อาหารเพื่อสุขภาพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 29 Aug 2024 13:55:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เทียบฟอร์ม 4 “ร้านสลัด” ร้านไหนที่ได้ใจคุณ? https://positioningmag.com/1488078 Thu, 29 Aug 2024 13:55:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488078 1488078 เจาะแผน ‘Salad Factory’ กับเป้าหมายเป็นแบรนด์ร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ “ทานได้ทุกวัน” https://positioningmag.com/1440135 Tue, 08 Aug 2023 03:06:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440135 นับตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ตลาดร้านสลัดและเฮลท์ตี้ฟู้ดก็คึกคักนับตั้งแต่นั้นมา โดยในปี 2022 มีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 50% ทั้งด้านมูลค่าและร้านอาหาร โดยหนึ่งในแบรนด์ที่บุกเบิกตลาดก็คือ ‘Salad Factory (สลัดแฟคทอรี่)’ ร้านสลัดเพื่อสุขภาพที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2013 ก็ต้องเร่งเครื่องในยุคที่การแข่งขันสูงขึ้นแบบนี้

ผู้เล่นมากขึ้นกว่า 20 แบรนด์

ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีนฟู้ด แฟคทอรี่ เจ้าของร้าน สลัด แฟคทอรี่ เล่าว่า หากย้อนไปช่วง 10 ปีก่อนที่ร้าน Salad Factory เกิดขึ้นมา เชนแบรนด์ร้านอาหารเพื่อสุขภาพมีไม่ถึง 5 แบรนด์ แต่ปัจจุบันมีกว่า 20 แบรนด์ รวมกันหลายร้อยสาขาทั่วไทย เนื่องจากเทรนด์ดูแลสุขภาพมาแรงตั้งแต่โควิดระบาด

“เมื่อก่อนตลาดร้านอาหารกลุ่มร้านสลัดหรือร้านอาหารเพื่อสุขภาพยังไม่ถูกนับแยกออกมาด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น เพราะเขามองว่าอาหารเป็นเหมือนด่านแรกในการดูแลสุขภาพ ตอนนี้ลูกค้ารู้ข้อมูลด้านอาหารการกินพอ ๆ กับเราที่เป็นเจ้าของร้านเลย”

อย่างไรก็ตาม ปิยะ มองว่า แม้ปัจจุบันคู่แข่งจะเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยความที่ร้านอาหารสุขภาพไม่ได้มีความ ตายตัว เหมือนกับกลุ่มอื่น ๆ เช่น อาหารจีน หรือ อาหารไทย ที่มีเมนูคลาสสิกที่เหมือน ๆ กัน แต่อาหารสุขภาพมีมูฟเมนต์ มีเทรนด์ใหม่ ๆ เช่น แพลนท์เบส ทำให้สามารถรังสรรค์เมนูใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าได้ ทำให้กลยุทธ์ของ Salad Factory จะเน้นไปที่ ประสบการณ์ของลูกค้า

เป็นร้านที่ทานได้ทุกวัน

ปิยะ เล่าว่า แม้ปัจจุบันลูกค้า Member ของ Salad Factory จะมีความถี่ในการรับประทานอาหารที่ร้านสูงถึงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มีการใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยที่ 200 บาท แต่ Salad Factory ต้องการจะเป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ ทานได้ทุกวัน ดังนั้น ความหลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ทำให้ปัจจุบัน Salad Factory มีเมนูกว่า 200 เมนู และมีการจัดแคมเปญใหญ่ประมาณ 3-4 ครั้ง ตามฤดูกาล โดยจะเป็นการร่วมกับพันธมิตรในการนำวัตถุดิบใหม่ ๆ มาปรุงเป็นเมนูใหม่เพื่อสร้างสีสัน อีกทั้งสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าผ่าน Story Telling และกิจกรรม Workshop ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถมีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ได้อีกด้วย

ล่าสุด Salad Factory จับมือกับ ธรรมชาติซีฟู้ด บริษัทผู้นำเข้าอาหารทะเล ในการจัดแคมเปญ Taste of New Zealand โดยนำเสนอเมนูอาหารสุขภาพที่นำเข้าวัตถุดิบจากนิวซีแลนด์ เช่น ปลาคิงคลิป ปลาโฮกิ มาผสมกับวัตถุดิบที่ดีของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและความพิเศษของเมนู ช่วยเพิ่มความหลากหลายและประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า

“ลูกค้ามาทานเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็ถือว่าสูงมากแล้ว แต่ความตั้งใจเราคือ อยากให้ลูกค้าทานได้ทุกวัน ดังนั้น ถ้ามีแต่เมนูเดิม ๆ เขาอาจจะเบื่อ เราเลยตั้งใจจะมีการทำแคมเปญใหญ่ตามฤดูกาล โดยจะเน้นนำวัตถุดิบเด่น ๆ จากท้องถิ่นไทยและจากต่างประเทศมารังสรรค์เมนูใหม่ ๆ”

เน้นขยายสาขาใหญ่ เพราะคนกลับมาทานที่ร้าน

ปัจจุบัน Salad Factory มีทั้งหมด 34 สาขา โดยปีที่ผ่านมาเปิดใหม่ประมาณ 12 สาขา ซึ่งมีการเปิด สาขาเล็ก ขนาดประมาณ 40 ตร.ม. ที่เน้นเดลิเวอรี่ แต่ปีนี้จะเปิดสาขาใหม่ประมาณ 8-9 สาขา จะเน้นไปที่ สาขาใหญ่ ขนาด 150 ตร.ม. เป็นหลัก เพราะลูกค้ากลับมาทานที่ร้านเหมือนเดิม 100% แล้ว

“เดลิเวอรี่ลดลงไปครึ่งหนึ่ง จากช่วงโควิดคิดเป็น 40% ของรายได้ ตอนนี้เหลือ 20% ส่วนการทานที่ร้านกลับมา 100% ตั้งแต่ Q2/2022 แล้ว”

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะยังโฟกัสพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน ส่วนตลาดต่างจังหวัดกำลังศึกษาเพราะเป็นตลาด Blue Ocean ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก โดยอาจจะได้เห็นสาขาใหม่ ๆ ในต่างจังหวัดช่วงต้นปีหน้า ปัจจุบัน Salad Factory ในต่างจังหวัดมีเพียงสาขาเดียวที่พัทยา

“แม้มีคู่แข่งมากขึ้นแต่เราพยายามเดินตามแผนที่วางไว้ ไม่จำเป็นต้องเร่งขยายให้เยอะ อย่างตลาดต่างจังหวัดก็มีความท้าทายเรื่องการขนส่ง การบริหารจัดการ เราเลยไม่รีบเพราะต้องการคุมคุณภาพ และถ้าจะเปิดก็จะเน้นในห้างฯ เครือเซ็นทรัลเป็นหลักก่อน”

วางเป้ารายได้ New S-Curve เป็น 10% ใน 3-5 ปี

ในส่วนของกลุ่มลูก Salad Factory ในปัจจุบัน ปิยะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ครอบครัว โดยกลุ่มนี้จะมองหาความอร่อย เข้าถึงง่าย เมนูหลากหลาย คุณภาพอาหารที่ดี ฟังก์ชันนอล กลุ่มลูกค้าที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทานเพื่อ ลดน้ำหนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ สุดท้าย คนเมืองที่ชีวิตเร่งรีบ ต้องเดินทาง เวลาน้อยลงแต่อยากได้อาหารที่ดี ที่ผ่านมา หน้าร้านก็สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม

แต่ ปิยะ มองเห็นโอกาสของกลุ่มธุรกิจที่จะเป็น New S-Curve ใหม่ ก็คือ สลัดพร้อมทาน และ น้ำสลัด ที่วางขายในท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้จะยิ่งตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองและสร้างการเติบโตให้กับ Salad Factory โดยปัจจุบันรายได้จากกลุ่ม New S-Curve คิดเป็นประมาณ 6% ของรายได้ทั้งหมด โดยภายใน 3-5 ปีต้องเพิ่มเป็น 10% และสำหรับรายได้ในปีนี้ ปิยะ คาดว่าจะอยู่ที่ 600 ล้านบาท เติบโต 50-60%

]]>
1440135
‘สลัดแฟคทอรี่’ ขอโตด้วยโมเดล ‘ไซซ์มินิ’ เข้าถึงง่าย ลิสต์ Plant-based ขึ้นเป็น ‘เมนูประจำ’  https://positioningmag.com/1371499 Wed, 02 Feb 2022 23:54:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371499 ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวให้ยืดหยุ่นทั้งวิธีคิด เเนวทาง การจัดการเเละเมนูต่างๆ เมื่อโควิด-19 ยังไม่หายไปในเร็ววันเเถมยังต้องเเบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

สลัดแฟคทอรี่’ (Salad Factory) ก็เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการปรับร้านให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ง่ายต่อการกระจายสาขา ขยายช่องทางเดลิเวอรี่ เพิ่มความสะดวกในการซื้อกลับบ้าน เเละล่าสุดกับการรุกตลาดเมนู Plant-based ที่กำลังเป็นเทรนด์อาหารเเห่งอนาคต

ปิยะ ดั่นคุ้ม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรีนฟู้ด แฟคทอรี่ (สลัดแฟคทอรี่) บอกกับ Positioning ว่า ภาพรวมตลาดอาหารสุขภาพมีการเติบต่ออย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เป็นเพียงเทรนด์ที่มาแล้วไป แต่กลายเป็นตลาดที่ยั่งยืนเพราะคนหันมาใส่ใจดูเเลสุขภาพตัวเองมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยอาหารสุขภาพยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงและเข้าถึงกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น เเนวทางของสลัดแฟคทอรี่จึงจะมุ่งไปที่การทำให้อาหารสุขภาพมีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ให้เข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มฐานลูกค้ารายใหม่ ๆ

ขยับขยายด้วย ‘ไซซ์มินิ’ 

ปัจจุบันสลัดแฟคทอรี่ มีสาขาอยู่ทั้งหมด 20 สาขา เน้นเจาะกลุ่มวัยทำงาน ชาวออฟฟิศเเละผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ปีนี้ตั้งเป้าจะขยายให้ได้อีกราว 10-15 สาขาหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ประชาชนเริ่มออกมาทานอาหารนอกบ้านกันปกติ

โดยรูปเเบบการขยายสาขาจะเเตกต่างออกไป ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่โมเดล ‘Mini store’ ในสถานีบริการน้ำมันหรือไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือตามโรงพยาบาลมากกว่าการเปิดสาขาสเเตนด์อะโลนเเบบเดิม

ก่อนโควิดเรามีโมเดลเดียวคือเปิด Full-Shop ไปเลย เเต่ตลอดช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เเละปรับวิธีคิดใหม่ ว่าไม่ควรมีช่องทางการขายเเค่ช่องทางเดียว การจัดการเเต่ละสาขาต้องมีความยืดหยุ่น เมื่อลงเล็กก็คล่องตัวขึ้น ลดความเสี่ยงไปได้หลายทาง การทำงานก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ทั้งนี้ สัดส่วนการขายเเบบเดลิเวอรี่เเละหน้าร้านของสลัดแฟคทอรี่ เมื่อกลางปีที่เเล้วอยู่ที่ 50 : 50 จากนั้นลดลงเหลือราว 40% เมื่อรัฐผ่อนคลายมาตรการให้นั่งทานที่ร้านได้ เเต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด

สำหรับโมเดลร้านขนาดเล็ก เขามองว่า เป็นประโยชน์กับทั้งทางร้านเเละอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น เพราะสั่งซื้อกลับบ้านได้ง่าย นั่งทานที่เคาน์เตอร์บาร์ได้ เเละจัดส่งเดลิเวอรี่ได้รวดเร็ว โดยจะมีการดีไซน์เมนูใหม่ให้กับกับร้านมินิเรื่อยๆ เเม้จะมีจำนวนเมนูน้อยกว่าที่ร้านใหญ่เเต่ก็จะมีความผสมผสานหลากหลาย เเละสามารถทานคนเดียวได้ง่าย

ยกตัวอย่างเช่น โมเดล ‘Fresh and easy’ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปีที่เเล้ว ที่นำร่องเปิดที่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ตเเละเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์

โดยได้ทดลองวางจำหน่ายสลัดพร้อมทานแบรนด์สลัดแฟคทอรี่ในท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต 5 สาขา ปรากฏว่าผลตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งต่อไปจะมีการปรับปรุงเเพ็กเกจจิ้งเเละโปรดักส์ใหม่ คาดว่าจะเปิดตัวแคมเปญได้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

นอกจากนี้ ยังมีการขยายสาขาไปในโรงพยาบาลมากขึ้น เพื่อจับลูกค้ากลุ่มผู้รักสุขภาพเเละบุคลากรทางการเเพทย์ อย่างสาขาในรพ.จุฬาลงกรณ์ โดยวางเเผนจะมีการรังสรรค์เมนูใหม่ๆ เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ป่วยที่ต้องมีการดูเเลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ

เมื่อถามว่า ส่วนใหญ่สาขาของสลัดแฟคทอรี่ มักจะอยู่ย่านชานเมืองนั้น มีเเผนจะเข้ามาเปิดในพื้นที่กลางใจเมืองบ้างหรือไม่ ผู้บริหารสลัดแฟคทอรี่ตอบว่ากำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา เนื่องจากค่าเช่าที่ในเมืองค่อนข้างสูง เเละมีความเสี่ยงหากสถานการณ์โควิดกลับมารุนเเรงอีกครั้ง จึงต้องระวังเป็นพิเศษเเละพยายามกระจายความเสี่ยงให้อยู่ในโซนที่จัดการได้ง่าย ยืดหยุ่นได้เมื่อเกิดวิกฤต

ลิสต์ Plant-based ขึ้นเป็น ‘เมนูประจำ’ 

ด้านการรุกตลาดเมนู Plant-based ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สลัดแฟคทอรี่ ให้ความสำคัญในปีนี้ เพราะกำลังเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง พร้อมมีการเติบโตต่อเนื่อง เเละยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เป็นการสร้างฐานกลุ่มลูกค้าให้เเข็งเเกร่งมากขึ้นเท่านั้น

ก่อนหน้านี้ ทางสลัดแฟคทอรี่ได้ทดลองตลาด โดยการเพิ่มเมนู Plant-based เป็นเมนูพิเศษในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งก็มีเสียงตอบรับที่ดี ทั้งจากลูกค้าที่เป็นวีเเกนอยู่เเล้ว เเละลูกค้าใหม่ที่อยากลิ้มลอง

ในปีนี้ บริษัทจึงจะต่อยอดด้วยการเพิ่มเมนู Plant-based 10 เมนู เข้ามาในลิสต์เมนูประจำโดยจะทยอยเพิ่มทีละสาขาจนครบ 20 สาขา ภายในช่วงต้นเดือนก..นี้ หลังกระเเสความนิยมเพิ่มขึ้น หลังคนไทยทานเมนู Plant-based ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เเค่ช่วงเทศกาลเท่านั้น บางคนทานสัปดาห์ละ 2-3 มื้อ เป็นต้น

ล่าสุด สลัดแฟคทอรี่ มองเห็นโอกาสธุรกิจใหม่ในตลาดนี้ จึงจับมือกับมีท อวตารหนึ่งในซัพพลายเออร์ Plant-based ชื่อดังของไทย พัฒนาโปรดักต์ใหม่มาเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าตลาดเเมส อย่าง น้ำสลัด Plant-based “มาทาน x สลัดแฟคทอรี่” 5 รสชาติ ได้แก่ น้ำสลัดซีซ่าร์, เทาซันไอร์แลนด์, ครีมส้มยูซู, งาญี่ปุ่นและมายองเนสเบส วางโพสิชั่นด้วยราคาที่เข้าถึงได้ เเละรสชาติไม่แตกต่างจากน้ำสลัดสูตรปกติมากนัก ซึ่งตอนนี้มีการวางขายในสาขาของสลัดแฟคทอรี่เเล้ว สเต็ปต่อไปจะมีการวางขายในโมเดิร์นเทรดในเร็วๆ นี้

สำหรับมูลค่าตลาดอาหารกลุ่ม Plant Base ปัจจุบันอยู่ที่ราว 2.8 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี ถือเป็นตัวเลขการเติบโตน่าจับตามอง โดยมีทั้งผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ลงมาเล่นในสนามนี้กันคึกคัก

 

 

]]>
1371499
“โรซ่า” ตอกย้ำ DNA ของแบรนด์ผ่านหนังออนไลน์ ชวนคิดถึง “อาหารบ้านบ้าน” เชื่อมความสุขในครอบครัว https://positioningmag.com/1367109 Fri, 17 Dec 2021 10:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367109

“โรซ่า” ตอกย้ำ DNA ของแบรนด์ผ่านหนังออนไลน์ ชวนคิดถึง “อาหารบ้านบ้าน” เชื่อมความสุขในครอบครัว

โรซ่าเปิดแคมเปญใหญ่ฉลองครบรอบ 50 ปี ถ่ายทอด Brand Belief ภายใต้แนวคิด “โฮมฟู้ดสตอรี – อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเรา” ให้อาหารเป็นตัวเชื่อมความสุขของคนในครอบครัว พร้อมกับการสื่อสารมิติใหม่ผ่านภาพยนตร์โฆษณา และเว็บฟิล์มออนไลน์ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

โรซ่า 50 ปี การเดินทางเชื่อมความสุขให้คนไทย

ถ้าจะพูดถึงแบรนด์อาหารที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน คงต้องนึกถึง “โรซ่า” เป็นอันดับต้นๆ เพราะโรซ่าเป็นส่วนประกอบในมื้ออาหารมากมาย ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของความสุขผ่านเมนูอาหาร ปัจจุบันโรซ่ามี 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1. กลุ่มอาหารกระป๋อง 2. กลุ่มซอส  และ 3. กลุ่มอาหารบรรจุซอง รวมกว่า 200 รายการ ถือได้ว่าโรซ่าคือแบรนด์ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปที่พัฒนากลุ่มสินค้าเพื่อสังคมไทยอยู่เสมอ

ในปีนี้โรซ่าได้ฉลองครบรอบ 50 ปี ที่อยู่คู่ครัวเรือนไทย จึงเปิดแคมเปญใหญ่ “โรซ่า 50 ปี เชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัว” ในการฉลองครบรอบในครั้งนี้มีความพิเศษทั้งในแง่ของการสื่อสารการตลาด เรียกว่ามีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย

ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ภายใต้แนวคิด “โรซ่า โฮมฟู้ดสตอรี – อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเรา” ถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญของ “อาหารบ้านบ้าน” ที่ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้กลับมาแนบแน่นยิ่งขึ้น และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ทุกครั้งที่ได้ทานเมนูอาหารบ้านบ้านเหล่านั้น ก็จะยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวของครอบครัว

สุวิทย์ วังพัฒนมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของแคมเปญนี้ว่า

“ปีนี้โรซ่าครบรอบ 50 ปี ถือเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ เมื่อมานึกว่าจะพูดอะไรดีนั้น ก็คิดว่าถ้าพูดถึงความสำเร็จในอดีต สังคมก็อยากฟังบ้างแต่ไม่เยอะเท่าไร เราจึงเลือกที่จะไม่ได้บอกถึงอดีตที่ผ่านมา แต่มาคุยกันว่าในอนาคตจะเดินต่อไปอย่างไร การเดินต่อใน 3-5 ปีต่อจากนี้จะยากกว่า 50 ปีที่ผ่านมาเสียอีก มีเรื่องที่เข้ามา Disrupt เยอะ ดังนั้นเราจึงใช้โอกาสครั้งสำคัญของแบรนด์ในครั้งนี้ เพื่อที่จะสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคว่าจุดยืนของโรซ่าคืออะไร สิ่งที่แบรนด์เชื่อมั่นจะช่วยเสริมสร้างสังคมให้แข็งแรงขึ้นได้อย่างไร”

 


ตอกย้ำจุดยืน “แฟมิลี่ฟู้ด” ตัวจริง

โรซ่าได้พูดถึงการเป็น “แฟมิลี่ฟู้ด” มาได้สัก 2-3 ปีแล้ว  ด้วยความเชื่อของแบรนด์ที่ว่า “อาหาร” เปรียบเสมือน “ศูนย์กลาง” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเข้าด้วยกัน

เพราะฉะนั้นโจทย์ใหญ่ของโรซ่า คือ การปรับตัวทั้งเรื่องของสินค้าให้มีความหลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการสร้าง Brand Belief ที่แข็งแกร่ง เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค ไปสู่วิสัยทัศน์ใน 5 ปีจากนี้ ที่ต้องการให้สินค้าโรซ่าเข้าไปอยู่ในครัวเรือนไทย 80%  นั่นก็คือในแต่ละบ้านต้องมีสินค้าโรซ่าอย่างน้อย 1 อย่าง ทำให้กลุ่มเป้าหมายต้องครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกระดับรายได้

“การพูดถึงแฟมิลี่ฟู้ด อย่างแรกต้องกลับมามองตัวเองว่าคืออะไร ถ้าบอกว่าเป็นผู้ผลิตปลากระป๋อง ซอสมะเขือเทศ วันหนึ่งเราจะตัน ถ้าวันหนึ่งผู้บริโภคมีอาหารสำเร็จรูปที่ดีกว่า ถูกกว่า แล้วเราจะทำอย่างไร แต่โชคดีที่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการแตกไลน์สินค้าใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา มีซอสเกือบครบทุกชนิด มีพอร์ตสินค้าหลากหลาย ตอนนี้เลยไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นแค่ ปลากระป๋อง ซอสมะเขือเทศ แต่เป็นผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สามารถพูดว่าเป็น “แฟมิลี่ฟู้ด” อย่างสมบูรณ์”

อีกทั้งเทรนด์การรับประทานอาหารในยุคปัจจุบันก็ชัดเจนมากขึ้น หลายคนมองหาอาหารเพื่อสุขภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีคุณภาพ อีกเทรนด์ที่เห็นได้ชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือ คนให้ความสำคัญกับครอบครัวมากขึ้น  ถ้าทำให้ครอบครัวแข็งแรงได้ สังคมก็แข็งแรงตาม

โรซ่าจึงสร้างจุดยืนใหม่ ความเป็นแฟมิลี่ฟู้ดของโรซ่าที่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหาร ที่สามารถเป็นศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวได้ เป็นการเติมเต็มความสุขของครอบครัว เติมเต็มโต๊ะอาหาร มื้ออาหารนั้นๆ

แคมเปญ “โรซ่า 50 ปี เชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัว” เป็นการตอกย้ำ และสื่อสาร Brand Belief ไปยังกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ด้วยการทำให้ “อาหารบ้านบ้าน” กลับมาเป็นศูนย์กลางของบ้านอีกครั้ง แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของโรซ่าที่จะยังคงทำหน้าที่เป็นแบรนด์อาหารที่อยู่คู่ครอบครัวไทย เพื่อสร้างพื้นฐานครอบครัวที่แข็งแรงและนำไปสู่สังคมคุณภาพ


สร้าง Emotional ด้วยความสัมพันธ์ในครอบครัว

ด้วยจุดยืนที่ชัดเจนที่ต้องการให้อาหารเป็นศูนย์กลางความสุขของครอบครัว แคมเปญนี้จึงเลือกที่จะสื่อสารถึงเรื่องครอบครัวเป็นใจความสำคัญ อีกทั้งยังเป็นแคมเปญในเชิง “อีโมชันนัล” (Emotional) เป็นการสร้างแบรนด์ในอีกมิติหนึ่ง ก่อนหน้านี้โรซ่าได้เคยทำแคมเปญ “โต๊ะวิเศษ”  ที่พูดถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านโต๊ะอาหารมาแล้ว ในปีนี้จึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะตอกย้ำความเป็น “แฟมิลี่ฟู้ด” ที่จะกลายเป็น DNA ของโรซ่า

การที่โรซ่าพูดถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวนั้น ทางแบรนด์ได้ทำวิจัยร่วมกับกรมสุขภาพจิต พบข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ ในครอบครัวที่มีลูก อายุ 13-18 ปี อาศัยในเมืองใหญ่ พบว่า เวลาที่ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันกว่า 90% คือ บนโต๊ะอาหาร

มีค่าเฉลี่ยของการทานอาหารร่วมกัน 24.62 ครั้ง/เดือน เรียกว่าทานอาหารร่วมกันเกือบทุกวัน เพราะฉะนั้นโต๊ะอาหารกลายเป็นสถานที่รวมสมาชิกครอบครัวด้วยกัน ถ้าทำให้บรรยากาศดี ความสัมพันธ์ครอบครัวก็แข็งแรง

โรซ่าจึงอยากมีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ ด้วยผลิตภัณฑ์ของโรซ่า มีสินค้าที่หลากหลาย การทำอาหารในบ้านง่ายขึ้น และได้ทานอาหารมีคุณภาพ คือหัวใจสำคัญของแฟมิลี่ฟู้ด


ถ่ายทอดไอเดีย “อาหารบ้านบ้าน”

จากแคมเปญนี้ทางโรซ่าจึงได้เลือกการสื่อสารแบบครบวงจร เมื่อโจทย์ต้องการสื่อสารกับคนทุกกลุ่มทุกวัย การสื่อสารจึงมีทั้งในรูปแบบของโฆษณาทางโทรทัศน์ และเว็บฟิล์มออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “โรซ่า โฮมฟู้ดสตอรี – อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเรา” โดยได้ร่วมมือกับ “วันเดอร์แมน ธอมสัน” ครีเอทีฟเอเยนซี่ชื่อดังเป็นครั้งแรก

ภาคย์ วรรณศิริ หัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย เล่าถึงแนวคิดของโฆษณาว่า

จากโจทย์ที่โรซ่ามอบให้กับทีมวันเดอร์แมน ธอมสัน ที่ต้องการถ่ายทอดอัตลักษณ์ความเป็นโรซ่า แฟมิลี่ฟู้ด และเจตนารมย์ของแบรนด์ที่ต้องการเข้าไปอยู่ในครัวเรือนไทยให้ได้มากที่สุดเพื่อทำหน้าที่เชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัวไทย ซึ่งวิธีการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ง่ายที่สุด ก็คือ การทานอาหารร่วมกัน ซึ่งทีมวันเดอร์แมน ธอมสัน ได้ตีความสิ่งนี้ออกมาให้กลายเป็นคำว่า  “อาหารบ้านบ้าน”

จึงเป็นที่มาของภารกิจที่เราอยากจะทำให้เมนูอาหารบ้านบ้าน กลับมาเป็นศูนย์กลางของบ้านอีกครั้ง ซึ่งอาหารบ้านบ้านในที่นี้ นอกจากจะเป็นการสื่อถึงการเป็นเมนูอาหารง่ายๆ ที่คนทั่วไปทำเองได้ไม่ซับซ้อนแล้วยังสื่อถึงอาหารบ้านบ้านที่สื่อถึงเมนูประจำบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ด้วยรสชาติที่คุ้นเคย และเป็นเมนูอาหารที่เต็มไปด้วยเรื่องราวความผูกพัน หรือโมเมนต์อบอุ่นใจของสมาชิกในครอบครัวทำให้รู้สึกดี และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทานอีกด้วย”


ส่งหนังสั้นออนไลน์ จับใจคนรุ่นใหม่

ในส่วนของการสื่อสารของแคมเปญนี้ ได้เลือกทำเป็นทั้งภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ และหนังสั้น 4 นาทีบนช่องทางออนไลน์ เป็นการผสมผสานกันของหลายๆ สื่อ เพื่อต้องการสื่อสารทั้งกับลูกค้ากลุ่มเดิมของโรซ่า และขยายฐานไปยังกลุ่มใหม่ที่สนใจโลกออนไลน์

ประกอบไปด้วยโฆษณาทางโทรทัศน์ 2 เรื่อง มีเรื่องราว และการสื่อสารที่ต่างกันออกไป เรื่องแรกเป็นเรื่องราวของพ่อแม่ที่ไปเยี่ยมลูกเพราะลูกตกงาน ต้องการสื่อสารถึงความกังวลของคนวัยผู้ใหญ่ อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างวัย มีการมองโลกที่แตกต่างกันของลูกสาว และพ่อ แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น “อาหาร” จะเป็นสื่อกลางที่เข้ามาเชื่อมความสัมพันธ์ของครอบครัวให้แนบแน่นอีกครั้ง

นอกจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายแล้ว โรซ่าได้ปล่อยหนังสั้นออนไลน์ที่ดึงเอาเรื่องราวของตัวละครนำซึ่งเป็นลูกสาวในโฆษณาโทรทัศน์มาเล่าใหม่ในแบบไซไฟ-โลกอนาคตเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่

โดยตัวละครดังกล่าวก็เปรียบเสมือนตัวแทนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เติบโตไปเป็นอย่างดีในโลกแห่งเทคโนโลยีอันทันสมัย  รวมถึงเทคโนโลยีด้านอาหารที่พัฒนาไปเป็นอย่างมาก แต่สุดท้ายแล้ว ตัวละครนี้กลับเลือกที่จะเข้าไปยังร้านอาหารที่มีหุ่นยนต์เป็นเชฟ ทำหน้าที่ประมวลผลเมนู “อาหารบ้านบ้าน” จากความทรงจำของลูกค้า และปรุงอาหารออกมาด้วยหน้าตาและรสชาติที่ใกล้เคียงความทรงจำของลูกค้ามากที่สุด ซึ่งเมื่อได้ทานก็ทำให้กลับไปนึกถึงเรื่องราวความทรงจำอันอบอุ่นใจของเธอกับพ่อตั้งแต่ยังเป็นเด็กออกมาได้นั่นเอง

ภาคย์ เล่าเสริมว่า ที่ทำหนังสั้นเรื่องนี้เป็นแนวไซไฟ-โลกอนาคตเพราะเข้ากับวัยรุ่น บวกกับความเชื่อของแบรนด์ที่ว่า ในโอกาสที่แบรนด์อายุครบรอบ 100 ปีก็พูดเหมือนเดิม เรื่องแฟมิลี่ฟู้ด อาหารบ้านบ้านก็เป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ของครอบครัว เลยเล่าเป็นเรื่องราวที่ว่าอีก 50 ปีข้างหน้า เมื่อโรซ่าอายุครบ 100 ปี การทานอาหารจะเปลี่ยนไปขนาดไหน แต่ “อาหารบ้านบ้าน” ก็คือหัวใจของครอบครัว อยากกระตุกให้คนยุคนี้ที่บางครั้งหลงลืมความสุขของการทานอาหารร่วมกัน


หวังกระตุกสังคม ให้นึกถึงอาหารบ้านบ้าน

ในแคมเปญนี้นอกจากจะเป็นการสร้างแบรนด์ของโรซ่าเองแล้ว ใจความสำคัญหลักที่ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคก็คือ อยากกระตุกสังคมให้กลับมานึกถึงอาหารบ้านบ้าน รวมถึงความสำคัญของครอบครัวด้วย เชื่อว่าอาหารจะเชื่อมโยงให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น

สุวิทย์ เสริมอีกว่า แคมเปญนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น การจะทำให้โรซ่าเป็นแฟมิลี่ฟู้ดต้องเดินทางอีกไกล สิ่งที่หวังกับในระยะสั้นๆ จากแคมเปญนี้ จะเป็นการกระตุกให้สังคมตระหนักว่าอาหารที่ดีๆ ไม่ต้องตะเวนหากินข้างนอก จริงๆ แล้ว คืออาหารที่บ้าน อาหารที่พ่อแม่ทำแล้วกินร่วมกับครอบครัว ไม่จำเป็นต้องไปรอคิวนานๆ มื้อที่ดีให้พลังชีวิตคือ มื้อที่บ้าน ส่วนเป้าหมายระยะยาวคือ ทำให้คนเชื่อว่าโรซ่ามีความเชื่อแบบนี้ ช่วยทำให้ผู้บริโภคทำอาหารได้ง่ายขึ้น ทำให้โต๊ะอาหารมีสีสันขึ้น ใช้เวลาทำอาหารน้อยลง และได้ทานอาหารที่ดีมีคุณภาพ

ถึงแม้ว่าไลฟ์สไตล์ของคนไทยจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย หลายคนนิยมออกไปแฮงเอาท์ ทานอาหารนอกบ้าน เพราะต้องการเปลี่ยนบรรยากาศอยู่เสมอ แต่โรซ่าเชื่อว่า “อาหารบ้านบ้าน” นี่แหละ จะเป็นเซฟโซนสำหรับทุกคน โดยเฉพาะเมื่อได้รับประทานที่บ้านพร้อมกับคนในครอบครัว เพราะในโมเมนต์นั้น อาหารบ้านบ้านจะไม่ใช่แค่เมนูที่ทำให้ทุกคนอิ่มท้องเท่านั้น แต่เป็นอาหารที่ทำให้อิ่มใจ เป็นตัวกลางเชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัว… “อาหารบ้านบ้าน อาหารที่มีเรื่องเราตลอดไป”

 

]]>
1367109