อีวอลเลต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Sep 2023 11:12:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผู้บริโภคจะเห็นอะไรใหม่หลัง Rabbit LINE Pay กลายเป็นของ LINE MAN Wongnai และ LINE เต็มตัว https://positioningmag.com/1443484 Tue, 05 Sep 2023 09:04:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443484 ถือเป็นดีลที่สองของปี หลังจากที่ LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory สตาร์ทอัพไทยผู้พัฒนาระบบ POS (Point of sale) ล่าสุด LINE MAN Wongnai และ LINE ได้เข้าซื้อ Rabbit LINE Pay จากผู้ถือหุ้นเดิม สำหรับผู้ที่ใช้งานอยู่แล้วจะได้เห็นอะไรจากนี้บ้าง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai และ ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย ได้ออกมาอธิบายให้ฟัง

LINE MAN Wongnai ถือหุ้นสูงสุดใน RLP

ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS บ่อย ๆ เชื่อว่าก็คงจะใช้บริการ Rabbit LINE Pay (RLP) แน่นอน ซึ่ง Rabbit LINE Pay นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจาก LINE Thailand ร่วมมือกับทาง Rabbit Card และ mPay แพลตฟอร์มบริการทางการเงินของ AIS เข้ามาลงทุนร่วมกันเมื่อปี 2018 โดยทั้ง 3 พาร์ทเนอร์นั้นถือหุ้นเท่า ๆ กัน

โดยจุดเด่นของ Rabbit LINE Pay ก็คือ การใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม LINE ได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋ว BTS, ซื้อสินค้าใน LINE เช่น สติกเกอร์ รวมไปถึงร้านค้าชั้นนำต่าง ๆ ทั้งนี้ ตัวเลข ณ ปี 2022 Rabbit LINE Pay มีจำนวนผู้ใช้กว่า 10 ล้านราย

แม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าการเข้าซื้อหุ้น RLP ต่อจาก แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด และ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด แต่ ยอด ชินสุภัคกุล เปิดเผยว่า LINE MAN Wongnai เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเชื่อว่า RLP นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจของ LINE MAN Wongnai โดยเปรียบเสมือน น้ำมันหล่อลื่น ให้กับธุรกิจ เพราะในทุกบริการต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ นอกจากนี้ ยอด ยังมองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

“ทุกบริการของ LINE MAN Wongnai ไม่ว่าจะเป็น Food, Taxi Messengers หรือ LINE เองก็มีบริการอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE Shopping และทุกอย่างต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ทั้งหมด ดังนั้น RLP จะมาช่วยให้บริการต่าง ๆ มันไร้รอยต่อ (Seamless) มากขึ้น” ดร.พิเชษฐ กล่าวเสริม

จะได้เห็นอะไรใหม่?

ในแง่ขององค์กร RLP ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งออฟฟิศและพนักงาน ในส่วนของผู้ใช้ก็เช่นเดียวกัน บริการไหนที่เคยใช้ได้ก็ยังใช้ได้ตามเดิม ไม่ว่าจะเติมเงินขึ้นรถไฟฟ้า BTS หรือการใช้จ่ายผ่านร้านค้าพันธมิตร ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคอยากรู้คือ บริการใหม่ที่จะได้เห็น

ซึ่ง ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ได้เปิดเผยว่าจะมีบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นแน่นอน อย่างน้อยที่จะได้เห็นก็คือ สิทธิพิเศษที่มากขึ้น หากใช้งาน RLP ผ่าน LINE หรือ LINE MAN รวมถึงความเป็นไปได้ของบริการ กู้เงินออนไลน์ เพราะทาง LINE เองก็มี LINE BK บริการทางการเงินแบบ Social Banking ของบริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (บริษัทในเครือของธนาคารกสิกรไทย) และบริษัท ไลน์ ไฟแนนเชียล เอเชีย (LINE Financial Asia) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะเห็นบริการใหม่ ๆ เร็วสุดเมื่อไหร่

“อาจยังไม่ชัดเจนว่าจะมีบริการอะไรใหม่ ๆ แต่เราจะพยายามดันทรานแซคชั่นของทั้ง LINE MAN Wongnai และ LINE เข้าไปใช้ใน RLP ให้ได้มากที่สุด แต่เราอยากให้คนเข้ามาในแพลตฟอร์มของเราแล้วทำได้ทุกอย่างตั้งแต่สั่งอาหารจนถึงกู้เงิน” ดร.พิเชษฐ กล่าว

ไม่ได้แข่งแค่กับ e-Wallet ด้วยกัน

แม้ว่าตลาดอี-วอลเล็ตปีนี้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง ดอลฟิน วอลเล็ต จะหายไป แต่การแข่งขันก็ไม่ได้ลดน้อยลง โดย ยอด อธิบายว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ยังมีความท้าทายจาก พร้อมเพย์ ที่ทำให้ทุกอย่างใช้งานได้อย่างเปิดกว้าง นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม เป๋าตัง ของรัฐบาล ดังนั้น การแข่งขันจึงกว้างมากเพราะมีทั้งธนาคารและแพลตฟอร์มอีวอลเล็ต ซึ่ง RLP ก็อยากจะเป็นผู้เล่นหลักของตลาดไทย ดังนั้น การมีบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคยังใช้งานเป็นโจทย์ที่สำคัญ

“อย่างเป๋าตังเขาก็มีบริการซื้อสลากออนไลน์เพื่อดึงดูดให้ใช้งาน นี่ก็เป็นโจทย์ของเราว่านอกจากบริการที่มีที่ผู้บริโภคใช้อยู่แล้ว เราจะเพิ่มอะไรเข้าไปได้อีก”

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดอีเพย์เมนต์ มีแต่ขาขึ้นไม่มีทางลง ตลาดจะใหญ่ขึ้นอีกเพราะผู้บริโภคใช้งานชินตั้งแต่เกิดโควิดระบาด คนใช้เงินสดน้อยลง เพียงแต่ตลาดยังไม่มาชัวร์ เพราะยังมีผู้เล่นที่ออกจากตลาดไปและยังมีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามา

ปัจจุบัน แม้บริการ RLP จะยังไม่ทำกำไร โดยในปี 2565 รายได้รวม 319.63 ล้านบาท ขาดทุน 156.65 ล้านบาท แต่ในส่วนของผู้ใช้ยังคงเติบโต โดย ยอด กล่าวว่า ยังไงต้องทำให้ RLP มี กำไร และเติบโตในฐานะ STAND ALONE COMPANY ที่แข็งแกร่ง

]]>
1443484
‘True Money’ พร้อมเป็น ‘เวอร์ชวล แบงก์’ วางเป้าใหญ่ปี 2025 คนไทย ‘ครึ่งประเทศ’ ใช้แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1431798 Thu, 25 May 2023 13:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431798 หลังจากที่ ดอลฟิน วอลเล็ท (Dolfin Wallet) โบกมือลาตลาดไทยตามรอย เจดี เซ็นทรัล (JD CENTRAL) ตลาดอีวอลเล็ทก็เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 3-4 รายเท่านั้น และเบอร์ 1 ของตลาดในนาทีนี้คือ ทรูมันนี่ (True Money) ที่ให้บริการมาแล้ว 8 ปี และก้าวต่อไปจากนี้ของทรูมันนี่ คือการเทียบชั้นกับ ธนาคาร และกำลังมองถึงความเป็นไปได้ของ เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank)

ดันแพลตฟอร์มเป็นมากกว่าอีวอลเล็ท

อยู่ในตลาดมานานถึง 8 ปี สำหรับ ทรูมันนี่ (True Money) จนปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยถึง 27 ล้านราย โดยมีแอคทีฟยูสเซอร์ราว 17-18 ล้านคน/เดือน มีจุดรับชำระของแพลตฟอร์มมีกว่า 7 ล้านจุดมากสุดในประเทศไทย และสามารถใช้จ่ายบนร้านค้าออนไลน์กว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้กว่า 40 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี และจีน ที่จะสามารถชำระได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ปัจจุบัน สามารถแบ่งบริการของทรูมันนี่ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งครอบคลุมแทบไม่ต่างจากธนาคาร ได้แก่

  • บริการในกลุ่มใช้จ่าย: ทั้งการจ่ายออนไลน์ ออฟไลน์ โอนเงิน ใช้จ่ายต่างประเทศ และวงเงินใช้ก่อนจ่ายทีหลัง
  • บริการในกลุ่มการเงิน: บริการด้านการออม ลงทุน ประกัน และสิทธิประโยชน์หลากหลาย
  • บริการสนับสนุนธุรกิจ: บริการสนับสนุน SME และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ระบบสมาชิก และฟีเจอร์โปรโมตร้านค้า เป็นต้น

แม้จะมีบริการทางการเงินที่หลากหลาย มีธุรกรรมต่อวันหลายสิบล้านผ่านแอปพลิเคชัน แต่การใช้บริการหลักจะเป็น ดิจิทัลเพย์เมนต์ เช่น การซื้อแอปพลิเคชัน, ชำระค่าบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ , เติมเงินเกม รวมถึงการซื้อสินค้าบนอีมาร์เก็ต ส่วนผู้ที่เปิด บัญชีเงินฝากและลงทุนมีเพียง 2.5 ล้านบัญชี เท่านั้น ส่วนบริการ ใช้ก่อนโอนที่หลัง มีลูกค้า 1.2-.1.3 ล้านราย

ดังนั้น ภารกิจของทรูมันนี่คือ ดันบริการอื่น ๆ ให้ผู้ใช้เก่าได้ใช้ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มฐานผู้ใช้ใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของทรูมันนี่จะเป็นกลุ่ม Gen Y มีสัดส่วนมากถึง 40% เฉลี่ยมีการเติมเงินเข้าระบบราว 3-4 พันบาท มีการใช้งานเฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน

ทุ่มงบดึงลิซ่าหวังเพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านราย

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา การเติบโตของทรูมันนี่เป็นแบบออร์แกนิกซึ่งเกิดจากการแนะนำบอกต่อแบบปากต่อปาก เนื่องจาก ทรูมันนี่ยึดหลักว่า ต้องทำให้การเข้าถึงทำได้ง่าย มีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และต้องเกิดคุณค่าในทุก ๆ การใช้งาน รวมถึงแพลตฟอร์มต้องมีความปลอดภัย นอกจากนี้ การมาของโควิดก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายปีนี้ของทรูวอลเล็ทคือ เพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านรายภายในสิ้นปี และมีแอคทีฟยูซเซอร์ 20% โดยมนสินี ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่มั่นใจว่าเป็นไปได้ เพราะในปีนี้แบรนด์ได้ดึง ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

“เราต้องการสื่อว่าแบรนด์เราก็ใหญ่ เป็นระดับ Top เหมือนกับลิซ่า และเชื่อว่าภาพของลิซ่านั้นเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม โดยการดึงลิซ่ามาเราลงทุนหนักมาก และเราจะเข้าถึงทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์”

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ทรูมันนี่ต้องการเข้าถึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เด็ก วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 13 ปี: ที่จะเป็นรากฐานใหม่ของแพลตฟอร์ม
  • เฟิร์สจ็อบเบอร์: เพื่อขยายการเข้าถึงการลงทุน
  • sme รายย่อย: เพื่อขยายบริการกลุ่มสินเชื่อ

นอกจากนี้ ทรูมันนี่มองว่ากลุ่ม ต่างจังหวัด เป็นอีกส่วนที่ยังเติบโตได้ แต่ที่ปัจจุบันผู้ใช้งานหลักของทรูมันนี่เป็นคนกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ เพราะมีจุดชำระที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ

“เรามองว่ามันเป็นจังหวะเวลาที่ใช่สำหรับการใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก เพราะที่ผ่านมา 90% ลูกค้าใช้เราโดยไม่เกี่ยวกับแคมเปญการตลาด ซึ่งตอนนี้เราไม่ใช่แค่ต้องการดึงลูกค้าใหม่ แต่โจทย์ต้องทำให้ลูกค้าเก่ารู้ว่าเรามีบริการที่หลากหลาย และลอยัลตี้จะยิ่งแข็งแกร่งกว่านี้ ถ้ารู้ว่าเรามีเฟีเจอร์เยอะ ไม่ใช่แค่จ่ายเงิน แต่เป็นไฟแนนเชียลแพลตฟอร์ม”

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด, นางสาวณัฐวดี แซ่เอี้ย ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด และนางอนัณทินี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ก้าวข้ามวอลเล็ทสู่การเป็น เวอร์ชวล แบงก์

แม้ว่าจำนวนผู้เล่นในตลาดอี-วอลเล็ทจะลดลง แต่ไม่ได้ทำให้นัยการแข่งขันแตกต่างไป เพราะแพลตฟอร์มก้าวข้ามการเป็นอีวอลเล็ทไปแล้ว และปัจจุบันก็มีจำนวนการใช้งานไม่ต่างจาก ธนาคาร ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะหา ช่องว่างที่ธนาคารไม่มี มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบสนองลูกค้า

“ในตลาดอี-วอลเล็ทเราคิดว่าเราเป็นอันดับ 1 มีมาร์เก็ตเเชร์เกิน 90% และตอนนี้เราไม่ได้เทียบตัวเรากับตลาดวอลเล็ท แต่เราเทียบกับธนาคาร จะบอกว่าเป็นซูเปอร์แอปฯ ก็ได้ แต่เป็นซูเปอร์แอปฯ ทางด้านไฟแนนซ์”

เป้าหมายภายในของทรูมันนี่ ก็คือการทำ IPO รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะผันตัวเป็น เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank) ซึ่งทรูมันนี่มองว่าแพลตฟอร์มีหลายคุณสมบัติที่จะทำเวอร์ชวล แบงก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการต่าง ๆ ที่คล้ายกับธนาคาร รวมถึงฐานลูกค้าที่แข็งแรง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงต้องเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแรงมากพอที่จะทำ IPO และการเป็นเวอร์ชวล แบงก์ในอนาคต

เป้าใหญ่ดึงคนไทยครึ่งประเทศเป็นแอคทีฟยูสเซอร์

ปัจจุบัน รายได้จากกลุ่มเพย์เมนต์ถือเป็นสัดส่วนหลัก ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อาทิ การกู้ยืม, การลงทุน อยู่ในจุดที่สามารถทำกำไรให้กับบริษัทได้แล้ว นอกจากนี้ อัตราหนี้เสียก็ยังน้อยมาก โดยมองว่า ภายใน 2 ปี กำไรจากบริการทางการเงินจะมีสัดส่วนถึง 50% จากปัจจุบันคิดเป็น 10% นอกจากนี้ 50% ของประชากรไทยต้องเป็นแอคทีฟยูสเซอร์ที่ใช้งานทรูมันนี่วอลเล็ททุกเดือน และ 20% ต้องใช้บริการทางการเงินของแพลตฟอร์ม

“แน่นอนว่าเราอยากเป็นเวอร์ชวล แบงก์ แต่ตอนนี้กฎยังไม่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์กำหนดมันไม่ยากเกินไป เราก็มีโอกาส ซึ่งถ้าเราได้ทำเวอร์ชวล แบงก์ ในแง่ประโยชน์ของลูกค้าปลายทางก็จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และเราก็สามารถขยายความเสี่ยงในการปล่อยกู้ไปยังกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เซกเมนต์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น”

]]>
1431798
เจาะกลยุทธ์ ‘บัตร Rabbit’ ในวันที่นักท่องเที่ยวหายและถูกท้าทายจาก ‘อีวอลเล็ต’ https://positioningmag.com/1312294 Mon, 28 Dec 2020 08:41:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312294 ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีการออกบัตร ‘แรบบิท (Rabbit)’ มากกว่า 14 ล้านใบ เพื่อใช้เป็นตั๋วรถไฟฟ้าและบัตรเติมเงินสำหรับซื้ออาหารเครื่องดื่มและบริการซึ่งมีกว่า 550 แบรนด์ที่รองรับการใช้งานผ่านบัตรแรบบิท และโดยปกติจะมีการออกบัตรแรบบิทใหม่ประมาณ 2 ล้านใบ/ปี แต่เมื่อมีการระบาดของ COVID-19 ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 1.5 ล้านใบ ซึ่งการจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิมอีกครั้ง ถือเป็นอีกโจทย์ของ รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

เดินหน้าเพิ่มพันธมิตร

รัชนี ระบุว่า เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและจำนวนผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนน้อยลงในช่วงล็อกดาวน์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การออกบัตรแรบบิทลดลง แต่ยังมีความหวังว่าในปี 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะ ‘กลับมา’ หลังจากที่ทั่วโลกได้รับความหวังจากการมี ‘วัคซีน’

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรด้วยการนำบัตรแรบบิทไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อาทิ ร่วมกับองค์กรและสถานศึกษาในการทำ ‘บัตรพนักงาน’ และ ‘บัตรนักเรียน’ รวมถึงร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ‘แสนสิริ’ ในการจัดหาคีย์การ์ดแรบบิทเพื่อเข้าคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ยังออก ‘บัตรเมมเบอร์’ ให้แบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย

ล่าสุด ได้ออก ‘บัตรเครดิต อิออน แรบบิท แพลทินัม’ (AEON Rabbit Platinum Card) ซึ่งเข้ามามีส่วนใน eco-system ของบัตรแรบบิทให้เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกการแตะบัตรใบนี้เพื่อชำระค่าบริการไม่ต้องกังวลว่ามีเงินอยู่ในบัตรพอเพียงหรือไม่ เพราะเมื่อเงินในฟังก์ชันแรบบิทที่อยู่ในบัตรใบนี้ไม่พอจ่ายค่าสินค้า/บริการ เงินจากวงเงินบัตรเครดิตก็จะเติมเข้า กระเป๋าบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติ และยังได้รับเครดิตเงิน 5%

เพิ่มบริการ ขนส่งมวลชน

บริษัทต้องการให้บัตรแรบบิทครอบคลุมการขนส่งประเภทต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า เนื่องจากจะทำให้มีผู้ถือบัตรมากขึ้นและมีร้านค้ามากขึ้นที่เสนอตัวเลือกการชำระเงินด้วยแรบบิท โดยในระหว่างที่รอการเชื่อมต่อ Rabbit กับตั๋วรถไฟฟ้า MRT บริษัทกำลังขยายบริการให้ครอบคลุมเส้นทางรถเมล์บางส่วนตามสถานที่ท่องเที่ยวและเรือสาธารณะ อาทิ การเดินทางบนคลองภาษีเจริญและแม่น้ำเจ้าพระยา

“เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายของเราให้มากที่สุด อย่างการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากวัดพระศรีมหาธาตุไปยังคูคต และรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีกับคลองสานน่าจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มจำนวนการใช้บัตร”

ในส่วนของร้านค้าปลีกต่าง ๆ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจุดรับชำระให้ได้ 40% โดยจะเน้นไปที่ร้านรายย่อย

“เรามั่นใจว่าจะสามารถหลับมาเติบโตได้เหมือนกับก่อนที่มี COVID-19 โดยในปีหน้าเราตั้งว่ายอดออกบัตรใหม่จะเติบโตได้ 15-20%

เพิ่มแอปฯ เพิ่มความสะดวก

ภายในไตรมาสที่สองของปี 2564 บริษัทมีแผนจะเปิดตัวแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถ ‘ตรวจสอบยอดคงเหลือ’ ‘ประวัติการใช้งาน’ และเติมเงินมูลค่าบัตรได้ในไม่กี่วินาที และในอนาคตพวกเขาจะสามารถใช้ ‘มือถือแตะทำธุรกรรม’ ต่าง ๆ ได้ด้วย โดยผู้ถือบัตรจะต้องเชื่อมโยงแอปพลิเคชันกับบริการธนาคารบนมือถือ และต้องใช้โทรศัพท์ที่มี NFC

“ทุกสิ่งที่เราทำไม่ใช่แค่เพิ่มยอดออกบัตรใหม่ แต่ต้องใช้บัตรในกิจวัตรประจำวันนอกจากแค่ใช้เดินทาง BTS ซึ่งปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านบัตร 700,000-800,000 รายการ/วัน แต่การใช้นอกเหนือจากโดยสาร BTS หรือการใช้จ่ายซื้อของยังมีสัดส่วนเพียง 5-10%”

โปรโมชัน ยังจำเป็น

ส่วนบัตรลายลิมิเต็ดต่าง ๆ ช่วยให้บริษัทได้รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร และจากนี้จะมีสิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น ได้ส่วนลดเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่ใช่แค่ขายลายแต่ยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย อาทิ ลาย ‘กันดั้ม’ ที่เพิ่งออกไปก็จะมีสิทธิพิเศษเพิ่มไปด้วย ดังนั้น สิทธิพิเศษหรือโปรโมชันต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็น ช่วยให้รู้สึกว่าดีกว่า ‘ใช้เงินสด’ ดังนั้น การแข่งขันของบัตรแรบบิทกับ ‘อีวอลเล็ต’ ต่าง ๆ ยังอยู่ที่โปรโมชันเป็นหลัก ส่งผลให้ทรานแซคชั่นของร้านค้าต่าง ๆ จะขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วแต่ใครมี ‘โปรโมชัน’ ดังนั้น ‘Loyalty’ ไม่มีแล้ว

“โปรโมชันยังสำคัญในการดึงลูกค้ามาใช้ แต่ความชินเป็นอีกสิ่งที่คนใช้ไม่รู้ตัว การชำระเงินผ่านแอปฯ อาจจะง่าย แต่การหยิบบัตรมาแตะก็ง่าย และเราไม่ได้มีโปรหวือหวาให้ว้าว แต่มีตลอดเพื่อให้อยู่ในใจลูกค้า”

ผู้อยู่รอดต้องมี อีโคซิสเต็มส์ ที่แข็งแรงพอ

ตอนนี้การแข่งขันเป็นสิ่งที่ท้าทายของแรบบิทที่สุด เพราะตอนนี้กำลังแข่งขันกับ ‘ออนไลน์’ แต่ไม่ได้มีใครมองว่าความจริงเป็นยังไง โดยแรบบิทยังมองว่า ‘ออฟไลน์’ ยังแข็งแกร่ง และออนไลน์แรบบิทก็มี Rabbit Line Pay นอกจากนี้ จุดแข็งของบัตรแรบบิทคือ ‘BTS’ ตราบใดที่คนยังต้องเดินทางด้วย BTS บัตรแรบบิทยังจำเป็น ดังนั้น คนที่จะอยู่รอดหรืออีวอลเล็ตที่จะอยู่รอดต้องมีอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแรง

“เรายังมีความจำเป็นต้องเป็นออฟไลน์เพราะเรื่องการเดินทาง แต่ก็พร้อมจะอัพเกรดเป็นออนไลน์ 100% ได้ทันที ดังนั้นเราเท่าเทียมกับอีวอลเล็ต แต่มีมากกว่าก็คือทรานซิท”

สุดท้าย แม้ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่โลกดิจิทัลและโลกเสมือนจริง แต่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ โลกออฟไลน์ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้น การจะเป็นสังคมไร้เงินสดเหมือนจีนยังไม่ง่าย เพราะการใช้จ่ายของไทยกระจุกอยู่ในสังคมเมืองมากกว่า แถมคนไทยถูกกปลูกฝังว่าเรื่องเงินเป็นของธนาคาร ดังนั้นมันยังมีปัญหาตรงส่วนนี้อยู่ ดังนั้นอีก 10 ปีอาจเป็นไปได้

]]>
1312294