aug 2021 06:58:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344786 เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า พวกเขายังคงพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลตาจึงแพร่เชื้อได้ง่ายกว่า และอาจทำให้คนป่วยหนักกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม โดยที่ผ่านมา CDC ได้ออกมาเตือนว่ามันสามารถติดต่อได้ง่ายเหมือนกับอีสุกอีใส และอาจทำให้ผู้สูงอายุป่วยมากขึ้น แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบโดสแล้วก็ตาม

ดร.มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกด้าน COVID-19 กล่าวว่า WHO กำลังพยายามหาสาเหตุว่าทำไม COVID-19 สายพันธุ์เดลตาจึงแพร่เชื้อได้มากกว่าเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์อื่น หลังจากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการรบาดของสายพันธุ์เดลตาที่สามารถแพร่เชื้อได้สูง

โดยงานวิจัยใหม่ระบุว่าสายพันธุ์เดลตา ติดต่อได้ง่ายกว่าไข้หวัดหมู ไข้หวัดธรรมดา และโปลิโอ เป็นโรคติดต่อได้เหมือนกับโรคอีสุกอีใส และดูเหมือนว่าจะมีระยะเวลาการแพร่เชื้อนานกว่าเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม และอาจทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหนักขึ้น แม้ว่าจะได้รับการ ฉีดวัคซีนครบถ้วน แล้วก็ตาม

“ในแบบจำลองปล่อยให้ไวรัสเกาะติดกับเซลล์นั้นพบว่าสายพันธุ์เดลตา สามารถเกาะติดได้ง่ายขึ้น ซึ่งมันแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 2 เท่า ไวรัสมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการแพร่กระจาย ดังนั้นไวรัสจึงมีแนวโน้มที่จะแพร่เชื้อได้มากขึ้น เพราะนี่คือสิ่งที่ไวรัสพัฒนาขึ้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา” มาเรีย แวน เคอร์คอฟ กล่าว

เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกคาดว่ายังไม่จบแค่นี้ แต่อาจจะมีสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายอื่น ๆ จะเกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมและการสวมหน้ากาก โดยเฉพาะการแจกจ่ายวัคซีนให้มากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

“ความคุ้มครองประมาณ 70% ทั่วโลก เพื่อชะลอการแพร่เชื้อและลดความเสี่ยงของการเกิดสายพันธุ์ใหม่ เพราะเราเชื่อว่านี่จะไม่ใช่ไวรัสตัวสุดท้ายที่เกิดขึ้น” ดร.บรูซ เอิลเวิร์ด ที่ปรึกษาอาวุโสของ WHO กล่าว

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลเทียบอาการ COVID-19 ของสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ระบาดในประเทศไทย

  • สายพันธุ์เดลตาพบอาการส่วนใหญ่ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มีอาการคล้ายหวัดธรรมดา ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • สายพันธุ์อัลฟ่า มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บคอ หนาวสั่น อาเจียนหรือท้องเสีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ
  • สายพันธุ์เบต้า เจ็บคอ ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ ท้องเสีย ตาแดง มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ
  • สายพันธุ์ S (สายพันธุ์ที่ระบาดระลอกแรก) ไอต่อเนื่อง ลิ้นรับรสไม่ได้ จมูกไม่ได้กลิ่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีไข้ อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส

Source

]]>
1344786
‘WHO’ ประกาศ ‘โควิดสายพันธุ์อินเดีย’ เป็นภัยคุกคามสุขภาพระดับโลก https://positioningmag.com/1331486 Tue, 11 May 2021 05:39:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331486 ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ได้ออกแถลงว่ากำลังจัดประเภทของ COVID-19 สามสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ พร้อมกับจัดให้ ‘สายพันธุ์อินเดีย’ (B.1.617) เป็น “สายพันธุ์ที่สร้างความวิตกกังวล” และกลายเป็น “ภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก”

Maria Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ WHO กล่าวว่า WHO มีการค้นพบตัวแปรที่เรียกว่า B.1.617 หรือไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์ในอินเดีย โดยในการศึกษาเบื้องต้นพบว่าไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากสามารถติดต่อง่ายกว่าไวรัสตัวเดิม และมีหลักฐานบางอย่างที่พบว่าอาจต่อต้านวัคซีนได้

“และด้วยเหตุนี้เราจึงจัดว่าสิ่งนี้เป็นตัวแปรของภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก

ทั้งนี้ WHO กำลังติดตามเชื้อ COVID-19 อย่างน้อย 10 สายพันธุ์ ทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ได้มีการจำแนกประเภทของไวรัสแล้ว 3 สายพันธุ์ ได้แก่ COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7), COVID-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) และ COVID-19 สายพันธุ์บราซิล (P.1)

อย่างไรก็ตาม แม้ไวรัสสายพันธุ์อินเดียจะถูกระบุว่าเป็นข้อกังวลหากพบว่ามีการติดต่อกันมากขึ้นอันตรายถึงตายหรือดื้อต่อวัคซีน แต่ข้อมูลปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวัคซีน COVID-19 ที่มีอยู่ “ยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้”

MUMBAI, INDIA JUNE 14: Healthcare staff does door to door screening of temperature and pulse rate of a residents at Baiganwadi,Shivaji Nagar, Govandi, on June 14, 2020 in Mumbai, India. (Photo by Pratik Chorge/Hindustan Times via Getty Images)

ทั้งนี้ หลายคนเชื่อว่าตัวแปรนี้อยู่เบื้องหลังการติดเชื้อระลอกล่าสุดในอินเดีย โดยปัจจุบัน อินเดียมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เฉลี่ย 3,879 คนต่อวัน และมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยประมาณ 391,000 รายต่อวันในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ เพิ่มขึ้นประมาณ 4% จากสัปดาห์ที่แล้ว

ปัจจุบัน เชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อินเดียได้แพร่กระจายไปในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าววานนี้ (10 พ.ค.) มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์อินเดียเป็น รายแรก โดยเป็นหญิงไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศปากีสถาน

Source

]]>
1331486