อาหารจานเดียว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Dec 2022 07:58:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ต๊อด ปิติ” – “เชฟชุมพล” เปิดร้าน “หวานไทย” จัดทัพอาหาร-ขนมไทยโบราณ ต่อยอดความสำเร็จจากร้าน R-HAAN https://positioningmag.com/1412949 Mon, 19 Dec 2022 10:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412949

ก้าวสู่ปีที่ 5 เป็นที่เรียบร้อย สำหรับร้านอาหาร (R-HAAN) ร้านอาหารไทยแท้ต้นตำรับสไตล์ Fine Dining ที่ก่อตั้งโดย “ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี” ทายาทรุ่นที่ 4 ของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ผู้มีแพชชั่นอันแรงกล้าในการทำอาหาร ร้านนี้ได้ก่อตั้งร่วมกับและเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทยชื่อดัง

เส้นทาง 5 ปีที่ผ่านมาของร้าน R-HAAN เรียกว่าประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการประยุกต์อาหารไทยแท้ให้อยู่ในรูปแบบ Fine Dining ได้อย่างลงตัว รวมไปถึงในแง่ของรางวัล เพราะสามารถคว้ารางวัลมิชลินสตาร์ (Michelin star) 1 ดาวได้ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดให้บริการ และสามารถครองรางวัล 2 ดาวมาตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรางวัลมิชลินสตาร์ถือเป็นรางวัลที่มอบให้กับร้านอาหารคุณภาพที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

อีกทั้งร้าน R-HAAN ยังได้รับมอบหมายให้รังสรรค์เมนูสำรับไทย เพื่อต้อนรับผู้นำ 21 ผู้นำเขตเศรษฐกิจอาเซียน ในการประชุม APEC 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความชื่นชมจากผู้นำหลายประเทศมากมาย

จากความสำเร็จของร้าน R-HAAN ในปีนี้ต๊อด ปิติจึงได้ต่อยอดสู่ร้านหวานไทย (Waan Thai) ภายใต้แนวคิด Thai Cuisine, Thai Dessert รังสรรค์อาหารไทย และขนมไทยโบราณในรสชาติแบบไทยแท้ ชูวัตถุดิบพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาค โดยคัดเลือกวัตถุดิบที่ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว, ข้าวเหนียวดำจากภาคเหนือ เป็นต้น พร้อมกับการผสานความละเมียดละไมทุกขั้นตอนเสิร์ฟผู้บริโภค

นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้ก่อตั้ง ร้านอาหาร (R-HAAN) และร้านหวานไทย (Waan Thai) เปิดเผยว่า

“จากความความชื่นชอบ และความสนใจในอาหารไทยสู่แรงบันดาลใจในการเปิดร้านอาหาร (R-HAAN) ร้านอาหารไทยแท้ต้นตำรับสไตล์ Fine Dining ร่วมกับ เชฟชุมพล แจ้งไพรที่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารของไทยที่มีเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์เพื่อให้ชาวไทยและต่างชาติได้ลิ้มลองอาหารสำรับไทยแท้ๆ โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบท้องถิ่นที่ดีที่สุดทั่วประเทศ มารังสรรค์เมนูอาหารรสชาติไทยแท้นำเสนอรูปลักษณ์ที่สวยงาม สะท้อนความเป็นไทย

ล่าสุดต่อยอดความสำเร็จสู่การเปิดร้านหวานไทย (Waan Thai) ร้านอาหารไทย และขนมไทยโบราณ ผสานภูมิปัญญาและรสชาติไทยแท้ คัดเลือกวัตถุดิบเลื่องชื่อจากแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย นำมารังสรรค์ด้วยวิธีการปรุงตามแบบสมัยใหม่ จนได้เป็นสูตรเฉพาะทั้งอาหารไทย และขนมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ของร้าน ผสมผสานด้วยขั้นตอนการทำที่ประณีตละเมียดละไมนำเสนอในรูปแบบสากลที่ทันสมัยมากขึ้น”

สำหรับร้านหวานไทย (Waan Thai) มีตั้งแต่เมนูอาหารคาวหวานรสชาติไทยแท้ อาทิ หวานไทยไฮที (Waan Thai High Tea), ทับทิมสยามหวานไทย, ซูเฟล่น้ำกะทิแตงไทย, มิลล์เฟยหม้อแกงเผือกหอม, เครปซูเซท ฯลฯ ส่วนเมนูอาหารคาว ได้แก่ ไส้กรอกปลาแนม, ขนมจีนน้ำพริก, โรตีแกงเนื้อพริกขี้หนูสวน, ไข่พะโล้คุณย่า, หมี่กรอบกุ้งแม่น้ำ, ข้าวผัดปลากุเลาเค็มไข่เป็ดซูวีร์ ฯลฯ พร้อมเครื่องดื่มหลากหลากชนิดที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ทั้ง ชาพรีเมี่ยมปรุงสูตรพิเศษจากสิงห์ปาร์ค จ.เชียงราย, น้ำผลไม้สกัดเย็น, น้ำสมุนไพรสกัดเย็น, กาแฟ ฯลฯ

ปิติ ยังเสริมถึงความสำคัญในการเปิดร้านหวานไทยอีกว่า เป็นการพัฒนาขนมไทยให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ด้วยการใส่นวัตกรรม และขั้นตอนการทำที่ปราณีต เพื่อไม่ให้ขนมหวานไทยโบราณต้องหายไปตามยุคสมัย อีกทั้งร้านนี้ยังเสริมกลุ่มไลน์อาหารจานเดียวเข้ามาเพื่ออุดช่องว่างของร้านอาหารที่เป็นร้านสไตล์ Fine Dining เพื่อให้ลูกค้าได้ทานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งร้านหวานไทยยังเปิดช่วงกลางวัน เสริมจากที่ร้านอาหารเปิดให้บริการแค่ช่วงเย็น ในอนาคตมีแผนจะเปิดให้บริการตั้งแต่เช้า และมีไลน์อาหารเช้าเพิ่มเติมอีกด้วย

ร้านหวานไทย (Waan Thai) ตั้งอยู่ที่ทองหล่อ ซ.9 อยู่ติดกับร้านอาหาร เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมโทร. 094-215-3945 หรือ www.waanthai.com FB, IG: @waanthaidessert

]]>
1412949
ดัชนีราคาอาหารจานเดียวพุ่งเฉลี่ย 6.7% แพงขึ้น 3.66 บาท “ข้าวกะเพรา” ราคาเฉลี่ย 59 บาท https://positioningmag.com/1390290 Mon, 27 Jun 2022 13:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390290 LINE MAN Wongnai เปิดรายงานดัชนีราคาอาหารจานเดียวทั่วประเทศไทย ระหว่างปี 2563-2565 เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับสถานการณ์เงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลราคาที่ขายจริงจากร้านอาหารกว่า 7 แสนร้านที่ขายเดลิเวอรีบนแพลตฟอร์ม LINE MAN ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

พบประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยในรอบปี แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่างพฤษภาคม 2564 และพฤษภาคม 2565) ใกล้เคียงกับตัวเลขเงินเฟ้อ 7.1% ของกระทรวงพาณิชย์
  • ราคาอาหารในต่างจังหวัดยังต่ำกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่เฉลี่ยจานละ 7 บาท แต่ต่างจังหวัดมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารเร็วกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • อาหารเมนูหมูยังราคาใกล้เคียงเดิม แต่เมนูไก่ราคาแพงขึ้นชัดเจน ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นมา
  • ข้าวผัดกะเพราราคาพุ่ง แพงขึ้นเฉลี่ย 3 บาท ภายใน 4 เดือนแรกของปี 2565 (ข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2565) จากเฉลี่ยจานละ 56 บาท เพิ่มเป็นเฉลี่ยจานละ 59 บาท

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทย ระหว่างปี 2563-2565

เงินเฟ้อและต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยปี 2565 แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่าง พ.ค. 64 และ พ.ค. 65)

LINE MAN Wongnai รายงานความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ข้าวผัดกะเพรา อาหารตามสั่ง ข้าวผัด ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ราดหน้า ฯลฯ ที่ขายในแต่ละเดือนระหว่างปี 2563-2565

พบว่า ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวในปี 2563 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2564 โดยตัวเลขของปี 2564 น้อยกว่าของปี 2563 อยู่เล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวของปี 2565 กลับเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อย่างชัดเจน ราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 55.33 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2564 ที่ 53.33 บาท (แพงขึ้น 2 บาท) และถ้าดูตัวเลขในเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ 57.87 บาท เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ 54.21 บาท เพิ่มขึ้น 3.66 บาท หรือประมาณ 6.7% ใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ประเมินไว้ราว 7.1% เดือนพฤษภาคม 2565 (อ้างอิง)

ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของอาหารจานเดียวแพงที่สุดอยู่ที่ 59.96 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 49.92 บาท (มิถุนายน 2565) โดยภาคกลางเป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 3.97 บาท (เทียบระหว่างมกราคมและมิถุนายน 2565)

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวแยกตามภูมิภาค ในเดือนมิถุนายน 2565 (ราคาที่เพิ่มขึ้นจากมกราคม 2565)

  • ภาคกลาง 59.63 บาท (+3.97 บาท)
  • ภาคตะวันออก 59.96 บาท (+3.16 บาท)
  • ภาคเหนือ 50.26 บาท (+2.94 บาท)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 56.04 บาท (+3.51 บาท)
  • ภาคใต้ 57.46 บาท (+2.58 บาท)
  • ภาคตะวันตก 49.92 บาท (+2.43 บาท)

เปรียบเทียบราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว ระหว่างกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆ

ราคาอาหารในต่างจังหวัดยังต่ำกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่เฉลี่ย 7 บาท แต่มีอัตราราคาอาหารเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

LINE MAN Wongnai รายงานราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เปรียบเทียบ ระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด (กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) กับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยที่ขายบนแพลตฟอร์ม LINE MAN เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าครองชีพของกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับต่างจังหวัด

  • ราคาอาหารจานเดียวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แพงกว่าต่างจังหวัดเฉลี่ยประมาณ 8 บาท (1 มกราคม 2564) แต่ส่วนต่างนี้ลดลงเหลือประมาณ 7 บาทแล้ว (1 พฤษภาคม 2565)
  • ตลอดทั้งปี 2564 ราคาอาหารจานเดียวในต่างจังหวัด เพิ่มขึ้นในอัตรา 5.9% ซึ่งขึ้นเร็วกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในช่วงเวลาเดียวกัน
  • ในปี 2565 ราคาอาหารเริ่มปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา ราคาอาหารจานเดียวเฉลี่ยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นมาแล้ว 6.68% และต่างจังหวัดเพิ่ม 7.98% (เทียบ 1 มกราคม 2565 กับ 1 พฤษภาคม 2565)

ราคาเฉลี่ยเมนูอาหารแต่ละวัตถุดิบทั่วไทย ช่วงครึ่งปีแรก 2565

อาหารเมนูหมูยังราคาใกล้เคียงเดิม แต่เมนูไก่ราคาแพงขึ้นมากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นมา

LINE MAN Wongnai รายงานการเปรียบเทียบราคาอาหารเฉลี่ย (นับรวมอาหารทุกประเภท ทุกระดับราคา) โดยแยกตามประเภทของเนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอาหาร พบว่าเมนูอาหารที่มีไก่เป็นส่วนประกอบมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด สอดคล้องกับข่าวเนื้อไก่แพงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 20 ปี (อ้างอิง)

ราคาเฉลี่ยของอาหารที่ใช้ไก่เป็นส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 และพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน 2565 ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับลดลงมาในเดือนพฤษภาคม แต่ก็ยังถือว่าสูงขึ้นจากช่วงก่อนหน้า

ราคาเฉลี่ยอาหารเมนูไก่ ในช่วงครึ่งปีแรก 2565

  • 1 มีนาคม 80.37 บาท
  • 1 เมษายน 109 บาท
  • 13 เมษายน 134 บาท (ปรับขึ้นมากเป็นพิเศษในช่วงหยุดสงกรานต์)
  • 1 พฤษภาคม 113 บาท
  • 1 มิถุนายน 93.9 บาท

ส่วนเมนูอาหารที่ใช้หมูเป็นส่วนประกอบ คงอยู่ที่ราว 64-69 บาทตลอดทั้งช่วงครึ่งปีแรก 2565 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาอาหารเฉลี่ย (รวมเนื้อสัตว์ทุกประเภท) ที่อยู่ราว 64-80 บาท

ราคาเฉลี่ยข้าวผัดกะเพราแพงขึ้น 3 บาท

ข้าวผัดกะเพราราคาพุ่ง จากราคาเฉลี่ยจานละ 56 บาทช่วงต้นปี 2565 เป็นราคาเฉลี่ยจานละ 59 บาท เฉลี่ยแพงขึ้น 3 บาท

LINE MAN Wongnai ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยของ “ข้าวผัดกะเพรา” อาหารยอดนิยมของคนไทย (นับทั้งข้าวผัดกะเพรา ข้าวราดกะเพรา ใส่เนื้อสัตว์ทุกประเภท แต่ไม่รวมตัวเลือกเสริม เช่น ไข่ดาว ไข่เจียว ที่เลือกสั่งเพิ่มเป็น top-up แยกต่างหาก) ระหว่างปี 2563-2565

พบว่า ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราในไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาช่วงต้นปี 2564 อยู่ที่จานละ 52.78 บาท และค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนอยู่ที่ 54.73 บาทในช่วงปลายปี (เพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาท)

แต่ในปี 2565 สถานการณ์ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยช่วงต้นปี ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราหนึ่งจานคือ 55.9 บาท และเพิ่มมาเป็น 59 บาทในเดือนพฤษภาคม (แพงขึ้น 3 บาทภายใน 4 เดือน)

ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราแพงที่สุดอยู่ที่ 62.24 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 50.08 บาท

ราคาเฉลี่ยข้าวผัดกะเพราแยกตามภูมิภาค 

  • ภาคกลาง 60.63 บาท
  • ภาคตะวันออก 62.24 บาท
  •  ภาคเหนือ 50.57 บาท
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 57.30 บาท
  • ภาคใต้ 56.79 บาท
  • ภาคตะวันตก 50.08 บาท
]]>
1390290