อาหารจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 10 Jul 2023 14:16:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Riverside Grilled Fish & Mala ความท้าทายของ “ไมเนอร์ ฟู้ด” กับการจับเทรนด์ “หม่าล่า” รุกตลาด “อาหารจีน” https://positioningmag.com/1437316 Mon, 10 Jul 2023 13:07:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437316 ตอนนี้ไม่มีอะไรร้อนแรงไปกว่ากระแสของ “หม่าล่า” เรียกว่ามีแบรนด์ใหม่ผุดขึ้นมาเป็นวันต่อวัน เป็นทั้งแบรนด์ไทย และอิมพอร์ตจากประเทศจีน จากเทรนด์นี้ทำให้ “ไมเนอร์ ฟู้ด” ไม่ยอมตกขบวนไปได้ เปิดตัว Riverside Grilled Fish & Mala แบรนด์ใหม่ล่าสุดเข้าพอร์ต หวังจับตลาดอาหารจีน

หม่าล่าเป็นส่วนหนึ่งของเซ็กเมนต์อาหารจีนที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จริงๆ แล้วมีการรับประทานอย่างต่อเนื่อง แต่เดิมอาจจะได้เห็นตามตลาดที่เป็นปิ้งย่างแล้วโรยผงหม่าล่า หลังจากนั้นก็เริ่มมีแบรนด์ “หม้อไฟหม่าล่า” จากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดในไทย อย่าง ไห่ตี้เหลา (Haidilao Hot Pot),CQK MALA Hotpot และล่าสุดที่เปิดตัวอย่างอลังการกับ Shu Daxia Hotpot

แต่เทรนด์ล่าสุดต้องยกให้ “หม่าล่าสายพาน” เป็นชาบูหม้อเดี่ยว แล้วเมนูอาหารจะมาตามสายพาน มีราคาเริ่มต้นที่ไม้ละ 5 บาท ตอนนี้เป็นร้านที่มีคิวรอหน้าร้านอยู่เยอะมาก เนื่องจากราคาย่อมเยา และยังเลือกหยิบตามใจชอบของใครของมัน เป็นกิมมิกอย่างหนึ่งของร้านอาหาร

Riverside Grilled Fish & Mala

แน่นอนว่าเชนร้านอาหารใหญ่ๆ ต้องมีการมอนิเตอร์กระแสความนิยมของผู้บริโภคอยู่ตลอด ไมเนอร์ ฟู้ดเองเห็นกระแสหม่าล่ามาพักใหญ่ และต้องการบุกตลาดนี้ด้วยเช่นกัน กลยุทธ์หลักของเชนใหญ่ๆ ก็มีอยู่ 2 อย่าง ไม่นำเข้าแบรนด์จากต่างประเทศ ก็ทำการซื้อกิจการซะ เพื่อเป็นทางลัดในการทำการตลาด ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างแบรนด์ใหม่

ไมเนอร์ ฟู้ดเลือกที่จะนำเข้าแบรนด์มามากกว่า เนื่องจากเป็นเครือใหญ่ และมีดีลมากมาย จึงเลือกนำแบรนด์ Riverside Grilled Fish & Mala (ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า) เข้ามานั่นเอง

Riverside Grilled Fish เป็นร้านอาหารจีนสไตล์ฉงชิ่ง-เสฉวน ที่มีเมนูหลักเป็นปลาย่างกระทะร้อน มีจุดเริ่มต้นในปี 2548 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปัจจุบันมีสาขาในประเทศจีน และสิงคโปร์ โดยที่คนไทยจะรู้จักร้านนี้จากที่สิงคโปร์มากกว่า ในจีนมีสาขาทั้งหมด 140 แห่ง และสิงคโปร์มี 5 แห่ง

Riverside Grilled Fish & Mala

อาหารจีนในอุดมคติของคนไทยจะเป็นพวกติ่มซำ ผัดหมี่ หมูแดงเสียมากกว่า แต่อาหารจีนสไตล์ฉงชิ่ง-เสฉวนจะมีความเผ็ดร้อน เมนูจะมีพริกแห้งเป็นซิกเนเจอร์

ส่วนในประเทศไทยได้ใช้ชื่อว่า Riverside Grilled Fish & Mala โดยเติมคำว่า “หม่าล่า” ไปในชื่อแบรนด์ เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ และกลุ่มคนที่ชอบหม่าล่าเป็นชีวิตจิตใจ

ธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เริ่มเล่าว่า

“ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารจีนในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าตลาดราวๆ 5,000-6,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารแบบเดี่ยว ไม่มีสาขา ไม่มีเชน ผู้บริโภคให้การตอบรับอย่างดีทั้งคนไทย และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย จึงเลือกนำเข้าแบรนด์นี้ เพื่อเสริมพอร์ตอาหารจีนของไมเนอร์ ฟู้ด”

Riverside Grilled Fish & Mala

Riverside Grilled Fish & Mala เป็นกลุ่มร้านอาหารจีนแบรนด์แรกของไมเนอร์ ฟู้ด แต่เดิมพอร์ตโฟลิโอของไมเนอร์ ฟู้ดจะเต็มไปด้วยอาหารสไตล์ตะวันตก เช่น พิซซ่า, สเต๊ก, ไอศกรีม, เบอร์เกอร์ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไมเนอร์ ฟู้ดก็ได้เขาซื้อกิจการ “บอนชอน” เพื่อเติมพอร์อาหารเกาหลี และล่าสุดกับการซื้อกิจการ GAGA แบรนด์ชานมไข่มุก

ไมเนอร์ ฟู้ดค่อนข้างมั่นใจกับแบรนด์ Riverside Grilled Fish & Mala เพราะในจีนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสูง มีสาขาเยอะ และรายได้ดี มีกลุ่มลูกค้าทุกวัย เนื่องจากเป็นอาหารที่คนจีนคุ้นเคย และด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอด ทำให้คนจีนชอบทานอาหารพวกหม้อไฟ กระทะร้อน กลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ก็ทานเป็นกับแกล้มกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Riverside Grilled Fish & Mala

แต่ในประเทศไทยถือว่าค่อนข้างท้าทายอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นกลุ่มอาหารแบบใหม่ที่คนไทยไม่คุ้นเคย เพราะคนไทยเคยชินกับการทานหม่าล่าเป็นแบบชาบู หม้อไฟมากกว่า แต่ข้อดีก็คือคนไทยเปิดรับอะไรใหม่ๆ ง่าย อยากทดลองร้านใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ อยู่เสมอ

Riverside Grilled Fish & Mala เปิดสาขาแรกที่ชั้น 6 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เจาะฐานกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อระดับกลาง-สูง ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ หลังจากนั้นจะขยายสาขาต่อที่เซ็นทรัลพระราม 9 เป็นแห่งที่ 2 ทั้ง 2 โลเคชั่นเป็นแหล่งรวมทั้งนักท่องเที่ยว และชาวจีนอยู่มาก ส่วนคนไทยก็ค่อนข้างมีกำลังซื้อ

ธันยเชษฐ์ มองว่า ในไทยสามารถขยายสาขาได้ถึง 10 แห่ง แต่ต้องดูกระแสตอบรับจากการเปิด 2 สาขาแรกก่อน ในช่วงแรกอยากเน้นการสร้างประสบการณ์ก่อน ให้เห็นถึงความแปลกใหม่ ความน่าตื่นเต้นของแบรนด์ แล้วจึงมาดูแผนขยายสาขาต่อไปในอนาคต

]]>
1437316
ZEN อิมพอร์ต Din’s เติมพอร์ตร้านอาหารจีนจานด่วน https://positioningmag.com/1262871 Sun, 02 Feb 2020 15:43:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262871 ZEN Group อิมพอร์ตแบรนด์ Din’s ร้านอาหารสไตล์นีโอไต้หวัน หรืออาหารจีนจานด่วนเข้ามาเปิดสาขาในไทยที่สามย่านมิตรทาว์นแห่งแรก ประเดิมโมเดลมาสเตอร์แฟรนไชส์แบรนด์แรก

แบรนด์ไต้หวัน เติบโตที่ญี่ปุ่น

ตลาดร้านอาหารคึกคักตั้งแต่ต้นปี เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่ม ZEN ได้เดินเกมเปิดแบรนด์ใหม่อย่าง Din’s เป็นร้านอาหารจีนจานด่วนสไตล์นีโอไต้หวัน หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแนวๆ จีนโมเดิร์น

ที่จริงแล้วร้าน Din’s เป็นแบรนด์ลูกของแบรนด์ JIN DIN ROU (จิน ดิน รู) เป็นร้านอาหารจีนแบบภัตตาคารที่มีต้นกำเนิดในประทเศไต้หวัน ส่วนแบรนด์ Din’s เป็นการขยายธุรกิจไปยังประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นการวางจุดยืนให้เป็นร้านอาหารจีนจานด่วน ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการกว่า 10 สาขาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกที่ขยายธุรกิจนอกญี่ปุ่น

จุดเริ่มต้นของการอิมพอร์ตแบรนด์ Din’s เข้ามาในไทยนั้น เกิดจากการที่ผู้บริหารทางแบรนด์ Din’s เข้ามาจีบทาง ZEN ว่าต้องการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย จากนั้นก็คุยกันอยู่พักหนึ่งจึงได้เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เป็นลักษณะของมาสเตอร์แฟรนไชส์

ถ้าพูดถึงเหตุผลที่นำเข้าแบรนด์นี้เข้ามา “บุญยง ตันสกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) ได้เล่าว่า

“ตลาดอาหารจีนจานด่วนในประเทศไทยในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 2–3 หมื่นล้านบาทและคาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตลาดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารจีนแบบภัตตาคารที่มีบริการแบบ Full Restaurants มีราคาสูง แต่ยังไม่ค่อยมีร้านอาหารจานด่วนที่ราคาไม่แพงมากนัก Din’s จึงเข้ามาอุดช่องว่างในตลาด เป็นอาหารจีนแบบเฮล์ทตี้”

บุญยงเสริมอีกว่า จากข้อมูลพบว่าอาหารที่คนไทยนิยม จะมีอาหารไทย อาหารจีน และอาหารญี่ปุ่น แต่อาหารญี่ปุ่นมีการแข่งขันเยอะ มีทั้งเข้ามาเปิด และทำเอง แต่ ZEN ขาดกลุ่มอาหารจีน เป็นการขยายกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ราคาเฉลี่ย 100-150 บาทก็ทานได้แล้ว

ปั้นแฟรนไชส์แบรนด์แรก หวังได้ Know How ความเจแปนนิส

ปัจจุบันกลุ่ม ZEN มีร้านอาหารในเครือทั้งสิ้น 16 แบรนด์ครอบคลุมอาหารสไตล์ญี่ปุ่น ไทยและเวียดนาม โดยทุกแบรนด์เป็นที่ “สร้างเอง” หรือการซื้อกิจการทั้งหมด ความน่าสนใจคือแบรนด์ Din’s เป็นแบรนด์แรกที่ทางกลุ่ม ZEN ซื้อแฟรนไชส์เข้ามา

เบื้องหลังของแนวคิดนี้เรียกว่าสั้นๆ แต่ได้ใจความ นั่นก็คือซื้อแฟรนไชส์ หวังได้ Know How นั่นเอง เพราะประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องของเทคโนโลยี ระบบการจัดการต่างๆ ทำให้กลุ่ม ZEN เองก็หวังเอา Know How ต่างๆ มาปรับใช้กับธุรกิจอื่นๆ ด้วย

“เป็นครั้งแรกซื้อแฟรนไชส์มาบริหาร เพราะอยากได้ Know How จากทางญี่ปุ่น และด้วยเมนูหลักอย่างเสี่ยวหลงเปาสามารถทำให้แพร่หลายได้ และร้านนี้มีหลายฟอร์แมท สามารถนำมาพัฒนาให้เข้ากับไทยได้”

Din’s ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีทั้งแบบคาเฟ่ อิซากายะ หรือร้านกิดื่มแบบญี่ปุ่น แบ่งตามสีทั้งสีแดง สีส้ม และสีฟ้า โดยไทยเลือกสีฟ้าเข้ามาเพื่อให้เป็นคอนเซ็ปต์ไลฟ์สไตล์กึ่งสุขภาพ อีกทั้งได้ทำให้ภาพลักษณ์ของร้านอาหารจีนเปลี่ยนไป ดูทันสมัยขึ้น ไม่ได้ยึดติดแค่สีแดงเพียงอย่างเดียว

Din’s ที่ประเทศญี่ปุ่น

เติมพอร์ตกลุ่มอาหารจีนจานด่วน

การเปิดแบรนด์ Din’s ครั้งนี้ เป็นการเสริมพอร์ตธุรกิจของกลุ่ม ZEN ให้แข็งแรงมากขึ้น จากเดิมที่มีอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารอีสาน อาหารเวียดนาม สตรีทฟู้ด เอากลุ่มอาหารจีนจานด่วนเข้ามาเติมพอร์ตให้แน่นขึ้น

ใจความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของตลาดนี้ก็คือ ด้วยความที่เป็นอาหารจ่านด่วน ทำให้สามารถขายได้หลายรอบมากขึ้น ลูกค้าหมุนเวียนมากขึ้น จากปกติถ้านั่งทานร้านปกติใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ในร้านนี้สามารถใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมง เมื่อขายได้หลายรอบมากขึ้น ก็มีรายได้เพิ่มขึ้น

สำหรับสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์มีพื้นที่ 108 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 6 ล้านบาท ในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 8-10 สาขา ส่วนในปีหน้าจะเริ่มขายแฟรนไชส์ และหาพันธมิตรใหม่ๆ หรือหามาสเตอร์แฟรนไชส์ในแต่ละจังหวัด

ปัจจุบันกลุ่ม ZEN มีสาขารวมมทั้งหมด 360 สาขา เป็นสาขาที่บริหารโดยแฟรนไชส์ 150 สาขา

ในปีนี้ใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท เปิดใหม่ 40 สาขา เป็นแฟรนไชส์อีก 200 สาขา ส่วนปีที่แล้วใช้งบลงทุน 300 ล้านบาท เปิดใหม่ 101 สาขา เป็นการเปิดสาขามากที่สุดในรอบ 28 ปี

]]>
1262871