อีมาร์เก็ตเพลส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Aug 2021 07:07:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มที่ให้มากกว่าโปรโมชั่นที่ดีเพราะมี ‘เงินคืน’ ทุกครั้งที่ซื้อ https://positioningmag.com/1348857 Fri, 27 Aug 2021 10:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348857

ตั้งแต่ COVID-19 ระบาด เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยช้อปของออนไลน์มาก่อนตอนนี้คงจะใช้กันจนชินแล้ว แต่ในเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนต้องรัดเข็มขัด จะซื้อของทั้งทีก็ต้องรอโปรโมชั่นจะได้คุ้ม ๆ ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จัก ‘ShopBack’ (ช้อปแบ็ค) อีกหนึ่งตัวเลือกในการช้อปปิ้งที่ทำให้คุ้มยิ่งขึ้นด้วย ‘เงินคืน’


ทำไมต้องซื้อผ่าน ShopBack?

หากพูดถึงชื่อมาร์เก็ตเพลสเจ้าดังในไทยคงจะไม่พ้น Lazada, Shopee, Supersports, ThisShop, Tops Online, Sephora, Foodpanda, Grab ซึ่งเป็น Top ของเมืองไทย สิ่งที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ ทั้งหมดเป็น ‘ตัวกลาง’ ในการขายสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เปรียบได้ดังกับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมสินค้าเอาไว้ โดยแพลตฟอร์มจะมีรายได้จากส่วนแบ่งการขายหรือค่าคอมมิชชั่น

แน่นอนว่ามีโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย แต่จะดีกว่าไหมถ้าซื้อของแล้วได้เงินคืนจริง ๆ แบบที่ถอนเป็นเงินสดมาใช้ได้ ไม่ใช่แค่ใช้ภายในแพลตฟอร์ม


กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

หากขาช้อปที่รู้จักกับ ‘Ebates’ เว็ปที่รวบรวมเอาร้านค้าออนไลน์จากทั่วอเมริกามากมายมารวบรวมไว้ โดยจะมีการให้ cash back หรือเงินคืนทุกครั้ง ‘ShopBack’ ก็เหมือนกับ Ebates ที่จะเป็นตัวกลางที่รวมอีมาร์เก็ตเพลสหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทั้ง Lazada, Shopee, JD CENTRAL หรือแม้แต่แพลตฟอร์มด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ อาทิ Expedia, Grab

แน่นอนว่าโปรโมชั่นต่าง ๆ ของแต่ละแพลตฟอร์มยังจะมีเหมือนเดิม แม้จะซื้อผ่าน ShopBack ก็ตาม แต่ที่ได้เพิ่มเติมก็คือ ‘เงินคืน’ ซึ่งแต่ละร้านค้าก็จะมีเปอร์เซ็นการคืนที่แตกต่างกันไป เมื่อลูกค้าเก็บสะสมได้ 50 บาทขึ้นไป ลูกค้าก็จะสามารถถอนเป็น ‘เงินสด’ เข้าบัญชีตัวเองได้เลย (มีค่าธรรมเนียมการถอนเงิน 5 บาท แต่ยอดเกิน 150 บาทขึ้นไปไม่มีค่าธรรมเนียม)

ดังนั้น ถ้าอยากได้ความคุ้มยิ่งขึ้น จากนี้จะช้อปสินค้าจากร้านไหน ๆ ก็ให้กดผ่าน ShopBack ก่อน เพื่อที่จะได้โปรโมชั่นทั้งจากแพลตฟอร์มนั้น ๆ และมารับเงินคืนอีกต่อจาก ShopBack ซึ่งปัจจุบัน ShopBack มีพาร์ทเนอร์กว่า 150 รายตั้งแต่มาร์เก็ตเพลสและบริการด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ตั้งแต่ด้านอาหาร ท่องเที่ยว การเดินทาง และอื่น ๆ

ทำไมถึงให้เงินคืน

อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสมีรายได้จากค่า ‘คอมมิชชั่น’ จากแบรนด์ที่มาขายสินค้า เช่นเดียวกันกับ ShopBack ที่ทำรายได้จากค่าคอมมิชชั่น เพียงแต่ ShopBack เลือกที่จะแบ่งคอมมิชชั่นนั้นมาเป็นเงินคืนให้ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ทำการซื้อในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่ Win-Win ทั้งแพลตฟอร์มและลูกค้า โดย ShopBack จะแบ่งให้ลูกค้า 80% อีก 20% เป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม

ShopBack เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2014 ในฐานะสตาร์ทอัพสัญชาติสิงคโปร์ และเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2017 ปัจจุบันให้บริการใน 8 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ มีลูกค้าใช้งานกว่า 4.5 แสนราย/วัน 50% กลับมาซื้อซ้ำจากครั้งแรก และที่ผ่านมามีการคืนเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง


บริการเทียบราคาจบในแอป

แน่นอนว่าการซื้อของแล้วได้ทั้งส่วนลดและเงินคืนจะคุ้มแล้ว แต่จะยิ่งดีกว่าไหมหากเราสามารถ ‘เทียบราคาสินค้า’ ของแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อหาร้านค้าที่มีราคาดีที่สุดได้ เชื่อว่านักช้อปหลายคนจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นคงต้องเทียบราคากับแต่ละแพลตฟอร์มก่อน ขณะที่ ShopBack มีพันธมิตรอยู่กว่า 150 ราย ทำให้สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าระหว่างแอปต่าง ๆ ได้เพียงลูกค้าเสิร์ช จากนี้ก็ไม่ต้องเข้าแอปนั้นออกแอปนี้เพื่อเทียบราคา แต่เข้า ShopBack ที่เดียวพอ

นอกจากนี้ ShopBack ยังมีฟีเจอร์ Watch List ตัวที่ช่วยในการเตือนเวลามีโปรโมชั่นของสินค้าที่ลูกค้าเลือกกดเซฟไว้ และ VDO Shopping ที่จะเป็นคลิปรีวิวสินค้าสั้น ๆ ในแอป เพื่อให้ลูกค้าเห็นรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อ และเพิ่มความคุ้มด้วย E-voucher หรือคูปองส่วนลดขาย เมื่อไปช้อปตามร้านก็ใช้คูปองส่วนลด On Top จากร้านค้านั้น ๆ ได้อีกต่อ


ในอนาคต อาจจะมีตัว ShopBack GO ซึ่งเป็นอีก model ที่ให้ลูกค้าสามารถได้รับเงินคืนเมื่อช้อปสินค้า offline ซึ่งมีเปิดตัวไปแล้วที่สิงค์โปร์ และจะเริ่มมี ‘แบรนด์’ ที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์โดยตรงกับ ShopBack มากขึ้น

สำหรับใครที่เก็บเงินรอช้อปโปรโมชั่น 9.9 นี้ ShopBack ก็มีคูปองส่วนลดสูงสุด 9,999, 999 และ 99 บาท จาก Shopee, Lazada, Supersports, ThisShop, Sephora, Foodpanda, Grab, Tops Online มีสินค้าราคา 1 บาท และโปรโมชั่นเงินคืน on top อีกสูงสุดถึง 30% ใครที่อยากจะได้ความคุ้ม ๆ ก็โหลด ShopBack มาลองใช้ได้เลย → https://app.shopback.com/jwAA56Ru0ib

]]>
1348857
เจาะลึกความปังของ ‘ลาซาด้า’ ก่อนจัดหนักอีกครั้งใน ‘Lazada Surprise Birthday Sale’ https://positioningmag.com/1324304 Mon, 22 Mar 2021 12:00:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324304

เชื่อว่าหลังจากที่ทั่วโลกได้พบเจอกับการระบาดของ COVID-19 รวมถึงประเทศไทยทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปสู่วิถี ‘New Normal’ ในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะ ‘การช้อปปิ้ง’ ที่หันไปซื้อของบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้ตลาด ‘อีคอมเมิร์ซ’ ในปีที่ผ่านมาเติบโตถึง 81% มีมูลค่าถึง 294,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนตลาดอีคอมเมิร์ซก็หนีไม่พ้น ‘อีมาร์เก็ตเพลส’ โดยเฉพาะ ‘ลาซาด้า’ ผู้เล่นหลักที่นักช้อปทุกคนต้องรู้จัก

11.11 – 12.12 ปังส่งท้ายปี

เป็นที่รู้กันว่าแคมเปญ ‘ดับเบิลเดย์’ หรือ ’11.11’ ’12.12’ ที่กลายเป็นบรรทัดฐานการทำแคมเปญของทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไปแล้วนั้นมีต้นกำเนิดมาจาก ‘อาลีบาบา’ (Alibaba) และ ‘ลาซาด้า’ ก็ถือเป็นรายแรกที่ทำแคมเปญนี้ ซึ่งก็มีผลตอบรับที่ดีมาโดยตลอด

โดยในปี 2020 ลาซาด้าโตขึ้นจากปีก่อน 2 เท่า ทั้งจำนวนผู้ซื้อ ยอดออเดอร์ และผู้ขายใหม่ โดยเฉพาะในช่วงเมกะแคมเปญ 11.11 และ 12.12 ที่สามารถเพิ่มจำนวนผู้ขายได้มากขึ้น 3 เท่า และผู้ขายสามารถเพิ่มจำนวนยอดขายได้มากขึ้น 2 เท่าจากช่วงเวลาปกติ โดยแคมเปญ 11.11 ลาซาด้ามียอดคำสั่งซื้อกว่า 6 ล้านครั้ง และมียอดการใช้จ่ายแตะ 111 ล้านบาท ภายใน 3 นาที ส่วนแคมเปญ 12.12 ขายสินค้าได้ถึง 14 ล้านชิ้น

ยิงแคมเปญต่อเนื่อง พร้อมฉลองครบรอบ 9 ปี

แคมเปญใหญ่สุดของลาซาด้าก็คือ ‘ดับเบิลเดย์’ ในวันที่ 9.9 11.11 และ 12.12 แต่เพราะผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าทุกวัน และเมื่อวิเคราะห์ถึงสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ทำให้นักช้อปใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกสินค้านานขึ้น ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อลดลง แต่ความถี่ในการเข้าแพลตฟอร์มและจำนวนคำสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้น ลาซาด้าก็พร้อมปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคและสถานการณ์เหล่านี้

ที่ผ่านมา ลาซาด้ามีอีกหลากหลายกลยุทธ์ที่นำมาสร้างสีสันและดึงดูดผู้บริโภค อาทิ ‘Flash Sale’ หรือ ‘ฟรีค่าจัดส่ง’ ซึ่งทำให้มียอดผู้เข้าชมร้านค้าเพิ่มขึ้นถึง 50% ส่วนการ ‘แจกคูปองส่วนลด’ ก็มีส่วนช่วยให้ร้านค้าใหม่มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือการเพิ่มหมวดหมู่ ‘สินค้าฮิต’ ก็ช่วยเพิ่มยอดผู้ชมให้กับสินค้ามากขึ้น 13 เท่า นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ ‘Crazy Brand Mega Offer’ สินค้าราคาพิเศษที่ในช่วงเวลาเที่ยงคืน-ตี 2 และฟีเจอร์ใหม่ ‘Lazada Bonus’ ที่จะทำให้ช้อปได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

รวม ๆ แล้ว ลาซาด้ามอบส่วนลดและโปรโมชันต่าง ๆ เป็นมูลค่าถึง 4.5 พันล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ ลาซาด้ายังมีอีกหลายตัวช่วยสนับสนุนผู้ขายไม่ว่าจะเป็น LazLive ที่ในปี 2020 มียอดวิวรวมโตพุ่ง 200% รวมไปถึงช่วยดันยอดขายสินค้าระหว่างไลฟ์ให้โตขึ้นกว่า 100%

เตรียมนิ้วรอช้อป Lazada Surprise Birthday Sale

แม้ว่าจะเพิ่งยิงแคมเปญใหญ่ ‘3.3’ รับต้นปีไปเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม แต่ลาซาด้าก็ไม่ปล่อยให้ขาช้อปต้องรอนาน ด้วยแคมเปญล่าสุด ‘Lazada Surprise Birthday Sale สุขสันต์วันช้อป ครบรอบ 9 ปี’ ซึ่งไม่ใช่แค่โปรโมชันที่จัดเต็ม แต่พิเศษยิ่งกว่าด้วย ‘Lazada Super Party’ มหกรรมคอนเสิร์ต Signature ของลาซาด้าที่นำทัพโดยศิลปินระดับโลก ‘เคที เพอร์รี’ (Katy Perry) และ ‘เอ็นซีที ดรีม’ (NCT Dream) บอยแบนด์วัยรุ่นอันดับหนึ่งของเกาหลีผ่านช่อง ‘LazLive’ รวมถึง YouTube, Facebook, TikTok Live ในวันที่ 26 มีนาคมนี้เวลา เวลา 20.00 – 23.00 น. และที่ขาดไม่ได้คือ ความพิเศษจัดเต็มในวันที่ 27 – 29 มีนาคม อาทิ

– รับเงินคืน 15%* เมื่อช้อปสินค้าใน LazMall (*รับเงินคืนสูงสุด 100 บาท)

Crazy Brand Mega Offer ดีลพิเศษแบรนด์ดังเที่ยงคืน – ตีสอง

แจกคูปองส่งฟรีทั่วไทย

แจกโบนัสกว่า 100 ล้านบาท เก็บโบนัสลดหลายต่อ ยิ่งช้อปยิ่งลด รับโบนัส 30 บาท เมื่อซื้อครบทุก ๆ 300 บาท หรือรับโบนัส 200 บาท เมื่อซื้อครบทุก ๆ 2,000 บาท โดยเก็บได้ที่หน้าแอปพลิเคชัน Lazada, หน้าแคมเปญ Surprise Birthday Sale, หรือหน้าร้านค้า ตั้งแต่วันที่ 20-29 มีนาคม และใช้ช้อปสินค้าที่ร่วมรายการได้ในวันที่ 27-29 มีนาคมนี้

ความพิเศษยังไม่หมดเพียงเท่านี้ สิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต อาทิ

CitiLazada รับส่วนลดรวมมูลค่า 1,549 บาท

KBank รับส่วนลดมูลค่า 350 บาท

Krungsri รับส่วนลดมูลค่า 350 บาท

KTC Mastercard รับส่วนลดมูลค่า 350 บาท

เตรียมตัวไว้ให้ดี มหกรรมช้อปออนไลน์สุดพิเศษขนาดนี้ไม่ได้มีบ่อย ๆ แล้วมาสุขสันต์วันช้อปพร้อมกันกับ Lazada Surprise Birthday Sale ในวันที่ 27-29 มีนาคมนี้เท่านั้น

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก  https://bit.ly/3rUtzoq

 

 

]]>
1324304
‘ป้อม ภาวุธ’ ฟัน 10 เทรนด์ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ปี 2021 ยุคของ ‘ออนไลน์’ กลายเป็นช่องทาง ‘หลัก’ https://positioningmag.com/1312830 Mon, 04 Jan 2021 12:11:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312830 ปี 2564 จะเป็นปีที่ออนไลน์จะมีบทบาทอย่างมากกับเศรษฐกิจของไทย เพราะ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของคนไทยทั้งประเทศไปอย่างสิ้นเชิง และในปี 2564 จะเกิดพฤติกรรมการช้อปรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งกูรูในวงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่าง ‘ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ’ ได้ฟันธง 10 เทรนด์อีคอมเมิร์ซที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

shopping online

1. ออนไลน์ คือ ‘ช่องทางหลัก’

คนไทยจะซื้อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ด้วยโครงการของรัฐ (เราไม่ทิ้งกัน, คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ) กระตุ้นให้คนไทยกระโดดเข้าสู่ออนไลน์แบบไม่เคยมีมาก่อน และด้วยงบประมาณมหาศาลของกลุ่ม JSL (JD, Shopee, Lazada) ที่กระตุ้นคนไทยทั้งประเทศให้หันมาซื้อออนไลน์ ฐานคนซื้อออนไลน์ กลุ่มใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัด มากกว่าคนในเมือง กลุ่มคนรุ่นใหม่จะคุ้นเคยกับการซื้อออนไลน์เป็นหลัก และใช้เป็นประจำ

2. 3 มาร์เก็ตเพลสหลักจะคุมตลาดแบบ ‘เบ็ดเสร็จ’

JSL (JD, Shopee, Lazada) จะคุมตลาดค้าปลีกออนไลน์ ในหลายกลุ่มสินค้าแบบ ‘เบ็ดเสร็จ’ และจะคุมกำลังซื้อของคนไทยในช่วงวัน Double Day ได้ เช่น 11.11, 12.12 เม็ดเงินที่เคยสะพัดในท้องถิ่นจะถูกดึงเข้าสู่โลกออนไลน์ ร้านค้าตามชุมชนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะคนในชุมชน จะหันมาซื้อออนไลน์มากกว่าซื้อร้านใกล้ ๆ บ้าน เพราะด้วยราคาถูกกว่า และตัวเลือกมากกว่า

3. บริษัทขนส่งจะกระตุ้นให้โตแบบก้าวกระโดด

การแข่งขันของเหล่าบริษัทขนส่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซยิ่งเติบโต โดยที่ผ่านมา ‘Kerry’ ก็เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์, Flash Express ระดมเงินได้หลายหมื่นล้าน ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันการขนส่งแบบดุเดือด ราคาค่าส่งสินค้าจะถูกลง แต่ส่งได้เร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น

4. การชำระเงินค่าสินค้าจะง่ายขึ้น

การชำระเงินจากนี้จะยิ่งง่ายและมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น โอนเงินผ่าน Mobile Banking, บัตรเครดิต, พร้อมเพย์, เงินผ่อนทางออนไลน์, E-Wallet ซึ่งแต่ละช่องทางจะแตกต่างไปตามพฤติกรรมของผู้ซื้อแต่ละกลุ่ม มีช่องทางชำระเงินที่หลากหลายจะช่วยขายได้ง่ายมากขึ้น

5. โรงงานผลิตสินค้าและแบรนด์รุก ‘ขายตรง’

เข้าสู่ยุคที่ผู้ผลิตจะขายของตรงถึงผู้บริโภคผ่านทางออนไลน์ ‘D2C – Direct to Consumer’ ซึ่ง ‘ข้ามหัว’ ค้าปลีกแบบเดิม ๆ การรุกของ JSL ในการบุกตลาดสินค้าแบรนด์ มาสู่ Mall ของตัวเอง (Shopee Mall, Laz Mall) ทำให้หลาย ๆ สินค้าเห็นโอกาสการขายตรงสู่ผู้บริโภคมากขึ้น

6. Food Delivery กระจายทั่วประเทศ

การสั่งอาหารออนไลน์ หรือ Food Delivery จะโตแบบก้าวกระโดด และกระจายตัวไปทั่วประเทศ ระบบนิเวศของการขายอาหารออนไลน์ (Cloud Kitchen, Food Platform) จะขยายตัวโตมากขึ้น นำไปสู่การซื้อสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

7. Social รุก E-Commerce เต็มสูบ

Facebook, LINE, Google, JSL บุกการค้าออนไลน์เต็มรูปแบบทั้ง การสร้างร้านค้า (Shop), การจ่ายเงิน (Pay), การทำโฆษณา (Ads) แบบครบวงจรในระบบนิเวศของตัวเอง จะช่วยกระตุ้นให้พ่อค้าแม่ค้าหันมาใช้บริการมากขึ้น ดังนั้นการจะขายให้ดีขึ้น จะต้องไปทุก ๆ ช่องทาง การขาย (Multi-Channel Sale & Marketing)

8. โฆษณาออนไลน์เป็นสิ่งสามัญที่ใคร ๆ ก็ทำ

ราคาโฆษณาจะสูงมากขึ้น การแข่งขัน ทำให้การปรับแต่งโฆษณาให้เก่งขึ้น แม่นยำขึ้น ในราคาที่สมเหตุสมผล จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จะมีเครื่องมือมากมายที่มาช่วยทำให้การทำโฆษณาสะดวกขึ้น แม่นยำขึ้น และการทำ Marketing Automation จะเริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

9. กลุ่มลูกค้าจะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

จากนี้ไปกลุ่มลูกค้าจะเป็น ‘Fragmented Market’ ตามพฤติกรรมและสินค้า จากนี้แต่ละประเภทการขายสินค้าจะไม่ได้แบ่งตามกลุ่มอายุ เพศ อีกต่อไป (Demographic) แต่จะถูกแบ่งด้วย พฤติกรรมและความชอบ (Behavior & Lifestyle) ไปตามเนื้อหา (Content) สินค้า (Product) ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่มีลักษณะและความชอบคล้าย ๆ กันอยู่รวมกัน (Community)

10. Influencer Commerce

จากนี้ผู้มีอิทธิพล หรือ Influencer จะมีผลต่อการซื้อสินค้ามากขึ้นอย่างมาก เจ้าของสินค้าต่าง ๆ จะเริ่มพึ่งพาผู้มีอิทธิพล (Influencer & KOL) มากขึ้น โลกของ Influencer จะแตกออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จนเจ้าของสินค้าต้องหาให้เจอ ว่าคนไหนที่เหมาะกับสินค้าของเรา และจะเกิดเอเจนซี่ที่มาช่วยบริหารจัดการ Influencer มากมาย

“บอกได้เลยว่าปี 2021 จะเป็นปีที่ธุรกิจไทย หากใครไม่ได้เข้าสู่ออนไลน์ คุณจะตกขบวน และพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งที่ลุยออนไลน์อย่างเต็มที่แน่นอน” ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กล่าว

]]>
1312830