ออนไลน์มีเดีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 10 Nov 2022 14:22:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองทิศทาง ‘เศรษฐกิจดิจิทัลไทย’ จะไปได้ไกลแค่ไหนหากไม่มีโควิดเป็นตัวกระตุ้น https://positioningmag.com/1407646 Thu, 10 Nov 2022 11:28:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407646 ย้อนไปปี 2016 ที่ Google จับมือกับ Temasek และ Bain & Company ในการทำรายงาน e-Conomy SEA Report โดยในปีแรกนั้นได้คาดการณ์ว่า มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะแตะ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 แต่ด้วยการเติบโตที่เร็วเกินคาด ทำให้ปี 2022 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคแตะเป้าหมายดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

แจ็คกี้ หวาง ผู้อำนวยการประจำประเทศ ของกูเกิลประเทศไทย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 20% YoY โดยปัจจัยเร่งก็คือ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนหันมาใช้บริการดิจิทัลมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ, ออนไลน์มีเดีย, ทรานซ์สปอร์ตแอนด์ฟู้ด และดิจิทัลไฟแนนซ์

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโต โดยมีผู้ใช้ใหม่ถึง 20 ล้านคน รวมผู้ใช้ทั้งหมดเป็น 460 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 77% อย่างไรก็ตาม การเติบโตนั้นเริ่มจะช้าลง โดยคิดเป็นเพียง 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากในช่วงปี 2020-2021 ซึ่งเป็นการเติบโตในระดับสูงสุดเนื่องจากมีการระบาดของ COVID-19 เป็นตัวกระตุ้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายทำให้การใช้ชีวิตกลับสู่สภาวะปกติ ประกอบกับความท้าทายจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งเรื่องของสงครามที่ทำให้เกิดปัญหาด้านซัพพลายเชนทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่เชื่อว่าจะยังเติบโตได้เพราะภาคการท่องเที่ยว (ออนไลน์ทราเวล) ที่กลับมา

“กลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ อีคอมเมิร์ซ, ออนไลน์มีเดีย, ทรานซ์สปอร์ตแอนด์ฟู้ด, ออนไลน์ทราเวล และ ดิจิทัลไฟแนนซ์ ซึ่งออนไลน์ทราเวลกำลังกลับมาเพราะประเทศเปิดมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่น่าจับตาในอนาคตคือ เฮลท์เทค เอดเทค บริการซอฟต์แวร์ แอส อะ เซอร์วิส (Saas) และ Web3” แจ็คกี้ หวาง กล่าว

ประเทศไทยมีอีคอมเมิร์ซขับเคลื่อน

ในส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยปี 2022 คาดว่ามีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 17% และภายในปี 2025 มูลค่าจะแตะ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการเติบโตเฉลี่ย 15% โดยสิ่งที่ขับเคลื่อนในปัจจุบันมาจาก อีคอมเมิร์ซ โดยมีมูลค่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 63% ของมูลค่ารวม โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย และคาดว่าจะเติบโตเป็น 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025

“อีคอมเมิร์ซไทยปีนี้เติบโต 8% ในส่วนของอัตราการใช้บริการอยู่ที่ 94% ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่าตลาดมาชัวร์แล้ว ดังนั้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเริ่มหาทางทำกำไรของแพลตฟอร์ม”

ส่วนตลาด ฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่การเติบโตกลับสู่ภาวะปกติ จากที่เคยเติบโตถึง 3 เท่าในช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก โดยปี 2022 คาดว่าตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ไทยมีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 12% และคาดว่าจะแตะ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 20% ภายในปี 2025

“ตลาดฟู้ดเดลิเวรี่ไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียเช่นเดียวกับอีคอมเมิร์ซ โดยตลาดยังมีช่องว่างให้เติบโต เพราะค่าเฉลี่ยของภูมิภาคในการซื้ออาหารออนไลน์คิดเป็นสัดส่วน 2-4% จากการซื้ออาหารทั้งหมด ซึ่งในบางประเทศมีสัดส่วนถึง 6-8% ดังนั้น ยังเติบโตได้อีก”

ภาคการขนส่งคาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง และคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 36% มีมูลค่าสินค้ารวมอยู่ที่ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 และพุ่งขึ้นสู่ระดับ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025

สื่อออนไลน์ชะลอตัว ท่องเที่ยวเริ่มฟื้น

สื่อออนไลน์ เช่น บริการวิดีโอ เพลง เกม และโฆษณา โดยหลังจากที่เติบโตสูงในช่วงปีที่ผ่านมา ในปี 2022 นี้การเติบโตก็กลับสู่สภาวะปกติที่ 10% มีมูลค่ารวม 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในกลุ่มที่เติบโตลดลงมากที่สุดคือ เกม เนื่องจากคนใช้เวลานอกบ้านมากขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาเล่นเกมเหมือนก่อน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภาคธุรกิจสื่อออนไลน์จะเติบโต 12% หรือคิดเป็นมูลค่า 7  พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025

ในส่วนของ การท่องเที่ยวออนไลน์ เริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากเปิดประเทศมากขึ้น ทำให้ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกบ้านกันมากขึ้น โดยมีการเติบโต 139% คิดเป็นมูลค่าสินค้ารวม 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถึงในระดับก่อน COVID-19 ระบาด ที่มีมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ คาดว่าจะเติบโต 22% มีมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025

“ตอนนี้การท่องเที่ยวออนไลน์ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินทางในประเทศเป็นหลัก เพราะบางประเทศหรือบางสายการบินยังไม่เปิด”

Photo : Shutterstock

การลงทุนในดิจิทัลไฟแนนซ์แซงอีคอมเมิร์ซ

ในส่วน การลงทุนในบริการด้านการเงินดิจิทัล (Digital Financial Services : DFS) มีสัดส่วนการลงทุนสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15% ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยเทรนด์ที่เห็นคือ การกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เฮลท์แคร์ บริการซอฟต์แวร์ SaaS และที่มีการลงทุนมากที่สุดคือ บริการด้านการเงินดิจิทัล ซึ่งแซงหน้าการลงทุนอีคอมเมิร์ซขึ้นมาเป็น อันดับหนึ่ง ขณะเดียวกัน มูลค่าการซื้อขายเพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนระดับ Series-C จำนวนมากในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ

“เมืองไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ทั้งอินเทอร์เน็ต บริการเพย์เมนต์ แม้ไทยมีสตาร์ทอัพไม่เยอะจริง แต่มีบริษัทใหญ่ที่แข็งแรงและสนใจในดิจิทัลอีโคโนมีและพร้อมลงทุนในดิจิทัลโดยเฉพาะธนาคาร ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลในไทยเติบโตไปได้ ซึ่งการลงทุนไม่จำเป็นว่าต้องมาจากยูนิคอร์นหรือสตาร์ทอัพ” วิลลี ชาง Associate Partner at Bain & Company กล่าว

]]>
1407646