อเด็คโก้ ประเทศไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Jan 2021 00:19:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดผลสำรวจเด็กไทย “หมอ” ยังเป็นอาชีพในฝัน มี “BLACKPINK” เป็นไอดอล https://positioningmag.com/1313134 Wed, 06 Jan 2021 16:05:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313134 กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Adecco Children Survey ประจำปี 2564 สำรวจความคิดเห็นเด็กไทยอายุ 7-14 ปี จำนวน 2,024 คน จากทั่วประเทศ พบเด็กไทยเลือก “หมอ” เป็นอาชีพในฝันอันดับ 1 ด้าน BLACKPINK ยืนหนึ่งไอดอลขวัญใจเด็กไทย 

“หมอ” ครองแชมป์อาชีพในฝัน

ผลสำรวจอาชีพในฝันปีนี้พบว่า อาชีพที่เด็กไทยอยากเป็นมากที่สุดคือ หมอ เพราะอยากรักษาคนและช่วยเหลือผู้อื่น รองลงมาคือ ครู สำหรับอาชีพมาแรงในปีนี้ ได้แก่ YouTuber และดารา นักร้อง ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับ

โดยเด็กๆ ให้เหตุผลว่าเป็นอาชีพที่ได้มอบความบันเทิง และความสุขให้ผู้อื่น สำหรับดารา-นักร้อง นั้นเป็นอาชีพที่ไม่เคยติด Top 5 มาก่อน คาดว่าเป็นเพราะปัจจุบันมีการทำคลิปคอนเทนต์โปรโมต ดารา นักร้อง อยู่ใน YouTube มากขึ้นซึ่งเป็นสื่อหลักที่เด็กเปิดรับมากที่สุด จึงทำให้คะแนนเพิ่มขึ้นมาในปีนี้ ส่วนอันดับที่ 5 ได้แก่ ตำรวจ

BLACKPINK คว้าอันดับ 1 ไอดอลขวัญใจ

สำหรับผลโหวตไอดอลในดวงใจของเด็กไทยปีนี้พบว่า BLACKPINK ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด โดย BLACKPINK เป็นที่ชื่นชอบของเด็กไทย จากความสามารถที่โดดเด่นทั้งด้านการร้อง และการเต้น รวมถึงหน้าตาที่สวยน่ารัก

โดยสมาชิกที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดในวงคือ ลิซ่า หรือ ลลิษา มโนบาล สมาชิกคนไทยเพียงหนึ่งเดียวในวงที่นอกจากจะเต้น และแร็ปเก่งแล้วยังได้รับคำชมด้านความอดทน ความพยายาม และความกตัญญูอีกด้วย

ส่วน เก๋ไก๋ สไลเดอร์ YouTuber ที่มียอดผู้ติดตามสูงสุดในประเทศไทยและเป็นแชมป์เก่าในปีที่แล้ว ปีนี้อยู่ในอันดับที่ 2 อันดับที่ 3 ได้แก่ BTS วงบอยแบนด์เกาหลีที่เพิ่งพาเพลงครองแชมป์ Billboard ได้สำเร็จ

โดยเด็กๆ ระบุว่าวง BTS เป็นแรงบันดาลใจทำให้มีกำลังใจในการเรียนมากขึ้น อันดับที่ 4 ได้แก่ แป้ง ZbingZ นักแคสเกมและ YouTuber ชื่อดังที่ติดโพลล์มา 4 ปีซ้อน และอันดับ 5 ได้แก่ เนม MNJTV นักแคสเกม Free Fire ที่มาแรงติดโพลล์เป็นครั้งแรก

YouTube ครองแชมป์สื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็ก

ผลสำรวจ Adecco Children Survey ประจำปี 2564 พบว่าเด็กไทยชอบเทคโนโลยี โดยเมื่อต้องหาความรู้นอกตำราก็มักจะค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตผ่านการเสิร์ช Google และดู YouTube ในยามว่างก็จะใช้เทคโนโลยีในการเล่นเกม ดู YouTube เล่นโซเชียลมีเดีย

โดยสื่อโซเชียลที่เข้าถึงเด็กไทยอายุ 7-14 ปีมากที่สุด ได้แก่ YouTube 94%, Facebook 80%, LINE 74%, TikTok 73%, Instagram 50% และ Twitter 26% ซึ่ง YouTube เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งทุกปีที่มีการสำรวจ ขณะที่ TikTok ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มมาแรงที่เด็กๆ ชื่นชอบ โดยได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้เมื่อถามถึงการเรียนออนไลน์ช่วง COVID-19 ระบาด พบว่าเด็กไทย 96% ได้เรียนออนไลน์ ขณะที่อีก 4% ไม่ได้เรียนออนไลน์เพราะขาดอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต โดย 52% ระบุว่าพวกเขาชอบเรียนออนไลน์ เพราะไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องตื่นเช้า สามารถเรียนจากที่ไหนก็ได้ เมื่อไม่เข้าใจตรงไหนก็วนกลับมาดูซ้ำได้ และยังช่วยให้ปลอดภัยจากโรคระบาด ขณะที่อีก 46% ระบุว่าไม่ชอบเรียนออนไลน์เพราะรู้สึกว่าเรียนไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจก็ไม่สามารถถามได้ ไม่มีกิจกรรม ไม่ได้เจอเพื่อน จึงทำให้รู้สึกเบื่อ และบางคนยังประสบปัญหาจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียรอีกด้วย

ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า

“แต่ก่อนการศึกษาไทยเน้นผลิตเด็กแบบป้อนความรู้และผลิตคนสู่การเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม แต่ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิทัลที่พลเมืองทั้งโลกมีความเชื่อมต่อกัน ขณะที่การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่า ดังนั้นวันนี้ถ้าพูดถึงการศึกษาเราต้องมองให้ไกลกว่าเดิม เด็กไทยวันนี้ต้องมีทักษะแบบที่โลกต้องการจึงจะสามารถอยู่รอดในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง ทักษะทางด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทักษะดิจิทัล รวมถึงทักษะทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสื่อสารหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น จะเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งกว่าที่เคย ขณะเดียวกันการเรียนการสอนก็ต้องเน้นให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ไม่ใช่เรียนแบบท่องจำอีกต่อไป เพราะความรู้ทุกวันนี้ล้าสมัยเร็วมาก เราจึงต้องปลูกฝังเด็กไทยให้มีความใฝ่รู้ สามารถค้นคว้าและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง”

]]>
1313134
จับทิศทางแรงงาน : เอกชนชะลอรับพนักงาน ลูกจ้างไม่กล้าเปลี่ยนงาน 80% หนุน WFH https://positioningmag.com/1291738 Sun, 09 Aug 2020 16:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291738 กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Resetting Normal: Defining the New Era of Work พบว่าบริษัทเอกชนในไทยชะลอรับพนักงานใหม่ ลูกจ้างงานประจำก็ยังไม่กล้าเปลี่ยนงาน และ 80% หนุนการทำงานที่บ้าน

เอกชนรัดเข็มขัด

ผลสำรวจนี้ ได้ทำการสำรวจกับกลุ่มคนทำงานในประเทศไทยจำนวน 670 คน โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานประจำ และมีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป และกว่าครึ่งเป็นพนักงานในระดับหัวหน้างาน/ผู้จัดการ ถึงผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของ COVID-19 และมุมมองต่ออนาคตการทำงาน

ผลการสำรวจพบว่า ภาคเอกชนต่างมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อรัดเข็มขัดในช่วง COVID-19 ตั้งแต่

  • 57% การชะลอรับพนักงานใหม่
  • 26% ชะลอขึ้นเงินเดือน/เลื่อนขั้น
  • 18% ลดเงินเดือน
  • 17% ลดกำลังการผลิต
  • 17% ให้พนักงานใช้วันลา
  • 16% เลิกจ้างพนักงาน
  • 14% พักงานพนักงานชั่วคราว
  • 11% ลดการจ้าง supplier
  • 57% ปรับตารางงาน ลดเวลาทำงานที่ออฟฟิศ ผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 

พนักงานหนุน Work from Home

สำหรับมุมมองของพนักงานที่มีต่อนโยบาย Work from Home พนักงานส่วนใหญ่กว่า 80% หวังให้มีการสานต่อนโยบายนี้ โดยผสมผสานการทำงานจากที่บ้านในบางวัน เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 และสร้างสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว

โดยพนักงานราว 54% ยังเชื่อว่าการมาทำงานที่ออฟฟิศยังจำเป็นอยู่ เพราะจะช่วยให้การประสานงานระหว่างทีมดีขึ้น ในภาพรวมพนักงานส่วนใหญ่ยังคาดหวังให้องค์กรมองที่ผลงานมากกว่าให้ความสำคัญเรื่องชั่วโมงการทำงาน และอยากให้ยืดหยุ่นเรื่องการทำงานมากขึ้น

ทำงานอยู่บ้าน

โดยพนักงานส่วนใหญ่กว่า 51% เชื่อว่าการทำงานจากที่บ้านได้ประสิทธิผลไม่ต่างจากการมาทำงานที่ออฟฟิศ ขณะที่ 37% เชื่อว่าพวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นกว่าตอนทำงานที่ออฟฟิศ มีเพียง 12% ที่คิดว่าคุณภาพการทำงานของพวกเขาลดลงเมื่อทำงานจากที่บ้าน

ต้องการให้องค์กร และรัฐช่วยเหลือ

ด้านผลกระทบจาก COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับพนักงาน พนักงานส่วนใหญ่คิดว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรและรัฐบาลที่ต้องยื่นมือช่วยเหลือพนักงานให้ก้าวข้ามวิกฤตนี้ ขณะเดียวกันก็มองว่าตนต้องพึ่งพาตัวเองด้วย

สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากองค์กร ได้แก่

  • 84% การสนับสนุนการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานจากบ้าน
  • 78% ต้องการความชัดเจนในการรับมือกับวิกฤต
  • 78% การลงทุนด้านเทคโนโลยีและปรับตัวสู่ดิจิทัล
  • 76% การสนับสนุนอุปกรณ์ 
  • 75% ระบบ IT ให้รองรับการทำงานจากที่บ้าน
(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากหัวหน้ามากที่สุดในช่วงเวลานี้ ได้แก่

  • 58% การช่วยหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • 55% การให้ความไว้วางใจในการทำงาน
  • 52% การมีความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี 
  • 51% การสนับสนุนการทำงานที่ยืดหยุ่นให้กับพนักงาน

สำหรับมุมมองที่มีต่อสถานการณ์หลัง COVID-19 พนักงานกว่า 56% เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น และมองว่างานเทคโนโลยีน่าจะมีอนาคตที่สุด แต่แม้ว่าส่วนใหญ่จะมองโลกในแง่ดี พนักงานกว่า 65% ก็ยังไม่มีแผนเปลี่ยนงานในอีก 1 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังไม่กล้าเสี่ยงย้ายงานใหม่ในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน

Lean-Digital-Work from Anywhere

ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า

เมื่อเทียบผลสำรวจของไทยกับในอีกหลายประเทศที่ Adecco ได้ทำการศึกษา ภาพรวมพบว่าผลที่ออกมาค่อนข้างสอดคล้องกับหลายประเทศ ที่องค์กรมีการปรับตัวให้ lean มากขึ้น ดิจิทัลมากขึ้น ในขณะที่รูปแบบการทำงานก็มีผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็น New Normal หรือ ความปกติใหม่ที่องค์กรจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่จะต้องปรับกลยุทธ์การสรรหาใหม่ เพราะโจทย์ทุกวันนี้ได้เปลี่ยนไป เราอาจจะต้องการคนที่มีชุดทักษะที่ต่างจากเดิม ไม่สามารถจ้างพนักงานประจำได้มากเท่าที่เคย อาจจะต้องมีการผสมผสานการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์มากขึ้น การสรรหาก็จำเป็นที่จะต้องมีความคล่องตัวและปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่ง Adecco ก็ได้ออกแบบหลักสูตรเพื่อช่วย HR เตรียมพร้อมในจุดนี้

ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยต้องการการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น องค์กรอาจจำเป็นต้องฟังเสียงสะท้อนเหล่านี้และนำมาปรับใช้เพื่อรักษาบุคลากรและดึงดูดผู้สมัครหน้าใหม่ ปัจจุบันนี้ Work from Home ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผู้สมัครใช้คัดเลือกองค์กร เพราะคนสมัยนี้มองว่าการทำงานสามารถทำจากที่ไหนก็ได้ และให้ความสำคัญกับสมดุลการใช้ชีวิตในลำดับต้นๆ

 

ที่สำคัญยังมีแรงงานเก่งๆ อีกมากที่ลาออกจากงานประจำเพราะความจำเป็นส่วนตัวแต่ยังพร้อมที่จะกลับมาทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์ ดังนั้นการที่องค์กรนำนโยบายนี้มาปรับใช้ก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อีกด้านหนึ่งนโยบายนี้ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการรักษาบุคลากร เพราะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรห่วงใยสุขภาพและความปลอดภัยของพวกเขา

นอกจากนี้การคงมาตรการ Work from Home ยังมีประโยชน์ในระยะยาวต่อการลดความเสี่ยงการระบาดของโรค และช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การผสมผสานการทำงานจากที่บ้านก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่งที่หลายองค์กรต้องเผชิญ เพราะการทำงานนอกออฟฟิศนั้นองค์กรมักจะมีความกังวลใจในแง่ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน และมักให้หัวหน้าฝ่ายใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลในการตัดสินว่าพนักงานคนไหนสามารถหรือไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ โดยขาดเกณฑ์การประเมินและมาตรการที่ชัดเจน ในขณะที่พนักงานเองก็เรียกร้องความไว้วางใจในการทำงานจากหัวหน้า ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะการผสมผสานการทำงานแบบ Work from Home ก็ยังเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับหลายๆ องค์กร

]]>
1291738