เคทีซี พี่เบิ้ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 29 Jan 2023 12:52:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KTC จัดทัพองค์กร รับ CEO ใหม่ปี 67 พร้อมเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 3 ปี! https://positioningmag.com/1416828 Sun, 29 Jan 2023 06:59:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416828 KTC หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมจัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ กรุยทางเพื่อต้อนรับ CEO คนใหม่ในปี 2567 เตรียมบุคลากรให้มากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป พร้อมกับเป้าหมายกำไรหมื่นล้านภายใน 3 ปี โดยมี 3 หัวหอก บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล และเคทีซี พี่เบิ้ม

ปีแห่งการจัดทัพใหญ่

KTC เตรียมปรับใหญ่ปี 2566 สู่รากฐานองค์กรที่แข็งแกร่ง “A Transition to the New Foundation” พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าทันความคาดหวังของลูกค้า ตอกย้ำความเป็น Trusted Organization ตั้งเป้าปี 2566 ทำกำไรนิวไฮต่อเนื่องดันพอร์ตสินเชื่อรวมเติบโต 15% เกินแสนล้านบาท ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% พอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” โต 7% ยอดอนุมัติสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพิ่ม 9,100 ล้านบาท สินเชื่อกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่งเพิ่ม 3,000 ล้านบาท และ NPL อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าปี 2022 พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอย่างรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ดีขึ้นทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“ในปี 2566 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเคทีซีทั้งโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อขับเคลื่อนเคทีซีไปสู่รากฐานองค์กรที่แข็งแกร่ง ภายใต้แนวคิด “A Transition to the New Foundation” โดยเฉพาะการพัฒนา Mindset ของคนในองค์กรให้มีดีเอ็นเอเดียวกัน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่เราพยายามดูแลและพัฒนามาตลอดตั้งแต่เข้ามาร่วมงานกับเคทีซี โดยนอกจาก 3 ค่านิยมองค์กรหลัก (Core Value) ที่คนเคทีซียึดถือเป็นแนวทางในการทำงานอันได้แก่ 1.กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2.ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน และ 3.ทำสิ่งที่มีความหมาย และเป็นประโยชน์ จากนี้เราจะมุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้วางใจ (Trusted Organization) ภายในองค์กรให้แกร่งยิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อความไว้วางใจนี้ไปสู่สมาชิก องค์กร ผู้ถือหุ้นและสังคม”

ในปี 2566 เคทีซีจะเริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมองค์กรให้เป็นโครงสร้างแบบแนวราบ (FlatOrganization) และมีหน่วยงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะบูรณาการไอที (Information Technology) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 3 มิติ คือ

  • Enterprise Architecture การจัดการโครงสร้างให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านธุรกิจ ด้านไอที และระบบปฏิบัติการ
  • Enterprise Skill Assets ส่งเสริมให้คนเคทีซีได้พัฒนาทักษะสำคัญด้านต่างๆ ที่สร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเป็นประโยชน์กับองค์กร
  • Enterprise Data Assets การบริหารจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล เน้นความปลอดภัย ถูกต้องและโปร่งใส เพื่อให้เคทีซีมีฐานข้อมูลคุณภาพ สนับสนุนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับการดำเนินธุรกิจของเคทีซีจากนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มธุรกิจหลัก (Existing) ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกันที่มีพอร์ตสินเชื่อในระดับหมื่นล้านบาทขึ้นไป กลุ่มธุรกิจใหม่ที่คาดว่าจะสร้างรายได้แบบก้าวกระโดด (New SCurve) ได้แก่ สินเชื่อรถแลกเงิน เคทีซี พี่เบิ้ม และสินเชื่อกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง และกลุ่มโมเดลธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการบ่มเพาะ (Incubator) เช่น MAAI – Loyalty Platform เป็นต้น

บัตรเครดิต 

ธุรกิจบัตรเครดิตยังเป็นธุรกิจหลักที่เคทีซีให้ความสำคัญมาตลอด โดยสถานการณ์ตอนนี้เกือบทุกหมวดใช้จ่ายมีการเติบโตสูงกว่าปี 2019 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดรุนแรงของโควิด-19 สำหรับแผนกลยุทธ์การตลาดบัตรเครดิตในปี 2566 จะเน้นแนวคิด Less is MORE หรือการทำสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยปรับกระบวนการทำงานในทีมการตลาดให้กระชับคล่องตัวมากขึ้นบน 5 แกนสำคัญ คือ

1) การบริหารพอร์ตลูกค้าให้มีคุณภาพมากที่สุด ด้วยการสร้างสรรค์โปรแกรมการตลาดเพื่อให้ลูกค้าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง และการนำระบบออโตเมชั่น (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการของการบริหารความสัมพันธ์กับสมาชิกบัตร

2) การเน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000-200,000 บาทขึ้นไป ด้วยสิทธิพิเศษด้านไลฟ์สไตล์ที่ตรงใจ

3) จัดโปรแกรมกระตุ้นการใช้จ่ายที่ตอบโจทย์ฐานสมาชิกบัตรเคทีซี เน้น 3 หมวดใช้จ่ายหลัก คือ หมวดร้านอาหารและร้านอาหารในโรงแรม (Dining& Hotel Dining) หมวดช้อปปิ้งออนไลน์ และหมวดท่องเที่ยว นอกจากนี้เคทีซียังคงเดินหน้าความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน ในการทำกิจกรรมการตลาดที่ตอบโจทย์ทุกหมวดใช้จ่ายสำคัญของสมาชิก และเพื่อสร้างการจดจำและผูกพันกับแบรนด์

4) ร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในการจัดแคมเปญการตลาด และกิจกรรมการขยายฐานสมาชิกบัตรในต่างจังหวัด

5) บริหารจัดการการสื่อสารการตลาด (Marketing Communications) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์เคทีซีให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

โดยในปี 2566 ตั้งเป้ามีสมาชิกสมัครบัตรใหม่ 180,000 ใบ และคาดว่าจะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโต 10% จากปี 2565 หรือประมาณ 264,000 ล้านบาท

สินเชื่อส่วนบุคคล

ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้สินเชื่อได้ครบทุกฟังก์ชัน จนวันนี้บัตรใบเดียวก็สามารถทำได้ทั้งการเบิกใช้วงเงิน รูด โอน กด ผ่อน และแผนกลยุทธ์ในปี 2566 จะพัฒนาไปในทางออนไลน์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับพฤติกรรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

เริ่มที่การเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านโมบายแอปฯ ในรูปแบบของใบสมัครออนไลน์ (Electronic Application) และช่องทางการเบิกถอนเงินสดออนไลน์ผ่านทางแอปฯ KTC Mobile ให้สะดวกขึ้นโดยเพิ่มบัญชีพร้อมเพย์ในการโอนเงิน นอกเหนือจากที่โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 15 แห่ง และเพิ่มช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการใช้สินเชื่อด้วยต้นทุนรับสมัครที่ต่ำแต่ได้ผลดี

รวมทั้งเดินหน้าสร้างความผูกพันระหว่างเคทีซีกับกลุ่มสมาชิก ด้วยการต่อยอดกิจกรรมสัมมนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และการส่งเสริมวินัยในการชำระ ผ่านโครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยงซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า เพราะเป็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า จากการศึกษาลูกค้าผ่านการทำ Empathy เราจึงจัดต่อเนื่องและจะครบ 14 ครั้ง ในปี 2566 และคาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 พอร์ตลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะเติบโต 7% และมีสมาชิกใหม่เคทีซี พราว 110,000 ราย

เคทีซี พี่เบิ้ม 

สำหรับแผนกลยุทธ์ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ในปี 2566 จะเน้นขยายพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ ทั้งการให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที และเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่มีข้อจำกัดด้านเอกสารและรายได้ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น โดยธนาคารกรุงไทยกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ จะเป็นช่องทางหลักในการรับสมัคร ซึ่งได้ปรับรูปแบบบริการให้เจ้าหน้าที่ธนาคารฯ สามารถทำรายการผ่านแท็บเล็ตในการรับสมัครสินเชื่อให้กับลูกค้า และอนุมัติแบบครบวงจรภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที

รวมทั้งจะเน้นการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ไปยังแพลตฟอร์มหลักต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด  สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเคทีซี พี่เบิ้ม ตามที่เราวางบทบาทเป็นสินเชื่อทางเลือกคนไม่ท้อ เราจึงเปิดรับทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะคนทำมาหากินที่สู้ชีวิต และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อก้อนใหญ่จากสถาบันการเงินอื่น โดยคาดว่าสิ้นปี 2566 จะมียอดอนุมัติสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพิ่ม 9,100 ล้านบาท

เคทีซีจะมุ่งบริหารต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโดยจะมีการระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี 2566 จำนวน 4,640 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเคทีซี ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2566 เคทีซีจะมีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) 20:80 และต้นทุนการเงินอาจเพิ่มขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ 2.5%-3.0%

]]>
1416828
KTC กรุยเส้นทางใหม่ ปั้น MAAI By KTC รุกตลาด “ลอยัลตี้ แพลตฟอร์ม” ครบวงจร https://positioningmag.com/1370794 Tue, 18 Jan 2022 13:53:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370794 เมื่อไวรัส COVID-19 อยู่กับเราเข้าสู่ปีที่ 3 ภาคธุรกิจมีการปรับตัว พลิกมุมคิดกันหลายตลบ เพื่อความอยู่รอด และรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ดูจะมีความท้าทายรอบด้าน แต่ก็ยังมีการเติบโตท่ามกลางวิกฤต ทำให้ KTC มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ชู 2 โปรดักต์ฮีโร่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และ “MAAI By KTC” หวังสร้างกำไรที่ยั่งยืน

เดินหน้าสร้างนิวไฮระลอกใหม่!

ในปี 2564 ที่ประเทศไทย และทั่วโลกต้องเจอกับความผันผวน ความไม่แน่นอนต่างๆ รอบตัว แต่ KTC ยังคงสร้างกำไรแบบนิวไฮได้ แต่ก็ต้องบอกว่ายังต้องเจอกับความท้าทายรอบด้าน พร้อมกับมาตรการด้านดอกเบี้ยจากทางภาครัฐ ทำให้ธุรกิจสินเชื่อ และบัตรเครดิตไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร

ทำให้ KTC ต้องสร้างเส้นทางใหม่เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น หวังดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท พร้อมกับสร้างกำไรนิวไฮอีกระลอก โดยพระเอกและนางเอกในปีนี้อยู่ที่ 2 โปรดักต์ ได้แก่ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ และ “MAAI By KTC” ให้บริการด้านลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร

ktc

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“หลังจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีการเปิดประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้เศรษฐกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีกับตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจเคทีซีให้เติบโต และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6,000 ล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท ด้วยสองโมเดลธุรกิจใหม่ที่เราตั้งใจสร้างขึ้นกับการออกเดินทางครั้งใหม่ เพื่อส่งความสุขเป็นของรับขวัญสมาชิกหลังผ่านความทุกข์จากวิกฤต รวมทั้งการเดินหน้าธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อขยายฐานสมาชิกกลุ่มใหม่และดูแลคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ตลอดจนคัดสรรสิทธิประโยชน์ที่ทรงคุณค่าตอบสนองทุกความต้องการของสมาชิกกว่า 3.3 ล้านบัญชี”

รู้จัก MAAI BY KTC ยูนิตที่คิดแบบสตาร์ทอัพ

ในปีนี้ KTC ได้ฤกษ์คลอดลูกสาวคนใหม่ได้แตกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจภายใต้บัตรเครดิต ก็คือ MAAI BY KTC เป็นบริการลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เรียกว่าไม่ได้เป็นการหาลูกค้าในกลุ่มสินเชื่ออีกต่อไป แต่เป็นการหาลูกค้ากลุ่มองค์กร ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพาร์ตเนอร์ของ KTC อยู่หรือไม่ ก็สามารถใช้บริการได้

ระเฑียรเล่าว่า การเปิดยูนิต MAAI BY KTC เหมือนเป็นการคิด การทำงานแบบ “สตาร์ทอัพ” เป็นครั้งแรก เพราะแต่เดิม KTC จะเป็นองค์กรที่ค่อนข้างจะ Conservative (อนุรักษนิยม) ไม่ค่อยลงทุนในสตาร์ทอัพ เพราะรู้สึกไม่คุ้มกับการเอาเงินไปเผา ถ้าในภาษาธุรกิจ เรียกง่ายๆ ว่า ในการจะออกโปรดักต์แต่ละครั้งต้องมีการวางแผน การคิดที่ถี่ถ้วน กว่าจะลงทุนในแต่ละครั้ง

ktc

แต่ MAAI BY KTC เป็นการคิดแบบสตาร์ทอัพ มีทีมแบบสตาร์ทอัพ ที่ปล่อยให้ทดลองตลาด ดูผลตอบรับ และขยายผลในอนาคต เพื่อเชื่อมต่อเป็นอีโคซิสเท็มของ KTC

ทางด้าน ประณยา นิถานานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – การตลาดบัตรเครดิต ผู้ดูแลโปรเจกต์ MAAI BY KTC เริ่มเล่าว่า

“เริ่มคิดโปรเจกต์นี้ได้ประมาณ 1 ปี คุณระเฑียรให้ไอเดียว่าลองคิดว่าจะ Diversify ธุรกิจอะไรได้บ้าง ลอยัลตี้มันมีโอกาสยังสามารถต่อยอดได้ เราเลยต่อยอดจากจุดแข็งที่เราทำคะแนนสะสม KTC FOREVER มา 25 ปี เราแข็งแกร่งในการทำระบบตรงนี้ จึงนำเสนอเป็นอีโคซิสเท็ม การบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูล ระบบคะแนนสะสม การโอน แลกคะแนน ตั้งเป้าว่าปีนี้จะต้องมี 10 พันธมิตร และมีสมาชิก 1 ล้านราย”

MAAI BY KTC เป็นลอยัลตี้ แพลตฟอร์มแบบครบวงจร เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้บริการกับพันธมิตรมีโซลูชันส์ที่สำคัญ คือ

  1. ระบบบริหารจัดการสมาชิก (Membership Management)
  2. ระบบบริหารจัดการคะแนน (Point System Management) ไม่ว่าเป็นคะแนนของพันธมิตรเอง หรือจะใช้คะแนน MAAIPOINT ในการทำ Loyalty Program ก็ทำได้เช่นกัน โดยคะแนน MAAIPOINT นี้ สามารถใช้เป็นคะแนนกลางในการแลกเปลี่ยนกับคะแนนอื่นๆ ในกลุ่มพันธมิตรบน MAAI Platform ได้ด้วย
  3. ระบบบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในรูปแบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Coupon Management) เพื่อให้การแลกคะแนนมีความหลากหลาย ตรงใจกลุ่มลูกค้าสมาชิก ไม่ว่าจะแลกเป็นอีคูปอง (E-Coupon) หรือแลกสินค้าได้ที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วไป ครอบคลุมทุกหมวดการใช้จ่าย อาทิ ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารและบริการเดลิเวอรี่

ktc

ที่มาของคำว่า MAAI (มาย) มาจากคำว่า MAK MAAI (มากมาย) หมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากมาย กับร้านค้าพันธมิตรที่มากมาย และความสะดวกในการใช้ที่มากมาย อีกทั้งยังพ้องเสียงกับคำว่า Mine ที่ต้องการสื่อถึงสิทธิประโยชน์ที่เป็นของผู้ใช้ และเพื่อผู้ใช้

ถ้าถามว่ามีความแตกต่างจาก KTC FOREVER อย่างไร KTC FOREVER เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของ KTC อย่างเดียวเท่านั้น แต่ MAAI เป็นธุรกิจ B2B กลุ่มเป้าหมายแรกคือ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ

เริ่มเปิดทดลองระบบในเดือนมกราคม 2565 จะเปิดให้พนักงาน KTC ได้ทดลองใช้ในช่วงเริ่มต้นกับ 16 ร้านค้าและจะขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้เริ่มใส่คะแนนในระบบ 300 ล้านคะแนน

“เคทีซี พี่เบิ้ม” กับเป้าหมายเบิ้มๆ

KTC ได้ปั้นเคทีซี พี่เบิ้มมาระยะหนึ่งแล้ว เป็นธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตสูง ที่ผ่านมา KTC ได้เร่งขยายฐานสมาชิกต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้พอร์ตโตแบบก้าวกระโดด และพร้อมตั้งเป้าสินเชื่อที่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565

กลยุทธ์สำคัญเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่แบบเชิงรุก ผ่านบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ โดยใช้ทีมขายของ KTC ทั่วประเทศไปให้บริการสินเชื่อถึงบ้านของลูกค้า หรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวกด้วยความรวดเร็ว ผูกไปกับช่องทางของเครือข่ายธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศกว่า 900 สาขา และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) 11 สาขา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลัก และจะเน้นสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปิดรับเป็นหลัก

ktc

รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม” เป็นครั้งแรกของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ในรูปแบบของบัตรกดเงินสด ที่ลูกค้าสามารถรูด-โอน-กด-ผ่อน ผ่านบัตรได้ทันที ครอบคลุมถึงธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) ภายใต้ใบอนุญาตของกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง ซึ่งเคทีซีถือหุ้นอยู่ 75.05%

พร้อมพัฒนากระบวนการทำงานด้วยหลักการของดิจิทัล ทวิน (Digital Twin) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้บริการมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเติมเต็มช่องว่างในตลาด ด้วยจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยวงเงินใหญ่ที่ขยายถึง 1 ล้านบาท อนุมัติใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที รับทุกอาชีพและเอกสารง่าย ไม่ยุ่งยาก

ขยายบัตรเครดิตให้ตรงใจ

สำหรับธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลในปี 2565 เน้นการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพดี ขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ตลอดจนรักษาฐานสมาชิกปัจจุบันด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ตรงใจผู้บริโภค โดยกลยุทธ์ธุรกิจบัตรเครดิต จะเน้นการขยายฐานบัตรร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาปรับปรุง (Relaunch) บัตรเครดิตร่วม (Co-brand) ให้มีสิทธิประโยชน์ตรงใจและผูกสมาชิกกับบัตรในระยะยาวมากขึ้น

จะยังคงใช้คะแนน KTC FOREVER และการผ่อนชำระรายเดือนเป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด และในปี 2565 จะใช้ความแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตรขยายไปยังร้านค้ากลุ่มพรีเมียม และไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มสมาชิกระดับบนที่มีอยู่ และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้น

โดยคาดว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2565 จะเติบโต 10% จากปี 2564 หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท

ktc

]]>
1370794
KTC กับความท้าทายปี 2564 ปลุกธุรกิจ “สินเชื่อมีหลักประกัน” สร้างพลังคลื่นใต้น้ำ https://positioningmag.com/1328671 Wed, 21 Apr 2021 09:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328671 เคทีซีเร่งรุกขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ หวังสร้างโอกาสสู่ผู้นำธุรกิจสินเชื่อเบ็ดเสร็จครบวงจร เตรียมศึกษาโมเดลธุรกิจใหม่สินเชื่อมีหลักประกันหลังการเข้าถือหุ้นใหญ่เคทีบี ลีสซิ่ง เน้นกำไรโตแบบค่อยเป็นค่อยไป และสานต่อการพัฒนาคนกระชับองค์ความรู้แน่น ให้คนกับเทคโนโลยีทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จเดียวกัน

ระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“วิกฤติที่รุนแรงของโควิด-19 และมาตรการต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนต่อเนื่อง เป็นตัวกระตุ้นให้แผนยุทธศาสตร์ของเคทีซีในปี 2564 นี้ ต้องเร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบก้าวกระโดด สร้างโอกาสธุรกิจใหม่ให้เคทีซีเติบโตได้มากขึ้นและเร็วขึ้น คู่ขนานไปกับการทำธุรกิจเดิม เน้นทำกำไรแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสร้างคลื่นใต้น้ำจนเป็นพลังคลื่นลูกใหญ่รับเกมธุรกิจที่ไม่มีวันสิ้นสุด (Infinite Game)

โดยจะมุ่งขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันที่หลากหลาย เพื่อให้เคทีซีเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักในตลาดที่ผู้บริโภคมองหา ซึ่งการเข้าถือหุ้นในบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด หรือ เคทีบี ลีสซิ่ง ถึง 75.05% จะทำให้เคทีซีสามารถทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งทุกประเภท ต่อยอดธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันได้อย่างครบวงจร และยังได้ใช้ประโยชน์จากสาขาและฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม โดยบริษัทฯ จะเข้าไปศึกษาระบบในเคทีบี ลีสซิ่ง และคาดว่าจะเริ่มออกแบบโมเดลธุรกิจได้หลังจากผ่านการประชุมผู้ถือหุ้น”

ลุย “เคทีซี พี่เบิ้ม” เต็มสูบ

สำหรับธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ถึงแม้จะเป็นธุรกิจน้องเล็กที่เพิ่งเข้ามาเมื่อปลายปี2563 แต่เราคาดหวังจะมุ่งขยายตลาดเป็นหลักในปี 2564 ด้วยความที่เป็นสินเชื่อมีหลักประกันซึ่งมีความสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนรวดเร็วสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยจะเน้นทำการตลาดผ่านระบบออนไลน์ มีทีมงาน “พี่เบิ้ม Delivery” ติดต่อประสานงานกับลูกค้าเป้าหมายโดยตรง

ktc พี่เบิ้ม

พร้อมแผนขยายพื้นที่ให้บริการไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เริ่มต้นที่ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนบนและภาคใต้ตอนบน อีกทั้งร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจและธนาคารกรุงไทยขยายฐานสมาชิกและออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ตลอดจนร่วมมือกับเคทีบี ลีสซิ่ง เพื่อหาโอกาสต่อยอด และสนับสนุนธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถร่วมกัน เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการกลุ่มเป้าหมายและสร้างประสบการณ์ที่ดี ด้วยเป้าหมายยอดสินเชื่อในปี 2564 ประมาณ 1,000 ล้านบาท

บัตรเครดิต สินเชื่อ เป้าโต 8%

ในส่วนของธุรกิจเดิมซึ่งเป็นบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล บริษัทฯ จะมุ่งรักษาคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ที่ดีเน้นรักษาฐานสมาชิกปัจจุบัน ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการและระบบไอทีที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้สมาชิกเกิดความมั่นใจและได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยทุกครั้งที่ทำรายการธุรกรรม

โดยกลยุทธ์หลักในการทำตลาดธุรกิจบัตรเครดิต จะยังใช้คะแนน KTC FOREVER ขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการใช้จ่ายผ่านบัตร อีกทั้งรักษาและขยายความแข็งแรงของเครือข่ายพันธมิตรคู่ค้า เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร และสนับสนุนการเติบโตของพันธมิตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของเคทีซี

เน้นส่งเสริมการตลาดในลักษณะออนไลน์มากขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้บัตรของผู้บริโภคปัจจุบัน ที่เปลี่ยนจากใช้เงินสดมาจ่ายผ่านบัตรเครดิต รวมถึงสร้างคอนเทนต์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายในปี 2564 เติบโต 8% หรือประมาณ 210,000 ล้านบาท

สินเชื่อส่วนบุคคล ใช้งานง่าย

ในขณะที่ธุรกิจสินเชื่อบุคคลจะใช้กลยุทธ์การตลาดสร้างความผูกพันกับฐานสมาชิกเดิม วางตัวเป็นบัตรกดเงินสดใบแรกที่ลูกค้านึกถึงเมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน โดยออกแคมเปญแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้สมาชิกมีวินัยการชำระเงิน อีกทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการทางออนไลน์มากขึ้น ด้วยจุดเด่น “รูด โอน กด ผ่อน” ภายในบัตรเดียว กับบริการเบิกเงินสดออนไลน์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile” 24 ชั่วโมงแบบเรียลไทม์เข้าบัญชีธนาคารได้ถึง 13 ธนาคาร และบริการ

เพิ่มวงเงินฉุกเฉินหรือขอรหัสเบิกถอนเงินสดที่ทำรายการได้เองตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ จะเดินหน้าสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้าอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดสัมมนาให้ความรู้การเงิน และคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของสื่อที่เข้าใจง่าย รวมทั้งเวิร์กช็อป “สัมมนาพารวย” ที่เน้นการนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้เสริม พร้อมคำแนะนำด้านการคำนวณต้นทุนและวิธีหาช่องทางขายเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต โดยตั้งเป้ารักษายอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลในปี 2564 ให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

คัดกรองเคทีซี พราวมากขึ้น

สำหรับกลยุทธ์การขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” จะให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้สมัครมากขึ้น เพื่อให้ได้กลุ่มลูกค้าคุณภาพที่ต้องการสินเชื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมีวินัยทางการเงิน ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันและอัตราหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง

ผ่าน 4 ช่องทางหลักคือ ธนาคารกรุงไทย ผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินเคทีซี (อิสระ) ทั่วประเทศ เคทีซี ทัช ทุกสาขาและเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทางโทรศัพท์ (Telesales) โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมายจำนวนสมาชิกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ บัตรเครดิต 235,000 ใบ และสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” 135,000 ราย

ในส่วนของการขยายฐานร้านค้ารับบัตรเคทีซี จะเน้นช่องทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้าถึงร้านค้าขนาดกลาง ร้านค้าขนาดเล็กและร้านค้าออนไลน์ รองรับการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ และโซเชียล คอมเมิร์ซ รวมถึงเพิ่มช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Link Pay และสแกน QR Code ที่ลูกค้าสามารถทำรายการธุรกรรมได้ง่ายด้วยตนเอง รวดเร็วและสะดวกทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนเคทีซีให้เตรียมพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงและการขยายธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งเสริมให้คนทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวไปกับองค์กรทุกสถานการณ์ ทั้งเรื่องของดิจิทัล การรีสกิลและอัพสกิลในเนื้องาน โดยพนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ได้เองตามความสมัครใจผ่านอีเลิร์นนิ่งและการเข้าคอร์สเรียน

“อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทฯ ยังต้องประเมินผลกระทบต่อเนื่องเป็นระยะ โดยคาดว่าสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนจัดสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นมากขึ้น และระดมเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 12,000 ล้านบาท ในช่วงอายุที่สั้นลงจากเดิม เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่ครบกำหนดในปี 2564 และการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อบริษัทฯ โดยจะเน้นการบริหารต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นสำคัญ และบริหารพอร์ตลูกหนี้โดยรวมให้มีคุณภาพที่ดี โดยคาดว่าในปี 2564 บริษัทฯ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรในระดับที่ยอมรับได้และดีกว่าปีที่ผ่านมา”

ผลประกอบการเคทีซี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563

  • กำไรสุทธิ 5,332 ล้านบาท
  • เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเท่ากับ 90,149 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1.8%
  • ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,575,684 บัตร สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 60,235 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิต 1.3%
  • ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 814,329
  • บัญชียอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 29,915 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 2.7%
]]>
1328671
KTC เตรียมควัก 594 ล้านบาท ซื้อหุ้น “เคทีบี ลีสซิ่ง” 75% รุกตลาดสินเชื่อมีหลักประกัน https://positioningmag.com/1318951 Wed, 10 Feb 2021 14:42:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318951 KTC เผยคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้เคทีซีเข้าซื้อหุ้นสามัญของเคทีบี ลีสซิ่ง ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ในสัดส่วน 75.05% จากธนาคารกรุงไทย ด้วยมูลค่าการลงทุน 594.396 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจในอนาคต สร้างโอกาสสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่ครบวงจรเบ็ดเสร็จ ทั้งสินเชื่อมีหลักประกันและสินเชื่อไม่มีหลักประกัน โดยจะขอมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในเดือนเมษายน 2564  

ระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า

“ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ได้อนุมัติให้ KTC เข้าลงทุนในบริษัท กรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง จำกัด หรือ “เคทีบี ลีสซิ่ง” ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ในเครือธนาคารกรุงไทย ด้วยการซื้อหุ้นสามัญจำนวนทั้งสิ้น 75,050,000 หุ้น (เจ็บสิบห้าล้านห้าหมื่นหุ้น) คิดเป็น 75.05% มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ในราคาหุ้นละ 7.92 บาท คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 594.396 ล้านบาท

ซึ่งมีเงื่อนไขการปรับปรุงราคาซื้อขายหุ้นในภายหลังให้เป็นไปตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ในขณะที่ธนาคารกรุงไทยยังคงถือหุ้นในสัดส่วน 24.95% โดยจะนำเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน 2564 เพื่อขออนุมัติเข้าทำรายการดังกล่าว โดยจะต้องได้รับมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับคะแนนเสียงในส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และ ธนาคารกรุงไทยจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป”

ต่อยอด “พี่เบิ้ม”

เหตุผลในการเข้าซื้อ “เคทีบี ลีสซิ่ง” ในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต มีสาขาบริการตั้งอยู่ในหัวเมืองหลักของทุกภูมิภาคในไทย และสามารถทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งทุกประเภท ซึ่งจะช่วยเติมเต็มและสร้างโอกาสให้เคทีซีสามารถแตกไลน์ธุรกิจสินเชื่อที่มีหลักประกันได้กว้างขวาง ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น

ต่อยอดจากสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “เคทีซี พี่เบิ้ม” เพื่อให้ทำธุรกรรมได้ครบวงจร ซึ่งเคทีซีได้เริ่มเบนเข็มทำธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้การเข้าลงทุนใน “เคทีบี ลีสซิ่ง” จะทำให้บริษัทฯ ได้มาซึ่งฐานลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง และพันธมิตรธุรกิจที่จะก่อให้เกิดการผนึกกำลังสำคัญ ประกอบกับจุดแข็งของเคทีซีในการบริหารจัดการต้นทุน การบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ

รวมถึงศักยภาพของทีมบริหาร บุคลากร และผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ จะเอื้อประโยชน์ให้เราสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของทั้งสององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทเติบโตแข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มภายหลังจากการเข้าถือหุ้น”

รู้จัก “เคทีบี ลีสซิ่ง” 

“เคทีบี ลีสซิ่ง” เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ด้วยประเภทบริการเช่าซื้อ (Hire Purchase) และบริการเช่าแบบลีสซิ่ง (Financial Lease) ได้แก่

  1. ลีสซิ่งสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ประกอบการ เช่น รถบรรทุก รถขุด และเครื่องจักร
  2. เช่าลีสซิ่งรถยนต์แบบดำเนินงาน หรือรถเช่าเพื่อประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กรต่างๆ
  3. การให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ บริการเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้วและบริการสินเชื่อรถหมุนเงิน (จำนำทะเบียนรถยนต์)
  4. การให้สินเชื่อกับสินค้าอุปโภคทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ ไอที รถจักรยานยนต์หรือเครื่องประดับต่างๆ

ทั้งนี้ เคทีซีมีผลการดำเนินงานในปี 2563 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563)

  • กำไรสุทธิ 5,332 ล้านบาท
  • เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเท่ากับ 90,149 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1.8%
  • ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี
  • แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,575,684 บัตร
  • สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 60,235 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิต 1.3%
  • ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 814,329 บัญชี
  • ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 29,915 ล้านบาท
  • NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 2.7%
]]>
1318951
KTC รุกตลาดสินเชื่อทะเบียนรถ เปิด “KTC พี่เบิ้ม” ไม่ต้องมาที่สาขา อนุมัติไวถึงที่ https://positioningmag.com/1297933 Sat, 19 Sep 2020 09:56:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297933 KTC เปิดตัวธุรกิจสินเชื่อใหม่อย่างเป็นทางการ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ฝีมือสตาร์ทอัพคนรุ่นใหม่ นำเสนอบริการครอบคลุม “สินเชื่อทะเบียนรถยนต์” “สินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์” เป็นทางเลือกให้คนไม่ท้อทุกกลุ่มอาชีพ ใช้ 3 จุดแข็ง วงเงินใหญ่ อนุมัติไวถึงที่และได้รับเงินทันที ตั้งเป้าปี 2564 มีพอร์ตสินเชื่อ 1,000 ล้านบาท     

เกิดจากทีมสตาร์ทอัพ 6 คน

เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ – ธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถว่า

“เคทีซีได้มองหาโอกาสทางธุรกิจที่จะเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบริษัทฯ และเพื่อให้ตอบโจทย์กับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงฉับไว จึงได้สร้างทีมเล็กๆ ขึ้นมาทำงานในลักษณะเดียวกับสตาร์ทอัพ โดยรวมตัวคน 6 คนจากหน่วยงานหลักต่างๆ ของเคทีซี ตามแผนกลยุทธ์การเป็นองค์กรคล่องตัว (Agile Organization)

ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ของสินเชื่อ เป็นทางออกให้กับคนไทยสู้ชีวิตที่อยากเติมเต็มความฝัน ความต้องการ และมีทรัพย์สินรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ปลอดภาระเป็นของตนเอง แต่ขาดโอกาสด้านการเงิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกต้องได้ ซึ่งมีสัดส่วนจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ทำให้เราเกิดความสนใจและเริ่มศึกษาโมเดลธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นแบรนด์ “เคทีซี พี่เบิ้ม” กับแนวคิด “ทางเลือกคนไม่ท้อ” และนับเป็นก้าวสำคัญของเคทีซีที่หันมารุกธุรกิจสินเชื่อแบบมีทะเบียนรถเป็นประกันเป็นครั้งแรก

จุดเด่น และความแตกต่างในการทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ โดยใช้หลักการ “Digital Twin” คือ การนำเทคโนโลยีผสมผสานการทำงานของคนในการให้บริการสินเชื่อ เพื่อช่วยให้การอนุมัติสินเชื่อมี ความง่าย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (Customer Experience)

ด้วยการรับสมัครสินเชื่อผ่านระบบแอปพลิเคชัน บนแท็บเล็ต (Tablet) เจ้าหน้าที่เคทีซีจึงสามารถไปทำรายการสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ถึงที่หมาย โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปที่สาขา และลูกค้าจะทราบผลการอนุมัติ พร้อมรับเงินโอนเข้าบัญชีทันทีภายในระยะเวลาทำรายการเพียง 2 ชั่วโมง”

ktc พี่เบิ้ม

โดยที่ภาพรวมการทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันมีจำนวนกว่า 3,392,032 บัญชี และมียอดสินเชื่อคงค้างในระบบถึง 137,637 ล้านบาท

อีกทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและมาตรการข้อบังคับต่างๆ ในฐานะผู้เข้ามาเริ่มทำธุรกิจ ถือว่ามีความท้าทายสูงในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมนี้ โดยคาดว่าสิ้นปี 2564 จะมีพอร์ตสินเชื่อ 1,000 ล้านบาท

จัดพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ เข้าถึงลูกค้าได้ทุกที่

ธิดา บุณยเลขา ผู้จัดการอาวุโส – ธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” กล่าวถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจว่า

เคทีซี พี่เบิ้มใช้จุดแข็งเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายของเคทีซีในการรุกตลาด โดยมุ่งเน้นให้บริการรับสมัคร และอนุมัติสินเชื่อถึงที่ หรือ พี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ แทนที่จะใช้โมเดลการขยายสาขาอย่างผู้ประกอบการรายอื่น เราจึงสามารถทำรายการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือตามจุดนัดพบที่ลูกค้าสะดวก ไม่เว้นวันหยุด

โดยลูกค้าสามารถทราบผลการอนุมัติและได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันทีภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ สำหรับแผนการตลาดในระยะเริ่มแรกนี้ จะเน้นเข้าถึงสมาชิกในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และจะขยายไปในหัวเมืองใหญ่ตามภูมิภาค ควบคู่ไปกับการสรรหาพันธมิตรธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการขอสินเชื่อ

ktc พี่เบิ้ม

โดยล่าสุดได้ร่วมกับ “ลาล่ามูฟ” เปิดให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ในเครือข่ายของลาลามูฟ ประเทศไทย สามารถเข้าถึงสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันและสินเชื่อเงินสดได้สะดวกรวดเร็ว เพียงใช้ข้อมูลการรับงานจากลาล่ามูฟยื่นสมัครสินเชื่อ แทนสลิปเงินเดือนและเอกสารทางการเงิน โดยได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม และจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจต่อไป

  • วงเงินใหญ่สูงสุดถึง 700,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ เริ่มต้นเพียง 0.98% ต่อเดือน หรือเท่ากับ 21% ต่อปีแบบลดต้นลดดอก
  • อนุมัติถึงที่ รู้ผลใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที เอกสารไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีสลิปเงินเดือนหรือทะเบียนการค้า นอกจากนี้ ผู้ขอสินเชื่อยังสามารถนำรถไปใช้ต่อได้ทันที โดยที่ชีวิตไม่สะดุด

จับกลุ่มคนทุกอาชีพ

กลุ่มเป้าหมายและรายละเอียดของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” คือ คนทุกกลุ่มอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ เจ้าของกิจการ พ่อค้าแม่ค้า หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีสัญชาติไทย อายุ 20-65 ปี รายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทขึ้นไป ประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน สำหรับเจ้าของกิจการ พ่อค้า แม่ค้า ต้องดำเนินธุรกิจไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องเป็นเจ้าของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีทะเบียนเล่มเป็นชื่อของผู้ขอสินเชื่อ โดยสามารถสมัครขอสินเชื่อได้ผ่านช่องทางศูนย์บริการลูกค้า “เคทีซี ทัช” (KTC Touch) ทุกสาขา หรือ พี่เบิ้ม ดิลิเวอรี่ โทรศัพท์ 02 123 5300”

ktc พี่เบิ้ม

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ “เคทีซี พี่เบิ้ม” สำหรับผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ ไม่จำกัดอายุรถ วงเงินอนุมัติสูงสุด 700,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 21% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 60 เดือน โดยผู้ขอสินเชื่อจะต้องใช้ทะเบียนรถเล่มจริงที่มีชื่อตนเองเป็นเจ้าของยื่นสมัคร พร้อมนำรถยนต์เข้าตรวจสภาพ

สินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ “เคทีซี พี่เบิ้ม” สำหรับผู้เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ ไม่จำกัดอายุรถ วงเงินสูงสุด 150,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 24% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 60 เดือน ผู้ขอสินเชื่อจะต้องใช้ทะเบียนรถจักรยานยนต์เล่มจริงที่มีชื่อผู้ขอสินเชื่อเป็นเจ้าของรถยื่นสมัครสินเชื่อ พร้อมนำรถจักรยานยนต์เข้าตรวจสภาพ”

]]>
1297933