ฟอร์บส์ เอเชีย เผยรายงานจัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทยปี 2564 ชู “พี่น้องเจียรวนนท์” รวยสุดในไทย มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ เป็น 3.02 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยอันดับ 2 คือเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” และอันดับ 3 “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มูลค่าทรัพย์สิน 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์
นิตยสารฟอร์บส์ ดอทคอม เผยการจัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2564 โดยในกลุ่มท็อป 10 จัดให้พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ อยู่อันดับ 1 มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ เป็น 3.02 หมื่นล้านดอลลาร์
ตามมาด้วย เฉลิม อยู่วิทยา ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังระดับโลกอย่างกระทิงแดง ร่วมกับตระกูลของเขา โดยเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปีนี้ รวมมูลค่าสุทธิ 2.45 หมื่นล้านดอลลาร์
อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี มูลค่าทรัพย์สิน 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์
อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ มูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 1.16 หมื่นล้านดอลลาร์
อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี มหาเศรษฐีด้านพลังงาน เป็นอีกหนึ่งรายที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ใน 3 เป็น 8.9 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดในเดือน เม.ย.ได้นำบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอซื้อหุ้นบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่ราคา 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์
อันดับ 6 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์ อันดับ 7 สมโภชน์ อาหุนัย มูลค่าทรัพย์สิน 3.3 พันล้านดอลลาร์
อันดับ 8 ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ มูลค่าทรัพย์สิน 3.25 พันล้านดอลลาร์
อันดับ 9 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ มูลค่าทรัพย์สิน 3.2 พันล้านดอลลาร์
อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และดาวนภา เพชรอำไพ มูลค่าทรัพย์สิน 3 พันล้านดอลลาร์
]]>นอกจากเจียรวนนท์ ตระกูลเศรษฐีของไทยอย่าง “อยู่วิทยา” และ “จิราธิวัตน์” ก็ติดโผในตารางเช่นกัน โดยเจ้าพ่อทีซีพีกรุ๊ปนั่งเก้าอี้อันดับ 6 ขณะที่ครอบครัวเซ็นทรัลกรุ๊ปรั้งอันดับที่ 20 ในทำเนียบตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย
ในภาพรวม ครอบครัวมหาเศรษฐีเอเชียทั้ง 20 ตระกูลสามารถครองความมั่งคั่งรวมกว่า 4.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท แถมตระกูลที่รวยที่สุดยังมีความมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วมีทรัพย์สินมูลค่ามากเป็น 2 เท่าของตระกูลอันดับ 2 และหากเทียบกับตระกูลอันดับ 5 แชมป์จะมีความรวยมากกว่า 3 เท่าตัวเลยทีเดียว
อันดับ 1 ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กยกย่องว่าเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดคือตระกูล “อัมบานี“ ของอินเดีย มูลค่าทรัพย์สินคือ 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามประวัติ “ธีรุไภย อัมบานี” เคยอพยพจากอินเดียไปทำงานเป็นเสมียนตั้งแต่อายุ 17 ปี ก่อนจะกลับมาเริ่มตั้งบริษัท Reliance Retail ใน พ.ศ. 2500
45 ปีผ่านไป ธีรุไภยเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรม ลูกชายคือมูเกซได้ควบคุมกิจการของตระกูลทั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่สุดของโลก บริษัทโทรคมนาคมที่มีสมาชิกรายเดือนกว่า 307 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรประเทศอินเดีย และบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดียด้วยจำนวนสาขาไม่น้อยกว่า 10,901 แห่งใน 6,700 เมืองทั่วประเทศ เกร็ดน่ารู้ของตระกูลคือศิลปินดัง Beyonce และ Chris Martin แห่งวง Coldplay เคยร่วมแสดงในงานแต่งงานของสมาชิกหลายคนในครอบครัวอัมบานี
ตระกูลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 คือตระกูล “กว็อก“ แห่งฮ่องกง เจ้าของ Sun Hung Kai Properties มูลค่าทรัยพ์สิน 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ บลูมเบิร์กเล่าว่า “กว็อกตักเส็ง” จดทะเบียนบริษัทใน พ.ศ. 2515 จนวันนี้บริษัทเติบโตเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของฮ่องกง ล่าสุด Thomas Kwok เพิ่งกลับมาเข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปีนี้ หลังจากพ้นโทษจำคุกในข้อหาติดสินบน
อันดับ 3 คือตระกูล “เจียรวนนท์” แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ สถิติความมั่งคั่ง 3.17 หมื่นล้านดอลลาร์ ทุกอย่างเริ่มจาก “เจีย เอ็กชอ” คุณพ่อของ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ได้อพยพจากภาคใต้ของจีนมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในประเทศไทย จนกระทั่งเริ่มธุรกิจค้าขายเมล็ดพันธุ์พืชกับพี่ชายใน พ.ศ. 2464 ผ่านไปหลายสิบปีกิจการขยายออกไปทั้งการค้าปลีก อาหาร และโทรคมนาคม ประเด็นน่าสนใจของบริษัทในปีนี้คือแผนขยายไปตั้งฟาร์มกุ้งที่สหรัฐฯ
อันดับ 4 คือตระกูล “ฮาร์โตโน” ของอินโดนีเซีย สถิติความมั่งคั่งคือ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ตระกูลนี้ร่ำรวยจากธุรกิจบุหรี่ Djarum ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และการขยายไปสู่ธุรกิจธนาคาร Bank Central Asia ขณะที่อันดับ 5 คือตระกูล “ลี” แห่งเกาหลีใต้ เจ้าของ Samsung ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 2.66 หมื่นล้านดอลลาร์ จุดเริ่มต้นของความร่ำรวยมาจาก “ลี บยองชอล” ที่เริ่มต้นกิจการ Samsung ในรูปของบริษัทส่งออกสินค้า ผัก และปลาใน พ.ศ. 2481 จากนั้นจึงมีการขยายเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการตั้งบริษัท Samsung Electronics ใน พ.ศ. 2512 จนกลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและชิพความจำรายใหญ่สุดของโลก
สำหรับตระกูล “อยู่วิทยา” นั่งอันดับ 6 ของตาราง เจ้าของทีซีพีกรุ๊ปถูกระบุว่ามีทรัพย์สินมูลค่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่ “เฉลียว อยู่วิทยา” ก่อตั้งบริษัทยา T.C. Pharmaceutical เมื่อ พ.ศ. 2499 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเด่นคือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง “กระทิงแดง” รวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ทีซีพีกรุ๊ป
ส่วนตระกูล “จิราธิวัฒน์” ครอบครัวธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ปถูกจัดเป็นอันดับที่ 20 สถิติความมั่งคั่ง 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ วันนี้หนึ่งในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่สุดของไทยมีบริษัทลูกกว่า 50 บริษัท ความมั่งคั่งของตระกูลไม่ได้รับผลกระทบใดจากวิกฤตที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกวางเพลิงเมื่อ 10 ปีที่แล้วในระหว่างการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
ผู้สนใจสามารถติดตามตาราง 20 อันดับตระกูลร่ำรวยที่สุดในเอเชียได้เพิ่มเติมจากที่มา.
ที่มา : https://www.bloomberg.com/features/2020-asia-richest-families/
]]>ปี 2020 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในสถาการณ์การแพร่ระบาดของโรคไว้รัส COVID-19 ที่กระทบต่อหลายธุรกิจทั่วโลก อย่างไรก็ดี หลายตระกูลมหาเศรษฐีทั่วโลก ต้องมีการปรับตัวกับสถานการณ์ที่กระทบการลงทุนใหม่ กระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และที่สำคัญกระทบต่อพนักงานในองค์กร
การจัดอันดับมหาเศรษฐีโลก เดือนสิงหาคม ปี 2563 โดยบลูมเบิร์ก ระบุว่าในปีนี้ “วอร์ตัน” เจ้าของกิจการวอลมาร์ท (Walmart) ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีโลกมีทรัพย์สิน 215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นตระกูลที่บริหารธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด มีสาขากว่า 11,000 สาขาทั่วโลก
สำหรับในประเทศไทยก็มีติดโผในอันดับที่ 21 เป็นของตระกูล “เจียรวนนท์” มีทรัพย์สินมูลค่ารวม 30.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 982,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นในประเทศไทย และได้ขยายการลงทุนไปกว่า 22 ประเทศทั่วโลก
โดยล่าสุด ได้ขยายธุรกิจฟาร์มกุ้งไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีธุรกิจด้านอาหารทั้งในอเมริกาและยุโรป ทำให้รักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครือซีพี ได้มีธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ เกษตร อาหาร ค้าปลีก สื่อสาร และธุรกิจอื่นๆ ในหลายประเทศ โดยมีการนำธงชาติไทยไปติดในทุกสำนักงานที่ไปลงทุน
]]>