เคแบงก์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Dec 2021 12:58:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Digital Lifestyle Ecosystem” โมเดลสำคัญของ K PLUS พร้อมทะยานเป็นแอประดับภูมิภาค พร้อมเปิดตัว K PLUS Vietnam https://positioningmag.com/1367217 Thu, 16 Dec 2021 08:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367217

ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เคแบงก์ทุ่มพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ในฐานะเบอร์ 1 ของแอปฯ โมบายแบงกิ้งในประเทศไทย จนทำให้ทุกวันนี้ K PLUS เป็นมากกว่าโมบายแบงกิ้งแล้ว ผลจากการต่อจิ๊กซอว์สร้าง Digital Lifestyle Ecosystemกับพาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่ในแต่ละธุรกิจ ด้วยรูปแบบการเป็น Open Banking Platform เปิดทางให้ K PLUS เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของลูกค้า เรียกว่า ถ้าลูกค้าใช้งานแอปอื่นๆ K PLUS ก็อยู่ในนั้น เพื่อทำให้ทุกคนสะดวกสบายทั้งการใช้จ่าย ช้อปออนไลน์ กู้เงิน สะสมแต้ม ลงทุน และอื่นๆ อีกเพียบ โดยเคแบงก์มีแผนพัฒนา K PLUS อีกหลายด้านเพื่อทำให้ K PLUS เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายที่สุดทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคอีกด้วย

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้งาน “โมบายแบงกิ้ง” ของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น,สถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกับการเดินทาง และเสริมแรงบวกด้วยโครงการรัฐต่างๆ เช่น คนละครึ่ง, เราเที่ยวด้วยกัน, โครงการเยียวยาผู้ประกันตน เป็นตัวเร่งให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้โมบายแบงกิ้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอย่างกลุ่มคนต่างจังหวัด และกลุ่มเยาวชนวัย 15-22 ปี

ท่ามกลางการเติบโตของโมบายแบงกิ้ง ผู้นำในเทคโนโลยีด้านนี้คือ K PLUS จากเคแบงก์ครองอันดับ 1 ของตลาดเมื่อวัดจากจำนวนธุรกรรม (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2564) รวมถึงมีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศอยู่ที่ 16.9 ล้านราย (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2564) โดยเคแบงก์ยังมุ่งมั่นรักษาความเสถียรของระบบใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงสร้างความสะดวกในการใช้งาน และมีสิทธิประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่ากับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม  เคแบงก์มองอนาคตว่าในโลกยุคใหม่ ผู้บริโภคจะใช้จ่ายผ่านดิจิทัลหลายด้านยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สินค้าและบริการต่างๆ จะยิ่งรวมศูนย์อยู่บน ดิจิทัล แพลตฟอร์ม แม้แต่การใช้ชีวิตก็อาจจะเข้าไปอยู่ในโลกแห่ง ‘เมตาเวิร์ส’ ก็เป็นไปได้

เคแบงก์จึงพัฒนา K PLUS ให้พร้อมตอบสนองลูกค้าในทุกที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยการสร้าง Digital Lifestyle Ecosystem สามารถเชื่อมโยงกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และรองรับจำนวนผู้ใช้ที่จะเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแค่ในไทยแต่รวมถึงลูกค้าระดับภูมิภาค ตามวิสัยทัศน์ของเคแบงก์ที่จะเป็น Regional Digital Banking ในอนาคตอันใกล้ 


วางพื้นฐาน Open Banking Platform เพื่อผนึกพันธมิตร

บริการข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นจากภายในของ เคแบงก์ แต่ปัจจุบันธนาคารได้ขยายเครือข่าย Digital Lifestyle Ecosystem ให้กว้างขึ้นและเร็วขึ้นผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง

การจะเชื่อมต่อ K PLUS เข้ากับบริการของพันธมิตรได้ ต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน API (Application Programing Interface) ให้สามารถเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ได้ โดย K PLUS มีการเปิดให้ ‘ต่อท่อ’ เป็น Open Banking Platform ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชันของพันธมิตรกับ K PLUS ทำได้ลื่นไหล ลดขั้นตอนจบได้ในไม่กี่คลิก เพราะถ้าการใช้งานมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ลูกค้าอาจไม่เลือกใช้ รวมถึงความต้องการของลูกค้ามีรอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดีที่สุด เคแบงก์และพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันเพื่อให้เกิด Super Ecosystemที่แข็งแรงและเติบโตไปด้วยกัน

ยกตัวอย่างความร่วมมือกับพันธมิตรที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการต่อท่อเพื่อใช้จ่ายผ่านหน้าอินเตอร์เฟซของพันธมิตรได้สะดวกขึ้น เช่น GrabPay Wallet สามารถเติมเงินได้ในแอปฯ เลยเมื่อใช้ K PLUS ไม่ต้องสลับมาที่แอปฯ ธนาคารอีก หรือเหล่าเกมเมอร์ค่าย Garena สามารถเติมเงินในเกมผ่านเว็บไซต์ Termgame.com และใช้ K PLUS จ่ายได้โดยตรง


K PLUS ตอบโจทย์การเงินบนโลก “ดิจิทัล”

ปัจจุบัน K PLUS เริ่มออกสตาร์ทเพื่อรองรับเทรนด์ Digital Lifestyle Ecosystem ไปแล้วหลายด้าน โดยมีการพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับกับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของยุคใหม่ เช่น

  • K Pointลอยัลตี้โปรแกรมบนโลกดิจิทัล โดยลูกค้าที่ใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยตามที่กำหนดจะได้รับ K Point เป็นคะแนนสะสมสำหรับใช้แทนเงินสดได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายบิลค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการมือถือ เติมเงินใน e-Wallets เติมเกม เติม Easy Pass หรือใช้โอนแลกเป็นคะแนนสะสมของระบบ CRM แบรนด์ดังอื่นๆ เช่น The 1, PTT Blue Card, AIS Points, True Point รวมไปถึงใช้จ่ายแทนเงินสดที่หน้าร้านค้าที่ร่วมรายการด้วยการสแกน QR Code อีกทั้งยังสามารถนำคะแนนไปแลกซื้อสินค้าบน K+ market ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถทำได้เลยทันทีบน K PLUS
  • Wealth PLUS – บริการตัวช่วยวางแผนลงทุนส่วนตัวบน K PLUS ทำงานเสมือน ROBO Advisor แต่เหนือกว่าด้วยการมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยวางแผนการลงทุนและเลือกกองทุนที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ วิเคราะห์จากเป้าหมายการลงทุน เงินลงทุน ระยะเวลา และระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ พร้อมระบบอัจฉริยะช่วยแจ้งเตือนและปรับแผนการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะตลาดขณะนั้น โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น รวมถึงมีบริการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติ (DCA) ก็เริ่มต้นเพียง 500 บาท บริการอัตโนมัติเหล่านี้ทำให้ Wealth PLUS เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้โจทย์ให้ลูกค้าที่ยังไม่กล้าลงทุน ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลการลงทุน หรือกังวลเวลาเห็นข่าวตลาดผันผวนรุนแรง
  • โอนเงินต่างประเทศK PLUS ร่วมมือกับพันธมิตร FinTech แก้ pain point ของการโอนเงินต่างประเทศแบบเดิมๆ ที่ใช้เวลานานกว่าเงินจะถึงปลายทาง ค่าธรรมเนียมแพง และต้องไปที่ทำธุรกรรมหน้าสาขา ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้ลูกค้าโอนเงินถึงปลายทางได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ถึงภายใน 3 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับประเทศและธนาคารปลายทาง) ค่าธรรมเนียมถูกกว่า สามารถโอนเงินเองได้ผ่าน K PLUS รองรับแล้ว 14 สกุลเงินใน 32 ประเทศที่คนในไทยนิยม เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ปอนด์ ยูโร เยน วอน และล่าสุด สกุลเงินหยวน เป็นต้น
  • Digital Lending บริการสินเชื่อดิจิทัลที่ธนาคารเน้นให้กลุ่มคนตัวเล็กที่ไม่เคยกู้เงินได้เพราะไม่มีสลิป ไม่มีรายได้แน่นอน ให้สามารถยื่นกู้ได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้ AI และ Machine Learning ประกอบกับความเชี่ยวชาญของธนาคารในการพิจารณาเครดิตภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่อได้ด้วยตัวเองผ่าน K PLUS ใช้เวลาสมัครไม่เกิน 15 นาทีก็ทราบผลอนุมัติ และรับเงินทันที

ที่สำคัญคือ เคแบงก์กำลังนำแนวคิดธุรกิจนี้ขยายไปยังเวียดนาม เดินหน้าด้วยดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบเป็น “K PLUS Vietnam” โมบายแบงกิ้งที่ต่อยอดจากต้นแบบ K PLUS ในประเทศไทย และเตรียมแผนขยายการลงทุนด้านดิจิทัลในธุรกิจต่างๆ ด้วยเป้าหมายเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ สู่การเป็น Super Ecosystem ทางการเงินในระดับภูมิภาค

]]>
1367217
โลมาผงาด! ‘ดอลฟิน’ ผนึก KBank ปล่อยกู้ 3 พันล้าน ชิงความได้เปรียบสงคราม e-Wallet https://positioningmag.com/1307624 Wed, 25 Nov 2020 12:01:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307624 ให้บริการมาได้แค่ปีนิด ๆ สำหรับ ‘ดอลฟิน (Dolfin)’ อี-วอลเลตน้องใหม่แต่มีพ่อ-แม่ใหญ่อย่าง ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ และ ‘กลุ่มเจดี ดอทคอม (JD.com)’ บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนร่วมลงทุนถึง 8,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันดอลฟินมีผู้ใช้กว่า 2 ล้านรายเลยทีเดียว

ท้าชนทุกแพลตฟอร์มด้วยการ ‘ปล่อยกู้’

ประกาศชัดไปตั้งแต่ช่วง 5 เดือนก่อนว่าจะมีบริการใหม่ในช่วงสิ้นปีนอกเหนือจาก ‘เพย์เมนต์’ ที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือทำให้รู้จักลูกค้า และล่าสุดก็ไม่ทำผิดสัญญา โดยได้ก้าวขาเข้ามาสู่บริการ ‘ปล่อยเงินกู้ (loan)’ เต็มตัวโดยได้ร่วมกับ ‘เคแบงก์’ ในการให้บริการ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ สินเชื่อส่วนบุคคลบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผ่านแอป Dolfin โดย ‘รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง’ ระบุว่า เจ้าของเงินที่ปล่อยกู้คือ ‘เคแบงก์’ แต่ใช้เทคโนโลยีและดาต้าผู้ใช้งานดอลฟินที่มีกว่า 2 ล้านราย และจากอีโคซิสเต็มส์ของเครือเซ็นทรัล โดยเฉพาะ ‘The 1Card’ ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 18 ล้านรายมาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อ

“เคแบงก์เป็นเจ้าของเงิน แต่เรามีเทคโนโลยีมีข้อมูลที่ช่วยให้เลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำได้ โดยเรามั่นใจว่ายอดหนี้เสีย (NPL) ของเราจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด 3.95%”

ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลูกค้าเข้าถึงวงเงินสินเชื่อได้ผ่านแอปพลิเคชัน Dolfin โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องส่งเอกสารแสดงรายได้ สามารถสมัครง่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา รู้ผลอนุมัติเร็วสุดใน 5 นาที และพร้อมใช้วงเงินได้ทันที โดยสามารถโอนเข้าบัญชี เบิกถอนเงินสดผ่านตู้เคแบงก์ หรือจะใช้จ่ายช้อปปิ้งกับร้านค้าชั้นนำในเครือเซ็นทรัลและร้านค้าพันธมิตรได้ทันที

ดิจิทัลเลนดิ้งมีสัดส่วนเพียง 0.2%

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ธุรกิจสินเชื่อบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัลมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดย ณ ไตรมาส 2 ปี 2563 ภาพรวมตลาดสินเชื่อบุคคลในประเทศไทยที่อนุมัติผ่านสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มีจำนวน 428,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อในช่องทางดิจิทัลเพียง 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของสินเชื่อบุคคลทั้งหมดในตลาด

ขณะที่ปัจจุบัน ฐานข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้ามีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การพิจารณาสินเชื่อสามารถประเมินผู้ขอสินเชื่อได้จากข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อมูลรายได้ เช่น ข้อมูลด้านการใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้

“แบงก์ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ไม่รู้จักน้อยมาก โดยเฉลี่ยมีเพียง 30% ที่ได้รับอนุมัติ ดังนั้น เมื่อเรากำลังเข้าไปในตลาดที่ไม่รู้ว่าพฤติกรรมการใช้เงินเป็นอย่างไร การร่วมกับดอลฟินที่มีข้อมูลลูกค้า เพื่อให้ K-Bank สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ ดังนั้น ใครเลือกเก่งก็ไม่เจ๊ง ใครเลือกไม่เก่งก็ลำบากไป

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย), รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง (ขวา), นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (กลาง)

วางเป้าปล่อย 3,000 ล้าน ผู้กู้ 1 แสนราย

รุ่งเรือง กล่าวว่า เป้าหมายใน 1 ปีของดอลฟิน มันนี่ คือ ปล่อยกู้ได้ 1 แสนราย ยอดเงินรวม 3,000 ล้านบาท ส่วนผู้ใช้งานดอลฟินคาดว่าจะเติบโตเป็น 4 ล้านราย โดยนอกจากจะมีดอลฟิน มันนี่ที่ช่วยดึงดูดให้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นแล้ว ดอลฟินเตรียมเปิดบริการใหม่ ๆ เพิ่มเติมอีกตามแผนที่จะมีบริการอย่าง การขายประกัน (insurance) และ การจัดการสินทรัพย์ (Asset Management)

“เราหวังว่าจะปล่อยกู้ได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่า 80% จะใช้เป็นเงินสด ส่วนอีกประมาณ 20% มีโอกาสที่จะกู้เพื่อใช้ซื้อสินค้าในเครือเซ็นทรัล แต่เรามองว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า ไม่ได้คาดหวังขนาดนั้น”

ยืนยัน เงินสด คือคู่แข่งเบอร์ 1

สำหรับแบงก์เราไม่ได้มองเป็นคู่แข่งแต่มองเป็นพาร์ตเนอร์ อย่างการปล่อยเงินกู้ เราทำเองได้แต่ไม่คิดจะทำเอง และเราไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องจับกับเคแบงก์รายเดียว หรือเคแบงก์ไม่จำเป็นต้องเป็นพันธมิตรเพียงรายเดียว โดยดอลฟินยินดีเปิดรับพาร์ตเนอร์ใหม่ ๆ หรือแบงก์อื่น ๆ ที่จะมาปล่อยเงินกู้ผ่านดอลฟิน เพราะแต่ละธนาคารมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน

ขณะที่ส่วนของผู้ให้บริการอีวอลเลตรายอื่น ๆ เราก็ไม่ได้มองใครเป็นศัตรู เพราะศัตรูที่เราแข่งอยู่คือ ‘เงินสด’ ตอนนี้ไทยมีการใช้ e-payment ไม่ถึง 3% ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดทุกรายยังต้องวิ่งตามหาความฝัน ดังนั้น ตอนนี้มองว่ายังเป็นช่วงเริ่มต้นสร้างอีโคซิสเต็มส์ของตัวเอง จนกว่าจะถึงวันที่ไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสดถึงจะเป็นช่วงต้องแข่งขัน

“ปัจจุบันภาครัฐก็ผลักดันเต็มที่ทั้งมีพร้อมเพย์ หรือแอปเป๋าตัง ซึ่งมันผลักดันให้ประชาชนชิน แต่เมื่อผู้บริโภคใช้จนเป็นเรื่องปกติแล้ว เขาจะเลือกใช้ใครก็ต้องดูว่าใครให้อะไรเขา จุดรับชำระมีเยอะไหม สิทธิประโยชน์อะไรที่เขาจะได้”

สำหรับ ‘ดอลฟิน มันนี่ จากธนาคารกสิกรไทย (Dolfin Money | KBank)’ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สินเชื่อที่ได้จะเป็นวงเงินพร้อมใช้ หากไม่ใช้วงเงินไม่เสียดอกเบี้ย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพกบัตร ใช้วงเงินได้ทันทีผ่านแอป Dolfin และ K PLUS ลูกค้าที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ และใช้สินเชื่อดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 จนถึง 31 ม.ค. 2564 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center โทร. 02-888-8888 ต่อ 814 หรือ ศูนย์บริการลูกค้า Dolfin โทร. 02-255-5959 ต่อ 2 หรือ https://bit.ly/3601BPA

]]>
1307624