เครื่องพิมพ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Feb 2024 01:19:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาถูกทาง! ‘เอปสัน’ คาดโต 8% แม้ตลาดติดลบ หลังเดินหน้าลุยตลาด B2B พร้อมมองเทรนด์ ‘ซับสคริปชัน’ โอกาสใหม่ https://positioningmag.com/1463069 Sun, 18 Feb 2024 10:13:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463069 หากพูดถึงภาพรวมตลาดไอทีไทยในปี 2023 ที่ผ่านมามีมูลค่า 28,618 ล้านบาท หดตัวถึง 14.7% และหากเจาะไปในตลาดปริ้นเตอร์มูลค่า 2,720 ล้านบาท ลดลง 4% และเชิงปริมาณ 669,000 เครื่อง ลดลง 7% อย่างไรก็ตาม เอปสัน คาดว่าผลประกอบการจะสามารถเติบโตได้ 8% สวนทางตลาด เพราะว่าการเบนเข็มไปจับตลาด B2B

มั่นใจโต 8%

ตามปีปฏิทินของ เอปสัน (Epson) จะปิดปี 2023 ที่ไตรมาส 1 ปี 2024 หรือประมาณอีก 1 เดือน ซึ่ง ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เชื่อว่าเอปสันประเทศไทยจะสามารถเติบโตได้ 8% แม้ว่าภาพรวมตลาดไอทีจะติดลบก็ตาม เพราะโปรดักส์หลายอย่างสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • เครื่องพิมพ์ป้ายโฆษณา Epson SureColor S-series เติบโต 37% เนื่องจากสื่อ Out Of Home กลับมาถูกเลือกใช้มากขึ้นหลังวิกฤตโควิด อีกทั้ง บริษัทฯ สามารถดึงผู้ประกอบการที่เคยใช้เครื่อง Non-brand
  • เครื่องพิมพ์มินิแล็บ Epson SureLab ที่โตขึ้นในปีนี้เกือบ 10% ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจรับพิมพ์ภาพขนาดย่อมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ได้แรงหนุนจากกระแสการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการลงทุนซื้อในกลุ่ม Startup และ SME
  • เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับองค์กร Epson WorkForce โตเกือบ 30% โดยเป็นการการชิงส่วนแบ่งตลาดจากเครื่องถ่ายเอกสารตามสำนักงานที่เคยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์
  • สแกนเนอร์ เติบโตขึ้น 37% ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ ทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งจำเป็นต้องทำเอกสารดิจิทัล เพื่อให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงธนาคาร ห้องสมุด และสถาบันศึกษาที่ต้องการเก็บข้อมูลถาวรในรูปแบบดิจิทัล และองค์กรธุรกิจที่เริ่มทำงานผ่านระบบเครือข่ายมากขึ้น
  • โปรเจคเตอร์ เติบโตเกือบ 20% โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงตั้งแต่ 5,000 ลูเมนขึ้นไปและสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และเลเซอร์โปรเจคเตอร์เพื่อธุรกิจ เช่น Epson 2000-series

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางกลุ่มที่เติบโตได้น้อย อาทิ เครื่องพิมพ์อิงค์แท็งค์ ที่ตลาดมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านราคา อย่างไรก็ตาม เอปสันยังคงเป็นผู้นำตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 57% นอกจากนี้ กลุ่มเครื่องพิมพ์สิ่งทอ และ กลุ่มหุ่นยนต์แขนกล ก็ไม่เติบโต

กลุ่มหุ่นยนต์ปีก่อนไม่เติบโต แม้มีออเดอร์แต่มีการระงับการติดตั้ง เพราะต้องยอมรับว่าการลงทุนเปิดโรงงานในไทยปีก่อนนั้นไม่ค่อยดี แต่หวังว่าปีนี้จะฟื้น เพราะเห็นเทรนด์ของแบรนด์อีวีที่เข้ามา อย่างไรก็ตาม สินค้าของเอปสันจะเป็นแขนกลสำหรับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง ดังนั้น จะเน้นที่ความซับซ้อนและคุณภาพ ไม่ได้ใช้ในงานทั่วไป”

เติบโตเพราะเน้น B2B

สำหรับตลาดที่หดตัวลงของตลาดไอทีปีที่ผ่านมาเกิดจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้กลุ่ม B2C (Business to Consumer) นั้นชะลอการจับจ่าย และสำหรับเครื่องพิมพ์ก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าในกลุ่ม B2C ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนนักศึกษากับ SME ดังนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทิศทางของเอปสันจึงเน้นไปที่กลุ่ม B2B (Business to Business) ซึ่งทำให้ปี 2023 บริษัทสามารถเติบโตได้ โดยปัจจุบัน สัดส่วนรายได้ B2C ในอดีตคิดเป็น 80% แต่ปัจจุบันเหลือ 60%

“เราเปลี่ยนทิศทางไปโฟกัสที่ตลาด B2B ตั้งแต่ปี 2018 แต่มาปี 2020-2022 ก็ชะงักไปเพราะเกิดวิกฤตโควิด หลายบริษัท Work From Home ปิดออฟฟิศ แต่พอหลังโควิด ทุกบริษัทกลับมาทำงานปกติ ตลาด B2B ก็เติบโต”

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตลาด B2B ของเอปสันเติบโตก็คือ Sales Model ที่สามารถซื้อขาดหรือใช้ในรูปแบบ ซับสคริปชัน ด้วยบริการ EasyCare ที่ลูกค้าสามารถควบคุมต้นทุนการพิมพ์ของตัวเองได้ ไม่ต้องสต๊อกหมึก เพราะเอปสันจะส่งหมึกให้โดยคำนวณค่าใช้จ่ายจากจำนวนพิมพ์รายแผ่น เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ของเอปสันมีการลดใช้พลังงาน ซึ่งก็เป็นอีกจุดที่องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainability

“เราเห็นเลยว่าองค์กรส่วนใหญ่สนใจที่จะใช้รูปแบบซับสคริปชันมากขึ้น เพราะเขาจ่ายเท่าที่ใช้ ไม่ต้องมากังวลเรื่องเครื่องเรื่องหมึก เราเองก็ชอบเพราะเราจะได้ทำธุรกิจกับเขายาว ๆ ไม่ได้ซื้อครั้งเดียวแล้วจบ ซึ่งเราเชื่อว่าอนาคตรายได้จากซับสคริปชันจะเติบโตมากขึ้น”

มั่นใจปี 2024 ตลาดดีขึ้น

สำหรับภาพรวมตลาดไอทีปีนี้คาดว่าจะ ติดลบ 3-5% ทั้งในด้านจำนวนและมูลค่าตลาด เนื่องจากยังมีปัญจัยลบ ด้านหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เอปสันตั้งเป้าที่จะเติบโตให้ได้ 8% เหมือนกับปี 2023 โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตยังใกล้เคียงกับปี 2023

ทั้งนี้ เอปสันมีแผนจะยกระดับ บริการ ให้ดีขึ้น โดยปัจจุบัน เอปสันมีสาขาทั้งหมด 182 สาขา ทั่วประเทศ และมี 140 สาขาที่ให้บริการ onsite service ซึ่งปีนี้เอปสันจะเพิ่มเป็น 150 สาขา ที่ให้บริการ onsite service นอกจากนี้ เอปสันได้ลงทุนกว่า 30 ล้านบาท สร้าง Solution Center แห่งใหม่บนพื้นที่มากกว่า 600 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงและสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่มของเอปสัน เพื่อสร้างประสบการณ์จริงให้กับลูกค้าก่อนตัดสินใจซื้อ

“ปกติตลาดไอทีพอหดตัวหนักแล้ว ปีต่อไปมันจะดีขึ้น ดังนั้น ปีนี้เราเลยคิดว่าน่าจะดีขึ้น ส่วนเทรนด์การพิมพ์เรามองว่ามันคงไม่หายไป แต่จะทรงตัวอยู่แบบนี้ เพราะออฟฟิศก็ยังมีการใช้งานอยู่” ยรรยง ทิ้งท้าย

]]>
1463069
‘เอปสัน’ ประกาศเลิกขาย ‘เครื่องพิมพ์เลเซอร์’ ภายในปี 2023 หวังช่วยลดโลกร้อน https://positioningmag.com/1412667 Fri, 16 Dec 2022 05:43:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412667 จากผลการสำรวจปริมาณการใช้พลังงานของสำนักงานทั่วไปพบว่า การใช้เครื่องพิมพ์ นั้นกินพลังงานมากเป็นอันดับ 4 รองจากเครื่องปรับอากาศ ไฟ และคอมพิวเตอร์ ขณะที่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ นั้นใช้พลังงานมากกว่า เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ดังนั้น เอปสัน (Epson) จึงประกาศว่าจะยุติการจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2023

จุนคิชิ โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจเครื่องพิมพ์ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น อธิบายว่า หนึ่งในเหตุผลที่ เอปสัน ตัดสินใจยุติการจำหน่ายและกระจายสินค้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ก็เพราะวิสัยทัศน์ใหม่ Epson 25 Renewed รวมถึงเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นลบและไม่มีการใช้ทรัพยากรใต้ดินให้ได้ภายในปี 2050

ดังนั้น เอปสันจึงพยายามที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และซัพพลายเชน รวมทั้งนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ และลงทุนกับกระบวนการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ที่ผ่านมา เอปสันหันไปพัฒนาเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้มากกว่า

สำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทของเอปสันนั้นมีเทคโนโลยี Heat-Free ที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้มากถึง 85% ดังนั้น เอปสันจึงเตรียมยุติการจำหน่ายและกระจายสินค้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมปี 2023 โดยจากนี้จะขายเฉพาะเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเท่านั้น

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมตลาดเครื่องพิมพ์ทั่วโลกกำลังไปที่ตลาดอิงค์เจ็ท มีเพียงตลาดเกิดใหม่ที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังเติบโตได้ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ายังไม่เปลี่ยนจากเครื่องพิพม์เลเซอร์มาเป็นอิงค์เจ็ทเพราะ ภาพจำ เนื่องจากผ่านมา อิงค์เจ็ทมีข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นความเร็วที่น้อยกว่าเลเซอร์ คุณสมบัติกันน้ำต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีของอิงค์เจ็ทล้ำหน้าเลเซอร์แล้ว และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เอปสันพยายามสื่อสารไปยังตลาด หรือลูกค้าให้เปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

“เราคงฟันธงไม่ได้ว่าอิงค์เจ็ทจะแทนที่เลเซอร์ 100% ได้เมื่อไหร่ แต่สินค้าเราตอนนี้มีพร้อมที่จะแทนที่ได้ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าแล้วว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนไปอิงค์เจ็ทได้เมื่อไหร่ ซึ่งปัจจุบันความสามารถของอิงค์เจ็ทมันดีกว่าเลเซอร์ไปแล้ว และไลน์อัพสินค้าเรามีครบ สามารถทดแทนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้ 100%”

แม้ว่าเอปสันจะตั้งเป้ายกเลิกการจำหน่ายเครื่องพิมพ์เลเซอร์ แต่บริษัทจะยังซัพพอร์ตลูกค้าเดิม โดยจะซัพพอร์ตหมึกไปอีก 7 ปี และซัพพอร์ตอะไหล่อีก 6 ปี อย่างไรก็ตาม เอปสันมองว่าคงออกมาตรการใหม่ ๆ มารองรับลูกค้าเรื่อย ๆ จนกว่าสินค้าจะหมดอายุขัย

“ทั่วโลกพูดถึง Paperless มานาน แต่ปัจจุบันก็ยังทำไม่ได้ และในหลายส่วนมีการพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความต้องการในหลายอุตสาหกรรม อาทิ โลจิสติกส์ การเงิน และการศึกษา ที่ยังไม่สามารถไปดิจิทัลได้ 100% ดังนั้น เราจึงพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเทคโนโลยีการสแกน เทคโนโลยีการรีไซเคิลกระดาษที่ใช้น้ำน้อยกว่าคู่แข่งถึง 99%”

]]>
1412667
COVID-19 ทำ “บราเดอร์” ยอดหาย 60% แต่ ‘จักรเย็บผ้า’ กลับขายดีจน ‘เกลี้ยงสต็อก’ https://positioningmag.com/1276498 Fri, 01 May 2020 08:35:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276498 ด้วยพิษเศรษฐกิจ รวมถึงเทรนด์รักษ์โลกที่มาแรง ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจเครื่องพิมพ์ไทยในปีที่ผ่านมายังทรงตัว แต่มาปีนี้ก็เจอกับวิกฤติ COVID-19 อีก ส่งผลให้ยอดขายคู่ค้าพันธมิตรของ บราเดอร์ ในไตรมาสแรกหายไปถึง 60% แต่งานนี้บราเดอร์ไม่ขอพูดถึงยอดขาย หากเเต่ขอโฟกัสที่จะทำอย่างไรให้ทั้งบริษัทและพันธมิตร สามารถเดินหน้าต่อไปได้

ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เพราะผลกระทบจาก COVID-19 ส่งผลให้ยอดขายได้มาสแรกในส่วนของคู่ค้าพันธมิตร โดยเฉพาะที่มีหน้าร้านในห้างฯ คาดว่ายอดขายลดลงกว่า 60% แต่โดยรวมยอดขายลดลงประมาณ 20% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมาสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โดยยอดขายของพันธมิตร ตกลงกว่า 50% ขณะที่รวมทุกช่องทางการขายลดลง 15%

ทั้งนี้ ที่ยอดขายตกลงน้อยกว่าที่คาด มองว่าเป็นเพราะตลาดต่างจังหวัดไม่ได้กระทบหนักเท่ากรุงเทพฯ เนื่องจากมีร้านที่ไม่ได้อยู่ในห้าง อีกทั้งการ Go Online ของร้านค้าก็ได้รับการตอบรับที่ดี บางร้านสามารถเติบโตได้กว่า 10 เท่า นอกจากนี้ ตลาดองค์กรก็เติบโตขึ้น 16% ซึ่งเป็นผลจากการ Work from Home โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กและเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นขนาดเล็กที่ขายดี ขณะที่โมเดลเช่าใช้ก็มาแรง โดยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและธุรกิจยังมีการใช้จ่ายเงินลงทุนด้านไอที

ที่น่าสนใจคือ เทรนด์การใช้หน้ากากผ้ามาแรงจนสินค้าอย่าง จักรเย็บผ้า ขายดีจนสินค้าไม่พอขายตั้งแต่มีนาคมจนถึงเมษายน ต้องนำเข้าจากตลาดในต่างประเทศ โดยตอนนี้มีประเทศเวียดนามที่กำลังขายดีเหมือนกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม มองว่าแม้จะหมดช่วง COVID-19 แต่ความต้องการก็จะยังไม่ตก เนื่องจากมากว่าการใส่หน้ากากจะกลายเป็น New Normal ในอนาคต

“เรื่องการปรับเป้าเรามีการคุยกัน แต่เพราะไม่รู้สถานการณ์จะจบที่ไหน อาจจะรอให้จบไตรมาส 2 ค่อยมาประชุมอีกทีว่าจะปรับเป้าทั้งปีหรือไม่ แต่ตอนนี้เรายังใช้เป้าเดิมอยู่ คือ เติบโต 5% ส่วนการลงทุนของเรายังไม่มีการตัดงบอะไรออก แต่จะใช้ให้คุ้มค่าที่สุด”

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทมีนโยบาย ไม่พูดเรื่องยอดขายกับพันธมิตร เนื่องจากมองว่าสถานการณ์นี้ควรช่วยเหลือเพื่อให้ผ่านวิกฤตินี้ไปได้มากกว่า ดังนั้น บริษัทจึงมีการปรับกลยุทธ์ 3C ใหม่ โดยในส่วนของ 1.Channel Partner บริษัทมีการเข้าไปช่วยด้านต่าง ๆ อาทิ จัดคลาสสอนออนไลน์, ให้ทีมงานไปไลฟ์ผ่านชาแนลลูกค้า, ช่วยบริหารจัดการสต็อกสินค้า, ขยายเวลาการชำระเงิน และมีการเปิดเพจบราเดอร์มาร์เก็ตไว้เป็นช่องทางรวบรวมโปรโมชั่นต่าง ๆ ของพาร์ตเนอร์มาโปรโมตหน้าเพจเพื่อให้เขาขายของได้

2.Customer มีบริการรับ-ส่งถึงบ้านในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถติดต่อศูนย์บริการผ่านอีเมลและแชทได้ตลอด 7 วัน มีทำประกัน COVID-19 ฟรี เมื่อซื้อสินค้าครบ 1,990 บาท ส่วนสุดท้าย 3.Company มีการปรับกระบวนการทำงานภายในให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีการ Work from Home

ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด

“สิ่งสำคัญตอนนี้ไม่ใช่ยอดขาย แต่เป็นการทำให้พันธมิตรของเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในส่วนของยอดขายบริษัทแม่เราก็เข้าใจ เพราะสถานการณ์แบบนี้ เราไม่ควรไปกดดันเรื่องยอดขาย”

ปัจจุบัน บราเดอร์มีดิสทริบิวเตอร์หลัก 3 ราย ได้แก่ เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น, ซินเน็ค, และวีเอสทีอีซีเอส ส่วนดีลเลอร์มีกว่า 500 ราย แอคทีฟกว่า 300 ราย โดยสัดส่วนรายได้ 30% เป็นองค์กรขนาดใหญ่ จากเดิมมีสัดส่วน 20% ส่วนอีก 70% ได้แก่ ลูกค้าทั่วไป, เอสเอ็มอี และโซโห

“วิกฤตินี้คงอยู่กับเราอีกนาน คงไม่ได้หายไป 100% ดังนั้นจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแน่นอน โดยเฉพาะการเดินห้างหรือกิจกรรมที่ต้องเจอคนหมู่มาก เราจะกังวลมากขึ้น และจากนี้คงจะใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น”

]]>
1276498